คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศช่วงวันหยุดยาว ระหว่างวันที่ 28 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทําให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกําลังอ่อน โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 30 – 31 ก.ค. 65 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยเริ่มมีกําลังแรงขึ้น ประกอบกับจะมีร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน ทําให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ สําหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกําลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 28 - 29 ก.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 - 31 ก.ค. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนบนของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ําสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-37 องศาเซลเซียส
ขอให้พี่น้องได้เตรียมตัวระมัดระวัง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสียงต่างๆ ติดตามข่าวสารประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยากันต่อไป
สภาพภูมิอากาศของโลก มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมากในทุกภาคส่วนของโลก วันนี้ (20 กรกฎาคม 2565) ที่ประเทศทางแถบยุโรปได้รับผลกระทบก่อนใคร นับเป็นครั้งเเรกที่ รัฐบาลอังกฤษ ประกาศ ภาวะฉุกเฉินแห่งชาติด้านอากาศ ในระดับรุนเเรงเช่นนี้สำหรับสภาพอากาศที่ร้อนจัด ขณะที่ "คลื่นความร้อน" (heat wave) ได้แผ่ปกคลุมหลายประเทศในยุโรป ณ ช่วงเวลานี้
สำนักอุตุนิยมวิทยาของอังกฤษระบุว่า ในวันจันทร์และอังคารนี้ (18-19 ก.ค.) อุณหภูมิในประเทศอาจสูงเเตะระดับ 40 องศาเซลเซียส หรือ 104 ฟาห์เรนไฮต์ ซึ่งความร้อนระดับดังกล่าวอาจทำให้ประชาชนที่ตามปกติมีสุขภาพเเข็งเเรงดี สามารถเจ็บป่วยรุนเเรงหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้
ขณะที่ใน ประเทศฝรั่งเศส สถานการณ์เลวร้ายยิ่งไปกว่านั้น เพราะอากาศร้อนระอุแตะระดับทำลายสถิติที่ 40 องศาเซลเซียสแล้ว และยังมีไฟป่าลุกลามต่อเนื่องจากสภาวะความแห้งแล้งและความร้อน
ไทเลอร์ รอยส์ นักอุตุนิยมวิทยาอาวุโสของ AccuWeather เตือนว่า ปีนี้คลื่นความร้อนที่พัดเข้ายุโรปตะวันตกมีความรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 200 ปี หรือนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1757 และกลายมาเป็นคลื่นความร้อนระยะยาวที่กินเวลาประมาณ 20 วัน ต่อเนื่องไปตลอดเดือนนี้และต้นเดือนสิงหาคม
คลื่นความร้อน หรือ ฮีตเวฟ (Heat Wave) เป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ที่อากาศมีปริมาณความร้อนมากกว่าปกติอย่างรวดเร็วในระยะเวลาหนึ่ง และอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นนี้ อาจเกิดยาวนานเป็นเวลาไม่กี่วันหรือนานหลายสัปดาห์ ตามปกติการให้นิยามคำว่า "คลื่นความร้อน" ไม่สามารถระบุอุณหภูมิที่แน่นอนได้ว่า อุณหภูมิเท่าใดจึงจะเรียกว่า เป็น "คลื่นความร้อน" เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีอุณหภูมิของอากาศปกติที่แตกต่างกัน และลักษณะของคลื่นความร้อนจะขึ้นกับลักษณะอากาศปกติของพื้นที่นั้น โดยอุณหภูมิของอากาศในพื้นที่ที่มีภูมิอากาศร้อนปกติ อาจเข้าข่ายเป็นคลื่นความร้อนสำหรับพื้นที่ที่มีอุณหภูมิปกติค่อนข้างต่ำก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organization: WMO) ได้กำหนดนิยามของคลื่นความร้อนเอาไว้ว่า หมายถึง ภาวะที่อุณหภูมิสูงสุดประจำวันเกินค่าอุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยประมาณ 5 องศาเชลเซียส ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน
ยกตัวอย่าง การเกิดคลื่นความร้อนตามนิยามของ WMO เช่น พื้นที่ A มีอุณหภูมิอากาศปกติที่ประมาณ 18-25 องศาเซลเซียส เมื่อมีการเคลื่อนที่ของมวลอากาศร้อนเข้ามาในพื้นที่ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเป็น 30-35 องศาเซลเซียสอย่างฉับพลัน ภายในเวลา 24 ชั่วโมง และอุณหภูมิสูงได้คงค่านี้เป็นเวลาหลายสัปดาห์ เราจึงจะเรียกว่าพื้นที่ดังกล่าวเกิดปรากฏการณ์ "คลื่นความร้อน"
การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิอากาศโดยคลื่นความร้อนสามารถเกิดได้ 2 รูปแบบ คือ
1. การเกิดคลื่นความร้อนแบบสะสมความร้อน
คลื่นความร้อนที่เกิดจากกรณีนี้ จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ได้สะสมความร้อนเป็นเวลานาน พื้นที่มีความแห้งแล้ง ปราศจากเมฆและลมสงบนิ่งเป็นเวลาหลายวัน ส่งผลให้มวลอากาศร้อนไม่เคลื่อนที่ อุณหภูมิอากาศของพื้นที่นั้นจึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมวลอากาศร้อนจะมีสะสมจนกลายเป็นคลื่นความร้อน การเกิดคลื่นความร้อนรูปแบบนี้ มักเกิดในแอฟริกา ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ อินเดีย และปากีสถาน
2. การเกิดคลื่นความร้อนแบบพัดพาความร้อน
ในกรณีนี้ คลื่นความร้อนเกิดจากการมีลมแรงที่หอบมวลความร้อนจากทะเลทราย หรือบริเวณเส้นศูนย์สูตร เข้ามาในพื้นที่ที่มีอากาศเย็นกว่า หรือพื้นที่เขตหนาว ส่งผลให้อุณหภูมิในพื้นที่นั้นเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และอุณหภูมิจะยังสูงอยู่จนกระทั่งลมร้อนนั้นได้พัดผ่านไป หรือสลายตัวไปเอง การเกิดคลื่นความร้อนรูปแบบนี้ มักพบในพื้นที่เขตหนาว เช่น แถบยุโรป
สาเหตุของโลกร้อน คือ ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจากการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล (น้ำมัน, ถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ, ถ่าน, ฟืนไม้) โดยนับตั้งแต่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงที่มนุษย์เริ่มให้พลังงานฟอสซิลอย่างถ่านหิน และตามมาด้วยน้ำมัน เพื่อการผลิตสินค้าผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม และการขนส่ง อุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลกสูงขึ้นเฉลี่ยแล้ว 1.1 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้โลกอยู่ในภาวะปั่นป่วนได้แล้ว
นับเป็นเรื่องโชคดีที่ยังไม่มีรายงาน "การเกิดคลื่นความร้อนในประเทศไทย" เลย เพราะในบรรดาประเทศที่มีปรากฏการณ์ดังกล่าว ล้วนได้รับผลกระทบมากมายจากความร้อนที่มีสะสมในพื้นที่ จนทำให้อุณหภูมิอากาศสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะในยุโรปและเอเชีย เช่น จีน ปากีสถาน บังคลาเทศ และอินเดีย ที่มีความผิดปกติของอุณหภูมิอากาศค่อนข้างมาก โดยในบางพื้นที่ของเอเชียอาจมีอุณหภูมิสูงตั้งแต่ 40 - 50 องศาเซลเซียส ในแต่ละปีจึงมีผู้คนทั่วโลกจำนวนหลายหมื่นคนที่เจ็บป่วย หรือเสียชีวิตจากโรคที่เกี่ยวข้องกับความร้อน (Heat-related illness) หรือจากการที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเพิ่มของอุณหภูมิที่สูงขึ้น สู่ระดับที่ร้อนจัดอย่างฉับพลันได้
ความเจ็บป่วยดังกล่าว ทำให้ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย จากปรากฏการณ์อากาศร้อนเพิ่มสูงตามไปด้วย นอกจากนี้ เรายังพบอีกว่า ในช่วงที่เกิดปรากฏการณ์คลื่นความร้อน ประชาชนต้องใช้พลังงานในอัตราสูงขึ้นมาก เนื่องจากต้องใช้เครื่องปรับอากาศเพื่อช่วยทำความเย็น ส่งผลให้บางพื้นที่ประสบกับปัญหาขาดแคลนพลังงานไฟฟ้า และทำให้เกิดผลกระทบอื่นๆ อย่างต่อเนื่องตามมา
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ประเทศในยุโรปส่วนใหญ่ ปกติจะมีอากาศหนาว การก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน จึงมีลักษณะเป็นตึก มีกำแพงหนาทึบ เพื่อช่วยกักเก็บความร้อนให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว จึงไม่นิยมติดตั้งเครื่องปรับอากาศทำความเย็นแบบบ้านเรา เมื่อเจอคลื่นความร้อนแบบฉับพลัน บ้าน สำนักงานจึงไม่สามารถอยู่อาศัยได้ เราจึงได้เห็นว่า พวกเขาออกมาอยู่นอกอาคาร ตามสวนสาธารณะกันเพื่อคลายร้อน
หลายชาติในยุโรป เดือดร้อนหนัก จากคลื่นความร้อน-ไฟป่า
สื่อต่างประเทศรายงานว่า จำนวนผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนในโปรตุเกสและสเปน เพิ่มเป็นกว่า 1,000 ราย และคาดว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากความร้อนที่แผ่ขยายไปยังส่วนอื่นๆ ของยุโรปตะวันตก หนึ่งในผู้เสียชีวิตชาวสเปน เป็นชายอายุ 60 ปี ที่มีอาชีพทำความสะอาดถนน เขาล้มลงเมื่อช่วงบ่ายวันศุกร์ระหว่างทำงานในกรุงมาดริด เมื่อหน่วยฉุกเฉินเดินทางไปถึง อุณหภูมิร่างกายของเขาอยู่ที่ 41.6 องศาเซลเซียส ก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในวันต่อมา
สำหรับบ้านเรานั้น แม้จะชินกับสภาพอากาศที่มีความร้อนในระดับ 25-35 องศาเซลเซียสกันมาทุกปี แต่ปีนี้เข้าใจว่า "คนไทยส่วนใหญ่จะหนาว" โดยเฉพาะคนในเมืองใหญ่ที่มีแต่ บ้านปูน ตึกรามสูงใหญ่ล้อมรอบ ไม่ได้สัมผัสกับลมธรรมชาติไหลผ่าน (ไม่มีร่มไม้ให้หลบร้อน เหมือนกระท่อมน้อยฮิมมูลแบบบ้านอาวทิดหมู) ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศกันทุกเวลาให้คลายร้อน แล้วทันใดนั้น! ก็ต้องประสบกับภัยหนาวอย่างรุนแรงจาก...
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)