คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ภาพเก่าเล่าเรื่อง "เมืองอุบลราชธานีในอดีต" ถ่ายภาพโดย นายทหารอเมริกัน ที่มาร่วมปฏิบัติการรบช่วงสงครามเวียดนาม ในช่วงปี พ.ศ. 2510-2513 จะมีทหารอากาศชาวอเมริกัน ที่มาประจำในฝูงบินรบที่ฐานบิน กองบิน บน. 21 อุบลราชธานี และที่ สถานีเรดาร์ ใหญ่สุดในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บนถนนสายวารินชำราบ-พิบูลมังสาหาร (เลยค่าย ป,พัน 6 ไป ปัจจุบันรื้อออกหมดแล้ว) ต้องขอขอบพระคุณเจ้าของภาพ (ไม่ทราบชื่อ) เป็นอย่างยิ่งครับ
สถานีรถไฟอุบลราชธานี ที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอวารินชำราบ อุบลราชธานี
รถยนต์โดยสารประจำทาง (ตัวถังทำด้วยไม้) สายอุบลราชธานี - อุดรธานี (ปี พ.ศ. 2508-2510 ภาพถ่ายจากทหารอเมริกัน)
รถยนต์โดยสารประจำทาง เส้นทางระหว่างอำเภอของอุบลราชธานี (ปี พ.ศ. 2508-2510 ภาพถ่ายจากทหารอเมริกัน)
สะพานเสรีประชาธิปไตย สะพานข้ามแม่น้ำมูลแห่งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. 2513 (ปัจจุบันถูกรื้อออกสร้างใหม่แล้ว)
บ้านเรือนแพและยอยกปลาในแม่น้ำมูล เสาสูงลิบๆ โน่นคือปล่องไฟของโรงสี เมื่อ ปี พ.ศ. 2513
"ลมโชยเกษา" ร้านตัดผมราคาถูกข้างทุ่งศรีเมือง เปรียบเทียบกับร้านตัดผม (Barber Shop) บริการมีระดับ
ถัดจาก "ลมโชยเกษา" ก็มักจะมี "หมอดู" อยู่ข้างๆ และแม่ค้าที่หาบผลไม้ในพื้นถิ่นมาเร่ขายกัน
ร้านค้าในตลาดเก่า (น่าจะถนนหลวง) และร้านค้าเคลื่อนที่ "ซาเล้ง" สามล้อแดงในเมืองอุบลฯ
วงเวียนน้ำพุในอดีต กับโรงภาพยนตร์ "เฉลิมสิน" ในปี พ.ศ. 2513 ปัจจุบันเปลี่ยนไปแล้ว
สำนักงานสังคมสงเคราะห์ เมื่ออดีต ป้ายข้างบนโฆษณาเรียนพูดอังกฤษ-อเมริกัน (ช่วงสงครามเวียดนาม มีทหาร GI เยอะมาก)
ส่วนภาพขวา การเดินทางของผู้คนยุคนั้น นอกจากรถเมล์เทา เมล์ขาว เมล์ชมภู แล้วก็กระบะ DATSUN นี่แหละ
ปั้มน้ำมันเชลล์ สหบริการ (ปัจจุบันก็ยังอยู่) สี่แยกห้องสมุดประชาชนอุบลฯ ตึกสูงข้างหลังคือ โรงแรม 9 ชั้น
มีคาเฟ่เดอร์ปารีส อยู่ชั้นล่าง เต็มไปด้วยป้ายประชาสัมพันธุ์การแสดง ดูรายชื่อนักร้องแต่ละท่านไม่ธรรมดาจริงๆ
พ่อค้าเร่ ขายสารพัดสินค้า ถนนหน้าโรงเรียนศรีทองวิไล (ถัดขึ้นไปสี่แยกข้าวต้มตี๋อำนวยโชค ปัจจุบัน)
บรรยากาศหลังเลิกเรียน กางเกงดำเป็นโรงเรียนเอกชน อาจจะโรงเรียนสิทธิธรรม หรือไม่ (ไม่แน่ใจครับ)
เจ้าถนนตัวจริง ใน พ.ศ. 2513 ถนนสายพิบูลมังสาหาร หน้าโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์
ทหารหนุ่มรักษาการณ์หน้าค่ายทหาร ถือปืนเล็กยาว 88 หรือชื่อย่อ ป.ร.ย.บ.
ภาพด้านหน้าค่ายทหาร กองพันปืนใหญ่ ป.พัน 6 วารินชำราบ
ประตูทางเข้าหน้า ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ วารินชำราบ ด้านถนนสายวาริน-พิบูลมังสาหาร
รถสายพานลำเลียงพล (ปลดประจำการ) ยุทโธปกรณ์สมัยนั้น พ.ศ. 2513
สถานีเรดาร์ ที่ใหญ่และทันสมัย ของฐานทัพสหรัฐฯ ในยุคสงครามเวียดนาม ตั้งอยู่ถัดจากทหารปืนใหญ่ ป. พัน 6
(ปัจจุบันถูกรื้อออกไปแล้ว ไม่ได้มอบให้กองทัพไทยเลย)
งานกาชาดและงานปีใหม่ ในยุคปี 2513 จะมีช้างจากจังหวัดสุรินทร์มาแสดง และชักคะเย่อแข่งกับทหารหนุ่ม
ช้างมาจากจังหวัดสุรินทร์ มาบริการให้คนจ้างขึ้นนั่งหลังช้างเดินรอบบริเวณงานกาชาด-ปีใหม่ ทุ่งศรีเมือง
อุโบสถ วัดสุปัฏนารามวรวิหาร ในเมืองอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2513
ต้นโพธิ์ และศิลาแลงแกะสลักโบราณ เชื่อว่ามีอายุมากกว่า เขาพระวิหาร และปราสาทนครวัด ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร
วัดศรีอุบลรัตนาราม หรือ วัดศรีทอง อุโบสถสร้างเลียนแบบวัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ
วัดสุทัศนาราม ตั้งอยู่ทางทิศเหนืองของทุ่งศรีเมือง (ข้างศาลจังหวัดอุบลฯ)
หอไตรกลางน้ำ น่าจะเป็นหอไตรวัดทุ่งศรีเมืองก่อนการบูรณะ ไม่แน่ใจ (มีการบูรณะใหญ่ปี พ.ศ.2517)
พระใหญ่มงคลมิ่งเมือง อำเภออำนาจเจริญ (ปัจจุบันแยกเป็น จังหวัดอำนาจเจริญ)
คลิกไปชมต่อ : ภาพเก่าเล่าเรื่อง "เมืองอุบลราชธานีในอดีต" | ชุดที่ 1 | ชุดที่ 2 | ชุดที่ 3 | ชุดที่ 4
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)