foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon wannakam

morlum zing 02ในภาคอีสานมี หมอลำ ซึ่งเป็นการแสดงดั้งเดิมของชาวอีสาน หากแบ่งขั้นตอนตามวิวัฒนาการ และลักษณะพิเศษเฉพาะอย่างแล้ว พอจะจัดแบ่งหมอลำออกได้ 5 ประเภทคือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน และหมอลำผีฟ้า

หมอลำหมู่ เป็นการแสดงลำชนิดหนึ่งใช้ตัวละครแสดงเป็นหมู่ คณะ และแสดงเป็นเรื่องราวอย่างลิเก หรืองิ้ว ตัวละครจะเป็นชายจริงหญิงแท้ ซึ่งบางครั้งจะถูกเรียกว่า ลิเกลาว เพราะการแต่งกายของตัวเอกนั้น จะแต่งตัวแบบเดียวกันกับลิเกทั้งชายและหญิง ในตอนแรกใช้หมอแคนหนึ่งคนเป่าประกอบทำนอง ต่อมามีการดัดแปลงนำเครื่องดนตรีสากล อย่างวงดนตรีลูกทุ่งเข้ามาผสม ทำนองที่ใช้ลำมี 3 ทำนอง คือ ลำทางยาว ลำเดิน และลำเต้ย ในระยะแรกๆ นิยมนำนิทานชาดกมาแสดงเช่น เรื่อง สินไชย การะเกด นางผมหอม สุธน-มโนราห์ นางแตงออ่อน ท้าวก่ำกาดำ เป็นต้น การฟ้อนเนื่องมาจากวรรณกรรม เป็นการฟ้อนที่ได้แนวคิดมาจากวรรณกรรมพื้นบ้านเหล่านี้ ซึ่งเป็นที่นิยมของหมอลำหมู่คณะต่างๆ

3diamondฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ

ram ponglang2เป็นการนำเนื้อเรื่องจากวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน เรื่อง ท้าวสีทน หรือ ศรีธน หรือ พระสุธน มโนราห์ ซึ่งโครงเรื่องได้มาจาก สุธนชาดก แต่มีความแตกต่างไปจากเดิมบ้าง วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด ได้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนนี้ขึ้น ในอันที่จริงแล้ว เรื่อง พระรถเมรี และพระสุธน-มโนราห์ เป็นนิทานพื้นบ้านที่รู้จักกันโดยทั่วไปในประเทศไทย ที่เรื่องทั้งสองโดดเด่นกว่านิทานพื้นบ้านเรื่องอื่นๆ คงอยู่ที่ผู้แต่งหรือผู้รวบรวมได้ทำให้เห็นว่า เนื้อหาที่ดำเนินมาตลอดเป็นเรื่องคู่กัน หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นเรื่องของการเกิดแต่ละชาติที่ต่อเนื่องกัน

เรื่องพระรถเมรีจะมีกระจายอยู่ตามท้องถิ่น ทั้งในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และภาคอีสานของไทย ส่วนเรื่องพระสุธน-มโนราห์เป็นการแสดงของท้องถิ่นภาคใต้ เรื่อยไปจนตลอดแหลมมลายู ผู้คนส่วนใหญ่จึงรู้จักว่า การรำมโนราห์ หรือโนรา เป็นการแสดงซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้

fon manorahแต่เรื่อง พระสุธน-มโนราห์ เป็นเรื่องที่มีเค้ามาจากชาดก ซึ่งเป็นวรรณกรรมทางพุทธศาสนา จึงแพร่หลายทั่วไปในทุกๆ ภาคของประเทศไทย

การฟ้อนชุดมโนราห์เล่นน้ำ จึงจับเอาตอนที่มโนราห์และพี่ๆ ทั้งหก มาเล่นน้ำที่สระโบกขรณี เมื่อนายพรานป่ามาพบเห็นกินรีเล่นน้ำอยู่ จึงอยากจะจับไปถวายแก่ท้าวสีทน การฟ้อนชุดมโนราห์เล่นน้ำ ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานประกอบการฟ้อน ซึ่งแตกต่างจากการรำมโนราห์บูชายันต์ของภาคกลาง หรือการรำโนราของทางภาคใต้ การฟ้อนชุดนี้จะแสดงให้เห็นถึงกริยาอาการของกินรี ในการอาบน้ำ ขัดถูตัว ซึ่งมีท่าฟ้อนที่อ่อนช้อยสวยงาม และเร้าใจไปพร้อมๆ กัน จะจบลงเมื่อนายพรานจับตัวมโนราห์ได้แล้ว

การฟ้อนชุดมโนราห์เล่นน้ำ นี้ ได้นำท่าฟ้อนของเก่าทั้งหมด ที่ใช้อยู่ในท่าฟ้อนของหมอลำเพลิน หรือลำกกขาขาว และการลำสังข์ศิลป์ชัยมาปรับปรุง ให้สอดคล้องกับการเล่นน้ำของนางมโนราห์ โดยอาจารย์ฉวีวรรณ ดำเนิน ออกแบบเครื่องแต่งกาย จัดท่าทำนองโดย อาจารย์ทองคำ ไทยกล้า และ อาจารย์ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ปรับปรุงตกแต่งความกลมกลืนของท่าฟ้อน ลายทำนองเพลงเครื่องแต่งกายโดย อาจารย์จีรพล เพชรสม

เครื่องแต่งกาย

  • ชุดการแสดงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ใส่เสื้อรัดอกไม่มีแขน ใส่กรองคอสีดำขลิบทอง ใช้ผ้าสีทองรัดเอว คาดเข็มขัดสีทองทับ ใส่ปีกและหาง ผมเกล้ามวยใส่เกี้ยวยอดแหลมครอบทับมวยผม
  • ชุดการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ ใช้ผ้าถุงลายทางลง ใส้เสื้อแขนสั้นสีเหลืองเดินเส้นสีทอง คาดเข็มขัดทอง ใส่ปีกผ้าแก้วเดินเส้นทองเป็นลายปีก ใส่หาง ผมเกล้ามวยใส่มงกุฏ

 

ฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ

เครื่องดนตรี

  • ชุดการแสดงของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานโปงลางลายนกไซบินข้ามทุ่ง
  • ชุดการแสดงของวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดและกาฬสินธุ์ ใช้ลายลำเพลินซึ่งเป็นทำนองการขับร้องอยู่ในหมอลำเรื่อง แต่เป็นทำนองลำเพลิน

 

3diamondฟ้อนสังข์ศิลป์ไซ

ฟ้อนสังข์ศิลป์ไซ ประดิษฐ์ขึ้นโดยวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด สังข์ศิลป์ชัย เป็นนิทานพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายในภาคอีสานของไทย ในชื่อเรื่อง สินไชย หรือ ศิลป์ชัย หรือ สินไซ และยังเป็นนิทานพื้นบ้านที่รู้จักกันแพร่หลายในท้องถิ่นอื่นๆ ของประเทศไทยอีกด้วย เรื่องมีอยู่ว่า "ท้าวกุศราชครองเมืองปัญจาล มีมเหสีชื่อ นางจันทาเทวี และมีน้องสาวชื่อสุมณฑา เมื่อนางสุมณฑาอายุได้ 17 ปี ได้ถูกยักษ์ชื่อ กุมภัณฑ์ แห่งเมืองอโนราชลักพาตัวไป ท้าวกุศราชจึงได้ปลอมตัวเป็นพระภิกษุออกไปสืบหานางสุมณฑาไปจนถึงเมืองจำปา และได้ลูกสาวทั้ง 7 ของเศรษฐีเมืองจำปามาเป็นมเหสีต่อจากนางจันทา แล้วได้จัดการประชุมมเหสีทั้ง 8 ว่า ต้องการมีลูกชายผู้มีฤทธิ์เดช เพื่อจะไปปราบยักษ์ชิงเอาตัวน้องสาวกลับคืนมา

fon sang sin chaiพระอินทร์จึงให้เทวดาตนหนึ่งมาเกิดในท้องของนางจันทา ซึ่งเมื่อคลอดออกมาเป็นราชสีห์ใช้ชื่อว่า ท้าวสีโห และให้เทวดาอีก 2 ตนไปเกิดในท้องของมเหสีคนที่ 8 เมื่อคลอดออกมาเป็นฝาแฝดชื่อว่า สินไชและหอยสังข์ ส่วนมเหสีทั้งหกคนมีลูกเป็นคนธรรมไม่มีฤทธิอะไร มเหสีทั้งหกจึงตัดสินบนโหรให้ทำนายว่าลูกของนางจันทาและมเหสีคนที่ 8 เป็นลูกกาลิณี ท้าวกุศราชจึงเนรเทศออกไปจากเมือง

ต่อมากุมารลูกมเหสีทั้งหกโตเป็นหนุ่ม แล้วออกไปเรียนวิชา ได้พบสินไชเข้า และกลับมาโกหกพ่อว่า พวกตนเรียนวิชาสำเร็จแล้ว ท้าวกุศราชจึงสั่งให้ทั้งหกคนไปตามหานางสุมณฑา กุมารทั้งหกจึงไปโกหกสินไชว่า พ่อให้ไปตามอา สินไชเชื่อจึงออกเดินทางโดยมีสีโหเดินทางตามไปอารักขา บนบกผ่านดงดอนและภูเขา ส่วนสังข์ทองไปทางน้ำเพื่ออารักขาสินไช การเดินทางไปนั้นสินไชต้องทำศึกกับงูซวง และยักษ์ตามทาง และไปเที่ยวชมป่าหิมพานต์ ซึ่งเรียกว่า ตอนสินไชเดินดง มีกลอนอยู่ว่า

"เว้าท่อนี้กลอนใหม่มาสับ เอาเดินดงมารับเบิ่งแดนดอกไม้ ศิลป์ชัยเจ้าสีโหอ้ายพี่สังข์ทองน้อยตามก้นบ่ไกล ชมเบิ่งไม้ต้นต่ำลำหนา วาโยพัดแก่งมาเชยก้าน นานหลายมื้อหลายวันล้ำล่วง สังข์กะเป็นห่วงเจ้าองค์เหง่าอยู่ไส หยับเข้ามาใกล้ถึงด่านกินรี ศิลป์ชัยมาเล่าซบนางน้อย กินรีสร้อยสาวงามฟ้อนแอ่น แขนเนือดน้าวในน้ำแก่งหาง น้ำฟาดป้างบาเล่าเชยชม โจมนางงามกอดมาชมกั้วมัวมิ่นหน้าสีโหยังอยู่ บากะคอยแต่น้องเดินได้ไต่ตาม ฮอดแม่น้ำศิลป์เล่าแปงขัว แล้วจึงพากันยกฝั่งชลเลยมั้น ลมใส่ต้องตองแกดังควก ต้นไม้แห้งขลู้มใส่ดิน ใบไม้ปิ้นลมปีนตีนตบ ใบตลบตามลมแก่งใบนวยค้อม คอมกวยน้าวกานกวยแก่ง เป็นละแห่งแตงเต้าถั่วงา

หน่อยบ่ช้าถึงด่านงูซวง ศิลป์ชัยแปลงดาบลงเทียมข้าง งูซวงม้างพาชีเลยฟาด มาขจัดตามกล้าเป็นถิ่นเคิ่งกลาง งูซวงม้างหลดชั่วชีวา สามบกดัดล่วงเลยไปหน้า มาเถิงแล้วหอปางยักษ์ใหญ่ สุมณฑาหน่อไท้นอนนิ่งอยู่ใน ยักษ์นั้นได้เดินเที่ยวหากิน ศิลป์ชัยดักล่วงเถิงผาแก้ว ไปเถิงแล้ววาจาเชิงหลอก บอกว่าขอเข้าซ้นเทียมได้บ่ดาย อาเคืองฮ้ายอ้ายบ่าวทางได๋สิมาเสียชีวีบ่ดีนาท้าว ศิลป์ชัยห้าวผญาตอยเต้ยใส่ อากะเลยใคร่รู้ศิลป์ท้าวว่าหลาน หลานบ่ย้านหรือจึ่งเดินเถิง ศิลป์ชัยพระกล่าวจายอต้าน หลานสิมาเอาเจ้าเอ้ยให้กลับต่าง ขอให้กลับต่างบ้านเมืองก้วงแต่หลัง อายั่งย้อยน้ำตาหลั่งโฮมไหล โจมเอาหลานกอดมาดมแก้ม อาบ่คืนเมื่อแหล่วเบ็งจาญบ้านเก่า ศิลป์กะเลยจากเว้าควมกล้าด่าผลาญ ถ้าหากเจ้าอามิ่งขืนคำ บอกว่าชีวามุดมอดไปวันนี้ พอดีได้ศิลป์ชัยยอดาบเหลือบมาบโม้งผ่าฝืน คันบ่คืนเมืองพร้อมสิฟันอาขาดท่อง"

ฟ้อนสังข์สินไซ

เรื่องสังข์ศิลป์ชัยนี้ หมอลำหมู่นิยมนำเรื่องราวไปแสดง ท่าฟ้อนชุดสังข์ศิลป์ชัยได้ปรับปรุงมาจากท่าฟ้อนของหมอลำหมู่ หรือที่เรียกว่า ลำกกขาขาว ซึ่งในตอนชมดงจะใช้ทำนองคล้ายทำนองลำเพลิน ซึ่งเป็นตอนที่มีทำนองเร้าใจแตกต่างจากการลำเล่าเรื่องธรรมดา และตอนชมดงจะเป็นตอนที่สนุกสนานที่สุดของเรื่อง จึงได้นำทำนองชมดงมาจัดทำเป็นชุดฟ้อน

เครื่องแต่งกาย

การแต่งกายจะแบ่งผู้แสดงหญิงออกเป็น 2 ฝ่าย ใช้ผ้าแพรวาบ้านโพน และผ้าถุงมัดหมี่ไหมใช้ผ้าขิดผูกเอว เกล้าผมมวยคาดผ้าแพรมน ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งใช้ผ้าสไบเวียงและผ้าถุงเวียงลายใหญ่ใช้ผ้าขิดผูกเอว เกล้าผมมวยคาดด้วยผ้าขิด

เครื่องดนตรี

ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายสังข์ศิลป์ชัย

ฟ้อนสังข์ศิลป์ชัย วงโปงลางวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด

 

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนเพื่อเซ่นบวงสรวงบัดพลีหรือบูชา

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)