คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
"พระธาตุ" และ "ธาตุ" เป็นภาษาถิ่นของภาคอีสาน ที่ใช้เรียกอนุสาวรีย์หรือสิ่งก่อสร้างเพื่อบรรจุอัฐิธาตุของผู้วายชนม์ มีความหมายอย่างเดียวกับ "เจดีย์" หรือ "สถูป" ในภาษาภาคกลาง หากเรียกว่า
สถาปนิกมักจะสร้างไว้ในพื้นที่สูง เพื่อให้เด่นและมองเห็นง่าย ออกแบบให้ดูสูงใหญ่ดูอลังการ ใช้ก่ออิฐถือปูนปั้นลวดลายประดับประดาสุดฝีมือ เต็มเปี่ยมด้วยศรัทธาเพื่ออุทิศแด่พระพุทธศาสนา ความโดดเด่นของรูปร่างมักแสดงออกตรงส่วน "ยอดธาตุ" มากกว่าส่วนอื่น ซึ่งจะมีทรงแตกต่างกันออกไป อาทิ ทรงบัวเหลี่ยม ซึ่งนิยมมากกว่ารูปแบบอื่น ทรงแปดเหลี่ยม และทรงระฆังคว่ำ เป็นต้น
พระธาตุหนองบัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม แนวคิดสัญลักษณ์ทางศาสนาคือดอกบัว ชาวอีสานนำมาประยุกต์เป็นอัตลักษณ์ของตนคือ ยอดธาตุเป็นทรงดอกบัวเหลี่ยม หรือ บัวสี่เหลี่ยม
ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม พระธาตุเหมือนได้สักการะและระลึกถึงคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ส่วนธาตุเป็นการระลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษ เป็นการแสดงความกตัญญู
พระธาตุศรีสองรัก อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
รูปแบบของพระธาตุ สามารถจำแนกได้เป็น 6 กลุ่มดังนี้
พระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
พระธาตุเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
“ธาตุ” ในครั้งแรกนิยมใช้ไม้ จึงเรียกว่า “ธาตุไม้” โดยใช้ไม้ถากให้เป็นท่อน 4 เหลี่ยมจตุรัส กว้างยาวไม่เกินด้านละ 30 ซม. แล้วตกแต่งบัวหัวเสาให้วิจิตรพิสดาร ต่อมาได้พัฒนามาใช้การก่ออิฐถือปูน ซึ่งสามารถทำได้ใหญ่โตและแข็งแรงยิ่งขึ้น เรียกว่า “ชะทาย” ซึ่งทำขึ้นจากปูนขาวผสมทราย ยางบงและน้ำหนังสัตว์เป็นตัวประสาน
ธาตุปูน จำแนกออกได้ตามความสำคัญของผู้ตาย ดังนี้
นอกจากรูปแบบของ “ธาตุ” และ “พระธาตุ” แล้วยังมีรูปแบบของ “บือบ้าน” หรือ “หลักบ้าน” (ส่วนมากทำด้วยไม้) ของอีสานที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ “ธาตุไม้” ของสามัญชน ต่างกันแต่ว่าไม่มีช่องบรรจุอัฐิเท่านั้น นับเป็นศิลปกรรมพื้นบ้านอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ธาตุปูน และ ธาตุไม้
ธาตุไม้ คือ การนำแท่งไม้ 4 เหลี่ยมจัตุรัสขนาดประมาณ 15 - 25 ซม. ความสูงไม่จำกัด มาประดิษฐ์เป็นที่บรรจุอัฐิของสามัญชน นับเป็นงานพื้นฐานในเชิงช่าง เป็นมูลเหตุแห่การสร้างงานสถาปัตยกรรมประเภทอนุสาวรีย์ในโอกาสต่อมา
ธาตุปูน เป็นธาตุที่ทำด้วยปูน ไม่ใช้โครงเหล็ก เป็นงานฝีมือช่างที่พัฒนารูปแบบมาจากธาตุไม้ โดยมีองค์ประกอบของฐานธาตุ เรือนธาตุ และยอดธาตุ การบรรจุอัฐินั้นนิยมบรรจุในเรือนธาตุเป็นส่วนใหญ่ ธาตุปูนนิยมสร้างสำหรับบุคคลสามัญ บุคคลสำคัญ ตลอดจนเจ้านายและพระสงฆ์
ข้อมูลจาก : ห้องอีสานนิทรรศน์ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
[ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม : บรรจุภัณฑ์แห่งความตาย ]
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)