foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

pra tam tesana header

รามาปฏิบัติกันตามสบายนะ ตามสบายใจ คนมีปัญญาได้ประโยชน์หลายมีประโยชน์มาก สมัยก่อนการสวดมนต์ทำวัตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นอุบายฝึกหัดผู้ใหม่นั่นเอง ถ้าเราเข้าใจในการปฏิบัติทุกคนแล้วก็ไม่มีอะไรโดยมากอยู่ตามป่าไม่ค่อยได้ทำวัตรกันหรอก สมัยท่านอาจารย์ทองรัตน์ปฏิบัติอยู่น่ะอยู่กันไปเฉยๆ เรื่อยๆ วันพระรวมกันทำวัตรและก็มีการประชุมกัน กิจวัตรนี้ถ้าหากว่าเราทำอะไรมากไปแล้วมันยุ่ง แต่ถ้าอยากจะทำประจำ เจ้าของอยู่กุฏิของเราก็ทำได้ สวดมนต์ทำวัตรฝึกตัวเองตอนเช้าก็ดีตอนเย็นก็ดี เราทำของเราเองทำเป็นส่วนตัวเรา

hen tam pen jing

pp 7ผู้ปฏิบัตินี่ก็ไม่เหมือนกัน บางองค์นานๆ พูดทีหนึ่งก็เข้าใจ บางองค์ก็ชอบจ้ำจี้จ้ำไชตอนเช้าตอนเย็น ชอบอย่างนั้น บางองค์ชอบเรียบๆ บางองค์ก็ชอบขู่เข็ญกิเลส สารพัดอย่าง การปฏิบัตินี้จึงเป็นอุบายเพื่อจะสั่งสอนจิตของเราให้สงบคำสอนของพระล้วนแล้วแต่เป็นอุบาย ให้เรารู้จักความประสงค์ของพระพุทธเจ้าของเรา ที่เรามาบวชในพุทธศาสนานี้ พระพุทธองค์ทรงมีพุทธประสงค์ อยากจะให้พุทธบริษัทนี้รู้จักข้อประพฤติปฏิบัติ เพื่อทรงพระธรรมวินัย คำสอนของท่านไว้ ให้พระศาสนาของท่านยืนยงคงทนอยู่ตลอดกาลนานนั่นเอง ผู้ปฏิบัติทุกคนทุกท่านก็ต้องอาศัยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิและปัญญาเป็นกำลัง ท่านกล่าวว่าเป็นกำลังทั้ง ๕ สิ่ง ๕ อย่างนี้ท่านเรียกว่าพละ เป็นกำลังหรือพลัง พลังของจิต

"ศรัทธา" แปลว่า ความเชื่อ ถ้าพูดง่ายๆ ก็ว่า ศรัทธานี้มีกันทุกคน แต่ว่ามันไม่ถึงศรัทธา ศรัทธามันเชื่อ แต่จิตเราไม่ค่อยจะเชื่อ มนุษย์ทั้งหลายไม่ค่อยจะเชื่อกัน พูดง่ายๆ ก็เรียกว่า บวชมานี้ยังไม่มีศรัทธา ผู้มีศรัทธาจะต้องเคารพคารวะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่เสมอ ระวังสิ่งที่ผิดจากพระธรรมวินัย ถ้ารู้จัก ผู้ปฏิบัติย่อมไม่กล้าทำ เพราะเชื่อว่าอันนี้มันผิด อันใดที่ผิดก็เรียกว่าอันนั้นเป็นอาบัตินั่นเอง อาบัติก็แปลว่าผิดไม่ใช่เป็นอย่างอื่น

เรามาประพฤติปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากความผิด ถ้าเรายังมีความผิดอยู่ ก็ยังไม่มีความบริสุทธิ์สมบูรณ์ เมื่อยังไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ก็ให้เอื้อเฟื้อศึกษาให้รู้อะไรที่ยังไม่รู้เราจะเมินเฉยเสียก็ไม่ได้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา เชื่อว่าผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก อย่างนี้ อะไรที่เรายังหลงผิดอยู่ ก็เรียกว่าอันนั้นเรายังไม่รู้จัก ไม่รู้จักเราก็เคารพอยู่ สังวรสำรวมอยู่ตลอดเวลา แล้วก็อาศัยคนอื่น อาศัยครูบาอาจารย์แนะนำพร่ำสอน อาศัยความรู้สึกนึกคิดในการปฏิบัติของเราเองด้วยเทียบเคียงกันไป ท่านเรียกว่าศรัทธา อย่าไปเห็นว่าเรามีศรัทธาเราจึงจะบวช แต่บวชแล้วไม่ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา นั่นเรียกว่าศรัทธายังไม่ถึงที่สุดนะ ศรัทธาก็ต้องพยายามทำ อันนี้ยังไม่เรียบร้อยแต่ใจก็พยายามอยู่เสมอ นี่เรียกว่า ศรัทธา ความเชื่อ ต้นตอก็เรียกว่าต้องเป็นผู้มีศรัทธา ถ้าปราศจากศรัทธาแล้ว มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร

ถ้ามีศรัทธาแล้วก็มีความเพียร เพียรเพื่ออะไร? เพียรเพื่อจะละข้อผิดอันนั้น พยายามแสวงหาทางที่ถูกอยู่เสมอ พระพุทธองค์ท่านสอนว่า เมื่อบวชเข้ามาในพระพุทธศาสนาแล้ว ก็ให้ทำตัวเป็นพระภิกษุใหม่อยู่เสมอ ไม่ใช่ว่าเก่า ให้เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ สยดสยองอยู่ต่อข้อปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอด้วยใจ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จิตก็ปรารภอยู่ว่าเราจะทำให้อะไรที่ตรงนั้นเรียบร้อย ได้โดยวิธีอย่างไร? เราจะมีความมักน้อยโดยวิธีอย่างไร? จะปฏิบัติอย่างไรถึงจะเป็นอย่างนั้น ให้เรารำลึกอยู่อย่างนี้เสมอ ให้รู้จักความผิดชอบเฉพาะตัวเราอยู่ทุกเวลานั่นเอง ที่ท่านเรียกว่า อัตโนโจทยัตนัง...จงเตือนตนด้วยตนเอง อันนี้สำคัญกว่า เพราะว่าตนที่สมมตินั้นก็อยู่ที่เรา นั่งเราก็เอาตนนั่ง นอนเราก็เรียกว่าตน อะไรก็เป็นตนทั้งนั้นแหละ

เรานั่งอยู่เราคิดอย่างไร? ในเวลานี้เราทำอะไรอยู่? เรียกว่า เราตามดูตัวของเจ้าของเราพยายาม การกระทำเช่นนี้ท่านเรียกว่า "วิริยะ" คือเพียร เพียรเพื่อจะละความชั่ว ประพฤติความดี ไม่ใช่เพียรอย่างอื่น เพียรละสิ่งที่ผิดปฏิบัติให้ความผิดหมดไป...ก็เหลือแต่ความที่ไม่ผิด ความที่ไม่ผิดมีอยู่ก็เรียกว่า...ของที่บริสุทธิ์เรียกว่าเป็นผู้เพียร วิริยะรัมภะ ปรารภความเพียร เราจะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอนอยู่ก็ตามมีความปรารภอยู่เสมอ ทำอย่างไรความอยากของเรา ซึ่งมีล้นเหลืออยู่ในใจนี้จะเบาลงไป จะเบาลงไป จะมักน้อย...จะสันโดษ จะมีความเห็นชอบตามธรรมะคำสอนของพระพุทธเจ้าของเรา นั่นเรียกว่าปรารภความเพียรอยู่เสมอ...ไม่ลืม

เมื่อมีความเพียรอยู่ก็มี "สติ" สติคือความระลึกได้เมื่อเราพูดอะไร ทำอะไรอย่างไรอยู่ เป็นผู้มีสติตื่นอยู่สะดุ้งอยู่เสมอ เมื่อเรามีสติรู้ง่าย มันก็รู้เร็ว เมื่อมีสติอยู่ถ้าจะเปรียบก็เหมือนกันกับสัตว์บางอย่าง เช่น แมลงมุมที่มันทำรังในอากาศ ใยมันผ่านไปผ่านมาเป็นรังขึงอยู่ เมื่อเสร็จแล้วตัวมันก็หมกอยู่ตรงจุดกลางของรังอันนั้น เฉยอยู่ นิ่งอยู่สงบอยู่ด้วยมีสติอยู่ ถ้าแมลงวัน แมลงผึ้ง แมลงต่างๆ มาผ่านใย มันก็มีความสัมผัสสะดุ้งรู้จัก แมลงมุมก็จะตื่นขึ้นรีบไปจับสัตว์นั้นไว้เป็นอาหาร เมื่อจับเสร็จแล้วก็รีบมาอยู่ยังจุดเก่า ทำความสงบระงับ มีสติ รู้อะไรจะมาถูกเข้าสัมผัส เมื่อไรแมลงมุมก็ตื่น เพราะว่าแมลงมุมอยู่ด้วยสติ ก็เพราะมันจ้องกินอาหาร มันระมัดระวังอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา เมื่อจับแล้วก็วิ่งมาอยู่ที่เก่า อย่างนี้เป็นวิสัยของแมลงมุมที่จับสัตว์กิน

sit stickแมลงมุมนั้นก็เหมือนกันกับจิตของเรา จิตของเรานั้นอยู่จุดกลางของอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย จิต มีความรู้สึกตื่นอยู่ไม่ว่าอะไรจะมาสัมผัสทางตา ตาเห็นรูป...ก็รู้สึก มีสติอยู่ หูฟังเสียงก็รู้สึก มีสติอยู่ ได้กลิ่นเหม็นหอมอะไร ก็มีความรู้สึก ลิ้นสัมผัสโอชารสต่างๆ ก็รู้สึก ธรรมารมณ์ที่เกิดกับใจ ก็รู้สึก นี่เรียกว่าสัมผัสสัมผัสครั้งแรกก็รู้สึกเฉยๆ รูปก็ดี รสก็ดี กลิ่นก็ดี เสียงก็ดี โผฏ-ฐัพพะก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี เมื่อกระทบก็ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น พอกระทบแล้วมีความรู้สึกต่อไปอีก ซึ่งมันจะเกิดกิเลส เกิดตัณหา เกิดราคะ เกิดโทสะ เกิดโมหะ ผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้าเราระมัดระวังอยู่สังวรสำรวมอยู่ด้วยอินทรีย์ จะรู้จักตัวของเจ้าของรู้จักจิตของเจ้าของว่า จิตเจ้าของนี้เป็นไปในลักษณะอันใด? ก็รู้จักเมื่อเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว เราก็จักสั่งสอนจิตของเจ้าของเท่านั้นแหละ ฉะนั้น ตัวสตินี้จึงเป็นตัวที่สำคัญมากที่สุด เมื่อมีสติแล้วเราสังวรสำรวมอยู่ ก็ดึงเอาปัญญามาพิจารณาว่า รูปนี่เป็นอย่างไร เสียงนี่เป็นอย่างไร มีอะไรไหม? ปัญญามาช่วยพิจารณา อันนี้เรียกว่าสติมีคุณค่า

"สมาธิ" คือความตั้งใจมั่น สมาธินั่นก็เกิดมาจากสตินั่นแหละสติ-สมาธิ ถ้าพูดเรื่องสมาธิ ตามศัพท์สมาธิท่านหมายถึงความตั้งใจมั่น อย่างเราจะละอารมณ์สิ่งที่ชั่วสิ่งที่ไม่ดีน่ะ ไม่คืนคลายมันมั่นในข้อประพฤติของเราในข้อปฏิบัติของเรา สมาธิมีหลายขนาด ที่เราทำกันอยู่ทุกวันนี้ สมาธิที่นั่งแล้วหลับตากำหนดอันใดอันหนึ่งขึ้นมาเป็นอารมณ์ อย่างอานาปานสติที่เราอบรมกันนี้เอาลมหายใจเป็นอารมณ์ เป็นเครื่องหมาย เอาเป็นจุดเด่นที่สุด ทำไมถึงเอาเป็นอารมณ์เพราะว่าจิตนี้มีอารมณ์หลายอย่าง หูฟังเสียงก็เป็นอารมณ์หนึ่ง จมูกดมกลิ่นก็เป็นอารมณ์หนึ่ง มันหลายอารมณ์ สิ่งที่มันหลายๆ อารมณ์มันฟุ้งซ่านดังนั้นท่านจึงรวมจุดมากๆมาเป็นอารมณ์เดียว เราจะเลือกอันใดอันหนึ่งก็เอา

ที่วัดเรานี้ก็สอนอานาปานสติ อานาปานสตินี้เป็นของง่าย เพราะอะไร เพราะมีอยู่แล้ว เรานั่งอยู่เราก็หายใจอยู่ เรายืนอยู่ก็หายใจอยู่นอนเราก็หายใจของเราอยู่ ดังนั้นก็กำหนดเอาสิ่งที่มีอยู่ใกล้ๆ เป็นอารมณ์ หายใจเข้าหายใจออกเอาอันนี้เป็นอารมณ์ เพื่อจะให้จิตมั่นในอารมณ์ คืออานาปานสตินี้ไม่ให้ฟุ้งซ่านไปหลายอย่าง อารมณ์มันมากแต่เราจะทำให้มันน้อย คือเป็นอารมณ์เดียว เราจึงยกลมขึ้น หายใจเข้า-ออกกำหนดว่า พุทโธ พุทโธ ไว้ในใจของเราเสมอ มีความระลึกอยู่ รู้อยู่ ตื่นอยู่ในพุทโธอันนั้น นี่เรียกว่าเป็นอารมณ์ เมื่อเราทำไป หายใจเข้าก็เป็นพุท หายใจออกก็เป็นโธ พุทโธนั่นก็หมายความว่าผู้รู้อยู่นั่นเอง เรารู้อยู่ด้วยสติของเราที่ตื่นอยู่ ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของ มีสติอยู่ เราก็รู้จักว่าจิตของเจ้าของคิดอะไร? อะไรเป็นจิตก็เข้าไปเห็นชัด

ผู้ที่มีอำนาจปรับเอาอารมณ์ทั้งหลายนั่นแหละเรียกว่าตัวจิต สมมติว่าจิตหรือใจ ตัวที่กำหนดรู้ ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จักคนที่รู้ลมมันเข้ามันออกนั่นแหละคือตัวจิต เราสมมติว่าเป็นตัวจิตใครตามรู้อยู่เสมอ เราก็รู้จักว่าใครตามรู้อยู่ ผู้ตามรู้อยู่ก็เรียกว่าจิตอารมณ์นั้นก็เป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็นตัวจิต นั่นคือผู้รู้ก็เป็นผู้รู้ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ เป็นคนละตอนคนละท่อน ท่านจึงให้ทำเป็นสมาธิ เมื่อเป็นสมาธิมีอารมณ์อันเดียวแล้ว จะเห็นจิตของเจ้าของว่า เออ! จิตนี้เป็นอย่างหนึ่ง อารมณ์นี้เป็นอย่างหนึ่ง ผู้ที่รู้สึกอารมณ์มากระทบเป็นอย่างนั้นก็อย่างหนึ่ง สองอย่างนี้ถ้าหากว่าเราไม่เป็นสมาธิ ไม่ทำสมาธิให้มีอารมณ์เดียวยืนยันอยู่ เราก็ไม่รู้จักจิตของเจ้าของ จิตเจ้าของเศร้าหมองก็ไม่รู้เรื่อง จิตผ่องใสก็ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้เพราะอะไร? เพราะเราไม่ได้สั่งสอนจิตของเรา

pra farang 03

พระพุทธองค์ท่านบอกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครตามดูจิตของตนคนนั้นจะพ้นจากบ่วงของมาร บ่วงของมารนั้นคืออะไร? คือรูปหนึ่ง เสียงหนึ่ง กลิ่นหนึ่ง รสหนึ่ง โผฏฐัพพะหนึ่ง ธรรมารมณ์หนึ่งอันนี้แหละเป็นบ่วงที่จะผูกจิตผู้ที่ไม่รู้ ให้เข้าไปในอำนาจของมัน เข้าไปในอำนาจของความเกลียด หรือความรัก ถ้าหากว่าเรารู้จิตของเจ้าของเช่นนั้น ทั้งเรามีสติอยู่ เราก็รู้ว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต ถ้าเรามองเห็นว่าอารมณ์เป็นอารมณ์ จิตเป็นจิต เราก็แยกมันออกเป็นสองอย่าง เราก็รู้จักว่าจิตไปยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ อารมณ์นั้นท่านเรียกว่าโลก หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก หลงโลกก็คือหลงอารมณ์ ใครเป็นคนหลง? จิตผู้รู้นั่นแหละมันหลง หลงตามอารมณ์ ที่ดีก็หลงไป ชั่วก็หลงไปตาม สุขก็หลงไป ทุกข์ก็หลงไป เอาตัวไปแทนเสียว่าเป็นตัวทุกข์ ความเป็นจริงนั้น จะทุกข์ก็เพราะมีอุปาทานยึดมั่นในอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น เลยไปเป็นเจ้าของอารมณ์

ความเป็นจริงนั้นอารมณ์ก็เป็นอารมณ์ จิตก็เป็นจิต มันคนละอย่างกัน เมื่อเราเข้าไปยึดว่าอันนั้นดี อันนั้นสวยอย่างนี้เป็นต้น ไม่ใช่ว่าเห็นเฉยๆ เห็นแล้วมีอุปาทานมั่นหมาย ไปยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน เป็นเราเป็นเขานั้นเรียกว่าบ่วงของพญามารผูกไป ความพอใจก็ผูกไป ความไม่พอใจก็ผูกไป ความสุขก็ผูกไป ความทุกข์ก็ผูกไป ชั่วก็ผูกไป ดีก็ผูกไปอย่างนี้ก็เพราะว่าเราไม่รู้จักจิต ไม่รู้จักอารมณ์ ถ้าเรารู้จักจิตของเจ้าของแล้ว อารมณ์มันก็เป็นอารมณ์ จิตมันก็เป็นจิต เป็นคนละอย่างถ้าเราไม่รู้จักอันนี้ เราก็เข้าไปเป็นเจ้าของอารมณ์อันนั้น เราก็ต้องรับรองอารมณ์อันนั้นอยู่ ติดตามอารมณ์อันนั้นอยู่ ถ้าเราเห็นเช่นนี้ว่าอันนี้เป็นจิต อันนี้เป็นอารมณ์ เราก็ต้องรู้จักสอนจิตของเจ้าของ เมื่อเรามีความสงบอยู่ ถูกอารมณ์ขึ้นมาเราก็รู้จักว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้เป็นจิต เปรียบง่ายๆคือมันอยู่ใกล้ชิดกัน เหมือนน้ำมันกับน้ำถ้ามันมีน้ำหนักต่างกัน จะเอาใส่ในขวดเดียวกันก็ได้ แต่ว่ามันไม่แทรกซึมเข้าหากัน จิตกับอารมณ์ก็เป็นอย่างนั้น ถ้ารู้จักว่าอันนั้นเป็นอารมณ์ อันนั้นเป็นจิต จะเห็นจิตเป็นจิต เห็นอารมณ์เป็นอารมณ์ สักแต่ว่าอารมณ์เท่านั้น

อารมณ์นี้แหละท่านเรียกว่าโลก เราหลงโลกก็คือหลงอารมณ์ หลงอารมณ์ก็คือหลงโลก เอาจิตกับอารมณ์ไปพัวพันกันจนแยกกันไม่ได้ แยกไม่ออกว่าอะไรเป็นจิต... อะไรเป็นอารมณ์ อารมณ์นี้ก็สักแต่ว่าอารมณ์ เห็นจิตก็สักแต่ว่าจิต เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเป็นอยู่อย่างนั้น เขาเป็นอยู่อย่างนั้น ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเขาก็เป็นของเขาอยู่อย่างนั้น ถ้าหากว่าเราไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็ไปสำคัญมั่นหมายว่า ทำไมมันเป็นอย่างนั้น ทำไมมันเป็นอย่างนี้ความเป็นจริงอันนี้เป็นของเก่าแก่ มันตั้งอยู่อย่างนั้นเอง

cha 11ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติ ให้พิจารณา ที่ท่านสอนว่า ให้ท่านทั้งหลาย หรือสูทั้งหลายจงมาดูโลกนี้อันน่าตระการดุจราชรถ อันพวกคนเขลาทั้งหลายหมกอยู่แต่ผู้รู้หาข้องอยู่ไม่ ท่านพูดตรงเข้าไปเลย เห็นโลกที่มันวุ่นวาย มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น โลกนี้ไม่ใช่ว่ามันวุ่นวายมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ที่เราเข้าไปหมายมั่นไม่พอใจกับมัน มันก็วุ่นวายซิ ถ้ารู้ตามเป็นจริงด้วยปัญญาแล้ว ก็เห็นว่าไม่วุ่นวาย แต่คนไม่มีปัญญาแล้ว ก็เข้าใจว่าที่นั่นมันวุ่นวาย พระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสอย่างนั้น

ให้มาดูโลกอันนี้...อันน่าตระการดุจราชรถ เพราะคนเขลาคือคนโง่ คือคนไม่รู้จัก คือคนหลงหมกอยู่ แต่ผู้รู้ทั้งหลายรู้แล้วไม่ข้องอยู่ ที่นั่นไม่วุ่นวาย ที่นั่นไม่ขัดข้อง ก็เพราะเห็นว่า ของเขา เป็นของเขา อยู่อย่างนั้น พื้นฐานของการประพฤติปฏิบัติ พื้นฐานของความเห็นก็ต้องเป็นอย่างนั้น ให้รู้ ถ้าเราไม่รู้มันก็เป็นทุกข์ ไม่รู้ ก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นตลอดกาลตลอดเวลา

อารมณ์มาทางตาก็มี หูก็มี จมูกก็มี ลิ้นก็มี กายก็มี เกิดมาทางจิตเฉยๆ ก็มี คือมีความรู้สึกเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนั้น ทั้งๆ ในเวลานั้นตา หู จมูก ลิ้น กาย ไม่สัมผัสถูกต้องอะไร แต่ว่ามันเป็นธรรมารมณ์ เป็นธรรมเก่าที่เก็บไว้ ในเวลานั้นมันระเบิดขึ้นมาอยู่ที่ใจเพราะว่าในเวลานั้นไม่ได้ยิน ไม่ได้เห็น ไม่อะไรก็ตามทีเถอะ แต่ว่าอันนั้นมันมีอยู่เป็นของเก่า เป็นธรรมารมณ์ เป็นธรรมะ + อารมณ์นั่นเอง มันฝังแน่นอยู่ในใจเรียกว่า "อุปธิธรรม" เมื่อได้ช่องเมื่อไร มันก็ระเบิดขึ้นมา เกิดความยินดีเกิดความยินร้ายขึ้นมา อันนี้คือของเก่าที่มีอยู่แล้ว ในปัจจุบันนั้น ตาก็ไม่ต้องเห็น หูก็ไม่ต้องได้ยิน จมูกก็ไม่ได้กลิ่น ลิ้นก็ไม่ได้รส กายก็ไม่ถูกต้อง แต่ว่ามีอารมณ์ทางจิตเกิดขึ้นมาเฉยๆ ที่เกิดขึ้นมาที่จิตนั้น จิตก็ยังหลงของมันอยู่เรื่อยๆ ยังไปหลงรัก ยังไปหลงใคร่อยู่ในสถานที่นั้นอีก ถ้าเราเห็นเช่นนี้ ถ้าเราดูเช่นนี้ เราทำสมาธิเห็นชัดอยู่อย่างนี้ เราก็พยายามดูซิว่า เกิดแล้วมันก็ดับ ดับแล้วมันก็เกิด เกิดแล้วมันก็ดับ มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น

พระโยคาวจรท่านเห็นชัดว่า อันนี้เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเท่านั้นเรียกว่า ธรรมะ เกิดแล้วก็ดับไป ดับแล้วก็เกิดขึ้นมา เกิดขึ้นมาแล้วก็ดับไป พระผู้มีพระภาคท่านให้เห็นจิตอันนี้เป็นของเกิดดับอยู่เท่านั้นมันไม่เป็นไปอย่างอื่นอีกถ้ารู้ชัดแล้ว มันก็เกิดดับของมันอยู่อย่างนั้นก็เหมือนโลกน่ะแหละ ถึงเวลาสว่างมันก็สว่าง ถึงเวลามืดมันก็มืด มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น แต่คนที่ยุ่งก็ไปให้โทษมันว่า มันมืดเร็วไปหรือมันสว่างเร็วไปอย่างนี้ ถ้ารู้ตามเป็นจริงแล้ว ก็เป็นเรื่องของมันเป็นอยู่อย่างนั้น อันนั้นเรียกว่าเราหลง พระพุทธเจ้าให้ประพฤติปฏิบัติเพื่อให้หายหลง พระโยคาวจรคือใคร? ก็คือพวกเรานี่เองแหละ ให้ศึกษาเข้าไปเห็นความจริง เมื่อจิตสงบมีสติอยู่ มีสัมปชัญญะอยู่ เป็นสมาธิมันก็เห็น ในที่สงบระงับ เมื่อเห็นอาการทั้งหลายเป็นเช่นนั้น ก็เกิดการวิเคราะห์วิจารณ์ขึ้นมา เพ่งสิ่งที่เกิดขึ้นมาอยู่นั้น เป็นอย่างนั้นอยู่เสมอ เมื่อเห็นอาการตามความเป็นจริงของมัน ก็รู้ว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อเห็นชัดเช่นนั้น เราก็ไม่ต้องไปเพิ่มอะไรขึ้นอีก ไม่ต้องไปถอนอะไรมันอีก ปล่อยมันอยู่ตามเช่นนั้นเสมอ คนที่ไปเพิ่มอะไรเข้ามา ไปถอนอะไรออกไป ก็คือคนหลงอารมณ์ จึงเกิดยุ่งเกิดวุ่นวายเกิดความไม่สงบ

cha 1พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าให้เห็นโลก คือเห็นโลกนี้ตามเป็นจริงอยู่ ท่านให้เห็นชัดด้วยปัญญาว่า มันเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่มีทางจะแก้ไข ท่านให้แก้ไขตัวเราเอง ไม่ใช่ไปแก้ไขอย่างอื่น ถ้าเราไปแก้ไขอย่างอื่นนั้นก็เรียกว่า มันเป็นภายนอก นึกว่าเหตุมันเกิดมาจากนั้นเช่นเรามองดูรูปหรือเราฟังเสียง ก็เห็นว่ารูปนั้นเราไม่ชอบ หรือเสียงนั้นเราไม่ชอบ ก็นึกว่ารูปนั้นเป็นเหตุ เสียงเป็นเหตุ ความเป็นจริงเหตุไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น

เหตุอยู่ที่จิตของเจ้าของนี่เอง เพราะเราเข้าไปสำคัญมั่นหมายว่า มันเป็นอย่างนั้น มันเป็นอย่างนี้ ความจริงนั้นเหตุเกิดที่เรา แต่เราไปเข้าใจว่าเหตุเกิดอยู่ที่รูป เสียง กลิ่น เมื่อมันกระทบถูกต้อง มันเกิดจากความเห็นนี้เอง อันนั้นมันก็อยู่สภาพของมันอย่างนั้น มิแปรเป็นอย่างอื่น ฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสให้พุทธบริษัททั้งหลายมาดูโลกอันนี้ให้แจ้ง ให้รู้เรื่องตามความเป็นจริงของมัน ถ้ารู้ตามความเป็นจริงของมัน

แล้วก็ไม่มีทางอะไรจะแก้ไขเห็นตามมันเสีย ปัญญารู้เท่าสังขาร ว่าสังขารนั้นเป็นจริงอย่างไร ให้รู้เท่าตามความเป็นจริงอย่างนั้นทุกอย่าง หูเราได้ยินก็ดี อายตนะทั้งหลายที่รวมอยู่นี้ มันเป็นสัจจธรรมทั้งนั้น คือความจริงทั้งนั้น แต่เราไม่รู้จักความจริงก็เลยกลายเป็นของปลอมไปเสีย เข้าไปปรุง ปรุงให้มันเป็นอย่างนั้น ปรุงให้มันเป็นอย่างนี้ ไปแต่งให้มันเป็นอย่างนั้น แต่งให้เป็นทุกข์ ก็เป็นทุกข์ ปรุงไปอย่างอื่นก็ไม่เป็น มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ถ้าเราเห็นสั้นๆ เช่นนี้ เราก็รู้จักสั่งสอนจิตของเจ้าของแล้วว่าอันนี้เป็นอารมณ์ อันนี้มันเป็นจิต

 อ่านต่อ : เห็นตามเป็นจริง ตอนที่ 2

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)