คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
หอระฆังและหอกลอง เดิมทีวัดในชนบทของอีสานนิยมใช้ "โปง" ตีบอกเวลาในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนา เป็นการสื่อสารระหว่างพระกับชาวบ้าน โปง ซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งให้เสียงทุ้มนุ่มนวลและได้ยินไปไกล โปงจะผูกไว้ใต้ถุนกุฏิหรือหอแจก จึงไม่จำเป็นต้องทำโรงเรือน ต่อมาเมื่อวัดในอีสานได้รับอิทธิพลจากเมืองหลวงในการใช้ระฆังหรือกลองเป็นสัญญาณเสียง ประกอบกับไม้ทำโปงเริ่มหายาก และโปงเก่าเมื่อกระทุ้งบ่อยๆ ก็จะสึกและชำรุดจนทำให้เสียงเสียไป วัดจึงได้สร้างหอสูง 3 ชั้นขึ้น โดยรวมทั้งระฆัง กลอง และโปง ให้อยู่ในหอเดียวกัน
ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม รูปทรงโปร่ง มี 3 ชั้นสูงในแนวตั้ง หลังคาจตุรมุขซ้อนชั้น ยอดแหลม มีการแกะสลักไม้เป็นลายนาค ลายก้านขด ลายเครือวัลย์ เป็นต้น
ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม เป็นสัญญาณการสื่อสารที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมทางพุทธศาสนา สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระกับชาวบ้าน
ในสมัยโบราณ การบอกเวลาในโมงยามต่างๆ จะใช้การตีเกราะ เคาะไม้เพื่อบอกเวลา หรือแจ้งข่าวสาร ประชุมคนในชุมชน ต่อมามีการตีโปง กลอง หรือระฆัง เพื่อใช้บอกเวลาในการกระทำการที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เช่น บอกเวลาทำวัตรเช้า เย็น บอกเวลาบิณฑบาตรของพระเณร บอกเวลาฉันเพล เป็นต้น เราจึงพบว่า ในวัดวาอารามมีการสร้างตัวอาคารสำหรับใช้แขวนโปง กลองและระฆังเหล่านี้ ในการเป็นศูนย์กลางของการบอกเวลาที่เรียกว่า หอระฆังและหอกลอง
หอระฆังและหอกลอง เป็นอาคารประเภทหนึ่งที่ปรากฏการสร้างมาแต่ครั้งโบราณจนถึงปัจจุบัน โดยมากพบในวัด ทั้งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาส ใช้แขวนระฆังและกลองสำหรับตีบอกเวลา เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ทราบเวลาสำหรับการประกอบวัตรปฏิบัติต่างๆ โดยพร้อมเพรียงกันอันได้แก่ การทำวัตรเช้า-เย็น การฉันเพล เป็นต้น
ในทางความเชื่อเรื่องเสียงระฆัง เชื่อกัน ในอดีตว่าถ้าโลกนี้ไม่มีเสียงระฆัง (หมายถึง ไม่มีศาสนา) แล้วจะมียักษ์มากินมนุษย์ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ที่กล่าวมาแล้ว วัดในพระพุทธศาสนา (ฝ่ายเถรวาท) จึงต้องสร้างหอระฆังเพื่อใช้ประโยชน์ตามข้างต้น
รูปแบบและโครงสร้างของหอระฆังและหอกลองนั้น มีความคล้ายคลึงกันมาก อาจแตกต่างกันเฉพาะชื่อเรียกเท่านั้น โดยทั่วไปมักสร้างขึ้นโดยใช้แผนผังรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยเน้นให้มีรูปทรงสูง สามารถจำแนกประเภทได้ 2 ประเภทคือ
ในปัจจุบัน วัดยังคงใช้การตีระฆังและกลอง เพื่อบอกเวลาปฏิบัติกิจของสงฆ์เช่นเดิม นอกจากเป็นเสียงที่ดังกังวาลและเยือกเย็นแล้ว ยังเป็นการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของการสร้างหอระฆังและหอกลองของไทยไว้ด้วย
คำว่า "โปง" หมายถึง ระฆังใหญ่ ทำด้วยไม้ ใช้กระทุ้งให้เกิดเสียง
โปง หรือ กะปุง เป็นเครื่องตีบอกอาณัติสัญญาณของพระสงฆ์ในวัด แทนการตีระฆัง หรือกลอง เพราะเสียงโปงจะดังกังวานกว่าระฆังหรือกลอง โปงทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้ตะเคียนท่อนใหญ่ตัดหัวท้าย แล้วนำมาขุดให้เป็นโพรงกลวงข้างใน คว่ำด้านที่ขุดเป็นโพรงลงด้านล่าง เจาะด้านข้างเป็นรูทั้งสองข้างเพื่อเป็นรูเสียง หรือรูแพ แล้วเจาะรูด้านบนสำหรับสอดไม้ค้ำโปงกับเสาแขวนไว้ใต้หอระฆัง เวลาตีใช้ไม้ท่อนใหญ่ๆ ลักษณะคล้ายสากกระทุ้งโปงเพื่อให้เกิดเสียง กริยากระทุ้งโปงภาษาท้องถิ่นอีสานเรียก "ทั่งโปง" กระทุ้งโปงตามกาลเวลาดังนี้
พระทั่งโปง วัดโพธิ์ศรีตาราม บ้านพอก-โนนหนองผือ จังหวัดยโสธร
สำหรับโปงไม้ที่วัดสุปัฏนารามวรวิหารนี้ ทำด้วยไม้ตะเคียน (ไม้แคน) สร้างเมื่อ ปี พ.ศ. 2467 พระบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) มอบหมายให้ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนตโร หรือหลวงพ่อดีโลด) เป็นนายช่างสร้างโปงใบนี้ ปัจจุบันแขวนอยู่ใต้หอระฆัง แต่เลิกใช้งานแล้ว เป็นศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ (ช่างท้องถิ่น) โดยมีขนาด ความสูง 357 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 102.3 เซนติเมตร
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)