คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ในการแสดงของทุกภาคนอกจากจะมีเครื่องดนตรีที่ให้ท่วงทำนองสนุกสนาน มีนักร้อง นักรำแล้ว ส่วนประอบอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ เครื่องแต่งกาย ซึ่งในภาคอีสานจะมีเครื่องแต่งกายหลากหลายแบบตามสภาพถิ่น วัสดุ และภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้ภาคอื่น
ชาวอีสานถือว่า การทอผ้า เป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือ การลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน
เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และยังมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญบิ่งในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสาน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหม แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกัยในแถบอีสานเหนือคือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด และผ้าแพรวา
คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมร ที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว
ลวดลายผ้าพื้นเมืองอีสานทั้งสองกลุ่ม นิยมใช้ลายขนานกับตัว ซึ่งต่างจากผ้าซิ่นล้านนาที่นิยมลายขวางตัว และนุ่งยาวกรอมเท้า ในขณะที่ชาวไทยลาวนิยมนุ่งผ้าซิ่นสูงระดับเข่า แต่ไม่สั้นเหมือนผู้หญิงเวียงจันทร์และหลวงพระบาง การต่อหัวซิ่นและตีนซิ่นจะต่อด้วยผ้าชนิดเดียวกัน ส่วนหัวซิ่นนิยมด้วยผ้าไหมชิ้นเดียวทอเก็บขิดเป็นลายโบคว่ำ และโบหงายมีสีแดงเป็นพื้น ส่วนการต่อตะเข็บและลักษณะการนุ่งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากภาคอื่นคือ การนุ่งซิ่นจะนุ่งป้ายหน้าเก็บซ่อนตะเข็บ ยกเว้นกลุ่มไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้ ซึ่งมักจะทอริมผ้าเป็นริ้วๆ ต่างสีตามแนวตะเข็บซิ่น จนดูกลมกลืนกับตะเข็บและเวลานุ่งจะให้ตะเข็บอยู่ข้างสะโพก
ผ้าซิ่นสำหรับใช้เป็นผ้านุ่งของชาวอีสานนั้นจะมีลักษณะการใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ชุดผ้าพื้นเมืองอีสานที่สวยงามทั้งจากซิ่นไหม และผ้าฝ้าย
ความเป็นมาของการฟ้อนและเซิ้ง | การแสดงที่ปรากฎในภาคอีสาน | เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน
การฟ้อนแบบต่างๆ | การเซิ้งแบบต่างๆ | ดนตรีประกอบการฟ้อน | เครื่องแต่งกายสำหรับการฟ้อนภาคอีสาน
ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อน และฟ้อนอย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อน มีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียว อย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวงมีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรม ดังนี้
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมมาจากเขมร-ส่วย หรือกลุ่มเจรียง-กันตรึม และกลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือกลุ่มเพลงโคราช ในที่นี้จะเน้นเฉพาะกลุ่มเจรียง-กันตรึม
วงดนตรีประกอบเรือมมม็วต
วงดนตรีประกอบเรือมอันเร ประกอบด้วย ซออู้ขนาดกลาง 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ปี่ชลัย 1 เลา โทน 2 ใบ ตะโพน 1 ใบ ฉิ่ง, ฉาบ และกรับอย่างละ 1 คู่
กันตรึมโบราณ บ้านโชค เขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
คลิกไปอ่าน เครื่องแต่งกายสำหรับชุดฟ้อนภาคอีสาน
ดนตรีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการฟ้อนซึ่งจะขาดเสียมิได้ เพราะดนตรีนอกจากจะให้การฟ้อนเกิดความพร้อมเพรียงกันแล้ว ดนตรียังเป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ทำให้ผู้ฟ้อนรู้สึกต้องการฟ้อน และฟ้อนได้อย่างมีความสุข ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนนั้น มีตั้งแต่ดนตรีชิ้นเดียวอย่างเสียงกระทบของสาก เสียงกลอง จนถึงการผสมวง มีเครื่องดนตรีหลายๆ ชิ้นประกอบกัน ดนตรีอีสานแบ่งออกตามกลุ่มวัฒนธรรมดังนี้
วัฒนธรรมกลุ่มอีสานเหนือ หรือกลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำหมอแคน ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากลุ่มแม่น้ำโขง เครื่องดนตรีในกลุ่มนี้มีหลายประเภท ถ้าแบ่งประเภทโดยยึดการใช้หรือการเล่นดนตรีนั้นๆ ซึ่งแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
พิณ ซึง ซุง | ไหซอง หรือ พิณไห |
ซอกระป๋อง ซอปิ๊บ | ซอกระบอก | โปงลาง |
นอกจากเครื่องดนตรีเหล่านี้แล้ว ยังมีเครื่องดนตรีประเภทตีทำด้วยโลหะอีกหลายชิ้น เช่น ฉิ่ง ฉาบ ซึ่งภาษาอีสานเรียกว่า สิ่ง แส่ง
ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงการฟ้อนของอีสานเหนือดั้งเดิม จะใช้เครื่องดนตรีหลักเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งชนิดเดียว เช่น ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนผีหมอ จะใช้แคน ฟ้อนกลองตุ้มจะใช้กลองตุ้มอย่างเดียว แต่ในการแสดงชุดที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ในยุคหลังจะใช้ดนตรีลักษณะผสมวงหลายชิ้น เช่น พิณ แคน โปงลาง กลอง ฯลฯ ผสมกัน
ทำนองเพลงพื้นบ้านอีสานเหนือเป็นทำนองสั้นๆ และวนเวียนกลับไปกลับมาซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ตอน คือ
ดังนั้นในการบรรเลงเพลงพื้นเมืองอีสานนั้น ในขั้นแรกจะเริ่มด้วยการเกริ่นเสียก่อน แล้วจึงดำเนินทำนองหลักอาจจะกลับไปหลับมา ดังนั้นการบรรเลงเพลงพื้นบ้านอีสานจะใช้ทำนองหลักเป็นตัวแกนในการบรรเลง
วงโปงลางศิลป์อีสาน 2559 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คลิกไปอ่าน เครื่องแต่งกายสำหรับชุดฟ้อนภาคอีสาน
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ชุดฟ้อนซาปดาน นี้เป็นชุดฟ้อนที่พัฒนาท่าฟ้อนขึ้นมาใหม่ โดยอาจารย์เครือจิตร ศรีบุญนาค ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ เพื่อประกอบเพลง "ซาปดาน" ซึ่งมีความหมายว่า เลิก หรือ หยุด ในเนื้อเพลงกล่าวถึงผู้ชายที่มีหญิงคนรักแล้วเปรียบเหมือนกับได้ดอกไม้ ถึงจะได้รับดอกไม้ใหม่ก็จะไม่ทิ้งดอกเก่า แต่จะทิ้งดอกไม้ดอกใหม่เสีย และกล่าวถึงผู้หญิงที่เศร้าโศกพร่ำร้องไห้เมื่อผู้ชายคนรักต้องจากไปไกล
"ปกาเอย เปรียฮปา ปองมันจอลปกาเลย บองดะ ตุ กร็มเคนิย บองซดายปกานะ บองมันจอลปกาจัฮ ปกาจัฮบอกปีเดิม บองรัปตันเฟิร เนียงดะ มุ ออนยุม |
กัตบานหงับนา ตัวฮซเว็จฉลวย บองมันจอลปกาเลย บอกซูจอลปกาทเม็ย บอกซดาปกานะ ซแร็คซเคิงจัมเปิร เมียงดะ มุ ออนยุม เนียงกัตตามบองปีกรอย" |
เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน ใช้ผ้าขาวม้าห่มเป็นแถบรัดหน้าอก ปล่อยชายด้านซ้าย นุ่งผ้าซิ่นพื้นเมืองของอีสานใต้ เกล้าผมมวยติดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม ทำนองเพลงซาปดาน
ซาปดาน กันตรึมเงินล้าน น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์
เจรียงซันตรูจ แปลว่า เพลงตกเบ็ด เป็นการร้องเล่นในเทศกาลต่างๆ เช่น งานบวช ซึ่งส่วนมากจะจัดในลานวัด โดยพวกหนุ่มๆ จะรวมกลุ่มกันใช้ผลหมากรากไม้ผูกเชือก มีคันเบ็ดผูกไปล่อสาวๆ ที่ไปเที่ยวตามงานวัด เหยื่อที่ปลายคันเบ็ดนั้นใช้ขนม ข้าวต้ม ผลไม้ ผูกเป็นพวง วิธีการตกเบ็ดนั้น ที่ไหนมีกลุ่มหญิงสาวนั่งรวมกันอยู่ กลุ่มหนุ่มๆ ก็จะพากันร้องรำทำเพลง แล้วก็หย่อนเบ็ดให้เหยื่อไปลอยอยู่ตรงหน้าของคนโน้นบ้างคนนี้บ้าง ผู้ที่ถือคันเบ็ดเป็นผู้ร้องเพลงเอง ชอบสาวคนไหนก็นำเหยื่อไปลอยอยู่ตรงหน้าคนนั้น หากสาวรีบรับเหยื่อไปก็แสดงว่ารับรัก หลังจากเสร็จงานแล้ว ฝ่ายหนุ่มก็จะส่งผู้ใหญ่ไปสู่ขอต่อไป ซึ่งเป็นประเพณีเชื่อมความสามัคคีของกลุ่มหนุ่มสาวระหว่างหมู่บ้านหนึ่งกับอีกหมู่บ้านหนึ่งอีกด้วย
การแสดงเรือมซันตรูจ ในปัจจุบันได้ดัดแปลงโดยให้มีผู้ร้องเพลงเจรียงซันตรูจประกอบทำนองซันตรูจ แบ่งผู้แสดงชายและหญิงอย่างละเท่าๆ กัน ฝ่ายชายและหญิงจะรำออกมาพร้อมๆ กัน ตั้งเป็นวงกลม ฝ่ายชายจะแยกไปรวมอยู่นอกวง ซึ่งผลัดกันเข้ามาเกี้ยวหรือจีบสาว โดยใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆ กัน ถ้าชายคนหนุ่มคนใดมีของดีแสดงออกมาจนเป็นที่ถูกใจของฝ่ายหญิง ก็จะออกไปรำเกี้ยวกัน
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิง จะห่มผ้าแถบนุ่งผ้าถุงพื้นเมืองอีสานใต้ ส่วนฝ่ายชายใส่เสื้อคอกลมนุ่งโจงกระเบน มีผ้าขาวม้าพาดบ่าปล่อยชายสองข้างไว้ด้านหลัง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม หรือจะใช้วงโปงลางบรรเลงเพลงทำนองซันตรูจ
อุปกรณ์การแสดง ดอกไม้ หรือคันเบ็ด
เรือมซันตู๊จ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด
เรือมตลอก หรือ รำกะลา นี้เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ โดยชาวบ้านนิยมปลูกมะพร้าวไว้บริเวณบ้าน ให้ความร่มรื่น ความเชื่อแต่โบราณนั้นเชื่อว่า เมื่อลูกหลานแต่งงาน พ่อแม่จะมอบที่ดินให้ทำกินและเป็นที่ปลูกบ้าน ซึ่งจะต้องปลูกมะพร้าวก่อนเพื่อแสดงถึงความมั่นคง เพราะการปลูกมะพร้าวในภาคอีสานจะต้องได้รับความเอาใจใส่เป็นพิเศษ จึงจะเจริญงอกงามเพราะดินแห้งแล้ง ใครปลูกมะพร้าวได้งอกงามก็จะทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคง
ในฤดูหลังจากการเก็บเกี่ยว จะเป็นระยะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่จะว่างงาน หนุ่มสาวจะเอากะลามาขัดที่ลานบ้าน เพื่อนำไปประดิษฐ์เป็นเครื่องใช้ เช่น ทัพพี กระบวยตักน้ำ และนำกะลามาใช้ประกอบการร่ายรำอย่างสนุกสนาน ในลักษณะหญิงชายจับคู่กัน การร่ายรำจะมีการเคาะกะลามะพร้าวเป็นจังหวะ หากหญิงชายคู่ใดเคาะกะลาแตก คู่นั้นอาจจะได้แต่งงานกัน ระบำกะลานี้ อาจารย์พจนีย์ กงตาล อาจารย์ประจำภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ จึงได้ฝึกหัดและต่อท่ารำมาจากชาวเขมรอพยพ
ลำดับขั้นการแสดง
ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้แสดงก่อน โดยออกมานั่งขัดกะลามะพร้าว แล้วเคาะกะลาให้จังหวะเชิญชวนให้ผู้ชายออกมา เมื่อผู้ชายได้ยินเสียงก็จะออกมาเกี้ยวเป็นเชิงขอเล่นด้วย ซึ่งชายหญิงแต่ละคู่จะออกมาแสดงลีลาการเกี้ยวพาราสีกัน โดยใช้กะลาเป็นอุปกรณ์ ท่ารำมีการแปรแถวและเคาะกะลาไปเรื่อยๆ การเคลื่อนไหวจะขึ้นกับจังหวะของดนตรีซึ่งช้าบ้างเร็วบ้าง ท่าทางในการแสดงออกของผู้แสดงนั้นจะเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งพอจะนับได้ว่า รำกะลาของอีสานใต้เป็นต้นแบบรำกะลาหรือเซิ้งกะโป๋ของอีสานเหนือ
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชาย นิยมนุ่งกางเกงสีพื้น เสื้อคอกลมผ่าหน้าขลิบที่คอ แขน และด้านหน้าอก มีผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบนสีพื้นสด เสื้อคอกลมแขนสั้นมีขลิบ เช่นเดียวกับชาย คาดเข็มขัดทับ ผมปล่อยหรือเกล้ามวยทัดดอกไม้
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้วงกันตรึม ทำนองจองได และเพลงเรือมตลอก
อุปกรณ์การแสดง กะลามะพร้าวคนละคู่
เรือม ตล็อก (ระบำกะลา)
เรือมจับกรับ เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวบ้านสวายจุ๊ ตำบลป่าชัน อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเดิมใช้ชื่อเรียกว่า "อาไยลำแบ" หรือ "รำจับกรับ" การใช้กรับหรือไม้สองอันกระทบกันนี้ เห็นได้โดยทั่วไปในเอเชีย เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย และชาวอาหรับ การรำกรับของชาวสุรินทร์นั้นจะมีการเล่นในงานนักขัตฤกษ์ งานมงคลทุกประเภท มักจะมีอาสาสมัครโดยมีกรับทั้งสองมือออกร่ายรำขับร้องประกอบกับเสียงกรับกระทบกัน ซึ่งเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า จั๊กตะล็อก ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ จึงได้นำรูปแบบของการแสดงมาจัดกระบวนให้มีรูปแบบยิ่งขึ้น แต่ท่ารำและลีลาการแสดงต่างๆ ไว้คงเดิม แสดงถึงลีลาการขยับกรับ และหยอกล้อระหว่างคู่เล่น โดยมีจังหวะช้าและเร็วขึ้นตามลำดับ
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิง นุ่งโจงกระเบนผ้ามัดหมี่ สวมเสื้อแขนกระบอกมีสไบห้อยมาผูกด้านซ้ายที่เอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้นมีผ้าขาวม้าคาดเอว และมีผ้าคล้องไหล่พับทบด้านหน้าทิ้งชาย 2 ชายด้านหลัง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม ประกอบด้วยเพลง ถวายครู อาไยกลาย กันต๊บ ปะการันเจก โอละนอย
อุปกรณ์การแสดง กรับสั้น สำหรับฝ่ายหญิงแต่ละคน กรับยาว 1 คู่และอีก 1 อันสำหรับฝ่ายชายแต่ละคน
เรือมจับกรับ
คลิกไปอ่าน ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)