คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
คำอีสาน | ความหมายในภาษากลาง |
ผักกะแยง | ผักกระออม ชื่อผักชนิดหนึ่งเกิดตามท้องนาหรือที่ลุ่ม มีกลิ่นหอม ฉุน เรียก ผักกะแยง ผักขะแยง ก็เรียก ใส่ในต้มส้มกบพร้อม มะขามอ่อน อร่อยนักแล |
ผักขา | ผักชะอม ชาวอีสานนิยมใส่ในแกงหน่อไม้ ทอด/เจียวใส่ไข่ จิ้มกับน้ำพริกก็อร่อย |
ผักก้านย่า | ผักตระกูลเดียวกับชะอม ลำต้นและกิ่งเป็นหนาม ใบเล็ก กลิ่นหอม ฉุน ยอดอ่อนใช้กินเป็นอาหารได้ กินกับซุบหน่อไม้ดีนัก เรียก ผักก้านย่า ผักกาดย่า ผักกะย่า ก็ว่า |
ผักอิฮุม | มะรุม ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง มีลูกเป็นฝักกลม ยาวขนาด 1 ฟุต ใช้เป็นอาหารและทำยาได้ |
ผักอิตู่ | แมงลัก เรียกผักอิตู่ มีสองชนิด คือผักอิตู่ลาวมีกลิ่นหอม และผักอิตู่ไทยมีกลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหาร |
ผักเม็ก | เสม็ด ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง ใบอ่อนเป็นผักใช้กินได้ |
ผักตำนิน | ผักตำลึง ชื่อผักเป็นเถาชนิดหนึ่ง เกิดตามรั้วบ้านหรือต้นไม้ เป็นผักช่วยชาติยามยุค IMF เช่นนี้ ปลูกง่าย ไม่ต้องการ การดูแลรักษาเป็นพิเศษ |
ผักอิเลิด | ช้าพลู ชื่อพรรณไม้ขนาดเล็ก ใช้ทำยาและกินเป็นอาหารได้ โดยเฉพาะแกงอ่อมถ้าใส่ผักอิเลิดรสชาติแซ่บอย่าบอกใคร |
สิงไค | ต้นตะไคร้ ใช้เป็นอาหารและทำยาสมุนไพร |
ผักกะเดา | ผักสะเดา มีรสขม ใช้เป็นอาหารและกินรักษาไข้ได้ |
ผักแกงขม | สะเดาดิน ชื่อพืชชนิดหนึ่ง เกิดตามที่ชื้นแฉะ เช่น ตามปากบ่อ และทุ่งนา ใช้กินเป็นอาหารและเป็นยาแก้และป้องกันไข้ได้ เรียก ผักแกงขม ผักแก่นขม หรือผักดางขม ก็ว่า นิยมเอามาทำแกงอ่อม ใส่หอยจูบดีนักแล |
ดอกกระเจียว | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ดอกมีลักษณะเป็นช่อเหมือนดอกว่าน ชอบเกิด ในป่าโปร่งที่มีดินเป็นเอือด (มีธาตุเกลือผสม - ดินโป่ง) ใช้ส่วน ดอกเป็นอาหาร เรียก ดอกกระเจียว จะนึ่งหรือลวกจิ้มแจ่วหรือ ป่นกบ ป่นปลาก็อร่อย |
คำอีสาน | ความหมายในภาษากลาง |
เห็ดกะด้าง | เห็ดชนิดหนึ่งเกิดตามขอนไม้ที่ผุ เรียก เห็ดกะด้าง เห็ดลม เห็ดบด ก็เรียก |
เห็ดปลวก | เห็ดโคน เกิดตามจอมปลวก หลังสีเขียว เรียก เห็ดปลวกใหญ่ อีกชนิดหนึ่ง ดอกเล็ก สีขาว เกิดตามพื้นดินทั่วไป เรียก เห็ดปลวกน้อย เห็ดปลวกไก่น้อย |
เห็ดละโงก | เห็ดจำพวกหนึ่ง ดอกใหญ่สีขาว เรียก เห็ดละโงกขาว สีเหลือง เรียก เห็ดละโงกเหลือง ใช้เป็นอาหารได้ |
เห็ดใค | เห็ดชนิดหนึ่งเกิดตามป่า หรือจอมปลวก (โพน) มีกลิ่นหอม สีเหมือนขี้ไคล |
เห็ดตีนแฮด | เห็ดชนิดหนึ่ง ตีนใหญ่คล้ายตีนแรด เรียก เห็ดตีนแฮด ใช้กินเป็นอาหารได้ |
เห็ดหน้างัว | เห็ดชนิดหนึ่งมีขนาดใหญ่ คล้ายหน้างัว เรียก เห็ดหน้างัว |
เห็ดผอ | เห็ดเผาะ เห็ดชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นลูกกลมคล้ายลูกชิ้น อยู่ตามหน้าดินร่วน มีสองชนิด คือ เห็ดผอหนังมีรสอร่อย และเห็ดผอฝ้าย ไม่เป็นที่นิยมรับประทาน |
เห็ดถ่าน | ชื่อเห็ดชนิดหนึ่ง ดำเหมือนถ่านใช้กินได้ |
แนะนำความรู้ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ "พืชผัก สมุนไพรอีสาน ที่มากด้วยประโยชน์และคุณค่าทางอาหาร"
ชื่อ | ความหมาย/ลักษณะ |
ปลาค่อ | ปลาช่อน มีหัวคล้ายหัวงู มีเกล็ดคล้ายปลาโด มีสองชนิด คือ ปลาค่อน้อย หรือ ปลากั้ง และปลาค่อใหญ่ |
ปลาเข็ง | ปลาหมอ เป็นปลาเกล็ดชนิดหนึ่ง ครีบหลังแข็ง แหลมคม ภาษิตมักบอกว่า ปลาหมอตายเพราะปาก |
ปลาปึ่ง | ปลาเทโพ ปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ด คล้ายคลึงกลับปลาสวาย ปลาเคิง ด้านข้างแก้มมีจุดดำ เนื้อนุ่มรสอร่อย เก็บถนอมอาหารโดยการทำเค็มสับปะรด |
ปลาตอง | เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีเกล็ด ลำตัวแบน มี 2 ชนิดคือ ปลาตองนา และปลาตองกลาย ภาษากลางเรียก ปลากราย |
ปลากะเดิด | ปลามีเกล็ด ตัวแบน ลำตัวสองข้างมีจุดดำ หรือปลากระดี่ |
ปลาฮากกล้วย | ปลาช่อนทราย ชื่อปลาชนิดหนึ่งมีลักษณะเหมือนรากกล้วย เรียก ปลาฮากกล้วย ปลาฮ่างกล้วย |
ปลาเซือม/ปลานาง | เป็นปลาเนื้ออ่อนชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด เนื้อนุ่มรสอร่อย ไม่ว่าจะนึ่ง หรือ ทอดกระเทียมพริกไทย |
ปลาแข้/ปลาเคิง | เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด โคนหางคอด ปากกว้าง หูแดง มีลักษณะคล้ายปลาปึ่ง แต่ตัวโตกว่า เนื้อเหนียวนุ่ม ใช้ลวกจิ้ม น้ำพริก หรือทำลาบก็อร่อยนัก |
ปลากด | ปลาไม่มีเกล็ด มีเงี่ยง มีหลายชนิด ชนิดสีเหลืองปนขาว เรียก ปลากดเหลือง ชนิดสีค่อนข้างดำ เรียก ปลากดหม้อ ชนิดตัวเล็ก เรียก ปลากดป่อง |
ปลากะแยง | ปลาแขยง ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิดหนึ่ง เกิดในน้ำจืด เรียก ปลากะแยง ขะแยง ก็เรียก |
ปลาค้าว | เป็นปลาเนื้ออ่อนขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด นิยมใช้ทำอาหาร ประเภทลาบ เช่นกัน |
ปลาโด | ปลาชะโด คล้ายกับปลาช่อนแต่ลำตัวสั้นกว่า มีเนื้อแน่นสีขาว ทำปลาส้มขึ้นชื่อ เรียกว่า ส้มปลาโด มีชื่อเสียงแถบอำเภอไชยบุรี จังหวัดนครพนม |
ปลาหลด | เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง ตัวกลมๆ ปากแหลม เกิดตามหนองบึง หรือ ท้องนา ตากแห้งแล้วทอดกรอบ แกล้มกับผักดอง และแจ่ว อีสานวิเศษนัก |
ปลาหลาด | ปลากระทิง ตัวเล็กยาว ค่อนข้างแบน ลักษณะคล้ายปลาหลด แต่ตัวใหญ่กว่า พื้นสีน้ำตาลแก่ บางตัวมีลายขาวเป็นวงกลม ๆ บางตัวมีลายเป็นบั้ง ๆ คาดจากหลังถึงใต้ท้อง มีครีบบนสันหลัง ยาวติดต่อกันจนถึงหาง ปลายจมูกแหลม |
ชื่อ | ความหมาย/ลักษณะ |
แมงกุดจี่ | แมลงตัวเล็กสีดำ อาศัยหากินในกองขี้ควายตามไร่นา แมงจุดจี่ ก็เรียก |
แมงคันโซ้ | แมลงปอ มีลักษณะตัวยาวเหมือนอุปกรณ์วิดน้ำของชาวนาซึ่งเรียกว่า คันโซ้ จึงเรียกว่า แมงคันโซ้ |
แมงคับ | แมลงทับ เป็นแมลงปีกแข็ง มีปีกสีเขียวเลื่อมพราย เรียกว่า แมงคับ |
แมงแคง | แมลงชนิดหนึ่ง ลำตัวแบน มีกลิ่นฉุน เรียกว่า แมงแคง |
แมงง้วง | แมลงชนิดหนึ่งจำพวกจักจั่น ร้องเสียงแหลมและเสียงดังในช่วงหัวค่ำ เรียก แมงง้วง |
แมงง้องแง้ง | ลูกน้ำ ที่เกิดจากไข่ของยุง มีชีวิตในน้ำ และเจริญเติบโตเป็นตัวอ่อน ของยุงในที่สุด |
แมงงอด | แมงป่อง มีหางงอยกชูขึ้น เป็นสัตว์มีพิษ มีเหล็กไน เมื่อต่อยจะฝังเหล็กไน ซึ่งมีพิษทำให้เจ็บปวด |
แมงจินาย แมงจิป่ม แมงจิหล่อ |
เป็นสัตว์พวกตระกูลจิ้งหรีด ร้องเสียงแหลม ตัวสีดำหรือน้ำตาลเรียก แมงจินาย ถ้าตัวโตกว่ามีสีน้ำตาล เรียก จิป่ม (จิ้งโกร่ง) หรือ จิหล่อ |
แมงซอน | แมงกระซอน มีลักษณะตัวยาว ปีกสั้น ๆ ชอบมุดไปตามดินทรายเปียกชื้น อาศัยตามชายบึง หรือหนองน้ำ |
แมงบ้ง | ตัวบุ้ง ระยะตัวหนอนของแมลง เรียก แมงบ้ง |
แมงบ้งกือ | กิ้งกือ เป็นสัตว์ที่มีขามากมายจนนับไม่ได้ โบราณจึงเรียกว่า แมงบ้งกือ คือ มีขนนับเป็นกือ ๆ |
แมงย่างซี้น | ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง สีเขียวลาย ชอบดักข่ายเพื่อจับสัตว์ที่มาติดกินเป็น อาหาร เรียก แมงย่างซี้น ใช้เรียกคนที่ผอมแห้งแรงน้อย ว่า "เจ้าจ่อย ปานแมงย่างซี้น" |
แมงวัน แมงหมี่ | แมลงวัน ชอบตอมอาหารและของเหม็น แมลงหวี่ เป็นแมลงตัวเล็ก ๆ สีดำ ชอบบินตอมหู ตอมตาคน |
แมงกระบี้ | แมลงปอ ชื่อแมลงจำพวกหนึ่งมีหลายชนิด ปีกสีน้ำตาลบ้าง สีขาวจุดดำ บ้าง เวลาไข่ออกมาเป็นตัวหนอนของตัวไหม กินใบหม่อนเป็นอาหาร คนอีสานเรียก ตัวม้อน เมื่อแก่จนเข้าฝักแล้วจะนำมาต้มสาวเอาเส้นไหม เพื่อใช้ทอเป็นเสื้อผ้า แมลงชนิดตัวเล็กเรียกว่า แมงกะบี้ ตัวโตเรียก แมงกะเบื้อ |
ชื่อ | ความหมาย/ลักษณะ |
กะปอม | กิ้งก่า เรียกว่า กะปอม มีหลายชนิด ชนิดคอสีครามเรียก กะปอมก่า ชนิดคอสี แดง เรียก กะปอมคอแดง ชนิดมีลายสีเหลืองยามตามข้างเรียก กะปอมไหม หรือกะปอมแม่ ชนิดมีปีกบิน/ร่อนได้ เรียก กะปอมปีก ชนิดมีคอสีดำและสีแดง เรียก กะปอมขาง |
กบ | สัตว์สี่เท้าตัวใหญ่กว่าเขียด อยู่ในน้ำหรือบกก็ได้ เป็นสัตว์ประเภทครึ่งบครึ่งน้ำ มีหลายชนิด หลายพันธุ์ |
เขียด | สัตว์สี่เท้าไม่มีหาง เป็นสัตว์เลือดเย็น รูปร่างคล้ายกบแต่เล็กกว่า มีหลายชนิด หลายพันธุ์ ชื่อเรียกแตกต่างกันไป คางคกเรียก เขียดคันคาก เขียดตัวเล็กเฝ้า ทุ่งนา เรียก เขียดจ่านา เขียดกบบัวเรียก เขียดโม้ เขียดที่มีลำขาเหลืองเลื่อมเรียก เขียดคาคำ เขียดจับนม ขายาวเรียก เขียดตาปาด เขียดที่มีลำตัวสีเหลือง เรียก เขียดเหลือง เขียดที่ร้องเสียงแอะๆ เรียก เขียดบักแอะ เขียดบักน้ำ |
แข้ | จรเข้ ชื่อสัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนึ่ง ขนาดใหญ่ คางสั้น หัวยาว มีปุ่มเหนือปลาย ปากมน ปุ่มนี้เรียก ขี้หมาก้าย หนังที่หลังเป็นเกล็ดขรุขระ หางยาวแบนตามส่วน อาศัยอยู่ทั้งในน้ำจืดก็มี น้ำเค็มก็มี เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ เรียก แข้ ขี้แข้ จิแข้ ก็ว่า |
จอนฟอน | พังพอน ชื่อสัตว์สี่เท้าชนิดหนึ่งคล้ายกระรอก แต่โตกว่า เรียก จอนฟอน เป็นคู่อริกับงูเห่า |
เจีย | ค้างคาว ค้างค้าวมีหลายชนิด ชนิดตัวใหญ่เรียก เจียกา ขนาดกลางเรียก เจียดังวีก ขนาดเล็กเรียก เจียหนู บางถิ่นเรียก อีเจีย |
คำอีสาน | ความหมาย |
ลก | น. เล้าไก่ เรียกว่า ลกไก่ |
ล่ง | ว. โล่ง ว่าง เปล่า ไม่มีเครื่องกำบัง เช่น หายใจสะดวก (ในเวลาเป็นหวัด) เรียก หันใจล่ง |
ลงข่วง | ก. สถานที่สำหรับปั่นฝ้าย เรียก ข่วง ข่วงนี้ปลูกยกพื้น สูงประมาณหนึ่งศอก รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างยาวเท่ากับจำนวนคนที่จะมาใช้ ไม่มุงหลังคา หญิงสาวชาวอีสานหลังจากดำนาแล้ว จะมาใช้ที่นี่ฝึกหัดทำฝ้าย ทำไหม เพื่อทอผ้านุ่งผ้าห่ม ในห้วงระยะเวลาตั้งแต่เดือน 11 ถึงเดือน 4 เป็นเวลานาน 6 เดือน ชายหนุ่มก็จะมาพูดเกี้ยวพาราสี ถ้าชอบพอก็สู่ขอกันตามประเพณี |
ลงแขก | ก. การขอแรงญาติพี่น้องให้มาช่วยทำงาน โดยไม่ให้ค่าจ้างรางวัล เรียก ลงแขก คนอีสานสมัยโบราณช่วยเหลือเกื้อกูลกันเกือบจะทุกกิจการ การขอแรงไหว้วานญาติพี่น้องเพื่อช่วยเหลือการงานจึงมีเป็นประจำ |
ลงทึน | ก. สิ่งที่ลงไปทีแรกเรียกทึน (ทุน) ผลที่ได้เกินทึนเรียกกำไร การทำอะไรจะต้องลงทุนก่อน การลงทุนเรียก ลงทึน |
ลงเลข | ก. การดูหมอเรียก ลงเลข เลขที่คนโบราณใช้ดูเรียก เลขหางหมา การดูหมอเป็นประเพณีนิยมกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ |
ลนลน | ว. พูดพล่าม เรียก เว้าลนลน ลกลนก็ว่า |
ลวดลาด | ว. การกระทำโดยไม่ตั้งใจ เรียก เฮ็ดพอลวดลาด |
ลวบลวบ | ว. กินพร่ำเพื่อ เรียก กินลวบลวบ พูดไม่หยุด เรียก เว้าลวบลวบ |
ล้องค้อง | ว. ขด งอ เชือกที่ขดให้เป็นบ่วงขนาดเล็ก เรียก ขดล้องค้อง ขนาดใหญ่ว่า งอโล้งโค้ง |
ลอม | น. ข้าวที่เกี่ยวแล้วหาบมากองไว้ที่ลาน เรียก ลอมเข้า ถ้าเป็นกองฟางเรียก ลอมเฟือง |
ล่อย | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ทำให้มือตายเท้าตาย จับถืออะไรไม่ได้ เดินไปเดินมาไม่ได้ เรียก โรคแขนล่อยขาล่อย |
ลาบ | น. อาหารประเภทพร่าและยำ ถือว่าเป็นอาหารประเภทสูงของชาวอีสาน ในการทำบุญ เลี้ยงแขกเลี้ยงคน ถ้าขาดลาบอย่างเดียวถือว่า เป็นการเลี้ยง ชั้นต่ำ |
ลาบซาบ | ว. ลักษณะของสิ่งของที่แขวนเรียงกันเป็นแถวเป็นแนว เรียก เลียงลาบซาบ เลียนลาบซาบ ก็ว่า |
ลิดแลด | ว. มองเห็นเพียงแวบเดียว เรียก เห็นพอลิดแลด |
ลิน | 1 น. รางสรงน้ำ เรียก ฮางลิน ฮางลินทำด้วยไม้แก่น ทำเป็นรูปนาคยาว ประมาณ 6 ศอก เจาะเป็นร่องยาว มีรูที่คอนาค ใช้สำหรับสรงน้ำเจ้านาย เมื่อได้บรรดาศักดิ์ หรือ สรงน้ำพระสงฆ์เมื่อได้รับสมณศักดิ์ 2 ก. ฝนตกพรำเรียก ฝนตกลิน |
ลึด | ก. กลืนอาหารโดยไม่เคี้ยวให้แหลกเสียก่อน เรียก กลืนลึด |
ลึม | น. เรียกกระไต้ที่มัดรวมกัน 10 อัน ว่ากะไต้หรือกระบองหนึ่งลึม มัดให้แน่น เช่นเอาตอกชะเนาะเคียนบั้งไฟเรียก ลึมบั้งไฟ |
ลึ่ง | ว. หลวม กว้างเกินไป เช่น รูบั้งไฟกว้าง เรียก ฮูลึ่ง เพราะฮูลึ่งนี้แหละบั้งไฟจึงซุ หรือไม่ขึ้น |
ลืบ | ก. เถือเนื้อที่ติดกับหนังด้วยมีดบาง ๆ เรียก ลืบเนื้อ |
ลูกกก | น. ลูกคนหัวปี เรียก ลูกกก ส่วนลูกคนสุดท้อง เรียก ลูกหล้า ลูกคนอื่นแต่รักเสมือนลูกของตนเรียก ลูกฮัก |
แล่น | ก. วิ่งไปอย่างเร็วไว เรียก แล่น ถ้าวิ่งเร็วดุจลมพัด เรียก แล่นจั้นจั้น |
โลด | ว. เลย, ทีเดียว, ไปเลย เรียก ไปโลด กินเลย เรียก กินโลด ทำเลย เรียก เฮ็ดโลด |
คำอีสาน | ความหมาย |
ไม่มีคำที่แตกต่างจากภาษากลาง (ยังค้นไม่พบ นึกไม่ออก) |
คำอีสาน | ความหมาย |
วน | 1ก. วกวน, วนเวียน หนทางวกไปเวียนมา เรียก หนทางวน 2ก. รบกวน อย่างเช่นเพื่อนรบกวน ก็มักพูดว่า อย่ามาวนนา |
ว้อ | น. โรคหมาบ้า ชื่อโรคชนิดหนึ่งของหมา เมื่อเป็นขึ้นแล้วหมาจะวิ่งไม่หยุด มีน้ำลายไหล เรียก หมาเป็นว้อ |
วอง | ว. เปรียว คนที่มีลักษณะตื่นตกใจง่าย เรียก คนวอง |
ว่อง | ว. ฟันที่หลุดออกสองหรือสามซี่ เรียก แข้วว่อง |
ว่อนว่อน | ว. เสียงในระยะใกล้ อย่างเช่น เสียงหยังดังว่อนว่อน ถ้าเสียงมาจากระยะไกล จะเรียกว่า ว้อนว่อน |
วั่งวอน | ก. วังเวงใจ ถ้าความรู้สึกห่วงหน้าพะวงหลัง เรียก วั่งเว |
วังเวิน | น. วังวน บริเวณน้ำลึกที่มีน้ำไหลวน เรียก วังเวิน |
วันเพ็ง | น. วันพระจันทร์เต็มดวง เรียก วันเพ็ง เดือนหนึ่ง ๆ มีเพียงหนึ่งวัน คือวันขึ้น 15 ค่ำ |
วับวับ | ว. อาการกวักมือไว ๆ เรียก กวักมือวับวับ เดินเร็ว ๆ เรียก ย่างวับวับ |
วาก | ว. วิ่น แหว่ง เช่น ควายจมูกวิ่น เรียก ควายดังวาก ปากแหว่ง เรียก ปากวาก |
วิ่ง | ก. อาการที่เกิดลมหมุนเวียนในศีรษะ เรียก วิ่ง วิ่งเวียน ก็ว่า |
วิ้ง | ก. แล่นไปโดยเร็ว เรียก วิ้ง |
วิน | ก. อาการหน้ามืดตาลาย เรียก วินหัว |
วี | ก. ปา ขว้าง ปาค้อนไปใส่มะม่วงเรียก วีค้อนใส่หมากม่วง |
วีก | ว. แหว่ง จมูกแหว่งขนาดเล็ก เรียก ดังวีก ถ้าแหว่งขนาดกลางเรียก ดังวืก แหว่งขนาดใหญ่ เรียก ดังวาก |
เว่อ | น. ส้มซ่า ชื่อ ส้มชนิดหนึ่ง เปลือกหนา เรียก หมากเว่อ |
เว้อ | ว. บาน ปากบาน เรียก ปากเว้อ |
เว้า | ก. พูด พูดเรียก เว้า พูดด้วย เรียก เว้านำ พูดไพเราะ เรียก เว้าม่วน พูดหยาบ เรียก เว้าเพอะ |
ไว่ไว่ | ว. เดินมาอย่างเร่งรีบ เรียก ย่างไว่ไว่ ไปไว่ไว่ มาไว่ไว่ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ศูล | น. หลาว เหล็กแหลม |
คำอีสาน | ความหมาย |
ไม่มีคำที่แตกต่างจากภาษากลาง (ยังค้นไม่พบ นึกไม่ออก) |
คำอีสาน | ความหมาย |
ส้ง | น. กางเกง กางเกงที่ย้อมด้วยสีครามที่เรียกว่า จุบคราม หรือผ้าหม้อห้อมที่ ไทยเหนือ เรียก ผ้าส้ง ผ้านี้ทำด้วยฝีมือของลาวส้ง (คนไทยจำพวกหนึ่ง ซึ่งมี จารีตประเพณี ภาษาพูดเหมือนลาว เรียก ลาวส้ง) |
สวก | ก. ทิ่ม ตำ แทง เช่น ไม้แทงตีน เรียก ไม้สวกตีน |
ส่วง | 1ก. แข่ง การแข่งเรือ เรียก ส่วงเฮือ การส่วงเอือเป็นกีฬาชนิดหนึ่ง สำหรับ ชาวอีสานที่มีบ้านเรือนตั้งอยู่ริมแม่น้ำสายต่าง ๆ ซึ่งจะกระทำตั้งแต่วันออก พรรษาเป็นต้นไป เพราะเป็นฤดูน้ำหลาก 2ก. หลีกไป หลบไป เล็ดลอดไป |
ส่วย | 1น. ชนชาติที่พูดภาษามอญ เขมรพวกหนึ่ง ซึ่งลาวเกณฑ์ให้ส่งส่วย เรียก ชนชาติส่วย 2น. ข้าวของหรือเงินทองที่คนเมืองขึ้นจะต้องส่งให้แก่เมืองที่ตนขึ้น เรียก เงินส่วย 3ก. ชำระ ล้าง ล้างหน้า เรียก ส่วยหน้า ชำระร่างกาย เรียก ส่วยคีง |
ส้วย | ว. เรียว แหลม ลด เช่น ไม้คันหลาวส้วยปลาย |
ส้อ | ก. ซักถาม ไล่เลียง |
สะเดิด | ก. กระโดด ผวา ตื่น เช่น คืนไฟไหม้พากันสะเดิดหนีตาย |
สะเดือก | ก. รู้ตัว, ฉุกคิด ตรงกับภาษาอังกฤษว่า to realize |
สะแตก | ก. กินจุ กินไม่เลือก คนที่กินจุเกือบไส้แตก เรียก สะแตก สีแตก แดกตับ แดกไต ก็ว่า |
สะมัก | ก. สำลัก เช่น กินข้าวสำลักข้าว เรียก สะมักเข้า กินน้ำสำลักน้ำ เรียก สะมักน้ำ |
สะเม่น | ก. เขม่น อาการที่กล้ามเนื้อที่ตากระตุกขึ้นลงเบา ๆ เรียก ตาสะเม่น |
สะออน | ก. ชอบใจ พอใจ ติดใจ |
ส้าง | น. บ่อน้ำ บ่อที่ขุดลึกลงไปในดินมีน้ำกินน้ำใช้ได้ตลอดปี เรียก น้ำส้าง |
ส้าว | ก. ไม้ยาวสำหรับสอยวัสดุ สิ่งของ ผลไม้ เช่น มะม่วง ลำใย มะพร้าว เรียก ไม้ส้าว |
สิ้ง | ก. มองดูด้วยไม่เต็มตา เรียก สิ้ง มองดูด้วยหางตา เรียก สิ้งตาน้อย มองตาม เรียก สิ้งตานำ |
สิ้ว | น. สีเขียวแก่ ลักษณะคล้ายสีหัวเป็ดตัวผู้เรียก สีสิ้ว |
สีก | น. น้ำครำใต้ถันชาน เรียก น้ำสีก หรือ น้ำขี้สีก ก็ว่า |
สึงหลึง | ว. อาการนั่งนิ่งเหมือนคนเสียสติ เรียก นั่งสึงหลึง |
คำอีสาน | ความหมาย |
ห้ง | ก. ขัง น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วขังอยู่เรียก น้ำห้ง เช่น น้ำห้งฮอยควยพอออเจาะแอแจะ (น้ำขังในรอยเท้าควายพอมองเห็น) |
หงวย | ก. เอน เอนจนล้มลง เรียก หงวย |
หง้าง | ก. แยก ถ่าง กางออก เช่น ถ่างขาออกจากกัน เรียก หง้างขา |
หงำ | 1ก. บัง ข่ม ครอบ เช่น ต้นไม้ใหญ่ในนา บดบังแสดงแดดไม่ส่องลงถึง ข้าวในนา ก็เรียก ต้นไม้ใหญ่หงำนา 2ก. อาฆาต มาดร้าย |
หนหวย | ว. รำคาญ ไม่สบายใจ หงุดหงิด กังวลใจ |
หน้าเค่ง | น. หน้าบึ้ง หน้าตึง เกิดเพราะความโกรธจัด |
หน้าถั่งดังคม | น. หน้าตาคมคาย |
หนิ้ง | ก. เกี่ยง เกี่ยงงอน ทำแง่งอน ทำโดยไม่เต็มใจ เรียก หนิ้ง |
หม้อง | น. บริเวณ ย่าน แถว บริเวณที่เป็นหลุมเล็ก ๆ ตื้น ๆ เรียก หม้อง |
หม้อต้อ | ว. คนที่มีรูปร่างเตี้ยและอ้วน เรียก สั้นหม้อต้อ ต้อหม้อ ก็ว่า |
หมิดแหมว | ว. แผ่วเบา เสียงที่เปล่งออกมาแผ่วเบา เรียก เสียงหมิดแหมว |
หมึ้งหมึ้ง | ว. อาการหลับตาของคนหรือสัตว์ตัวตาโต เช่น หมีหลับตากินผึ้ง เรียกว่า หลับตาหมึ้งหมึ้งคือหมีกินเผิ้ง |
หมึน | ก. ฉุน โกรธ คนโกรธแสดงอาการหน้าบึ้งตึง เรียก คนหมึน |
หย่องย้อ | ว. อาการนั่งชันเข่า ยกก้น เรียก นั่งหย่องย้อ |
หลายเติบ | ว. มากโข ของที่มากจนไม่อาจจะนับจะประมาณได้ คือไม่สามารถบอก จำนวนที่แน่นอนได้ |
ห้าน | ก. เขยก คนขาเขยก เรียก คนขาห้าน |
ห้าว | ก. คึกคะนอง สัตว์คึกคนอง เรียก สัตว์ห้าว คนแก่คนอง เรียก หัวหงอกห้าว |
เหิ่ม | ว. ห่าม ผลไม้ห่าม เรียก เหิ่ม เช่น มะม่วงจวนจะสุก เรียก หมากม่วงเหิ่ม มะละกอจวนจะสุก เรียก บักหุ่งเหิ่ม |
โหย้น | ก. โล้ ไกว โล้ชิงช้า เรียก โหย้นโอ้นซา (ชิงช้า โบราณเรียก โอ้นซา) |
คำอีสาน | ความหมาย |
ส่วนใหญ่ ใช้ในคำที่มาจากภาษาบาลี-สันสกฤต ในคำภาษาอีสานไม่มี |
คำอีสาน | ความหมาย |
อ่ง | ก. ถือตัว หยิ่ง ทะนง อย่างว่า สาวนางหล้าหันมาอย่าสิอ่งหลายเด้อ (น้องหันหน้ามาหน่อยอย่าหยิ่งนักเลย) |
อ่งต่ง | ว. เปล่งปลั่ง แก้มที่มีลักษณะอวบอัดเปล่งปลั่ง เรียก แก้มอ่งต่ง |
อ่งล่ง | ว. ลักษณะของสิ่งของที่พองโตไหลไปตามน้ำ เรียก ลอยอ่งล่ง ลอยโอ่งโล่ง ก็ว่า ถ้ามีขนาดเล็กว่า ลอยอ่องล่อง |
ออนชอน | ว. เพราะพริ้ง สวย งาม น่ารัก |
อ้อนต้อน | ว. การใช้ไม้หามข้างเดียวเรียก คอน สิ่งของที่คอนไปขนาดเล็กเรียก อ้อนต้อน ถ้าขนาดใหญ่ เรียก โอ้นโต้น |
อ่อม | น. ชื่อแกงชนิดหนึ่ง ใส่น้ำเพียงเล็กน้อย ใช้สำหรับจ้ำ เรียก อ่อม เช่น อ่อมปลา อ่อมกบ อ่อมเขียด อ่อมฮวก |
อ้อยซ้อย | ว. บริสุทธิ์ ผุดผ่อง สดใส |
อั่ง | ว. คับ แออัด แออัดยัดเยียด เรียก อั่ง |
อั่ว | น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง เอาเครื่องปรุงยัดเข้าไป เรียก อั่ว ยัดเข้าใส้หมู เรียก อั่วหมู ยัดเข้าใส้วัว เรียก อั่วงัว ยัดเข้าท้องกบ เรียก อั่วกบ อั่วทุกชนิดเป็นอาหารที่มีรสอร่อย |
อ้าย | น. พี่ชายคนเกิดก่อน เรียก อ้าย เรียกผัวของพี่สาวว่า พี่อ้าย เรียกพี่สาวของตนเองว่า พี่เอื้อย หรือเรียกเดือนแรกของปีว่า เดือนอ้าย |
อี่หลี | ว. จริง ๆ จัง ๆ เช่น คักอีหลี แม่นอีหลี |
เอดเปด | ว. เรียกสิ่งของที่มีลักษณะใหญ่และแบน ติดอยู่ตามแข้งขาหรือที่ใดที่หนึ่งว่า ติดเอดเปด ถ้าเล็กเรียก ติดแอดแปด |
เอดเลด | ว. เรียกสิ่งของที่มีลักษณะเหนียวหนืด เช่น ขี้มูกติดอยู่ตามแก้มเด็กว่า ติดเอดเลด ถ้าจำนวนเล็กน้อย เรียก ติดแอดแลด |
เอิ้น | ก. เรียก ร้อง ป่าว ประกาศ อย่างว่า เพิ่นบ่เอิ้นอย่าขาน |
โอ้อ่าว | ก. คำนึงถึง คิดถึง รำพึงถึง |
คำอีสาน | ความหมาย |
ฮก | ว. รก รุงรัง ไม่เตียน สถานที่ที่เต็มไปด้วยสิ่งของที่ไม่ต้องการ เรียก ที่ฮก |
ฮวก | น. ลูกกบหรือลูกเขียดตัวเล็ก ๆ มีหาง เรียก ฮวก ลูกกบเรียก ฮวกกบ ลูกเขียดเรียก ฮวกเขียด |
ฮอด | ก. ถึง ไปถึง เรียก เดินฮอด คิดถึง เรียก คึดฮอด |
ฮีด | ก. รีด บีบให้ยาวออกไป เรียก ฮีด |
ฮีต | น. จารีต กฎ ระเบียบ ประเพณี สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติมาเป็นเวลานาน เรียก ฮีต ฮีตนั้นไม่จำเป็นจะต้องมีบทบังคับเหมือนกฎหมาย เพียงแต่ให้ทุกคนมีแนวปฏิบัติเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อความสามัคคีปรองดองในหมู่คณะ |
โฮม | ก. รวม ชุมนุม ประชุมกัน เช่น พวกเฮามาโฮมกันอยู่หม้องนี้ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ภา | น. สำรับกับข้าว เรียก ภา ภาชนะ ภาชน์ เช่น ภาเข้า หรือ พาเข้า หมายถึง สำรับใส่ข้าวปลาอาหาร |
ภู่ | น. แมลงภู่ เป็นแมลงชนิดหนึ่ง เรียก แมงภู่ ตัวขนาดหัวแม่มือ ตัวและปีกสีดำ เจือน้ำเงิน คอเหลือง ชอบเจาะปล้องไม้ไผ่เข้าไปทำรังอยู่ภายใน |
มีคำอื่น ๆ ซึ่งซ้ำกับในภาษากลาง |
คำอีสาน | ความหมาย |
มกมก | ว. อาการผงกหัวขึ้นลง เช่น กิ้งก่าผงกหัวก็ว่า กะปอมตอดเงามกมก |
ม้งก้ง | ว. ตาขนาดโต ขณะที่ลืมเต็มที่เรียก มืนม้งก้ง ขนาดกลาง มืนม้องก้อง ขนาดเล็ก มืนมิ้งกิ้ง |
มงมง | ว. สว่าง สุกใส แสงของดาวขนาดกลาง ว่า เหลื้อมมงมง |
ม้งม้ง | ว. สว่าง สุกใส แสงของดาวขนาดใหญ่ ว่า เหลื้อมม้งม้ง |
มน | 1 น. ใจ 2 ว. หน้าดุจดวงจันทร์ เรียก หน้ามน หนองน้ำไม่ยาวเรียก หนองมน ผ้าเช็ดหน้าเรียก ผ้าแพรมน 3 ว. กลม ๆ โค้ง ๆ ไม่เป็นเหลี่ยมเรียก มน |
ม้น | ว. ยุ่ง สับสน ด้ายหรือไหมที่ยุ่งหรือสับสนกัน เรียก ฝ้ายม้น ไหมม้น |
ม้ม | ก. พ้น ล่วง เลย เกิน เช่น บ่ม้มมื้ออื่น คือ ไม่พ้นวันพรุ่งนี้ |
มวก | น. น้ำซาวข้าว น้ำแช่ข้าว น้ำสีขาวขุ่น มักเรียก น้ำมวก คนตาขุ่นมัวเรียก ตาเป็นน้ำมวก |
ม่วน | ว. ไพเราะ เสนาะ สนุก |
มอ | 1 น. หมอดู เรียก หมอมอ 2 น. เนินดินสูง เช่นรถขึนเนินดินสูง เรียก รถขึ้นมอ 3 น. เรียกวัวว่า มอ งัวมอ ก็เรียก มอคงจะเรียกตามเสียงร้องของมัน |
ม่อ | ว. ใกล้ ชิด เรือนใกล้กันเรียก เฮือนม่อ คนใจง่ายเรียก ใจม่อ |
ม็อกม็อก | ว. กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ ผงกหัวเรียก กะปอมตอดเงาม็อกม็อก |
มอกลอก | ว. คนที่หน้าตาไม่สะอาดสดใส เรียก หน้ามอกลอก |
มอง | น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำเป็นตาเหมือนอวน เรียก มอง |
ม้อง | น. เวิ้ง ลาน บริเวณ เช่น สวนแปลงหนึ่งแบ่งออกเป็นหลายส่วน แต่ละส่วนเรียก ม้อง ม้องนี้ปลุกผักบั่ว (ต้นหอม) ม้องนี้ปลุกผักชี |
ม้องม้อง | น. ดาวดวงเล็กมีแสงสว่างมองไปเห็น เรียก ใสม้องม้อง |
ม้อน | น. ตัวไหม ในขณะเป็นตัวหนอน เรียก ม้อน |
ม้อย | ว. อาการค่อยหลับไปจนตาย เรียก ตาย เช่น น้องบ่หัวซาอ้ายเห็นสิตายม้อยระแม่ง |
มัก | ก. ชอบ พอใจ ความรักใคร่ชอบใจ เรียก ความมัก |
มักกั๊ก | ว. คนรูปร่างเล็กและเตี้ย เรียก สั้นมักกั๊ก |
ม้าง | ก. ทำลาย ล้าง รื้อ เรียก ม้าง |
ม้างก้าง | ว. สิ่งของที่ลึกและมน เช่น หลุม เรียก มนม้างก้าง |
มาน | 1 น. โรคที่ทำให้ท้องพองโต มีหลายชนิด เช่น มานน้ำ มานเลือด หญิงกำลังมีท้องเรียก แม่มาน 2 น. ข้าวตกรวง เรียก เข้ามาน |
ม้านม้าน | ว. ตาที่เหลือกเต็มที่เรียก ตาเหลือกม้านม้าน |
มี้ | น. ขนุน เรียก หมากมี้ มีหมากมี้ฝ้าย หมากมี้หนัง หมากมี้น้ำเผิ้ง |
มึกกึ๊ก | ว. คนที่มีลักษระผิวดำอ้วนและเตี้ย เรียก ดำมึกกึ๊ก |
มุ่น | ว. แหลก ละเอียด ตำจนแหลกละเอียด เรียก มุ่น |
มุบมุบ | ว. อาการปวดบาดแผลขนาดเล็ก เรียก ปวดมุบมุบ มุบมับมุบมับ ก็ว่า |
แม่ฮัก | น. หญิงที่รักลูกของคนอื่นเหมือนลูกของตน มีอะไรก็แบ่งให้ แต่ไม่รับเอามาเลี้ยงไว้ในเรือน เพียงให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลเท่านั้น เรียก แม่ฮัก |
แม่ฮ้าง | น. หญิงที่ผัวทิ้งหรือผัวหย่าร้างไป เรียก แม่ฮ้าง ใกล้เคียงกับแม่หม้าย ที่เป็นหญิงผัวตายจาก |
แม้งง้องแง้ง | น. ลูกน้ำ ตัวอ่อนของยุงที่อาศัยอยู่ในน้ำ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ย้วย | ว. เหลวยืดออกได้ เช่น น้ำอ้อยที่เหนียว เรียก น้ำอ้อยย้วย |
ย้วยย้วย | ว. อาการที่คนเดินไปตามหลังกันไป เรียก ย่างย้วยย้วย |
ย่องย้อ | ว. กระโหย่ง นั่งกระโหย่ง เรียก นั่งย่องย้อ |
ย่าง | ก. ยกเท้าก้าวไป เรียก ย่าง |
ยาด | ก. แย่ง ชิง อย่างว่า ยาดชู้ชิงผัว |
ยาบยาบ | ว. เคลื่อนไปเป็นแถว เดินไปเป็นกระบวน เรียก ย่างยาบยาบ |
ย้ามย้าม | ว. หัวเราะอย่างร่าเริง เรียก หัวย้ามย้าม |
ย่าวย่าว | ว. อาการที่น้ำไหลไม่ขาดสาย เรียก ย่าวย่าว แต่ถ้าไหลออกมาเป็นจำนวนมาก เรียก ไหลย้าวย้าว |
ยินสะออน | ก. ซาบซึ้ง ตรึงใจ เช่น โฮมเพจนี้มาดูแล้วก็ยินสะออนหลายเด้ อีหลีตั่ว |
ยิบ | ว. อาการเปิดปิดถี่ ๆ เรียก ยิบ เช่น กระพริบตา เรียก ยิบตา แสงดาวกระพริบ ก็เรียกว่า แสงยิบๆ ยับๆ |
ยุบยุบ | ว. อาการปวดบาดแผลว่า ปวดยุบยุบ |
ยุ้ยยุ้ย | ว. อาการที่น้ำไหลไปช้า ๆ เรียก ไหลยุ้ยยุ้ย |
ย้อน | ก. การขยับตัวขึ้นและลงตามจังหวะดนตรี เรียก ย้อน |
ย้าน | ก. กลัว รู้สึกหวาดสะดุ้ง เรียก ย้าน |
ยาม | ก. เยี่ยม ไปถามข่าวทุกข์สุข หรือไปดู เช่น ไปกู้เบ็ด กู้ไซ เรียก ไปยามเบ็ด ยามไซ |
เยี้ยม | น. หน้าต่าง เรียกว่า ปล่องเยี้ยม หรือ ปล่องเอี้ยม ก็ว่า |
คำอีสาน | ความหมาย |
ไม่มีคำที่แตกต่างจากภาษากลาง (ยังค้นไม่พบ นึกไม่ออก) |
คำอีสาน | ความหมาย |
ไม่มีคำที่แตกต่างจากภาษากลาง (ยังค้นไม่พบ นึกไม่ออก) |
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)