foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

Global Warming

payu talomปีนี้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงไปทั่วโลก บางพื้นที่เกิดแผ่นดินไหวรุนแรง บางพื้นที่เกิดภาวะหนาวจัดชนิดที่บางแห่งไม่เคยมีหิมะตกมาก่อนนับสิบปี มาปีนี้ก็ตกหนักมากเป็นพื้นที่กว้างทั้งในยุโรป อเมริกา ตามที่เป็นข่าวปรากฏในรายการข่าวทางโทรทัศน์ไปทั่วโลก เฉพาะในประทศไทยเราก็ไม่เว้น มีทั้งฝน ทั้งลมหนาว ทั้งพายุฤดูร้อนในคราวเดียวกัน มีให้เห็นเมื่อไม่นานมานี้ บางพื้นที่ก็เจอพายุฤดูร้อนทำเอาหลังคาบ้านปลิว ฝุ่นคละคลุ้ง ลมฝน ลูกเห็บมายังกะดูในหนังสารคดี หรือหนังฮอลลีวู๊ดก็ไม่ปาน

ปีนี้ก็คงต้องระมัดระวังในการใช้น้ำกันให้มากนะครับ เพราะมีแววว่าจะร้อนมากๆ ในปีนี้ กลัวว่าน้ำที่มีในสระ ห้วย หนอง แม่น้ำสายหลักๆ จะระเหยไปหมดอย่างรวดเร็ว จนขาดน้ำอุปโภคบริโภค และถ้าปีนี้ฝนมาล่าก็อาจจะดือดร้อนกันครับ ในสภาวการณ์ปัจจุบันนี้ การทำการเกษตรในบ้านเราจะใช้วิธีการตามแบบโบราณกาลอาจจะไม่เหมาะสมแล้ว เพราะธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตไปมาก ป่าไม้หดหายไปมากกว่า 80% ของในอดีต เอาง่ายๆ ดอนปู่ตาที่เคยเป็นแหล่งอาหาร แหล่งพรรณพืชที่อุดมสมบูรณ์ยังเหลืออยู่กี่หมู่บ้านกัน ดอนปู่ตานี่คือกุศโลบายในการอนุรักษ์ธรรมชาติของบรรพบุรุษ เพื่อให้มีแหล่งอาหารทั้งพืชและสัตว์ สร้างความชุ่มชื้นให้ผืนดินจนเรียกฝนให้เพิ่มมากได้ สมัยนี้คนขี้โกงเยอะ ถึงกับบังอาจไปชวนปู่ตามาก๊งเหล้าดวลกัน จากนั้นก็พนันไฮโลเอาสังกะสีตูบเจ้าปู่จนเกือบหมด แอบไปลักลอบตัดต้นไม้ (ยิ่งไม้ตะเคียนราคาแพง ขโมยยิ่งเยอะ ความกลัวผีปู่ตาไม่มีแล้ว) เอาไปขายหาเงินใช้หนี้พนันกันหมดแล้ว

เศรษฐกิจ พอเพียง …จะทำความเจริญให้แก่ประเทศได้ แต่ต้องมีความเพียร แล้วต้องอดทน ต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทำโดยเข้าใจกัน เชื่อว่าทุกคนจะมีความพอใจได้…”

พระราชดำรัสของในหลวง รัชกาลที่ ๙ พระราชทาน ณ วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๑

การทำการเกษตรในปัจจุบัน ควรหันมาใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีมาช่วยให้มาก เอาง่ายๆ แค่ใช้มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน (ส่วนใหญ่ก็มีกัน และราคาก็ไม่แพงแล้ว ค่ายมือถือบางค่ายก็แทบจะแจกให้เลยถ้าใช้แบบรายเดือนกับเขา) ติดตามการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างสม่ำเสมอ ก็สามารถคาดการณ์ในการลงมือเพาะปลูกได้อย่างเหมาะสม ใช้แอพพลิเคชั่นข้อมูลทางการเกษตรที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐจัดทำขึ้น ก็สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์หาความเหมาะสม คุ้มค่า ในการลงทุนปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ แนะนำว่า อย่าทำการเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพราะโอกาสและความเสี่ยงจะสูงมากหากผลผลิตราคาตกต่ำหรือเสียหาย คำสอนของพ่อรัชกาลที่ 9 นั้น ถูกต้องที่สุดครับ "ปลูกทุกอย่างที่กิน และกินทุกอย่างที่ปลูก" ปลูกพืชผสมผสานพร้อมกับการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหารในครอบครัว เหลือก็เอื้อฟื้อเผื่อแผ่กับพื่อนบ้านญาติมิตร มีผลผลิตมากก็จำหน่าย

porpiang

“เศรษฐกิจ พอเพียง” เป็นปรัชญาที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 พระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไข เพื่อให้รอดพ้นและสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ และความเปลี่ยนแปลงต่างๆ

เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์

"ความพอเพียง” หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

  • ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิต และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
  • ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผล ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
  • ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต

โดยมีเงื่อนไขของการตัดสินใจ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้

  • เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในการปฏิบัติ
  • เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

แฟนานุแฟนของเว็บไซต์ ประตูสู่อีสาน แห่งนี้ ทั้งที่เป็นเกษตรกรและไม่เป็นก็ตาม ผมขอแนะนำให้ติดตามข่าวสารการพยากรณ์อากาศจากเว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีข่าวสารและข้อมูลต่างๆ มากมาย รวมทั้งแอพพลิเคชั่นให้ท่านได้ดาวน์โหลดด้วย

อากาศร้อนๆ ก็ใจเย็นๆ ร่มๆ ไว้นะครับ ใช้รถใช้ถนนก็ต้องระมัดระวัง เป็นมิตรกับเพื่อนร่วมทาง โดยเฉพาะช่วยกันหลีกทางให้กับรถพยาบาล รถฉุกเฉิน เพื่อความสุขของการอยู่ร่วมกันในสังคม ขอบพระคุณครับ

buffalo children 01

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
บันทึกเมื่อ : 11-03-2018

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)