foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศแปรปรวนนะครับ ฤดูหนาวแต่ร้อน และมีฝนตกกระจายทั่วประเทศเลยทีเดียว และตอนนี้ก็ฤดูเก็บเกี่ยวของชาวนาซึ่งไม่ได้เก็บเกี่ยวด้วยมือแบบดั้งเดิมแล้ว แต่หันมาใช้รถเกี่ยวข้าวแทนซึ่งทำได้รวดเร็วกว่ามากๆ แต่ก็มีปัญหาตามมาคือข้าวเปลือกมันยังไม่แห้งเก็บเข้ายุ้งฉางไม่ได้ ต้องมีการตากแดดให้แห้งก่อนสัก 2-3 วัน พอมีฝนมาแบบนี้ก็แย่เลย บางรายก็เอาไปตากบนถนนหนทางซึ่งอันตรายมากๆ อย่าหาทำเด้อพี่น้อง มันผิดกฎหมาย...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon for fun header

3diamondเซิ้งกุบ 

กุบ ในภาษาของชาวอีสานแปลว่า หมวก เซิ้งกุบ เป็นชุดการแสดงที่ได้นำลีลาชีวิตของชาวอีสานพื้นบ้านมาแสดง ในรูปลักษณ์ที่แปลกตาไปจากชุดอื่นๆ โดยทางวิทยาลัยครูมหาสารคามได้ดัดแปลงสภาพชีวิตพื้นบ้านอีสาน ซึ่งในฤดูฝนชาวบ้านจะดำนา พอตกค่ำอาจจะมีฝนรินๆ ชาวอีสานก็จะเตรียมอุปกรณ์ออกไปจับกบ โดยถือตะเกียงที่ทำจากกระบอกไม้ไผ่และไม้สำหรับตีกบ การฟ้อนชุด "เซิ้งกุบ" นี้จึงได้นำลีลาขั้นตอนของการออกไปจับกบมาประยุกต์ เป็นชุดฟ้อนขึ้นอย่างงดงาม แปลกตา

koob chaona

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมชุดพื้นเมืองอีสาน โดยสวมเสื้อแขนกระบอกสีคล้ำ นุ่งผ้าซิ่นพื้นเมือง สวมหมวกงอบ ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วยสั้น สวมเสื้อม่อฮ่อม มือถือตะเกียงและไม้ตีกบ

อุปกรณ์สำหรับการแสดง หมวกงอบ ตะเกียง กระบอกไม้ไผ่ ไม้สำหรับตีกบ

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้ง

 

3diamondเซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์

ดอนสวรรค์ เป็นเกาะใหญ่อยู่กลางหนองหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นเกาะที่มีความงดงามตามธรรมชาติ และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันสำคัญของจังหวัดสกลนคร โดยเฉพาะในเวลาเย็น หนุ่มสาวชาวบ้านต่างพากันไปพายเรือเที่ยวชมทิวทัศน์อันงดงามของเกาะดอนสวรรค์เป็นจำนวนมาก ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสกลนคร จึงจัดทำเป็นชุดฟ้อนขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกถึงความงดงามของเกาะดอนสวรรค์ โดยฟ้อนตามบทร้องและดนตรี

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม ห่มสไบ นุ่งซิ่นสั้นคลุมเข่า เกล้าผมมวยทัดดอกไม้

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองเพลงผู้ไทยน้อย และเพลงเซิ้งแข่งเรือ

เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์

3diamondเซิ้งสวิง

เซิ้งสวิง เป็นการละเล่นพื้นบ้านของภาคอีสาน ซึ่งเป็นการละเล่นเพื่อการส่งเสริมทางด้านจิตใจของประชาชนในท้องถิ่น อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ เซิ้งสวิงเป็นชุดฟ้อนที่มีความสนุกสนาน โดยดัดแปลงท่าฟ้อนจากการที่ชาวบ้านอีสานออกไปหาปลา โดยมี "สวิง" เป็นเครื่องมือหลักในการหาปลาของชาวบ้าน ซึ่งมีอาชีพในการจับสัตว์น้ำ นอกจากมีสวิงแล้วยังมี "ข้อง" ซึ่งเป็นภาชนะสำหรับใส่ปลาที่จับได้

เซิ้งสวิง มีการประยุกต์กันมาเรื่อยๆ และในปี พ.ศ. 2515 ทางกรมศิลปากรจึงได้นำท่าฟ้อนของท้องถิ่นมาปรับปรุงให้มีท่วงท่ากระฉับกระเฉงขึ้น ท่าฟ้อนจะแสดงให้เห็นถึงการออกไปหาปลา การช้อนปลา จับปลา และการรื่นเริงใจ เมื่อหาปลาได้มากๆ ผู้แสดงฝ่ายหญิงจะเป็นผู้ถือสวิงไปช้อนปลา ส่วนฝ่ายชายจะนำข้องไปคอยใส่ปลาที่ฝ่ายหญิงจับได้

เซิ้งสวิง

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกคอกลม นุ่งซิ่นมัดหมี่ เกล้าผมมวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วย เอาผ้าขาวม้าคาดพุง

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานในจังหวะเซิ้ง

3diamondเซิ้งกระติบข้าว

เซิ้งกระติบข้าว เป็นการแสดงของภาคอีสานที่เป็นที่รู้จักกันดี และแพร่หลายที่สุดชุดหนึ่ง จนทำให้คนทั่วไปเข้าใจว่า การแสดงของภาคอีสานมีลักษณะเป็นการรำเซิ้งเพียงอย่างเดียว เซิ้งกระติบข้าวได้แบบอย่างมาจากการเซิ้งบั้งไฟ ซึ่งแต่เดิมเซิ้งอีสานจริงๆ ไม่มีท่าทางอะไร มีแต่กินเหล้า ยกมือไม้สะเปะสะปะให้เข้ากับจังหวะเสียงกลองไปตามใจ (มีผู้นิยามว่า ฟ้อนตามแบบกรมสรรพสามิต) โดยไม่ได้คำนึงถึงความสวยงาม นอกจากให้เข้าจังหวะกลอง ตบมือไปตามเรื่องตามฤทธิ์เหล้า

ในราว พ.ศ. 2507 สมเด็จพระบรมราชินีนาถ (ในรัชกาลที่ ๙) ต้องการการแสดงของภาคอีสาน เพื่อต้อนรับสมเด็จพระนางเจ้าอะเลียนา และเจ้าหญิงบีทริกซ์ แห่งประเทศเนเธอแลนด์ จึงมีการนำเอาเพลงอีสานคือ หมอลำจังหวะช้าเร็ว โดยมีท่าถวายบังคม ท่านกบิน ท่าเดิน ท่าดูดาว ท่าม้วนตัว ท่าสนุกสนาน ท่าปั้นข้าวเหนียว ท่าโปรยดอกไม้ ท่าบังแสงอาทิตย์ ท่าเตี้ย (รำเตี้ย) และในการแต่งกายครั้งแรกนั้นจะนุ่งผ้าซิ่นห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง แต่ไม่มีใครยอมห้อยกระติบข้าวเพราะเห็นว่ารุงรัง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๙) เสด็จทอดพระเนตร พระองค์จึงรับสั่งให้ใครสักคนหนึ่งลองรำดูว่า ถ้าไม่ห้อยกระติบข้าว หรือห้อยกระติบข้าวแล้วจะเป็นอย่างไร? คุณหญิงเบญจวรรณ อรวรรณ เป็นผู้ทดลองรำดู ครั้งแรกไม่ห้อยกระติบข้าวก็น่ารักดี ครั้งที่สองรำโดยห้อยกระติบข้าวทุกคนก็คิดว่า กำลังน่ารัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งคำเดียวว่า "น่าเอ็นดูดีนี่" ผู้รำทุกคนก็พากันรีบห้อยกระติบข้าวกันใหญ่ทางไหล่ขวาทุกคน การเซิ้งครั้งนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เรียกชื่อว่า "เซิ้งอีสาน" ต่อมามีผู้นำเซิ้งอีสานไปแสดงกันทั่วไปแต่เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "เซิ้งกระติบข้าว"

เซิ้งกระติบข้าว

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน สวมเสื้อแขนกระบอกคอกลมสีพื้น นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่ ห่มผ้าสไบเฉียง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ห้อยกระติบข้าวทางไหล่ขวา

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้ง

อุปกรณ์การแสดง กระติบข้าว

 

ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

blueline

next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

 

redline

backled1

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon for fun header

3diamondฟ้อนอุบล 

ฟ้อนอุบล เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวอุบลราชธานี การฟ้อนมุ่งความอ่อนช้อยสวยงาม ท่วงทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนคือ เพลงอุบลราชธานี (ลาวอุบล) การฟ้อนอุบลนี้เดิมไม่มีปรากฏ ชาวอุบลส่วนใหญ่จะได้ยินได้ฟังเฉพาะเพลงลาวอุบล ซึ่งแต่งและบรรเลงโดยครูดนตรีไทยอาวุโสผู้หนึ่ง สำหรับเป็นเพลงประจำจังหวัด ระยะหลังจึงมีผู้คิดท่าฟ้อนประกอบเพลงขึ้น เนื้อเพลงจะถ่ายทอดให้เห็นถึงจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานที่มีความอุดมสมบูรณ์และความเจริญในหลายด้านจนได้ชื่อว่าเป็น "ถิ่นไทยดี" ผู้คนเต็มไปด้วยความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ สมชื่อว่าเป็นเมืองแห่งดอกบัวงาม

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน แต่งกายด้วยผ้าขิดรูดหน้าอก คลุมไหล่ด้วยผ้าโปร่งสีนวล ผ้าถุงจะเป็นผ้าสีชมพูจีบหน้านาง ในมือถือดอกบัวสีขาวคนละ 1 ดอก

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเพลงอุบลราชธานี

อุปกรณ์ประกอบการแสดง ดอกบัวประดิษฐ์คนละ 1 ดอก

เพลงอุบลราชธานี (ลาวอุบล)

อุบลราชธานี นี้ไทยดีเมืองหนึ่ง หากอยู่ถึงแดนแม่โขง ที่คดโค้งไหลลงเป็นทาง ไหลไปหว่างกลาง ไม่มีเหินไม่มีห่าง เมืองไทยอยู่ทาง พี่น้องลาวอยู่ทาง

อุบลราชธานี นี้เป็นที่ชุมชน แห่งดอกโกสุม หรือเจ้าปทุมมาลย์ นั้นคือดอกบัวบาน ตระการก้านใบ มีดีอย่างไร ทั่วแคว้นแดนไทย ไม่น้อยหน้าใคร

ศึกษาซึ่งความดี เหมือนบัวมีสีรื่นรมย์ กลิ่นหอมชื่นชม ภิรมย์หฤหรรษ์ กลิ่นของบัวนั้นสุขสันต์เพิ่มพูน อยู่ในแม่น้ำ..มูล นั้นเหมือนอุบล เป็นสุข นิราศทุกข์ปวงภัย อุบลนั้นไซร้ถิ่นไทยของไทย

ลำดับขั้นตอนการแสดง ท่าทางในการฟ้อนอุบลจะมี 2 ประเภท คือ

    1. ท่าฟ้อนประกอบเนื้อเพลง เป็นการฟ้อนประกอบเนื้อหาของเพลงหรืออาจเรียกว่า รำตีบท
    2. ท่าสลับเพลง เป็นการฟ้อนแปรท่าต่างๆ เน้นความสวยงาม และความพร้อมเพรียงกัน

    ดังนั้นในการฟ้อนจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้

    • เริ่มต้นด้วยการบรรเลงเพลงลาวอุบลท่อนละ 1 เที่ยว ทั้ง 3 ท่อน ผู้ฟ้อนจะออกด้วยท่ามือขวาถือกระทงในระดับสูงกว่าศีรษะ เอียงตัวตามมือสูง มือซ้ายจีบหงายระดับต่ำส่งมือไปด้านหลัง ผู้ฟ้อนจะยืนเรียงแถวหน้ากระดาน 2 แถว แถวหน้า 4 คน แถวหลัง 4 คน
    • ร้องเพลงท่อนที่ 1 ผู้ฟ้อนทำท่าให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง
    • ดนตรีบรรเลงรับท่อน 1 ผู้ฟ้อนแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 4 คน นำดอกบัวมารวมกันเป็นสี่มุม สลับการหมุนตัวเข้าออกภายในวงและนอกวง มือทั้งสองเปลี่ยนท่าสลับไปมาตามจังหวะที่หมุนตัว พอจบท่อนเพลงกลับไปยืนเรียง 2 แถวเหมือนเดิม
    • ร้องเพลงท่อนที่ 2 ผู้ฟ้อนทำท่าให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง จบลงด้สยการแปรแถว 4 แถว ผู้ฟ้อนนั่งหันหน้าเข้าหากัน
    • ดนตรีรับท่อน 2 ผู้ฟ้อนทั้งหมดยก 2 มือ ประคองดอกบัวยกสลับซ้ายขวา
    • ร้องเพลงท่อนที่ 3 ผู้ฟ้อนทำท่าให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง จบลงด้วยท่าที่ผู้ฟ้อนทั้ง 8 คนจะยืนเรียงเป็นครึ่งวงกลม
    • ดนตรีรับท่อน 3 ผู้ฟ้อนยืนแถวเรียงสองทะแยงกับความยาวของเวที มือซ้ายตั้งวงบนไว้ตลอด มือขวายกกระทงร่อนสูงขนานกับวงบน สลับกับการส่งกระทงไปด้านหลัง มือสูงระดับเอว

    ท่ารำเพลงอุบลราชธานี

    3diamondฟ้อนกลองตุ้ม

    ฟ้อนกลองตุ้ม บางที่เรียกกันว่า เซิ้งกลองตุ้ม เป็นการฟ้อนเซิ้งแบบสนุกสนานของชาวบ้านภาคอีสานในเทศกาลบุญเดือนหก หรือบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนสี่หรือบุญมหาชาติของชาวอีสาน ฟ้อนกลองตุ้ม เป็นการฟ้อนรำประกอบจังหวะกลองที่เรียกว่า "กลองตุ้ม" ผู้ชายฟ้อนล้วนๆ ท่าฟ้อนเป็นท่าอิสระไม่จำกัดตายตัว สุดแต่ผู้ฟ้อนจะคิดขึ้น จุดมุ่งหมายในการฟ้อนเป็นไปเพื่อขอเหล้าหรือปัจจัยไทยทาน โดยผู้ฟ้อนจะว่ากลอนเซิ้งขอบริจาค หรือเล่าเรื่องราวที่สนุกสนานให้ชาวบ้านฟัง

    จากการพิจารณาที่มาของฟ้อนกลองตุ้มจะเห็นว่า มีความเกี่ยวพันกับบุญบั้งไฟอย่างใกล้ชิด เพราะทำนองที่ใช้ในการว่ากลอนเซิ้งนี้เหมือนทำนองเซิ้งบั้งไฟทุกประการ เพียงแต่ช้าเนิบนาบกว่าเล็กน้อย ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า ฟ้อนกลองตุ้มนี้มีที่มาจากเซิ้งบั้งไฟนี่เอง แต่เป็นไปในตอนที่ชาวบ้านเดินทางไปตามบ้าน และว่ากลอนเพื่อขอปัจจัยตามบ้านต่างๆ และในการไปไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีมากนัก นอกจากกลองตุ้มคอยตีให้จังหวะ

    โดยปกติเรามักจะรู้จักการรำเซิ้งในขบวนแห่บั้งไฟเป็นส่วนใหญ่ ฟ้อนกลองตุ้มไม่ค่อยมีผู้ใดรู้จักมากนัก เมื่อ นายนิพนธ์ รองทอง นิสิตภาคสมทบวิชาเอกภาษาไทย รุ่น 12 นำมาเผยแพร่ ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เห็นว่า ควรอนุรักษ์ไว้ จึงได้มีการฝึกฟ้อนกลองตุ้มขึ้น โดยท่าทางฟ้อนรำนำมาจากการได้เห็นฟ้อนกลองตุ้ม ของชาวตำบลนาคำใหญ่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ควบคุมการฝึกซ้อมคือ อาจารย์จารุวรรณ ธรรมวัตร

    เครื่องแต่งกาย เมื่อพิจารณาเครื่องแต่งกายฟ้อนกลองตุ้ม พบว่าที่น่าสนใจศึกษาเป็นพิเศษก็คือ เครื่องประดับศีรษะ จะเห็นว่าทำมาจากเส้นใยของบวบแห้งประดับด้วยดอกไม้ต่างๆ น่าสังเกตว่า เครื่องสวมหัวทำนองนี้ไม่ค่อยมีในภาคอีสาน เท่าที่ปรากฏอยู่มักเป็นเครื่องสวมศีรษะของชาวภาคเหนือ ใช้สวมให้เด็กชายหรือหนุ่มในพิธีบวช ซึ่งจะมาปรากฏในภาคอีสานได้อย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่น่าศึกษาต่อไป ส่วนเสื้อผ้าจะถือเอาตามสะดวก บางหมู่บ้านจะนุ่งกางเกง บางหมู่บ้านนุ่งโสร่ง เสื้อบางทีเป็นเสื้อที่ใช้ทั่วไป บางทีอาจเป็นเสื้อม่อฮ่อม มีฝ้ายคล้อยเฉียงไหล่เป็นเครื่องประดับ มือสวมเล็บซึ่งทำจากโครงไม้ไผ่พันรอบๆ ด้วยฝ้ายสีต่างๆ

    ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ได้ดัดแปลงจากเดิมเล็กน้อย นั่นคือสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่ง และให้ผู้ฟ้อนแต่งกายเหมือนกันทุกคนเพื่อความสวยงาม

    ฟ้อนกลองตุ้ม

    เครื่องดนตรี ประกอบด้วยกลองตุ้ม ฉิ่ง ฉาบ

      เพลงฟ้อนกลองตุ้ม
    คำร้อง : อาจารย์จารุวรรณ ธรรมวัตร
       
    โอมพุทโธกะนโมเป็นเจ้า
    เป็นจังได๋ตั้งใจซอมเบิ่ง
    เป็นทำนองเอิ้นว่ากลองตุ้ม
    โอ เฮาโอ กะเฮาโอเฮาโอ
    เซิ้งกินเหล้ายามบุญบั้งไฟ
    ตุ้ม ตุ้ม เติง ตุ้ม ตุ้ม เสียงกลอง
    ตุ้มอ้ายแน สาวตุ้มอ้ายแน
       
    โอมพุทโธนโมเป็นเจ้า
    เป็นภาระมีมาหลายเทื่อ
    มีละครฟ้อนรำระบำแอ่น
    ขอเหล้าแน ขอเหล้าอ้ายแน
    อ้ายขอเป็นแฟนแน สาวสงขลา
    มีใจผูกพันแน สาวประสานมิตร
    ขางามๆ แม่นสาวพิษณุโลก
    ความงามเกินเกณฑ์เห็นสาวพละ
    โอนอ โอนอ สาวเอย
    โอเฮาโอ กะเฮาโอ เฮาโอ
    ข้อยสิเว้าเรื่องงานศิลปะ
    เบิ่งบ่เบื่อจิตใจฮ่ำฮอน
    มีหมอแคนแล่นแตแล่นแต
    ใจเผื่อแผ่แก่สาวบางแสน
    มีจิตเมตตาแน สาวปทุมวัน
    นุ่งฟิตๆ แม่นสาวสารคาม
    ตาโศกๆ แม่นสาวบางเขน
    เชฟบ๊ะๆ แม่นพวกผู้ชม
    ขอเหล้าแน ขอเหล้าอ้ายแน...

     

    3diamondเซิ้งกะโป๋

    เซิ้งกะโป๋ เป็นการละเล่นที่เน้นความสนุกสนานเป็นหลักโดยใช้ กะโป๋ หรือ กะลามะพร้าว เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการเล่น เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ ในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย โดยเฉพาะมาเลเซีย มีการละเล่นซึ่งใช้กะลาประกอบอยู่ ซึ่งเมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวชาวมาเลย์ก็จะมีการรื่นเริงและฉลองกัน บ้างก็ช่วยกันขูดมะพร้าวและตำน้ำพริก จึงได้นำเอากะลามะพร้าวมาเคาะประกอบจังหวะกันเป็นที่สนุกสนาน ระบำกะลาของมาเลเซียมีชื่อเป็นภาษามาเลย์ว่า "เดมปุรง" หรือแม้แต่ประเทศกัมพูชาก็มีการละเล่นที่ใช้กะลาเป็นอุปกรณ์เช่นเดียวกัน เซิ้งกะโป๋คงได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาที่นิยมเล่นกันในกัมพูชาและแถบอีสานใต้ ระบำกะลามีจังหวะเนิบนาบ จึงมีการปรับปรุงใหม่โดยใช้เพลงพื้นเมืองอีสาน และยังนำเอาเพลงพื้นเมืองของอีสานใต้มาใช้ประกอบอยู่คือเพลง เจรียงซันตรูจ

    เครื่องแต่งกาย เซิ้งกะโป๋จะแบ่งผู้แสดงออกเป็น 2 ฝ่าย คือ หญิงและชาย ฝ่ายหญิงนุ่งซิ่นพื้นเมืองอีสาน สวมเสื้อแขนกระบอก เกล้าผมมวยใช้แพรมนรัดมวย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าผูกเอว

    เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แต่เล่นลายพื้นเมืองของอีสานใต้คือ เจรียงซันตรูจ

    เซิ้งกะโป๋ หรือ เซิ้งกะลา นี้มีผู้ประดิษฐ์จัดทำเป็นชุดฟ้อนที่แตกต่างกันออกไป เช่น

    • วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะใช้ลีลาการกระทบกะลาที่ไม่คล้ายกับระบำกะลาของอีสานใต้มากนัก และนำการละเล่นของพื้นเมืองของเด็กอีสานมาประกอบ เช่น การเดินกะโป๋ หรือ หมากกุ๊บกั๊บ ฯลฯ
    • วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด จะใช้ลีลาการกระทบกะลา ซึ่งพอจะเห็นเค้าว่าได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาของอีสานใต้ แต่งกายเช่นเดียวกับระบำกะลา คือฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คล้องสไบผูกชายที่เอว ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าพับทบด้านหน้า ทิ้งชายด้านหลัง

    เซิ้งกระโป๋

    3diamondเซิ้งทำนา

    เซิ้งทำนา เป็นชุดฟ้อนที่สะท้อนให้เห็นขั้นตอนของการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน ตั้งแต่การเดินไปนา หว่านกล้า ดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว กอบข้าวใส่ตะกร้า เก็บขึ้นสู่ยุ้งฉาง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำนา

    การแต่งกาย ฝ่ายหญิงจะสวมเสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงิน ผ่าหน้าใช้กระดุมสีขาวติดรอบชายทั้งตัว นุ่งซิ่นพื้นมีเชิงตีนซิ่น สวมหมวกงอบ ห่มสไบซึ่งทำจากตีนซิ่น เหน็บเคียวคนละอัน ฝ่ายชาย นุ่งกางเกงขาก๊วยสั้นแค่เข่า สวมเสื้อม่อฮ่อม ใช้ผ้าผูกเอวและโพกศีรษะ มีตะกร้าห้อยและเหน็บเคียวคนละอัน

    เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายเซิ้งบั้งไฟ

    อุปกรณ์การแสดง ตะกร้าและเคียว

     

    ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
    ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
    blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

    blueline

    next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

     

    redline

    backled1

    dance header

    bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

    ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

    fon for fun header

    3diamondฟ้อนโปงลาง

    โปงลาง ดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่า โปง เพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้การบรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่าง เพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทาง

    ส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ" ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า "หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ" ชื่อ "ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น

    เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้

    เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ

     

    ฟ้อนโปงลาง

    3diamondฟ้อนไทยภูเขา

    ฟ้อนไทยภูเขา เป็นชุดฟ้อนที่ได้นำสภาพชีวิตของชาวผู้ไทกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศแตกต่างจากผู้ไทกลุ่มอื่นๆ เพราะอาศัยอยู่ในเขตเทือกเขาภูพาน ฟ้อนไทยภูเขาจะแสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตของชาวอีสานที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ โดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก และแสดงให้เห็นการดำรงชีวิตของชาวผู้ไทตั้งแต่ การเดินขึ้นภู ไปเก็บเห็ด ผักหวาน ใบย่านาง ขุดหน่อไม้ และการตัดหวาย โดยใช้ดนตรีที่รุกเร้าสนุกสนาน นับเป็นฟ้อนชุดหนึ่งที่มีความสนุกสนานและสวยงามมากในการโชว์ผ้าแพรวา

    เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอกสีแดงหรือดำ นุ่งซิ่นมัดหมี่ใช้ผ้าขิดมัดเอว แล้วใช้ผ้าแพรแบ่งครึ่งทบไขว้ทับที่เอว ทิ้งชายไปด้านข้างทั้ง 2 ชาย และใช้แพรวาโพกศรีษะ โดยใช้ปลายด้านกว้างของแพรวาทิ้งชายปกหน้าผาก ให้ชายรุ่ยๆ ปกหน้า ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อมนุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าผูกเอว และโพกศรีษะ แขวนย่าม

    เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ประกอบ ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน มีย่ามเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง

     

    3diamondฟ้อนสาวอีสานเล่นน้ำ

    ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยอาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูมหาสาราคาม ชุดฟ้อนนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวอีสาน หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เมื่อถึงเวลาเย็นก็ชวนกันไปอาบน้ำชำระร่างกาย ตามห้วย หนอง คลอง บึง ซึ่งชุดสาวอีสานเล่นน้ำนี้คงได้แบบอย่างมาจากฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ แต่มีลีลาสวยงามแปลกตาไปอีกแบบหนึ่ง รูปแบบการฟ้อนจะแสดงให้เห็นขั้นตอนต่างๆ ในการอาบน้ำของสาวชาวอีสาน มีการถูเนื้อถูตัว ขัดสีฉวีวรรณ สางผม ปะแป้ง เป็นต้น

    เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน นุ่งผ้าถุงพื้นเมืองชักชายขึ้นหนึ่งข้าง สวมเสื้อในบางทับด้วยผ้าแพรวารัดอก

    เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเปิดผ้าม่านกั้งอีสานหรือลายน้ำโตนตาด

     

    3diamondฟ้อนคูณลาน

    ชาวอีสานมีอาชีพในการทำนาเป็นหลัก ประเพณีหนึ่งที่อยู่ในฮีต 12 คือ บุญคูณลาน ซึ่งจะจัดทำในเดือนยี่ จุดมุ่งหมายในการทำบุญคูณลานก็เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ข้าวในลานข้าว ดังนั้นการทำบุญคูณลานจะทำที่ลานนวดข้าว หลังฤดูกาลเกี่ยว นวด ก่อนที่จะขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง ดังกลอนโบราณอีสานว่า

    เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้วให้แต่งการบุญ
    ให้นิมนต์พระสงฆ์องค์สวดมุงคุณค้ำ
    ให้ทำการสร้างบุญคูณลาน
    อย่าได้หล่าพากันเข้าป่าหาหมู่ไม้มาไว้เฮ็ดหลัว
    อย่าได้มัวหลงลืมถิ้มคลองเดิมฮีตเก่า เฮาเดอ "

    การทำบุญคูณลาน นั้นต่างคนต่างทำไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการนวดข้าวของแต่ละคนว่า เสร็จช้าเร็วต่างกัน นาไผได้ข้าวหลายก็จะเสร็จช้ากว่า คนได้ข้าวน้อยก็จะเสร็จเร็ว ก่อนจะขนข้าวขึ้นเล้าหรือยุ้งฉางให้ทำบุญคูณลานในวันนั้นเสียก่อน จะมีโชค

    ทางวิทยาลัยคณาสวัสดิ์ โดยอาจารย์พัชราภรณ์ จันทร์เหลือง และอาจารย์สนอง จิตรโคกกรวด จึงได้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนบุญคูณลานขึ้น เพื่อสืบทอดประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสานไว้ โดยจะเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นทำนา หว่านข้าวปลูก ปักดำ เกี่ยวข้าว จนกระทั่งขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง

    เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนุ่งผ้าซิ่นพื้นเมือง สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบ ผมกล้าวมวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วยสั้น ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศรีษะ

    เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้งและจังหวะกลอง เช่นเดียวกับเซิ้งกระหยัง มีอุปกรณ์ประกอบการแสดงคือ กระบุง กระด้ง เคียว

     

    ฟ้อนบุญคูนลาน โดย นาฏยศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

     

    ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
    ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
    blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

    blueline

    next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

     

    redline

    backled1

    dance header

    bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

    ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

    fon for fun header

    กล่าวกันว่า "ชาวอีสานนั้นมีวิญญาณของศิลปินอยู่เต็มเปี่ยม" ซึ่งชาวอีสานในแต่ละหมู่ แต่ละกลุ่มชนก็คิดประดิษฐ์เครื่องบันเทิงใจแตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะภาคอีสานนั้น มีเครื่องดนตรีในรูปลักษณ์พิเศษของตนเองมาช้านาน และดนตรีก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ถูกถ่ายทอดสืบต่อกันมาชั่วลูกหลาน เป็นมรดกตกทอด ชาวอีสานนั้นมีมรดกทางด้านศิลปะ การดนตรี และฟ้อนรำหลากหลายรูปแบบที่สุด กลุ่มวัฒนธรรมของภาคอีสานจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

    1. กลุ่มที่ 1 หมอลำหมอแคน เป็นชนกลุ่มใหญ่ทางด้านอีสานเหนือ ในเขตจังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร และอุบลราชธานี
    2. กลุ่มที่ 2 กลุ่มเจรียง กันตรึม เพลงโคราช เป็นชนกลุ่มในเขตอีสานใต้ ในเขตจังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ

    ทำให้ภาคอีสานมีดนตรีและการฟ้อนรำที่หลากหลาย การฟ้อนเพื่อความสนุกสนาน นับเป็นชุดฟ้อนเบ็ดเตล็ดที่มีมากกว่าการฟ้อนในกลุ่มอื่นๆ จึงรวบรวมเฉพาะชุดฟ้อนที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายเท่านั้น และในที่นี้ก็ไม่นับรวมการฟ้อนรำแบบกรมสรรพสามิต (ฟ้อนขี้เมา) เอาไว้แต่อย่างใด เพราะรูปแบบการร่ายรำจะขึ้นกับปริมาณดีกรีเป็นหลักไม่แน่นอน (ฮา)

    ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
    ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
    blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

    3diamondฟ้อนเซิ้งแคน 

    ประวัติความเป็นมาของแคน

    แคน เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่ของชาวอีสาน เป็นเอกลักษณ์ด้านดนตรีตัวแทนความเป็นคนอีสาน มีเสียงอันเป็นธรรมชาติ มีความไพเราะลึกซึ้งกินใจ ดังในวรรณคดี "ท้าวก่ำกาดำ ได้กล่าวถึงความไพเราะของแคนไว้อย่างมีอารมณ์ว่า

              "ท้าวก็เป่าจ้อยๆ อ้อยอิ่งกินนารี
    เสียงแคนดังม่วนแม้งพอล้มหลุดตายไปนั้น
    ปรากฏดังม่วนก้องในเมืองอ้อยอิ่น
    สาวฮามน้อยวางหลามาเบิ่ง
    บางผ่องปะหลาไว้วางไปทั้งก็มี
    ฝูงคนเฒ่าเหงานอนหายส่วง
    ฝูงพ่อฮ้างคิดฮ่ำคะนิงเมีย
    เป็นที่อัศจรรย์แท้เสียงแคนท้าวก่ำ
    ฝูงกินข้าวคาคอค้างอยู่
    บ่มีไผไออิจามไอสงัดอยู่"
    บุญมีเลยเป่าแถลงดังก้อง
    ท้าวก็เป่าจ้อยๆ คือเสียงเสพเมือสวรรค์
    เป็นที่ใจม่วนดิ้นดอมท้าวเป่าแคน
    เข่าก็บบฟั่งฟ้าวตีนต้องถือตอ
    บางผ่องเสื้อผ้าหลุดออกซ้ำเลยเต้นแล่นไปก็มี
    สาวแม่ฮ้างคะนิงโอ้อ่าวผัว
    เหลือทนทุกข์อยู่ผู้เดียวนอนแล้ง
    ไผได้ฟังม่วนแม้งใจสล่างหว่างเว
    ฝูงอาบน้ำปะผ้าแล่นมา
    next greenอ่านรายละเอียดเรื่อง แคน เพิ่มเติม

     

    การประดิษฐ์ชุดฟ้อนซึ่งอาศัยแคนเป็นองค์ประกอบขึ้น ได้ชื่อว่า เซิ้งแคน เป็นการฟ้อนประกอบการเป่าแคน โดยแบ่งการฟ้อนออกเป็น 2 ฝ่ายชายหญิง ฝ่ายชายเป่าแคนไปด้วยลีลาการเกี้ยวพาราสี การเซิ้งแคนเป็นการฟ้อนที่เป็นอิสระแต่ละคู่ ฉะนั้นจึงมีความสนุกสนานแปลกตาในลวดลายของการเซิ้ง และการเป่าแคน และยังมีชุดฟ้อนแคน ซึงทางกรมศิลปากรได้จัดทำเป็นชุดฟ้อน โดยใช้ทำนองลาวดวงเดือนและออกซุ้มลาวแพน

    ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม โดยอาจารย์ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ เห็นว่าน่าจะมีการประยุกต์ทำนองฟ้อนและเซิ้งเข้าอยู่ในชุดเดียวกัน เพื่อให้เกิดความสวยงามแปลกตา และเน้นให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างภาคอีสาน ซึ่งได้รับสืบทอดวัฒนธรรมของล้านช้าง และภาคเหนือ ซึ่งได้รับสืบทอดวัฒนธรรมของล้านนา จึงประดิษฐ์ชุดฟ้อนขึ้นโดยอาศัย "แคน" เป็นสื่อให้ชื่อว่า "ฟ้อนเซิ้งแคน" โดยใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใช้ในทำนองเซิ้งบั้งไฟ และเพลงลาวดวงเดือน และออกซุ้มลาวแพน

    เครื่องแต่งกาย

    ฝ่ายหญิงใช้ชุดเซิ้งพื้นเมืองอีสาน คือ สวมเสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นพื้นเมือง ห่มผ้าสไบ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลม นุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าขาวม้าพื้นเมืองอีสาน และใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว

    เครื่องดนตรี

    ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน โดยใช้ลายเซิ้งบั้งไฟเพลงลาวดวงเดือนและออกซุ้มของเพลงลาวแพน

    เซิ้งแคน โดย นาฏยศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

    3diamondฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน

    ชาวอีสานแต่โบราณมีประเพณีการไป "เล่นสาว" หรือไป "เว้าสาว" ในการไปเล่นสาวของชายหนุ่มชาวอีสานนั้นจะเกี่ยวเนื่องกับประเพณีลงข่วง ในช่วงหน้าหนาวหรือหน้าแล้ง หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว ในตอนกลางคืนหญิงสาวชาวอีสานก็จะมาร่วมกัน "เข็นฝ้าย" ซึ่งมีเพลงกล่อมเด็กที่กล่าวถึงแม่ร้างเข็นฝ้ายอยู่ว่า

      "นอนสาเด้อหล่าหลับตาแม่สิกล่อม
    นอนอู่แก้วหลับแล้วแม่สิกวย
    แม่สิไปเข็นฝ้ายเดือนหงายเว้าผู้บ่าว
    สิไปหาพ่อน้ามาเลี้ยงให้ใหญ่สูง
    ลุงและป้าอาวอาเพิ่นบ่เบิ่ง
    เพิ่นได้กินปลาบึกตัวเท่าหัวเรือก็บ่ได้กินนำเพิ่น
    เพิ่นได้กินปลาเสือตัวเท่าหัวช้างก็บ่ได้กินน้ำเพิ่น
    ได้กินแต่ปลาขาวขี้ก้างชาวบ้านเพิ่นให้ทาน
    เหลียวขึ้นไปมีแต่ดาวกับเดือนเต็มฟ้า
    ไผสิมาเกี่ยวหญ้ามุงหลังคาให้ลูกอยู่บุญชูแม่นี่เอย"

    ซึ่งหญิงสาวจะเริ่มเข็นฝ้ายประมาณ 1 - 2 ทุ่ม หลังจากกินข้าวเย็นแล้ว ส่วนการไปเล่นสาวของชายหนุ่มอีสานนั้น จะเริ่มประมาณ 3 - 4 ทุ่ม ชายหนุ่มทั้งบ้านเดียวกันและต่างบ้านก็จะชวนกันเดินเป็นกลุ่มๆ มีการดีดพิณ และเป่าแคนไปตามทาง ในทำนองเพลงพื้นบ้านอีสาน กลุ่มของชายหนุ่มจะตระเวนไปตามข่วงต่างๆ ในหมู่บ้าน เมื่อไปถึงจะแยกย้ายนั่งคุยกับหญิงสาว การสนทนากันหรือ "เว้าสาว" นั้น จะมีการจ่ายผญา คือการสนทนาเกียวพาราสีกันด้วยภาษาเฉพาะ เรียกว่า ผญาเครือ หรือ ผญาเกี้ยว ซึ่งมีลักษณะลีลาจังหวะสัมผัสอันไพเราะงดงามทั้งความหมายของถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้งคมคาย เช่น

    ชาย : โอนอหล้าเอ้ย การที่มามื้อนี่ความกกว่าอยากได้ฝ้าย
    ความปลายว่าอยากได้ลูกสาวเพิ่น
    อันเจ้าผู้ขันหมากแก้วลายเครือดอกผักแว่น
    สิไปตั้งแล่นแค่นอยู่ตีนส่วมผู้ใดนอ
    หญิง : อ้ายเอย น้องผู้ขันหมากแก้วลายเครือผักแว่น
    หวังว่าสิไปตั้งแล่นแค่นอยู่ตีนส่วมบ่าวพี่ชาย... นี่แล้ว
    ชาย : ย่านบ่จริงจังหมากหว้าสีชมพูจั่งว่า
    ย่านคือตอกมัดกล้าดำนาแล้วเหยียบใส่ตม... นั่นแล้ว
    หญิง : คันบ่จริงน้องบ่เว้า คันบ่เอาน้องบ่ว่า
    สัจจาน้องว่าแล้วสิมายม้างแม่บ่เป็น... เด้อ้าย
    ชาย : สัจจาผู้หญิงนี้บ่มีจริงจักเทื่อ
    ชาติดอกเดื่อมันบ่บานอยู่ต้นตออ้ายบ่เชื่อคน... ดอกนา
    หญิง : กกจิกมันมีหลายต้น กกตาลมันมีหลายง่า
    สัจจะน้องได้ว่าแล้ว สิมายม้างบ่เป็น... ดอกอ้าย
      next greenอ่านเพิ่มเติมเรื่อง ผญา ได้ที่นี่...

    ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูมหาสารคาม จึงได้ทำชุดฟ้อนขึ้นเพื่อแสดงถึงการเล่นสาว หรือ เว้าสาว หรือ เกี้ยวสาว ของชาวอีสานขึ้น

    เครื่องแต่งกาย

    ฝ่ายหญิงแต่งกายชุดผู้ไท โดยสวมเสื้อดำขลิบแดงเข้ารูป แขนกระบอก ผ่าหน้า นุ่งซิ่นดำมีเชิงยาวกรอมเท้า ห่มสไบเฉียงทิ้งชายด้านขวา เกล้าผมมวยผูกผ้าแดง ฝ่ายชายจะถือแคน โดยสวมเสื้อคอกลมผ่าหน้าแขนสั้นสีดำขลิบแดง นุ่งโจงกระเบนทิ้งชายด้านหนึ่ง มัดผ้าแดงที่ศรีษะ

    เครื่องดนตรี

    ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายผู้ไท ฝ่ายชายมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงคือ แคน

     

    ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
    ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
    blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

    blueline

    next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

     

    redline

    backled1

    isan word tip

    isangate net 345x250

    ppor blog 345x250

    adv 345x200 1

    นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

    ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)