คำว่า "ทวย" ในภาษาของคนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือคนอีสาน มีความหมายเป็น 2 อย่าง ทั้งเป็นปริศนาหรือปัญหา และเป็นทั้งคำทำนายหรือคำแก้ ทั้งนี้แล้วแต่สถานะที่ใช้ เช่น
- ความหมายที่เป็นคำปริศนาหรือปัญหา เช่น นาย ก. เป็นเพื่อนรักกับ นาย ข. ตอบหรือแก้นาย ก. จะว่า
"ข. กูสิทวยมึง (ฉันจะตั้งปัญหาถามแก) มึงสิแก้ได้บ่หมอ (เอ็งจะแก้ได้ไหมเพื่อน?)" นาย ข. ก็จะพูดว่า "มึงลองทวยมาเบิ่ง (เอ็งลองตั้งคำถามมาดู) กูสิแก้ (ฉันจะตอบ)"
ให้พึงสังเกตให้ดีว่า คำว่า "ทวย" ที่เป็นลักษณะของปริศนาหรือปัญหานี้ ท่านจะใช้กับคำพูดที่ไม่มีสิ่งของให้ดู ถ้าจะเรียกว่า เล่นเชาว์ปัญญากันก็ไม่น่าจะผิด
ตัวอย่าง ความหมาย ทวย ที่เป็นปริศนาหรือปัญหา
- ผู้อยู่โคกปั้นถ้วย เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ มดลิ้น (มันทำรู มันขนดินมาวางไว้เรียงรายรอบรู มีขอบสูงเหมือนถ้วย แต่ความจริงไม่มีมดลิ้นทำรูในขณะที่ถามกัน
- ผู้อยู่ห้วยสานมอง เจ้าว่าแม่นหยัง?
คำตอบ แมงย่างชิ้น (แมงมุมป่าชนิดหนึ่ง ตัวใหญ่ยาวชอบทำตาข่ายขึงดักอาหารระหว่างต้นไม้กับต้นไม้) ในขณะที่ถามปัญหากันก็ไม่มีแมลงที่ว่านั้นเลย
- ความหมายที่เป็นการทำนายหรือไข ความหมายนี้จะใช้ในลักษณะที่ให้ทายสิ่งที่มีอยู่ในที่นั้น และในขณะนั้น แต่ได้ซ่อนไว้หรือปกปิดไว้ ตัวอย่าง เช่น
- นาย ก. เป็นเพื่อนนาย ข. กำเม็ดมะขามไว้ในมือโดยที่นาย ข. ไม่เห็น แล้วถามนาย ข. ว่า "ข. มึงลองทวยเบิ่ง (เองลองทำนายหรือทายดูสิ) ว่าแม่นหยังที่กูกำไว้ในมือเดี๋ยวนี้ (อะไรที่ฉันกำไว้ในมือขณะนี้)" พอทายเสร็จ นาย ก. ก็แบมือออกให้ดู ให้เห็นได้ทันที นี่คือคำว่า ทวย มีความหมายเท่ากับคำว่า "ทายหรือทำนาย"
- น.ส.มี ซ่อนลูกของนางมา เพื่อนกันไว้ในห้องนอน แล้ว น.ส.มี ก็ถามนางมาเพื่อนกันว่า "มา! โตลองทวยเบิ่งว่า เฮาเอาลูกโตไปไว้ไส" พอทายเสร็จก็พาเข้าไปดูได้
คำว่า ทวย ในตัวอย่างทั้งสองข้อ จึงมีความหมายเท่ากับคำว่า ทำนายหรือไข
แต่คำว่า ความทวย ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะหมายถึง ปัญหา หรือ ปริศนา ตามความหมายที่หนึ่งเท่านั้น
คำทวย
รู้จักความทวย | ลักษณะของความทวย | ประเภทของความทวย | ความทวยเรียงตามอักษร