คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
บ้านประโดก ตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีชื่อเสียงมากในเรื่องทำขนมจีน ซึ่งมีเส้นเหนียวและน้ำยาหอมรสกลมกล่อม และน้ำยาบ้านประโดกก็แตกต่างจากที่อื่นคือ แทนที่จะนำเครื่องแกงสดมาโขลกทันที แต่กลับนำเอาไปต้มให้สุกก่อนจึงจะนำมาโขลกให้ละเอียด ส่วนทางภาคกลางนิยมต้มเครื่องแกงและปลากับน้ำปลาร้าก่อน แต่น้ำยาบ้านประโดกไม่ใส่ปลาร้าจึงต้มเครื่องแกงและปลากับหางกะทิ
การทำเส้นขนมจีนบ้านประโดก มีเครื่องปรุงเส้นขนมจีนคือ ข้าวเจ้า (ใช้ปลายข้าวละเอียด) ประมาณ 10 กิโลกรัม มีวิธีการทำดังนี้
การรำบ้านประโดก จึงได้แนวคิดมาจากการประกอบอาชีพที่ขึ้นหน้าขึ้นตาของชาวบ้าน ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูนครราชสีมา จึงได้นำลีลาการประกอบอาชีพโดยประดิษฐ์ท่าฟ้อนแสดงขั้นตอนการทำขนมจีนตั้งแต่ การแช่แป้ง โขลกนวดแป้ง โรยขนมจีน แล้วนำไปขายที่ตลาด
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวม เสื้อแขนกระบอก ห่มสไบนุ่งซิ่นมัดหมี่ ฝ่ายชายสวม เสื้อคอกลมแขนสั้นนุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้ามัดเอว
เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน
รำขนมจีนประโดก
ขั้นตอนการทำขนมจีนประโดก
ปลาจ่อม เป็นอาหารชนิดหนึ่งของชาวอีสานซึ่งชาวอีสานส่วนใหญ่เรียกว่า "ส้มปลาน้อย" ปลาจ่อมเป็นอาหารซึ่งประกอบด้วย ปลาตัวเล็ก หมักด้วยเกลือและข้าวคั่ว ใช้เป็นเครื่องจิ้ม ซึ่งอำเภอประโคนชัยได้ชื่อว่า "เมืองข้าวมะลิหอม ปลาจ่อมประโคนชัย" การทำปลาจ่อมส่วนใหญ่นิยมใช้ปลาซิวแก้ว ปลาอีด ลูกปลาช่อน ลูกปลาหมอ เกลือและข้าวคั่ว นิยมใช้ข้าวคั่วป่นที่ทำจากข้าวสารเจ้า
วิธีการทำปลาจ่อม จะนำปลาที่เตรียมไว้มาคลุกเคล้ากับเกลือให้หมดคาว คนให้เข้ากันหมักทิ้งไว้หนึ่งคืน แล้วนำข้าวคั่วป่นมาเคล้าให้เข้ากับปลาที่หมักไว้ โดยใช้ไม้พายคนให้ทั่วๆ นำไปบรรจุขวดโหล ปิดปากขวดให้มิดชิดด้วยถุงพลาสติกขนาดใหญ่ ใช้เชือกฟางรัดปากขวดให้แน่นทิ้งไว้ประมาณ 15 วัน ก็สามารถนำมารับประทานได้
ปลาจ่อมหรือส้มปลาน้อย เป็นอาหารพื้นบ้านอีสานที่รู้จักกันดี ทางศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์จึงได้จัดทำเป็นชุดฟ้อนขึ้น
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนุ่งซิ่นใช้ผ้าแถบรัดอก สวมหมวก ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อม่อฮ่อมใช้ผ้าขาวม้าคาดพุง
เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้
อุปกรณ์การแสดง อวน (ดาง) ไซ กระชัง ไห
ลำดับขั้นตอนการแสดง เซิ้งปลาจ่อม เริ่มโดยชายและหยิงนำอวน และไซดักปลา ซึ่งจะได้ปลาที่มีขนาดเล็ก หลังจากนั้นฝ่ายหญิงก็จะนำปลาที่ได้มาทำปลาจ่อม ฝ่ายชายจะเอาไหมาใส่ปลาจ่อมเพื่อหมักไว้จนกว่าจะได้ที่
อาหารอีสานส่วนใหญ่จะได้มาจากธรรมชาติ ทั้งที่เป็นสัตว์เล็ก สัตว์น้อย และพืชพันธุ์ต่างๆ นับได้ว่าชาวอีสานเป็นนักกินผู้หนึ่งทีเดียว ไข่มดแดงนับเป็นอาหารประจำถิ่นอีสาน จนสามารถนำมาขายจนกลายเป็นอาชีพได้ ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ เห็นว่าควรจะอนุรักษ์อาชีพแหย่ไข่มดแดงนี้ในรูปของการแสดง จึงได้ทำการศึกษาถึงขั้นตอนการนำไข่มดแดงลงมาของชาวบ้าน โดย อาจารย์ประชัน คะเนวัน และ อาจารย์ดรรชนี อุบลเลิศ เป็นผู้เขียนรายละเอียดของขั้นตอนการแหย่ไข่มดแดงโดยละเอียด การแสดงเซิ้งแหย่ไข่มดแดงเป็นการอนุรักษ์อาชีพของชาวอีสานอย่างหนึ่ง
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย เสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าคาดเอว และใช้ผ้าขาวม้าโพกศีรษะ ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอก 3 ส่วนคอกลม ห่มสไบ นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่สั้นแค่เข่า
เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานลายเซิ้ง
อุปกรณ์สำหรับการแสดง ครุใส่น้ำ ตะกร้าผูกปลายไม้ยาว ผ้าสำหรับกวนมดแดง การจัดการแสดงลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้
ฟ้อนแหย่ไข่มดแดง
ชาวอีสานรู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ไม่ว่าจะเป็นอีสานเหนือ หรืออีสานใต้ ถึงแม้อีสานใต้จะไม่มีผ้าไหมที่โดดเด่นในทางลวดลายเช่นอีสานเหนือ แต่ผ้าไหมของอีสานใต้ก็จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งพอมองเห็นก็ทราบได้ทันทีว่าเป็นผ้าไหมจากอีสานใต้ โดยเฉพาะในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเรือมศรีผไทสมันต์นี้เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ท่าฟ้อนมาจากอาชีพการเลี้ยงไหม ทอผ้าของชาวอีสานใต้ ตั้งแต่เริ่มปลูกต้นหม่อน การเลี้ยงไหม จนทอผ้าเป็นผืน ซึ่งคณาจารย์โรงเรียนสิรินธร และโรงเรียนอนุบาลสุรินทร์ เป็นผู้ประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้น นับเป็นชุดฟ้อนศิลปาชีพอีกชุดหนึ่งที่มีความสวยงามแปลกตา ทั้งในด้านชุดการแสดงและจังหวะดนตรี
เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงใช้หญิงล้วนสวม เสื้อคอกลมแขนกระบอกสีออกชมพู นุ่งผ้าซิ่นมัดหมี่พื้นเมืองของสุรินทร์ ใช้ผ้าเบี่ยงโพกศีรษะ และพาดไหล่ด้วยผ้าขาวม้าพื้นเมืองสุรินทร์
เครื่องดนตรี ที่ใช้ประกอบการฟ้อนจะใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึมหลายเพลงประกอบท่าฟ้อน
ฟ้อนเข็นฝ้าย - เซิ้งสาวไหม - ฟ้อนแพรวา - เซิ้งข้าวปุ้น | รำบ้านประโดก - เซิ้งปลาจ่อม - เซิ้งแหย่ไข่มดแดง - เรือมศรีผไทสมันต์
คลิกไปอ่าน การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)