foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon like animals header

ศิลปะทุกแขนงล้วนมีรากฐานมาจากธรรมชาติ การฟ้อน ซึ่งเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ก็อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเช่นเดียวกับศิลปะแขนงอื่นๆ โดยเฉพาะศิลปะการแสดงของภาคอีสาน ทั้งในด้านดนตรีและนาฏศิลป์ โดยทั่วไปสัตว์แต่ละชนิด จะมีอาการที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางชนิดจะมีลักษณะท่วงท่าสง่างาม บางชนิดมีลักษณะแช่มช้อย บางชนิดคึกคักเข้มแข็ง ดังนั้นจึงเกิดมี ระบำ รำ เต้น ของไทยหลายชุด ที่ได้นำกิริยาอาการของสัตว์เหล่านั้น มาเป็นชุดการแสดงขึ้น เช่น ระบำไก่ ระบำนกเขา ระบำครุฑ ระบำเงือก ระบำบันเทิงกาสร ระบำกุญชรเกษม ระบำมยุราภิรมย์ เป็นต้น เฉพาะการฟ้อนเลียนกริยาอาการของสัตว์ในภาคอีสานนั้น มีการแสดงอยู่เพียง 2 ชุด ได้แก่

3diamondกะโน้บติงต๊อง

kanop tingtong 2กะโน้บติงต๊อง เป็นการแสดงของชาวจังหวัดสุรินทร์ คำว่า กะโน้บติงต๊อง เป็นภาษาถิ่นของชาวอีสานใต้ แปลว่า ตั๊กแตนตำข้าว กะโน้บติงต๊องเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนาน ด้วยลีลาที่เลียนแบบมาจากการกระโดด หรือการโยกตัวของตั๊กแตน ท่าเต้นแต่ละท่าจะใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เอว ท่าเต้นจะแสดงลีลาการเกี้ยวพาราสีระหว่างตั๊กแตนตัวเมียและตัวผู้ ลักษณะการละเล่นจะเป็นการเล่นเป็นหมู่ เป็นกลุ่มยิ่งผู้แสดงมากยิ่งเพิ่มความสนุกมากขึ้น

การเต้นกะโน้ปติงต็อง เป็นการละเล่น เต้นเลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว จากการคิดริเริ่มโดย นายเต็น ตระการดี ชาวบ้านโพธิ์กอง ตำบลไพล (ปัจจุบัน คือ ตำบลเชื้อเพลิง) อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เมื่อครั้งเดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชา โดยขบวนเกวียนสินค้า (เกลือ) ไปค้าขาย นำไปแลกเปลี่ยนปราเฮ๊าะ (ปลาร้า) จากประเทศกัมพูชา (เขมร) ในขณะที่หยุดพักเหนื่อยนายเต็น ได้มองเห็นตั๊กแตนตำข้าวกำลังเกี้ยวพาราสีกัน และผสมพันธุ์กันอยู่ นายเต็นเฝ้าดูลีลาของตั๊กแตนคู่นั้นด้วยความประทับใจ เมื่อนายเต็นเดินทางมาถึงบ้าน จึงเกิดความคิดว่า ถ้านำเอาลีลาการเต้นของตั๊กแตนตำข้าวมาดัดแปลงและเต้นให้คนดูก็คงจะดี จึงนำแนวคิดนี้มาเล่าให้ นายเหือน ตรงศูนย์ดี หัวหน้าคณะกันตรึม ที่เล่นอยู่ในหมู่บ้านรำเบอะ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทั้งสองจึงได้ร่วมกันแสดงต่อเนื่องกันมา การเล่นกะโน้ปติงต็องจะเต้นเป็นคู่ๆ เดิมมีผู้แสดงเพียง 2 คน เล่นสอดแทรกในวงมโหรีพื้นบ้าน

ต่อมาราวปี พ.ศ. 2473 นายยันต์ ยี่สุ่นศรี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพธิ์ทอง ตำบลไพล ได้นำท่าเต้นมาดัดแปลงเพิ่มเติม ให้มีลีลาสวยงามยิ่งขึ้น และครูสมพงษ์ สาคเรศ ได้แต่งเนื้อเพลงประกอบการเต้น และก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายให้มีความสวยงามเหมาะสมยิ่งขึ้น [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน : กะโน้ปติงต็อง ]

 kanop tingtong

ภาพประกอบจาก http://www.isan.clubs.chula.ac.th

เครื่องแต่งกาย การแต่งกายจะใช้สีเขียวเช่นเดียวกับสีของตั๊กแตน มีลักษณะคล้ายชุดหมี ติดปีกสีเขียวขนาดใหญ่ ส่วนศีรษะจะทำด้วยกระดาษทาสี และตกแต่งให้คล้ายกับหัวของตั๊กแตนจริงๆ ตั๊กแตนตัวเมียมีกระโปรงทำให้แยกได้ว่าตัวไหนตัวผู้หรือตัวเมีย

เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ในการเล่นกะโน้บติงต๊อง ได้แก่ วงมโหรี ซึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอ กลองกันตรึม ปี่สไล และเครื่องกำกับจังหวะได้แก่ กรับและฉิ่ง แต่เดิมนิยมเล่นในเทศกาลประจำปีหรืองานรื่นเริงต่างๆ ทั่วไป หรือจะเล่นเวลาใดก็ได้มิได้มีการจำกัด ปัจจุบันการเต้นกะโน้บติงต๊องนับเป็นการแสดงที่มีชื่อเสียงของชาวอีสานใต้

บทร้องที่ใช้ประกอบการเต้นกะโน้บติงต๊องนั้นไม่ได้จำกัดลงไปว่า จะต้องมีเนื้อร้องอย่างไร จะขึ้นอยู่กับผู้ร้องว่าจะร้องเรื่องใด ทั้งนี้เพราะใช้ด้นกลอนสด บางครั้งก็ร้องให้เนื้อหาเข้ากับงานที่แสดง ส่วนใหญ่เนื้อร้องจะเป็นเชิงเกี้ยวพาราสี ตัดพ้อต่อว่ากันระหว่างชายและหญิง ตัวอย่างบทเพลงกะโน้บติงต๊องที่ร้องมาแต่เดิมและยังนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน (บทร้องเป็นภาษาเขมร) มีดังนี้

ตั๊กแตนตำข้าว เรือมกะโน๊บติงตอง

เนื้อเพลงประกอบการแสดงกะโน้บติงต๊อง
            โอกะโน้บติงต๊อง ซองซารบอง เอยชี เซลอะราไซ (ซ้ำ)
กะมม มมมูย มมมูย กำเล้าะแบ็ย โอสะระกาแถวเอย ทมโตวบานระนา
            โอกะโน้บติงตีอง ซองซารบองเอยชี เซลอะอังกัญ (ซ้ำ)
กะมม มมมูย มมมูย แดลมองขวัญ โอสระกาแกวเอย ทมโตวบาบานกี่
            เบอมานโมกมอง ซองซารบองเอย ตระกองออมสะตูย(ซ้ำ)
ทะออมันออย มันออยเซร็ย เนียงปรูย โอสระกาแกวเอย ประบากยากกรอ
            โอสราเน้าะแมอสกร็อม ซองซารบองเอย จากล็อมนึงเซาะ (ซ้ำ)
ทะออเปรียงบอง เปรียงมองเวียอาเกร้าะ โอสระกาแกวเอย กำเล้าะแบ็ยดอง
            โอกาเล้าะเซงาะก็ ซองซารบองเอย กำเล้าะมาเนียะมานอง (ซ้ำ)
ทะออกำเล้าะ กำเล้าะโคจดลูนบอง (ซ้ำ) โอสระกาแกวเอย เบ็ยดอกแตแอง
            ทะออสราเน้าะคลูนล็อน ซองซารมองเอย ซลาเน้าะคลูล็อน (ซ้ำ)
ทะออดลูนมอง คลูนม็องอ็อดปราบ็วน (ซ้ำ) โอสระกาแก้วเอย ตนำบายโฮบแอง
            ไดบองเตียงนำ ซองซารบอง เอย ตึกเพะนกโฮรละแฮง (ซ้ำ)
ทะออตนำบาย ตะนำบายโฮบแอง โอสระกาแก้วเอย กำแปลงนึงเคนย

kanop tingtong 3

3diamondฟ้อนแมงตับเต่า

หมอลำแมงตับเต่า เป็นหมอลำหมู่ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งการแสดงของหมอลำแมงตับเต่าจะมีการลำแบบตลกคะนอง การลำแมงตับเต่าจะใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน สาเหตุที่เรียกหมอลำที่ขับลำทำนองนี้ว่า หมอลำแมงตับเต่า นั้นคงเรียกตามคำร้องของบทกลอนที่มักจะขึ้นต้นว่า แมงตับเต่า เช่น

เต่า เล่า เตา เล่า เต่า เล่า เตา แมงตับเต่าแมงเม่าขี้หมา จับอยู่ฝาแมงมุมแมงสาบ จับซาบลาบแมงหวี่แมงวัน อัศจรรย์แมงวันแมงหวี่ ตอมตาตี่เด็กน้อยนอนเว็น.... "

ดังนั้นจึงนิยมเรียกว่า หมอลำแมงตับเต่า และทำนองลำ หรือดนตรีประกอบการลำนั้นก็เรียกว่า "ทำนองแมงตับเต่า" ซึ่งในการลำแมงตับเต่านั้น หมอลำแมงตับเต่าจะใช้ไม้กับแก๊บประกอบการลำและการฟ้อน

font mang tabtao tab tao 1
tab tao 2

 ภาพประกอบจาก http://www.isan.clubs.chula.ac.th

เครื่องแต่งกาย ผู้ชายนิยมนุ่งผ้าโสร่งพื้นบ้านอีสาน สวมเสื้อม่อฮ่อม มีผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ การฟ้อนแมงตับเต่าดั้งเดิมนั้นจะฟ้อนโดยเน้นที่ลีลาของการขยับกับแก๊บ ส่วนการฟ้อนแมงตับเต่าในปัจจุบันเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นหลายสถาบัน

การฟ้อนแมงตับเต่า ของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด การแต่งกายจะให้คล้ายกับแมงตับเต่า สวมปีกและหัว ท่าฟ้อนจะเป็นการเกี้ยวพาราสีของแมงตับเต่าตัวผู้และตัวเมีย

 

การฟ้อนแมงตับเต่า

การฟ้อนแมงตับเต่า ของ วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะแต่งตัวคล้ายกับหมอลำแมงตับเต่า คือ นุ่งโสร่ง สวมเสื้อม่อฮ่อม ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนกระบอก คอกลม นุ่งซิ่นพื้นเมือง ห่มสไบพับทบกลางทิ้งชาย 2 ชายด้านหลัง

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน (พิณ โปงลาง แคน ฯลฯ) ลายแมงตับเต่า

เนื้อเพลงแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าขอไว้วันทา ไหว้ครู ไหว้บาของเฮาแต่เก่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่านำท่งนำนา มาเฮามาเล่นแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่ายุคพัฒนา มาเฮามาเล่นแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าไผว่าสีหยัง มันเป็นตะซังคือแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าถึงว่าสีดำ อย่างลูกปะคำเห็นเป็นของเก่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่ามีอยู่จักขา พอมันบินมาจักขาเท่าเฮา
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่ามีอยู่หกขา ถ้ามันบินมาจักขาคือเก่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าโตผู้นอนหงาย ก็มันกินแมงตายทั้งเหม็นทั้งเน่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าโตแม่นอนหงายก็บ่ก้มบ่เงย คือแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าออกลูกทางใด ก็ยังสงสัยคือแมงตับเต่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าบ่ต้องสงสัยตัวใดบินไวมันก็ออกลูกทางเก่า
            เอ่า เฮา เอ้า เฮา เอ่า เฮา เอา แมงตับเต่าขอสั่งของ ลากลับลงมาหาหนองคือเก่า

เนื้อหาของกลอนลำนี้อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เป็นการลำด้นสดแสดงปฏิภาณของผู้ลำ โดยมีทำนองเดียวกัน แต่ใส่เนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงกิริยาอาการของสัตว์ ที่มีความสนุกสนาน

next green คลิกไปชม  การฟ้อนชุดโบราณคดี

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)