foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon for fun header

3diamondฟ้อนอุบล 

ฟ้อนอุบล เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวอุบลราชธานี การฟ้อนมุ่งความอ่อนช้อยสวยงาม ท่วงทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนคือ เพลงอุบลราชธานี (ลาวอุบล) การฟ้อนอุบลนี้เดิมไม่มีปรากฏ ชาวอุบลส่วนใหญ่จะได้ยินได้ฟังเฉพาะเพลงลาวอุบล ซึ่งแต่งและบรรเลงโดยครูดนตรีไทยอาวุโสผู้หนึ่ง สำหรับเป็นเพลงประจำจังหวัด ระยะหลังจึงมีผู้คิดท่าฟ้อนประกอบเพลงขึ้น เนื้อเพลงจะถ่ายทอดให้เห็นถึงจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคอีสานที่มีความอุดมสมบูรณ์และความเจริญในหลายด้านจนได้ชื่อว่าเป็น "ถิ่นไทยดี" ผู้คนเต็มไปด้วยความโอบอ้อมอารี มีน้ำใจ สมชื่อว่าเป็นเมืองแห่งดอกบัวงาม

เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้ผู้หญิงล้วน แต่งกายด้วยผ้าขิดรูดหน้าอก คลุมไหล่ด้วยผ้าโปร่งสีนวล ผ้าถุงจะเป็นผ้าสีชมพูจีบหน้านาง ในมือถือดอกบัวสีขาวคนละ 1 ดอก

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเพลงอุบลราชธานี

อุปกรณ์ประกอบการแสดง ดอกบัวประดิษฐ์คนละ 1 ดอก

เพลงอุบลราชธานี (ลาวอุบล)

อุบลราชธานี นี้ไทยดีเมืองหนึ่ง หากอยู่ถึงแดนแม่โขง ที่คดโค้งไหลลงเป็นทาง ไหลไปหว่างกลาง ไม่มีเหินไม่มีห่าง เมืองไทยอยู่ทาง พี่น้องลาวอยู่ทาง

อุบลราชธานี นี้เป็นที่ชุมชน แห่งดอกโกสุม หรือเจ้าปทุมมาลย์ นั้นคือดอกบัวบาน ตระการก้านใบ มีดีอย่างไร ทั่วแคว้นแดนไทย ไม่น้อยหน้าใคร

ศึกษาซึ่งความดี เหมือนบัวมีสีรื่นรมย์ กลิ่นหอมชื่นชม ภิรมย์หฤหรรษ์ กลิ่นของบัวนั้นสุขสันต์เพิ่มพูน อยู่ในแม่น้ำ..มูล นั้นเหมือนอุบล เป็นสุข นิราศทุกข์ปวงภัย อุบลนั้นไซร้ถิ่นไทยของไทย

ลำดับขั้นตอนการแสดง ท่าทางในการฟ้อนอุบลจะมี 2 ประเภท คือ

    1. ท่าฟ้อนประกอบเนื้อเพลง เป็นการฟ้อนประกอบเนื้อหาของเพลงหรืออาจเรียกว่า รำตีบท
    2. ท่าสลับเพลง เป็นการฟ้อนแปรท่าต่างๆ เน้นความสวยงาม และความพร้อมเพรียงกัน

ดังนั้นในการฟ้อนจะมีลำดับขั้นตอนดังนี้

    • เริ่มต้นด้วยการบรรเลงเพลงลาวอุบลท่อนละ 1 เที่ยว ทั้ง 3 ท่อน ผู้ฟ้อนจะออกด้วยท่ามือขวาถือกระทงในระดับสูงกว่าศีรษะ เอียงตัวตามมือสูง มือซ้ายจีบหงายระดับต่ำส่งมือไปด้านหลัง ผู้ฟ้อนจะยืนเรียงแถวหน้ากระดาน 2 แถว แถวหน้า 4 คน แถวหลัง 4 คน
    • ร้องเพลงท่อนที่ 1 ผู้ฟ้อนทำท่าให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง
    • ดนตรีบรรเลงรับท่อน 1 ผู้ฟ้อนแบ่งเป็น 2 กลุ่มๆ ละ 4 คน นำดอกบัวมารวมกันเป็นสี่มุม สลับการหมุนตัวเข้าออกภายในวงและนอกวง มือทั้งสองเปลี่ยนท่าสลับไปมาตามจังหวะที่หมุนตัว พอจบท่อนเพลงกลับไปยืนเรียง 2 แถวเหมือนเดิม
    • ร้องเพลงท่อนที่ 2 ผู้ฟ้อนทำท่าให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง จบลงด้สยการแปรแถว 4 แถว ผู้ฟ้อนนั่งหันหน้าเข้าหากัน
    • ดนตรีรับท่อน 2 ผู้ฟ้อนทั้งหมดยก 2 มือ ประคองดอกบัวยกสลับซ้ายขวา
    • ร้องเพลงท่อนที่ 3 ผู้ฟ้อนทำท่าให้สอดคล้องกับเนื้อเพลง จบลงด้วยท่าที่ผู้ฟ้อนทั้ง 8 คนจะยืนเรียงเป็นครึ่งวงกลม
    • ดนตรีรับท่อน 3 ผู้ฟ้อนยืนแถวเรียงสองทะแยงกับความยาวของเวที มือซ้ายตั้งวงบนไว้ตลอด มือขวายกกระทงร่อนสูงขนานกับวงบน สลับกับการส่งกระทงไปด้านหลัง มือสูงระดับเอว

ท่ารำเพลงอุบลราชธานี

3diamondฟ้อนกลองตุ้ม

ฟ้อนกลองตุ้ม บางที่เรียกกันว่า เซิ้งกลองตุ้ม เป็นการฟ้อนเซิ้งแบบสนุกสนานของชาวบ้านภาคอีสานในเทศกาลบุญเดือนหก หรือบุญบั้งไฟ หรือบุญเดือนสี่หรือบุญมหาชาติของชาวอีสาน ฟ้อนกลองตุ้ม เป็นการฟ้อนรำประกอบจังหวะกลองที่เรียกว่า "กลองตุ้ม" ผู้ชายฟ้อนล้วนๆ ท่าฟ้อนเป็นท่าอิสระไม่จำกัดตายตัว สุดแต่ผู้ฟ้อนจะคิดขึ้น จุดมุ่งหมายในการฟ้อนเป็นไปเพื่อขอเหล้าหรือปัจจัยไทยทาน โดยผู้ฟ้อนจะว่ากลอนเซิ้งขอบริจาค หรือเล่าเรื่องราวที่สนุกสนานให้ชาวบ้านฟัง

จากการพิจารณาที่มาของฟ้อนกลองตุ้มจะเห็นว่า มีความเกี่ยวพันกับบุญบั้งไฟอย่างใกล้ชิด เพราะทำนองที่ใช้ในการว่ากลอนเซิ้งนี้เหมือนทำนองเซิ้งบั้งไฟทุกประการ เพียงแต่ช้าเนิบนาบกว่าเล็กน้อย ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า ฟ้อนกลองตุ้มนี้มีที่มาจากเซิ้งบั้งไฟนี่เอง แต่เป็นไปในตอนที่ชาวบ้านเดินทางไปตามบ้าน และว่ากลอนเพื่อขอปัจจัยตามบ้านต่างๆ และในการไปไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีมากนัก นอกจากกลองตุ้มคอยตีให้จังหวะ

โดยปกติเรามักจะรู้จักการรำเซิ้งในขบวนแห่บั้งไฟเป็นส่วนใหญ่ ฟ้อนกลองตุ้มไม่ค่อยมีผู้ใดรู้จักมากนัก เมื่อ นายนิพนธ์ รองทอง นิสิตภาคสมทบวิชาเอกภาษาไทย รุ่น 12 นำมาเผยแพร่ ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เห็นว่า ควรอนุรักษ์ไว้ จึงได้มีการฝึกฟ้อนกลองตุ้มขึ้น โดยท่าทางฟ้อนรำนำมาจากการได้เห็นฟ้อนกลองตุ้ม ของชาวตำบลนาคำใหญ่ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ผู้ควบคุมการฝึกซ้อมคือ อาจารย์จารุวรรณ ธรรมวัตร

เครื่องแต่งกาย เมื่อพิจารณาเครื่องแต่งกายฟ้อนกลองตุ้ม พบว่าที่น่าสนใจศึกษาเป็นพิเศษก็คือ เครื่องประดับศีรษะ จะเห็นว่าทำมาจากเส้นใยของบวบแห้งประดับด้วยดอกไม้ต่างๆ น่าสังเกตว่า เครื่องสวมหัวทำนองนี้ไม่ค่อยมีในภาคอีสาน เท่าที่ปรากฏอยู่มักเป็นเครื่องสวมศีรษะของชาวภาคเหนือ ใช้สวมให้เด็กชายหรือหนุ่มในพิธีบวช ซึ่งจะมาปรากฏในภาคอีสานได้อย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่น่าศึกษาต่อไป ส่วนเสื้อผ้าจะถือเอาตามสะดวก บางหมู่บ้านจะนุ่งกางเกง บางหมู่บ้านนุ่งโสร่ง เสื้อบางทีเป็นเสื้อที่ใช้ทั่วไป บางทีอาจเป็นเสื้อม่อฮ่อม มีฝ้ายคล้อยเฉียงไหล่เป็นเครื่องประดับ มือสวมเล็บซึ่งทำจากโครงไม้ไผ่พันรอบๆ ด้วยฝ้ายสีต่างๆ

ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ได้ดัดแปลงจากเดิมเล็กน้อย นั่นคือสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่ง และให้ผู้ฟ้อนแต่งกายเหมือนกันทุกคนเพื่อความสวยงาม

ฟ้อนกลองตุ้ม

เครื่องดนตรี ประกอบด้วยกลองตุ้ม ฉิ่ง ฉาบ

  เพลงฟ้อนกลองตุ้ม
คำร้อง : อาจารย์จารุวรรณ ธรรมวัตร
   
โอมพุทโธกะนโมเป็นเจ้า
เป็นจังได๋ตั้งใจซอมเบิ่ง
เป็นทำนองเอิ้นว่ากลองตุ้ม
โอ เฮาโอ กะเฮาโอเฮาโอ
เซิ้งกินเหล้ายามบุญบั้งไฟ
ตุ้ม ตุ้ม เติง ตุ้ม ตุ้ม เสียงกลอง
ตุ้มอ้ายแน สาวตุ้มอ้ายแน
   
โอมพุทโธนโมเป็นเจ้า
เป็นภาระมีมาหลายเทื่อ
มีละครฟ้อนรำระบำแอ่น
ขอเหล้าแน ขอเหล้าอ้ายแน
อ้ายขอเป็นแฟนแน สาวสงขลา
มีใจผูกพันแน สาวประสานมิตร
ขางามๆ แม่นสาวพิษณุโลก
ความงามเกินเกณฑ์เห็นสาวพละ
โอนอ โอนอ สาวเอย
โอเฮาโอ กะเฮาโอ เฮาโอ
ข้อยสิเว้าเรื่องงานศิลปะ
เบิ่งบ่เบื่อจิตใจฮ่ำฮอน
มีหมอแคนแล่นแตแล่นแต
ใจเผื่อแผ่แก่สาวบางแสน
มีจิตเมตตาแน สาวปทุมวัน
นุ่งฟิตๆ แม่นสาวสารคาม
ตาโศกๆ แม่นสาวบางเขน
เชฟบ๊ะๆ แม่นพวกผู้ชม
ขอเหล้าแน ขอเหล้าอ้ายแน...

 

3diamondเซิ้งกะโป๋

เซิ้งกะโป๋ เป็นการละเล่นที่เน้นความสนุกสนานเป็นหลักโดยใช้ กะโป๋ หรือ กะลามะพร้าว เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการเล่น เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ ในแถบเอชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย โดยเฉพาะมาเลเซีย มีการละเล่นซึ่งใช้กะลาประกอบอยู่ ซึ่งเมื่อเสร็จจากการเก็บเกี่ยวชาวมาเลย์ก็จะมีการรื่นเริงและฉลองกัน บ้างก็ช่วยกันขูดมะพร้าวและตำน้ำพริก จึงได้นำเอากะลามะพร้าวมาเคาะประกอบจังหวะกันเป็นที่สนุกสนาน ระบำกะลาของมาเลเซียมีชื่อเป็นภาษามาเลย์ว่า "เดมปุรง" หรือแม้แต่ประเทศกัมพูชาก็มีการละเล่นที่ใช้กะลาเป็นอุปกรณ์เช่นเดียวกัน เซิ้งกะโป๋คงได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาที่นิยมเล่นกันในกัมพูชาและแถบอีสานใต้ ระบำกะลามีจังหวะเนิบนาบ จึงมีการปรับปรุงใหม่โดยใช้เพลงพื้นเมืองอีสาน และยังนำเอาเพลงพื้นเมืองของอีสานใต้มาใช้ประกอบอยู่คือเพลง เจรียงซันตรูจ

เครื่องแต่งกาย เซิ้งกะโป๋จะแบ่งผู้แสดงออกเป็น 2 ฝ่าย คือ หญิงและชาย ฝ่ายหญิงนุ่งซิ่นพื้นเมืองอีสาน สวมเสื้อแขนกระบอก เกล้าผมมวยใช้แพรมนรัดมวย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าผูกเอว

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน แต่เล่นลายพื้นเมืองของอีสานใต้คือ เจรียงซันตรูจ

เซิ้งกะโป๋ หรือ เซิ้งกะลา นี้มีผู้ประดิษฐ์จัดทำเป็นชุดฟ้อนที่แตกต่างกันออกไป เช่น

    • วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะใช้ลีลาการกระทบกะลาที่ไม่คล้ายกับระบำกะลาของอีสานใต้มากนัก และนำการละเล่นของพื้นเมืองของเด็กอีสานมาประกอบ เช่น การเดินกะโป๋ หรือ หมากกุ๊บกั๊บ ฯลฯ
    • วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด จะใช้ลีลาการกระทบกะลา ซึ่งพอจะเห็นเค้าว่าได้แบบอย่างมาจากระบำกะลาของอีสานใต้ แต่งกายเช่นเดียวกับระบำกะลา คือฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนกระบอก คล้องสไบผูกชายที่เอว ฝ่ายชายนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าพับทบด้านหน้า ทิ้งชายด้านหลัง

เซิ้งกระโป๋

3diamondเซิ้งทำนา

เซิ้งทำนา เป็นชุดฟ้อนที่สะท้อนให้เห็นขั้นตอนของการทำนา ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวอีสาน ตั้งแต่การเดินไปนา หว่านกล้า ดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว กอบข้าวใส่ตะกร้า เก็บขึ้นสู่ยุ้งฉาง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการทำนา

การแต่งกาย ฝ่ายหญิงจะสวมเสื้อแขนกระบอกสีน้ำเงิน ผ่าหน้าใช้กระดุมสีขาวติดรอบชายทั้งตัว นุ่งซิ่นพื้นมีเชิงตีนซิ่น สวมหมวกงอบ ห่มสไบซึ่งทำจากตีนซิ่น เหน็บเคียวคนละอัน ฝ่ายชาย นุ่งกางเกงขาก๊วยสั้นแค่เข่า สวมเสื้อม่อฮ่อม ใช้ผ้าผูกเอวและโพกศีรษะ มีตะกร้าห้อยและเหน็บเคียวคนละอัน

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายเซิ้งบั้งไฟ

อุปกรณ์การแสดง ตะกร้าและเคียว

 

ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

blueline

next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)