คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ความหมายของกฐิน | ตำนานกฐิน | กฐินหลวง | กฐินรษฎร์ | ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับกฐิน
พิธีทอดกฐิน เป็นงานบุญที่มีปีละครั้ง ท่านจึงจัดเป็นกาลทาน แปลว่า "ถวายตามกาลสมัย" คำว่า "กฐิน" มีความหมายที่เกี่ยวข้องกันอยู่หลายความหมายดังนี้
จากความหมายข้างต้นจะเห็นว่า มีความเกี่ยวข้องกัน 4 ประการ เมื่อสงฆ์ทำสังฆกรรมเรื่องกฐินเสร็จแล้ว และประชุมกันอนุโมทนากฐินคือแสดงความพอใจ ว่าได้ กรานกฐิน เสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธี คำว่า กรานกฐิน คือการลาดผ้า หรือทาบผ้าลงไปกับกรอบไม้แม่แบบเพื่อตัดเย็บ ย้อม ทำเป็นจีวรผืนใดผืนหนึ่ง
ยังมีคำอีกคำหนึ่งที่เราได้ยินกันก่อนจะมีการทำบุญกฐิน คือ การจองกฐิน หมายถึงการแสดงความจำนงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือด้วยวาจาต่อทางวัดว่าจะนำกฐินมาถวาย เมื่อนั้นแล้วแต่จะตกลงกัน แต่จะต้องภายในเขตเวลา 1 เดือน ตามที่กำหนดในพระวินัย (ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12)
อีกคำหนึ่งที่จะได้ยินในขณะที่มีพิธีการทอดกฐินคือคำว่า อปโลกน์กฐิน หมายถึงการที่ภิกษุรูปใดรุปหนึ่งเสนอขึ้นในที่ประชุมสงฆ์ถามความเห็นชอบว่าควรมีการกรานกฐินหรือไม่ เมื่อเห็นชอบร่วมกันแล้วจึงหารือกันต่อไปว่า ผ้าที่ทำสำเร็จแล้วควรถวายแก่ภิกษุรูปใด การปรึกษาหารือการเสนอความเห็นเช่นนี้เรียกว่า อปโลกน์ (อ่านว่า อะ-ปะ-โหลก) หมายถึง การช่วยกันมองดูว่าจะสมควรอย่างไร เพียงเท่านี้ก็ยังใช้ไม่ได้ เมื่ออปโลกน์เสร็จแล้วต้องสวดประกาศเป็นการสงฆ์ จึงนับว่าเป็นสังฆกรรมเรื่องกฐินดังกล่าวไว้แล้วในตอนต้น
ในปัจจุบัน มีผู้ถวายผ้ามากขึ้น มีผู้สามารถตัดเย็บย้อมผ้าที่จะทำเป็นจีวรได้แพร่หลายขึ้น การใช้ไม้แม่แบบอย่างเก่าจึงเลิกไป เพียงแต่รักษาชื่อและประเพณีไว้โดยไม่ต้องใช้กรอบไม้แม่แบบ เพียงถวายผ้าขาวให้ตัดเย็บย้อมให้เสร็จในวันนั้น หรืออีกอย่างหนึ่งนำผ้าสำเร็จรูปมาถวายก็เรียกว่าถวายผ้ากฐินเหมือนกัน
และเนื่องจากยังมีประเพณีนิยมถวายผ้ากฐินกันแพร่หลายไปทั่วประเทศไทย จึงนับว่าเป็นประเพณีนิยมในการบำเพ็ญกุศล เรื่องกฐินนี้ ยังขึ้นหน้าขึ้นตาเป็นสาธารณประโยชน์ ร่วมไปกับการบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามไปในขณะเดียวกัน
ในเรื่องของ ธงกฐิน หลายคนเห็นธงมานาน แต่อาจยังไม่รู้จักและไม่เข้าใจความหมายของธง 4 อันนี้ หมายถึงโลภ โกรธ หลง สติ อยากให้ช่วยกันอนุรักษ์ และฟื้นฟูให้ทุกคนได้มีความเข้าใจ เพราะไม่เช่นนั้นอาจจะสูญหายไปได้
ธงกฐิน เป็น ครื่องหมายแสดงให้รู้ว่าวัดนี้ได้รับผ้ากฐินแล้ว มี 4 แบบแฝงด้วยความรู้เกี่ยวกับธรรมะ คติธรรม ประกอบด้วย
ครั้งพุทธกาล มีเรื่องเล่าไว้ในคัมภีร์พระวินัยปิฎกกฐินขันธกะว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ 30 รูป ซึ่งถือธุดงควัตรอย่างยิ่งยวด มีความประสงค์จะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งขณะนั้นประทับอยู่กรุงสาวัตถี แคว้นโกศล จึงพากันเดินทางมุ่งหน้าไปยังเมืองนั้นพอถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงสาวัตถีประมาณ 6 โยชน์ก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี เดินทางต่อไปมิได้ต้องจำพรรษาอยู่ที่เมืองสาเกต ตามพระวินัยบัญญัติ ขณะที่จำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต เกิดความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าเป็นกำลัง ดังนั้นพออกพรรษาปวารณาแล้วก็รีบเดินทาง แต่ระยะนั้นมีฝนตกมากหนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึง กรุงสาวัตถีได้เข้าเฝ้าสมความประสงค์
พระพุทธเจ้าจึงมีปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น เรื่องการจำพรรษาอยู่ ณ เมืองสาเกต และการเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลถึงความตั้งใจ ความร้อนรนกระวนกระวาย และการเดินทางที่ลำบากให้ทรงทราบทุกประการ
พระพุทธเจ้าทรงทราบ และเห็นความลำบากของภิกษ ุจึงทรงยกเป็นเหตุ และมีพระพุทธานุญาตให้พระภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนแล้ว กรานกฐินได้ และเมื่อกรานกฐินแล้ว จะได้รับอานิสงส์ตามที่กำหนดในพระวินัยถึง 5 ประการคือ
การทอดกฐินที่ปฏิบัติกันในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แยกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ กฐินหลวง และ กฐินราษฎร์
เมื่อพระพุทธศาสนาได้เผยแผ่เข้ามายังสุวรรณภูมิ และประดิษฐานอยู่บนผืนแผ่นดินนี้อย่างสถิตย์สถาพร ประชาชนไทยได้ยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ การทอดกฐินก็ได้กลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา พระเจ้าแผ่นดินผู้ครองแผ่นดินสยามได้ทรงรับเรื่องกฐินนี้ขึ้นเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่ง การที่พระเจ้าแผ่นดินทรงบำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับกฐินเป็นพระราชพิธี ทำให้เรียกกฐินนี้ว่า กฐินหลวง วัดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นวัดราษฎร์หรือวัดหลวง หากพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐินแล้วจะเรียกว่า กฐินหลวง ทั้งสิ้น
ในสมัยต่อๆ มา เมื่อบ้านเมืองเจริญขึ้น ประชาชนมีศรัทธาเจริญรอยตามพระราชศรัทธาของพระเจ้าแผ่นดิน ได้รับพระมหากรุณา ให้ถวายผ้าพระกฐินได้ตามสมควรแก่ฐานะ เป็นเหตุให้แบ่งแยกกฐินหลวงออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
กฐินดังกล่าวนี้ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเป็นประจำ ณ วัดสำคัญๆ ซึ่งทางราชการกำหนดขึ้น มีหมายกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไว้อย่างเรียบร้อย ปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดต่างๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จำนวน 16 วัด คือ
วัดหลวงทั้งหมดนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เองเพียงปีละ 8-9 วัดเท่านั้น นอกนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระบรมวงศานุวงศ์ หรือองคมนตรี หรือผู้ที่ทรงเห็นสมควรเป็นผู้แทนพระองค์ไปถวาย
กฐินที่กำหนดเป็นพระราชพิธีนี้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สำนักพระราชวังออกหมายกำหนดการเป็นประจำทุกปี จึงไม่มีการจองล่วงหน้า
การเฝ้าฯ รับเสด็จฯ งานถวายผ้าพระกฐินหลวงประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการและกำหนดการแต่งการเฝ้าฯ รับเสด็จฯ **
ผู้ที่เฝ้าฯ รับเสด็จฯ ตามหมายกำหนดการ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้รับรองเชิญให้นั่งพัก ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถตามลำดับชั้นยศและตำแหน่ง
งานเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินตามราชประเพณีประจำปีที่สำนักพระราชวังออกเป็นหมายกำหนดการ แต่งเครื่องแบบเต็มยศ จะมีกองเกียรติยศทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ พร้อมทั้งแตรวงประจำกองและทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ฯ ตั้งแถวรับเสด็จฯ
เมื่อใกล้เวลาเสด็จฯ ประมาณ 5 หรือ 10 นาที เจ้าหน้าที่ผู้รับรองของสำนักพระราชวังจะได้เชิญข้าราชการผู้มีเกียรติที่มาเฝ้าไปยืนเรียงแถวรอรับเสด็จฯ ตามแนวทางลาดพระบาท (ถ้าสถานที่ไม่พอจะเข้าแถว ก็คงรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นั้น)
ได้เวลาเสด็จฯ มีแตรวงกองทหารเกียรติยศบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ผู้เฝ้าฯ ที่นั่งพักยืนถวายความเคารพ ผู้มาเฝ้าที่เข้าแถวรับเสด็จฯ ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์ จนสุดเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมีและถวายความเคารพเมื่อเสด็จฯ ผ่าน
เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะได้เชิญและนำเฉพาะข้าราชการผู้ใหญ่เข้าไปเฝ้าฯ ในพระอุโบสถ เมื่อเข้าไปจะต้องถวายคำนับ แล้วยืนอยู่ ณ เก้าอี้ที่จะนั่งเฝ้าฯ ตามยศและตำแหน่ง เมื่อทรงปฏิบัติในการถวายพระกฐิน ประทับพระราชอาสน์ ผู้เฝ้าฯ ถวายคำนับแล้วนั่งได้ เมื่อเสด็จฯ กลับก็ปฏิบัติในทำนองเดียวกับเมื่อเสด็จมาถึง
ราชประเพณีเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐิน ถ้าพระอารามหลวงหรือวัดใดที่มีโรงเรียนตั้งอยู่ ย่อมจัดลูกเสือหรือนักเรียนตั้งแถวรับเสด็จฯ ถ้ามีแตรวงลูกเสือด้วยให้บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีเมื่อเสด็จฯ ถึง และเสด็จฯ กลับ
โรงเรียนที่จัดลูกเสือนักเรียนรับเสด็จฯ ตามระเบียบจะต้องจัดตั้งโต๊ะหมู่บูชาประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์แทนพระพุทธรูป มีแจกัน พานดอกไม้ ธูปเทียนพร้อม แต่ไม่ต้องจุดเทียนหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ ควรมีธูปเทียนแพ กระทงดอกไม้ใส่พานตั้งไว้ เป็นการถวายความเคารพสักการะในการรับเสด็จฯ
ผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่/ครูใหญ่ ยืนที่ข้างๆ โต๊ะหมู่หน้าแถวนักเรียนและลูกเสือ เมื่อเสด็จฯ ถึง ณ ที่นั้นผู้อำนวยการ/อาจารย์ใหญ่หรือครูใหญ่ก้าวออกมาถวายความเคารพ (ถ้าเป็นครูชายสวมหมวก ทำวันทยหัตถ์ ถ้าเป็นครูหญิงถวายความเคารพด้วยการถอนสายบัว) แล้วกราบบังคมทูลรายงานจำนวนอาจารย์ ครู นักเรียนจบแล้วถอยออกไปถวายคำนับก่อนที่จะกลับไปยืนเฝ้าฯ ณ ที่เดิม
กฐินดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเพราะ พระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดที่มิใช่วัดหลวง และมิได้เสด็จไปอย่างเป็นทางการ หรืออย่างเป็นพระราชพิธี แต่เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์อีกด้วย พลตรีหม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (ม.ร.ว.เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ได้เล่าประวัติเรื่องการเกิดขึ้นของกฐินต้นนี้ไว้ว่า
"กฐินส่วนพระองค์นี้ ในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 จะเรียกว่าอย่างไรนั้นยังไม่พบหลักฐาน มาเรียกกันว่า กฐินต้น ในรัชกาลที่ 5 ภายหลังที่ได้มีการเสด็จประพาสหัวเมืองต่างๆ เมื่อ พ.ศ. 2447 การเสด็จประพาสครั้งนั้น โปรดให้จัดให้ง่ายกว่าการเสด็จประพาส เพื่อสำราญพระราชอิริยาบถอย่างสามัญคือ โปรดไม่ให้มีท้องตราสั่งหัวเมืองให้จัดทำที่ประทับแรม ณ ที่ใดๆ พอพระราชหฤทัยจะประทับที่ไหนก็ประทับที่นั่น บางคราวก็ทรงเรือเล็ก หรือเสด็จรถไฟไปโดยมิให้ใครรู้ การเสด็จประพาสครั้งนั้นเรียกว่า เสด็จประพาสต้น
เหตุที่เรียกว่าประพาสต้นก็เพราะเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2447 เสด็จทรงเรือมาด 4 แจว ประพาสในแม่น้ำอ้อม ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ซื้อเรือมาด 4 แจว เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งลำสำหรับแจวตามเรือพระที่นั่ง เวลามีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จพระราชดำเนินโดยมิให้ใครรู้จักพระองค์ เมื่อซื้อเรือมาดได้ดังพระราชประสงค์แล้วพระราชทานชื่อเรือลำนั้นว่า เรือต้น ในวันนั้นกว่าจะเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงที่ประทับแรม ที่เมืองราชบุรีเกือบ 3 ทุ่ม เพราะน้ำเชี่ยว ผู้คนในขบวนเสด็จเหนื่อยหอบตามกัน
ประพาสต้น จึงเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จประพาสอย่างในวันนี้ว่า ประพาสต้น และยังเป็นมูลเหตุให้เรียกการเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์ว่า พระกฐินต้น เรียกแบบเรือนไทยที่ทรงสร้างสำหรับประทับอย่างชาวบ้านว่า เรือนต้น กันต่อมา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน ทรงดำเนินตามรอยพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินต้นเป็นประจำทุกปี การจะเสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินต้นที่วัดใดมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
ในกรณีที่เสด็จฯ ไปถวายผ้าพระกฐินเป็นการส่วนพระองค์เรียกกันว่า พระกฐินต้น ส่วนมากจะเป็นวัดในต่างจังหวัด สำนักพระราชวังจะออกเป็นหมายรับสั่ง ส่วนมากจะแต่งเครื่องแบบปกติขาว เฉพาะเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่เฝ้าฯ เจ้าหน้าที่นอกนั้น หรือข้าราชการในท้องถิ่น แต่งกายเครื่องแบบปกติกากีคอตั้งแบบข้าราชการ หรือกากีคอพับผูกผ้าผูกคอ
การเฝ้าฯ รับเสด็จ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะรับรองข้าราชการ และผู้มีเกียรติรอเฝ้าฯ ณ ที่ซึ่งจัดไว้นอกพระอุโบสถ
การเสด็จฯ ถวายผ้าพระกฐินในต่างจังหวัดนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดจะต้องจัดข้าราชการเข้าแถวรับเสด็จฯ ณ ที่ซึ่งรถยนต์พระที่นั่งเทียบ เมื่อเสด็จฯ ลงจากรถยนต์พระที่นั่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเข้าไปเฝ้าฯ ถวายคำนับ (ถ้าสวมหมวกทำวันทยหัตถ์) แล้วกราบบังคมทูลรายงานตนเอง และเบิกข้าราชการผู้ใหญ่ที่เฝ้าฯ เช่น
ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า ............... ผู้ว่าราชการจังหวัด............ ขอพระราชทาน พระบรมราชวโรกาสเบิกผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท (ในกรณีที่ภริยาเฝ้าฯ อยู่ด้วย) นาง.............. ภริยาข้าพระพุทธเจ้า (จะทูลเกล้าถวายดอกไม้ด้วยก็ได้) แล้วต่อไปควรจะกราบบังคมทูลเฉพาะ ข้าราชการผู้ใหญ่ระดับสูง เช่น รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้พิพากษา หัวหน้าศาลจังหวัด นายอำเภอของท้องที่ที่เสด็จฯ เท่านั้น
เป็นกฐินที่พระเจ้าแผ่นดินพระราชทานผ้าของหลวง แก่ผู้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน เพื่อไปถวายยังวัดหลวง นอกจากวัดสำคัญที่ทรงกำหนดไว้ว่า จะเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระองค์เอง (16 วัดดังที่กล่าวมาแล้ว) เหตุที่เกิดกฐินพระราชทานเพราะว่า ปัจจุบันวัดหลวงมีจำนวนมาก จึงเปิดโอกาสให้กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ตลอดจนคณะบุคคล หรือบุคลากรที่สมควรรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวายได้ และผู้ที่ได้รับพระราชทานจะเพิ่มไทยธรรมเป็นส่วนตัว โดยเสด็จพระราชกุศลด้วยตามกำลังศรัทธาก็ได้
ปัจจุบันกระทรวง ทบวง กรม คณะบุคคล หรือบุคคลใดมีความประสงค์จะรับพระราชทานผ้ากฐินไปถวาย ณ วัดหลวงใด ก็ติดต่อไปยัง กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ตามระเบียบ ซึ่งเท่ากับเป็นการจองกฐินไว้ก่อนนั่นเอง
ขั้นตอนของกฐินพระราชทาน มีดังนี้
[ กฐินหลวง | กฐินราษฎร์ ]
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)