foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

หอแจก

หอแจก หมายถึง ศาลาโรงธรรมประจำวัด เป็นสถานที่แจกธรรมะ กลางหอแจกจึงมี 'ธรรมาสน์' ให้พระสงฆ์สวดพระธรรมเทศนาให้ประชาชนฟัง นอกจากนั้น หอแจกยังเป็นอาคารเอนกประสงค์สาธารณะของผู้คนในชุมชน เพราะวัดเป็นศูนย์กลางกิจกรรมสาธารณะในสังคมไทย จึงทำหน้าที่รองรับกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ของผู้คนในชุมชนด้วย เช่น การชุมนุมในงานประเพณีต่างๆ ได้แก่ บุญฮีตสิบสอง (ประเพณีสิบสองเดือนของชาวอีสาน) การประชุมชาวบ้าน การรjวมกันผลิตสิ่งของ เครื่องใช้ต่างๆ อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของชาวบ้าน เป็นต้น ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของหอแจกจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ หอแจกไม้ หอแจกปูน และหอแจกคอนกรีตเสริมเหล็ก

hor jag wat ban kradian 04
หอแจกปูน วัดราษฎร์ประดิษฐ์ บ้านกระเดียน อำเภอตระการพืชผล อุบลราชธานี

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม รูปทรงฐานเป็นเสายกสูงระบายอากาศ ตัวเรือนเป็นสี่เหลี่ยมโปร่ง หลังคาทรงจั่ว

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม แนวคิดสถาปัตยกรรมที่คำนึงถึงสภาพดินฟ้าอากาศ การอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างชาญฉลาด และการประหยัดพลังงาน

hor jag wat klang 06
หอแจกไม้ วัดกลาง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

หอแจกอีสาน คือ วิหาร ในกระแสวัฒนธรรมหลวง

เขียนโดย : ติ๊ก แสนบุญ
จาก : วารสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับ เดือนเมษายน 2552

ในวิถีสังคมชายขอบของอีสาน โดยเฉพาะวัดหรืออาฮามในพื้นที่อันห่างไกล ศาสนาคารที่ถือได้ว่าเป็นส่วนประธาน หรือสิ่งก่อสร้างที่สำคัญที่สุดก็คือ "หอแจก" ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่คุ้นเคยของคนอีสานโบราณ แต่สำหรับคนรุ่นใหม่จะนึกถึง "ศาลาการเปรียญ" ซึ่งเป็นภาษาสำเนียงหลวง (ภาคกลาง) ที่เข้ามาแทนที่ภาษาถิ่น แต่เมื่อจะกล่าวถึงชื่ออื่นๆ ที่ใช้เรียกศาสนาคารประเภทนี้ก็มีอยู่อีก เช่น ศาลาโรงธรรม ธรรมศาลา ก็เรียก

สำหรับพัฒนาการด้านรูปแบบความเป็นมาของหอแจก เราอาจเชื่อมโยงไปถึงสังคมดั้งเดิมในวิถีชนเผ่าที่เคารพบูชาผี ดังกรณีของ "หลักฆ่าควาย" โดยมีศาลากลางบ้านเป็นอาคารศูนย์กลางของชุมชน ที่เรียก "หอผี" "หอก๊วน" หรือ "หอเกริ๊ง" ของชนเผ่าลาวเทิง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มวัฒนธรรมมอญ แขมร์ พวกข่า หรือแม้แต่กลุ่มวัฒนธรรมไท-ลาว โดยเฉพาะกลุ่มไทดำที่นับถือผี ซึ่งมีหลักบ้านเป็นศูนย์กลางชุมชนเช่นกัน

hor jag wat ban kradian 03
หอแจก วัดราษฎร์ประดิษฐ์ บ้านกระเดียน อำเภอตระการพืชผล อุบลราชธานี

ดังตัวอย่างในอีสาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ไทซึ่งเป็นอีกสาแหรกหนึ่งของไทดำ ก็เรียก "หลักบ้าน" นี้ว่า "บือบ้าน" หรือ "หลักบือบ้าน" และจะมี พิธีบุญซำฮะ หรืองานบุญที่ชำระล้างสิ่งอัปมงคลในช่วงเดือน 6-7 ของทุกปี ซึ่งในห้วงการทำพิธีจะมีการสร้าง "ตูบผาม" (ปะรำชั่วคราวสร้างด้วยไม้ไผ่ มุงด้วยหญ้าคาหรือใบตอง) อยู่ใกล้ๆ หลักบ้าน เพื่อใช้ทำพิธีและเป็นที่นั่งสวดของพระ และวางเครื่องเซ่นไหว้ ซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างชั่วคราวที่พัฒนามาเป็น "ศาลากลางบ้าน" ในเวลาต่อมา เพราะอยู่ในพื้นที่บ้านบริเวณใกล้ๆ กับหลักบือบ้าน และสืบคติกลายมาเป็น 'เสาหลักเมือง' ในสังคมปัจจุบันนั่นเอง ซึ่งทั้งหมดนี้คือร่องรอยจากคตินิยมของ "ศาสนาผี" ผสมผสานกับฮินดู-พราหมณ์ และเมื่อเปลี่ยนมารับนับถือพระพุทธศาสนา คตินี้ก็ยังเคารพควบคู่ไปด้วย

sim isan 21

หอแจกหลังเก่า วัดขะยูงวนาราม ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ภาพถ่ายเมื่อปี 2485

โดยอาณาบริเวณวัดทั่วไปในภาคอีสาน และของ สปป.ลาว บางส่วน แผนผังของวัดจะให้ความสำคัญกับ "หอแจก" อยู่เป็นส่วนประธานโดยเฉพาะในเขตพุทธาวาส ส่วนสิมหรือโบสถ์จะอาศัยบริเวณห้วย หนอง คลอง บึง ในการสร้างให้มีขนาดเล็กๆ พอเพียงสำหรับประกอบศาสนากิจเฉพาะของพระสงฆ์ที่เรียกกันว่า "สิมน้ำ" หรืออาจไปใช้ร่วมกันกับวัดข้างเคียง ดังนั้นเราจึงไม่พบสิ่งก่อสร้างอื่นใดที่มีความสำคัญไปกว่าหอแจก

hor jag wat sinuan sawang arom 07
หอแจกวัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน อุบลราชธานี

แต่เมื่อพิจารณาในมิติทางสังคม การเมือง การปกครอง จะเห็นได้ว่า วัดที่ถูกสถาปนาหรือสร้างขึ้นด้วยกษัตริย์ หรือเชื้อพระวงศ์ รวมถึงเจ้าเมืองจะนิยมสร้าง 'วิหาร' เป็นส่วนประธานในวัด แทนหอแจกหรือสิม เฉกเช่นที่ วัดหลวงของเมืองอุบลฯ และวัดมโนภิรมย์ เมืองมุกดาหาร เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็นไปได้ว่า คติการสร้างวิหารในภาคอีสานเป็นอิทธิพลภายนอกที่เข้ามา โดยเฉพาะวัฒนธรรมแบบราชสำนัก ซึ่งสอดคล้องกับบริบททางสังคมอีสาน โดยเฉพาะในสมัยวัฒนธรรมไท-ลาว ดินแดนแถบนี้ไม่มีกษัตริย์ปกครอง ดังนั้นรูปแบบและคติของช่างหลวง หรือช่างราชสำนักจึงเข้ามามีอิทธิพลน้อยมาก

ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่ารูปแบบงานช่างไม่ว่าจะเป็น งานสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม ในอีสาน ล้วนแล้วแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะตนที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ ซึ่งมีอิทธิพลราชสำนักครอบงำอยู่มาก จนเป็นที่มาของความหลากหลายทางด้านรูปแบบที่เป็นอิสระ ความงามที่เรียบง่าย

hor jag wat huay naree 08

หอแจก ในมิติประโยชน์ใช้สอยเราอาจกล่าวได้ว่า หอแจกเป็นอาคารสาธารณะ (ในวัด) ที่เป็นศูนย์กลางที่เชื่อมโยงชาวบ้านและพระสงฆ์เข้าด้วยกัน ทั้งในช่วงงานบุญ วันพระ ฟังเทศน์ฟังธรรมป็นที่ประชุมกิจกรรมต่างๆ ของชาวบ้าน และกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในช่วงเดือนสี่ (มีนาคม) จะมีงานบุญผะเหวด (พระเวส) หรือการเทศน์มหาชาติ ซึ่งหอแจกจะถูกตกแต่งเครื่องบูชาคาถาพัน เป็นการจำลองเรื่องราวในชาดก มีการนำพืชพรรณที่มีลักษณะให้ผลดกครั้งละมากๆ เช่น มะพร้าว อ้อย กล้วย มาตกแต่งประกอบซุ้มคูหา อันมีนัยยะเรื่องความอุดมสมบูรณ์ในการทำมาหากินของชาวบ้านอีกด้วย

hor jag wat payai 05
พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) จังหวัดอุบลราชธานี

โดยจะมี "หอธรรมาสน์" ตั้งเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเป็นคติสัญลักษณ์ของปราสาทที่ประทับของพระพุทธองค์ และที่ขาดไม่ได้คือ องค์พระประธาน ที่เป็นเสมือนศูนย์กลางของหอแจก ที่ทำให้ครบไตรลักษณ์ คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ โดยพื้นที่ประทับของพระพุทธรูปจะมีผนังปิดล้อมเป็นส่วนใหญ่ แต่ส่วนอื่นๆ จะเปิดโล่ง จนเป็นประหนึ่งวิหารตามความหมายของวัฒนธรรมหลวง และเป็นที่น่าสังเกตว่า พระประธานที่อยู่ในหอแจกจะเป็นพระพุทธรูปสำคัญที่มีขนาดใหญ่ เช่น พระเจ้าใหญ่องค์หลวงที่หอแจกวัดหลวง และพระเจ้าใหญ่อินทร์แปลงของวัดป่าใหญ่ เมืองอุบลฯ เป็นต้น

ด้านรูปแบบทางงานช่างของหอแจกอีสาน จำแนกตามวัสดุก่อสร้างได้ 3 ประเภท คือ 1) แบบทรงเครื่องไม้ 2) แบบทรงเครื่องก่อ (ก่ออิฐถือปูน) 3) แบบทรงเครื่องไม้ผสมเครื่องก่อ หอแจกที่พบในภาคอีสานโดยเฉพาะช่างชาวไท-ลาว นิยมทำหอแจกเป็นเครื่องไม้ และสำหรับหอแจกทรงเครื่องไม้ที่ถือได้ว่าสุดยอดของงานโครงสร้างต้องยกให้ หอแจกวัดศรีมณฑา บ้านคำฮี จังหวัดมุกดาหาร ที่มีกลิ่นอายศิลปะไทยใหญ่เข้ามาผสมผสานกับความป็นอีสาน

hor jag wat simonta 01
หอแจก (เดิม) วัดศรีมณฑา บ้านคำฮี อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

ในส่วนของหอแจกที่งดงามในแบบฉบับพื้นบ้านอีสาน เท่าที่ปรากฏหลักฐานน่าจะยกให้ หอแจกของวัดจอมศรี บ้านเปียด อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ปัจจุบันถูกรื้อไปแล้ว ส่วนหอแจกแบบทรงเครื่องก่อ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่างญวณเข้ามามีบทบาทค่อนข้างมาก มีตัวอย่างอันทรงคุณค่าอยู่ที่วัดธรรมละ อำเภอเหล่าเสือโก้ก และวัดบ้านกระเดียน อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

แต่สภาวการณ์ในปัจจุบัน "หอแจก" อีสานก็ตกอยู่ในสภาพเดียวกันกับศาสนาคารอื่นๆ เช่น สิม ธาตุ หอไตร ที่ถูกครอบงำด้วยรูปแบบ "ศิลปะแห่งชาติ" (ลุ่มน้ำเจ้าพระยา) ที่ครอบงำวิธีคิดผ่านระบบการเรียนในทุกมิติ ทำให้คนอีสานโดยเฉพาะสมภารวัดซึ่งเป็นทั้ง "ผู้สร้างและผู้ทำลาย" ไม่เห็นคุณค่าจึงทำได้แค่ลอกๆ เลียนๆ ได้เหมือนกรุงเทพฯ จนเกิดวิกฤตศรัทธาที่ยากจะแก้ไข

hor jag wat simonta 02
หอแจก (หลังการบูรณะ) วัดศรีมณฑา บ้านคำฮี อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)