foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

isan hot hot

วัสดีปีใหม่ ๒๕๖๓ มายังพี่น้องแฟนนานุแฟนของ "ประตูสู่อีสานบ้านเฮา" ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในดินแดนอีสาน ที่ท่านทั้งหลายเคารพนับถือ ได้โปรดดลบันดาลให้พี่น้องป้องปายบ้านเฮามีความเกษมสุขสำราญเบิกบานใจ ม้มปีนี้ไปได้แบบหม่อนๆ เด้อครับเด้อ

เป็นชาวนา เป็นเกษตรกร อย่าคอยแต่ฟ้าและฝน พ่อหลวง (รัชกาลที่ ๙) ท่านทรงแนะให้พวกเราสร้างแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้เป็นของตนเองมานานหลายสิบปี แต่จะมีสักกี่คนที่ลงมือทำและเชื่อเช่นนั้น คนที่ยอมอุทิศที่ดินตนเองเพื่อทำแหล่งน้ำล้วนแต่ประสบผลสำเร็จ มีผลผลิต มีรายได้คุ้มค่ากับการใช้ที่ดินบางส่วนเป็นที่กักเก็บน้ำ ไม่ต้องรอคอยการช่วยเหลือจากใคร เกษตรกรไทยได้เวลาเปลี่ยนแปลงแล้ว... "

ปีนี้คงบ่ต้องอาศัยหมอดู หมอเดา จากสำนักใดๆ มาทำนายทายทักให้หดเหี่ยวในหัวใจดอกน้อครับ ตาเห็นกันทุกท่านอยู่แล้วจากสภาพดินฟ้าอากาศที่วิปริตแปรปรวนในปีที่ผ่านมา ทั้งแห้งแล้งกันดารแผ่ออกไปเป็นวงกว้าง แต่ก็ยังมีภัยพิบัติน้ำท่วมหัวในบางพื้นที่ชนิดที่เตรียมตัวกันไม่ทัน กว่าจะผ่านพ้นไปได้ก็เล่นเอาเสียหายไปหลายแสนหลายล้าน เดือดร้อนกันไปทั่วถิ่นเลยทีเดียว บางเรื่องก็โทษภัยธรรมชาติได้อยู่อย่างฟ้าฝน พายุที่ถล่มมาผิดจังหวะไปหน่อย แต่บางเรื่องก็ต้องโทษคน โทษมนุษย์ขี้เหม็นนี่แหละที่เห็นแก่ตัว สร้างความเดือดร้อนให้เกิดขึ้น อย่างปรากฏการณ์แม่น้ำโขงสีครามที่น้ำลดลงจนเห็นเป็นสีฟ้า แล้งไปกันเป็นทางยาวพาดผ่านในหลายประเทศแถบนี้ ตั้งแต่จีน ลาว พม่า ไทย เขมร และเวียดนาม ทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำอันอุดมสมบูรณ์ในอดีต

kong blue river 5

สถานการณ์เลวร้ายที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขงในปี 2562-2563 แม่น้ำโขงแห้งขอด

ก็ด้วยการสร้าง "เขื่อน" กั้นลำแม่น้ำโขงตั้งแต่ในจีน ลาว ทำให้เกิดการขัดขวางการไหลของน้ำมาเป็นระยะ ทำให้การขึ้นลงของแม่น้ำโขงตามธรรมชาติเปลี่ยนไปไม่เป็นไปตามฤดูกาลของมัน ทำให้การเกิดตะกอนดินตามธรรมชาติเปลี่ยนไปมีน้ำนิ่งใสจนสะท้อนสีของท้องฟ้ากลายเป็นสีน้ำทะเล เกิดเกาะแก่งตามลำน้ำโขงโผล่ขึ้นมากมายเพราะน้ำลด ขัดขวางการเดินเรือทั้งเรือขนส่งสินค้า เรือโดยสารนำเที่ยว และแม้แต่เรือประมงหาปลาของชาวบ้านก็มีโอกาสติดเกาะได้โดยไม่ทันตั้งตัว ปลาหลากหลายสายพันธุ์อาจสูญหายไปจากแม่น้ำโขง ด้วยสภาพความอุดมสมบูรณ์ที่เปลี่ยนไป หลงทิศหลงฤดูไม่เข้าใจในสภาวะน้ำที่ผันแปรทำให้ไม่วางไข่ หรือวางไข่แล้วเกิดน้ำเหือดแห้งกระทันหันจนไม่ฟักตัว หรือไม่สามารถว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ในถิ่นที่เคยกำเนิดในอดีต นี่คือฝีมือมนุษย์ล้วนๆ ไม่ใช่ฟ้าดินอีกต่อไปแล้ว

ก้าวต่อไป 2563

ปลายปี 2562 เราได้เห็นผลกระทบในด้านเศรษฐกิจที่ค่อนข้างรุนแรงกันไปทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะแค่ประเทศไทยเราเท่านั้น สถานการณ์ "ข้าวยากหมากแพง" นั่นเกิดขึ้นไปทั่วโลกเลยทีเดียว จากสงครามทางการค้าของ 2 ยักษ์ใหญ่ จีน-อเมริกา ทะเลาะกันส่งผลให้เกิดการชะลอตัวของเศรษฐกิจไปกันทั่วโลก ค่าเงินบาทของไทยเราก็สูงขึ้นผิดปกติ ยาวนาน ส่งผลให้การค้าขายของเราตกต่ำไปด้วย ถ้าจะให้รอดในสภาพเศรษฐกิจเช่นนี้ เราต้องใช้กลยุทธ์ "สูงสุดคืนสู่สามัญ" นั่นคือ "น้อมนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่ ๙ ของชาวไทย" นำมาประยุกต์ใช้กัน อย่างไร?

ความแห้งแล้งปีนี้ต้องบอกว่า หนักหน่วง รุนแรง ยิ่งกว่าทุกๆ ปีที่ผ่านมา เริ่มกันตั้งแต่ต้นปีและจะยาวนานไปถึงพฤษภาคม หรือมิถุนายน หากว่าฟ้าฝน พายุมาล่าช้ากว่าทุกปี ต้องบอกว่าช่วยกันประหยัดน้ำอุปโภค บริโภค งดการทำเกษตรที่ใช้ปริมาณน้ำมากอย่างการทำนา เพราะไม่รอดแน่ๆ จะเสียหายไปมากกว่าเดิมแทบสิ้นเนื้อประดาตัว จะเกิดศึกชิงแย่งน้ำกันในหลายพื้นที่ (ใจเย็นๆ เด้อพี่น้อง ทุกข์นำกันเบิดนั่นหล่ะ) น้ำใต้ดินที่เคยมีก็ไม่อาจจะเพียงพอต่อไปอีกแล้ว จะทำอย่างไรดี สั้นๆ ครับ อย่านิ่งดูดายทุกหน่วยงาน (ราชการ องค์กร เอกชน ส่วนท้องถิ่น ราษฎร) ต้องร่วมด้วยช่วยกัน ขุดลอกแหล่งน้ำที่ตื้นเขินในพื้นที่ของตน จะด้วยแรงคนหรือเครื่องจักรที่มีอยู่ เพื่อรอรับน้ำที่จะมาในปีต่อไป...

ปีใหม่นี้ขอไม่เขียนให้อ่านยาวๆ ครับ ให้ท่านใช้ตาดู ใช้หูฟัง เข้าใจแล้วไปปฏิบัติเถอะครับ ประสบผลสำเร็จแน่ๆ ไม่ต้องใช้ที่ดินเยอะๆ ให้เกินกำลังตนเอง ทำน้อยให้ได้มาก ให้พอเพียง มาดูกันเป็นขั้นตอนเลยครับ

โคก หนอง นา โมเดล

“โคก หนอง นา” เป็นโมเดลต้นแบบที่ "สถาบันเศรษฐกิจพอเพียงและมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ" น้อมนำพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ด้านการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการน้ำและพื้นที่การเกษตร ผสมผสานกับภูมิปัญญาพื้นบ้านได้อย่างสอดคล้องกันโดยแบ่งพื้นที่ เป็นสัดส่วน 30 : 30 : 30 : 10 ดังนี้

30% สำหรับแหล่งน้ำ โดยการขุดบ่อทำหนองและคลองไส้ไก่
30% สำหรับทำนา ปลูกข้าว
30% สำหรับทำโคกหรือป่า ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ก็คือปลูกไม้ใช้สอย ไม้กินได้และไม้เศรษฐกิจ เพื่อให้ได้ประโยชน์ คือ
    1. มีกิน คือ มีผัก มีอาหารไว้กิน
    2. มีอยู่ คือ สามารถตัดไม้ไปสร้างบ้าน ทำที่อยู่ได้
    3. มีใช้ คือ มีไว้ใช้สอยในครัวเรือน ใช้เป็นยาและสมุนไพร ใช้เป็นฟืน เป็นเครื่องมือใช้สอยในบ้าน
    4. มีความสมบูรณ์ และความร่มเย็น
10% สำหรับที่อยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ ปลา วัว และควาย เป็นต้น

ทุกอย่างทั้งหมดนี้อยู่รวมกันบูรณาการเป็นวรรณะเกษตร ทางมูลนิธิฯ ได้อธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจแนวคิดนี้อย่างง่ายๆ โดยเรียกว่า “โคก หนอง นา”

ตอนที่ 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ : ศาสตร์พระราชาสู่โคก หนอง นา โมเดล (1/8)

ตอนที่ 2 เกษตรทฤษฎีใหม่ : หลักการออกแบบพื้นที่ด้วยภูมิสังคม (2/8)

ตอนที่ 3 เกษตรทฤษฎีใหม่ : การเก็บน้ำด้วยโคก หนอง นา โมเดล (3/8)

ตอนที่ 4 เกษตรทฤษฎีใหม่ : โคก หนอง นา พลิกฟื้นพื้นที่แล้ง (4/8)

ตอนที่ 5 เกษตรทฤษฎีใหม่ : โคก หนอง นา พลิกฟื้นพื้นที่แล้ง ตอนที่ 2 (5/8)

ตอนที่ 6 เกษตรทฤษฎีใหม่ : โคก หนอง นา ดาราโมเดล ตอนที่ 1 (6/8)

ตอนที่ 7 เกษตรทฤษฎีใหม่ : โคก หนอง นา ดาราโมเดล ตอนที่ 2 (7/8)

ตอนที่ 8 เกษตรทฤษฎีใหม่ : โคก หนอง นา โมเดล เพื่อการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (8/8)

การกักเก็บน้ำด้วยโคก หนอง นา โมเดล

"นํ้าฝน" อาจไร้ค่าและอาจสร้างปัญหาในยามที่มีมากเกินไป แต่หากฝนทิ้งช่วง นํ้าเพียงน้อยนิดก็มีคุณค่ามหาศาล ความไม่สมดุลนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการ “เก็บนํ้า” ในตอนนี้จะเล่าถึงวิธีการกักเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ ซึ่งมี 3 วิธี คือ

1. เก็บน้ำไว้ในหนอง : การขุดหนองจะต้องขุดให้คดโค้ง และมีระดับตื้นลึกแตกต่างกันไปในแต่ละจุด ก่อนขุดต้องมีการคำนวณปริมาตรนํ้าที่สามารถเก็บได้ในหนองเพื่อให้พอใช้งาน
2. เก็บน้ำไว้บนโคก : ทำได้โดยการปลูกป่าและเก็บในระบบรากของต้นไม้ที่ปลูกไว้ 5 ระดับ ได้แก่ ไม้ระดับสูง ไม้ชั้นกลาง ไม้ชั้นเตี้ย ไม้เรี่ยดิน และไม้หัวใต้ดิน ไม้แต่ละระดับควรจะมีอย่างน้อยไม่น้อยกว่า 21 ชนิด เพื่อสร้างความหลากหลายของระบบราก เมื่อฝนตกลงมาระบบรากจะช่วยอุ้มน้ำไว้ในดิน
3. เก็บไว้ในนา : ยกคันนาให้สูงและกว้าง สามารถเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วง นอกจากนี้เรายังสามารถปลูกพืชผักไว้บนคันนาได้อีกด้วย

เราจะสู้ภัยแล้งได้ด้วย "ศาสตร์พระราชา" ปลดหนี้สินมีอยู่มีกินด้วย "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เราทำเพื่อกินเหลือค่อยขายขาย ไม่ใช่ตั้งเป้าเพื่อขายซึ่งสุท้ายเราก็ไม่เคยรวยสักที  ปีนี้ขอใช้สำนวนนวนิยายกำลังภายในว่า "สูงสุดคืนสู่สามัญ" ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว ปลดแอกความยากจนด้วยความพยายามอย่างพอเพียงกันเถอะ

green isan

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)