foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

หอไตรอีสาน

หอไตร หมายถึง อาคารที่สร้างไว้เพื่อเก็บรวบรวมพระไตรปิฏกที่เป็นใบลาน อันมีพระอภิธรรมปิฎก พระสุตตันตะปิฎก (พระสูตร) และพระวินัยปิฎก เพื่อให้พระสงฆ์ได้เล่าเรียนศึกษา ในภาคอีสานนิยมสร้างหอไตรไว้กลางน้ำเพื่อป้องกันมดปลวกขึ้นไปทำลาย ช่างพื้นบ้านมักออกแบบหอไตรให้เป็นเรือนหลังเดียวโดดๆ มีหลังคาทรงจั่วซ้อนตับเดียวหรือมากกว่านั้น มีหลังคาปีกนกคลุมทั้ง 4 ด้าน เพื่อป้องกันแดดฝน และใช้คันทวย (ไม้ค้ำยัน) ยันเชิงชายไว้โดยรอบ ผนังทำโปร่ง หรือเป็นหน้าต่างเปิดให้ลมพัดได้สะดวก มีประตูเข้าเฉพาะด้านหน้าพียงด้านเดียว โดยอยู่ตรงกับสะพานที่จะทอดข้ามไปยังขอบริมสระน้ำ

hor trai 07
หอไตรกลางน้ำ วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก แสดงถึงภูมิปัญญาการก่อสร้างอาคารในน้ำ และวิธีการป้องกันมดปลวกมาทำลายพระไตรปิฎก

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม การสร้างหอไตรกลางน้ำเพราะเชื่อว่า น้ำเป็นสิ่งบริสุทธิ์ แสดงถึงความเคารพบูชา ความศรัทธา และความใส่ใจในพระพุทธศาสนา

ความเป็นมา

สืบเนื่องจากการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนยุคแรกๆ เป็นแบบ “มุขปาฐะ” (การบอกเล่า) ซึ่งต้องอาศัยความทรงจำเป็นสำคัญ ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว หลักธรรมคำสอนที่ถูกเผยแผ่ในสมัยต่อมา ก็ย่อมต้องมีความคลาดเคลื่อนบิดเบือน จนเป็นปฐมเหตุให้ต้องมีการสังคายนาอยู่หลายครั้ง เพื่อทบทวนตรวจทานความถูกต้อง โดยอาศัยการจดบันทึกด้วยเทคนิครูปแบบตามความก้าวหน้าทางวิทยาการในสมัยนั้น โดยการจารใบลาน หรือสมุดข่อย ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญแบ่งออกเป็น 3 หมวด ประกอบด้วย พระสูตร พระวินัย และพระอภิธรรม เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ใช้ศึกษาและเผยแผ่สืบต่อมา ซึ่งจารึกอักษรเหล่านี้ได้กลายมาเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เสมือนประหนึ่งตัวแทนของพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ และแน่นอนที่จารึกศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ต้องมีที่เก็บรักษา จนเป็นที่มาของการสร้างศาสนาคารที่สำคัญ โดยในบริบทของสังคมไทยมีชื่อที่เรียกกันตามสมมติว่า หอเก็บพระไตรปิฎก และต่อมาเรียกให้สั้นกระชับตามภาษาปากว่า หอไตร บ้างก็เรียก หอธรรม

hor trai 02
หอไตรกลางน้ำ วัดหนองขุหลุ อำภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ศิลปะงานช่างประเภทนี้ ทำให้วัดนั้นๆ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนในมิติความหมายแห่ง ไตรลักษณ์ นั่นคือ สมบูรณ์พร้อมด้วย พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ต่อมาในสมัยหลัง หอไตรยังมีหน้าที่เก็บรักษา พระฎีกา พระอรรถกถาจารย์ ตลอดจนพระธรรมเทศนาในวัฒนธรรมอีสาน ก็พบแม้แต่คัมภีร์ที่จารเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีท้องถิ่น ความเชื่อเรื่องโชคลาง ตำรายา หรือแบ่งเป็นหนังสือผูก หนังสือก้อม (หนังสือเจียง) แผ่นลานจารึก และบั้งจุ้ม (ใบลานใส่ในกระบอกไม้ไผ่) โดยอักษรที่จารมีทั้งอักษรขอม อักษรธรรม อักษรไทยน้อย ก็ล้วนแล้วแต่ถูกนำไปถวายเก็บไว้ที่หอไตรเป็นส่วนใหญ่

เอกลักษณ์หอไตรในวัฒนธรรมไท-อีสาน สถานที่ตั้งทั้งที่อยู่ในเขตพุทธาวาสและเขตสังฆาวาส ซึ่งมีปรากฏอยู่ 2 ลักษณะตามบริบทสภาพแวดล้อม คือ หอไตรบก (ตั้งบนดิน) และหอไตรกลางน้ำ โดยทั้ง 2 ประเภทจะใช้บันไดหรือสะพานในการเข้าถึงตัวอาคาร

หอไตรในภาคอีสาน เท่าที่เจอในภาคสนามและภาคเอกสารพบว่า นิยมทำเป็นหอไตรแบบเครื่องไม้ทั้งหลัง โดยมีผังพื้นเรือนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ปลูกสร้างอยู่กลางสระน้ำ เพื่อป้องกันปลวก มด แมลงขึ้นไปทำลาย “หนังสือผูก” อีกทั้งอาศัยความชื้นจากไอระเหยของสระน้ำรอบๆ เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในห้องเก็บหนังสือผูก ซึ่งส่วนมากทำการจารใบลานไม่ให้เปราะแตกได้ง่าย สระน้ำที่ปรากฏมีทั้งแบบสระธรรมชาติเช่น หอไตร วัดหนองขุหลุ จังหวัดอุบลราชธานี และหอไตร วัดป่าคำบอน จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนที่เป็นสระขุดส่วนใหญ่จะเป็นวัดในเมืองซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่ หรือเป็นวัดที่ไม่มีสระโดยธรรมชาติแต่ต้องการสร้างหอไตรภายในวัดนั้นๆ

hor trai 03

หอไตรในวัฒนธรรมอีสานจะปรากฏอยู่ตามวัดหัวเมืองสำคัญ ที่เป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เฉกเช่น จังหวัดอุบลราชธานี (สมัยยังรวมเอาจังหวัดยโสธร และจังหวัดอำนาจเจริญ) พบการสร้างอยู่ถึง 6 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นวัดซึ่งอยู่ในเขตเมืองเก่า ที่มีประวัติศาสตร์ชุมชนที่เคลื่อนย้ายมาจากฝั่งลาว เช่น วัดสระไตรนุรักษ์ หรือวัดศรีธาตุ

โดยมีองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญคือ ส่วนฐานเป็นเสาสูง มีผนังตัวเรือนทั้งแบบโปร่ง และแบบทึบ ผังพื้นมีทางเดินเข้าออกทางเดียว คือ ด้านสะพานเชื่อมต่อริมเสาด้านนอกจะทำเป็นทางเดินรอบระเบียง ภายในกั้นผนังทึบเป็นห้องเก็บคัมภีร์ใบลาน ทำเป็นโครงคล้ายตู้แบ่งเป็นชั้นวางคัมภีร์ คัมภีร์จะถูกห่อด้วยผ้าซิ่น โดยจะเป็นผ้าที่ยังไม่ได้ใช้ เพราะในโลกทรรศน์ของชาวอีสานผู้หญิงมีข้อจำกัดในการบวชเรียน การใช้ซิ่นห่อคัมภีร์จะถือว่าได้บุญมาก เพราะผ้าซิ่นจะเป็นผ้าที่มีความสวยงาม และถือเป็นการไถ่บาปอย่างหนึ่งของผู้หญิง ที่ต้องฆ่าตัวไหมเป็นจำนวนมากในวิถีชีวิตของการทอผ้าซึ่งเป็นเรื่องของผู้หญิง นอกจากนี้ ลักษณะผนังด้านนอกถ้าเป็นผนังโปร่งมีโครงคร่าวไม้ทำเป็นลวดลายสวยงาม เพื่อช่วยในการถ่ายเทอากาศ ภายในส่วนยอดที่เป็นหลังคา นิยมทั้งแบบจัตุรมุขและทวิมุข แบบทรงจั่วซ้อนชั้นมีปีกนก การประดับตกแต่งไม่นิยมลงรักปิดทองเหมือนงานช่างหลวง แต่ใช้การเขียนด้วยสี

hor trai 05
คันทวย หอไตร วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

ส่วนคันทวยเครื่องลำยอง นิยมทำในแบบฉบับสกุลช่างพื้นถิ่นไท-อีสาน ซึ่งมีอิทธิพลศิลปะลาวเข้ามาผสมผสาน แต่ขณะเดียวกันก็รับอิทธิพลศิลปะรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพฯ) เข้ามาผสมผสานเหมือนกัน เช่น หอไตร วัดทุ่งศรีเมือง และ วัดมหาธาตุ ที่ ยโสธร องค์ประกอบตกแต่งของไม้จำหลักมีความเป็นอิสระ เช่น คันทวยจะไม่ซ้ำแบบกัน เช่น วัดทุ่งศรีเมือง ความเนี้ยบความงามของลายจะมีไม่มากในงานพื้นบ้าน ส่วนรูปทรงโดยรวมเป็นหอไตรขนาดรูปทรงบึกบึนมีพลัง เช่น หอไตร วัดหนองขุหลุ หอไตร วัดบูรพา จังหวัดอุบลราชธานี หอไตร วัดศรีชมชื่น จังหวัดขอนแก่น และหอไตร วัดมหาชัย จังหวัดหนองบัวลำภู ถือได้ว่าเป็นหอไตรอีสานแบบพื้นบ้านบริสุทธิ์ ส่วนที่มีอิทธิพลของช่างหลวงไม่ว่าจะเป็นรัตนโกสินทร์หรือของเวียงจันทน์ มีตัวอย่างอยู่ที่ วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี วัดมหาธาตุ วัดสระไตรนุรักษ์ วัดศรีธาตุ จังหวัดยโสธร ที่ร้อยเอ็ดอยู่ที่วัดไตรภูมิ บ้านผือฮี วัดป่าคำขอน จังหวัดร้อยเอ็ด

hor trai 06
หน้าบันไม้จำหลัก หอไตร วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี

อนึ่งความงามของหอไตรมิได้เกิดขึ้นโดยตัวอาคารตามลำพัง หากมีแต่สภาพแวดล้อมหนองน้ำ หรือแม้แต่สระขุดที่ช่วยส่งเสริมให้อาคารเด่นเป็นสง่า ท้าแดดลมมาหลายชั่วอายุคน นอกเหนือจากคุณค่าสถาปัตยลักษณ์ โดยเฉพาะส่วนหลังของหลังคา ที่สูงเด่นเสมือนธรรมเจดีย์ ที่ถูกสร้างขึ้นถวายเป็นพุทธบูชา ปัจจุบัน เทคโนโลยีจะเข้ามามีบท่บาทโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ และการพิมพ์ ทำให้การใช้งานของหอไตรถูกลดบทบาทลงอย่างสิ้นเชิง กลายเป็นเพียงศาสนาคารเชิงสัญลักษณ์ มากกว่าที่จะใช้งานจริงๆ เหมือนอดีต

hor trai 04
หอไตรกลางน้ำ วัดสระไตรนุรักษ์ จังหวัดยโสธร

บางแห่งถูกทิ้งร้างไร้การดูแลรักษาจากเจ้าอาวาสและพระลูกวัด บริเวณหอไตรสระน้ำเต็มไปด้วยขยะและผักตบชวา น้ำก็เน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น ตัวหอไตรก็ผุพังทรุดโทรม ขณะที่พระรับแต่กิจนิมนต์หาเงิน วันดีคืนดีก็รื้อทิ้งตามใจเจ้าอาวาสดื้อๆ ก็มีให้เห็นอยู่บ่อยๆ ถ้าชาวบ้านหรือผู้ปกครองในท้องที่นั้นๆ ไม่เข้าไปช่วยดูแล อนุรักษ์ไว้ก็อาจเสื่อมสูญไปในไม่ช้า...

hor trai 09

หอพระไตรปิฎกกลางน้ำ วัดขะยูงวนาราม ตำบลขะยูง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ปี 2485
(ปัจจุบันหอไตรได้ล้มลงแล้ว)

เป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก!

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)