foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

ธรรมาสน์

ธรรมาสน์ คือ แท่นสำหรับพระสงฆ์นั่งแสดงธรรมเทศนา เป็นแท่นหรือเป็นหลัง รูปทรงคล้ายปราสาท มีการแกะสลักสวยงาม ถือเป็นสถาปัตยกรรมพุทธบูชาที่พุทธศาสนิกชนแต่ละท้องถิ่น แต่ละชุมชนสร้างไว้ประจำวัด ในจังหวัดอำนาจเจริญมีธรรมาสน์ฝีมือช่างพื้นเมืองที่เลื่องลือว่า สวยงามเป็นพิเศษ คือ ธรรมาสน์ที่วัดพระเหลาเทพนิมิต มีลักษณะคล้ายตั่งเตี้ยๆ มีพนักด้านหลังทำเป็นรูปซุ้มสลักลายวิจิตรบรรจงเป็นลายพรรณพฤกษา ที่ขอบทั้งสี่ด้านเขียนลายรดน้ำ ภาพนักรบ และกินรีร่ายรำ และจังหวัดอุบลราชธานีมีธรรมาสน์วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ ฝีมือช่างพื้นเมืองชาวญวณ ทำเป็นรูปสิงห์เทินบุษบก ก่ออิฐถือปูนประดับลายปูนปั้น เขียนภาพด้วยสีฝุ่น บุษบกหรือปราสาททรงมณฑปปิดทองประดับกระจก และมีการเขียนลวดลายประยุกต์แบบตะวันตกและตะวันออก ในจังหวัดมุกดาหารที่วัดพิจิตสังฆาราม เป็นธรรมาสน์เสาเดียวที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อเรื่องไตรภูมิ

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม ธรรมาสน์มีรูปทรงเป็นซุ้มคล้ายปราสาททรงจตุรมุข หรือทรงปราสาทซ้อนชั้นยอดแหลมมีลวดลายและสัดส่วนสวยงาม ผิวไม้นูนเว้าจากการแกะสลักและประดับกระจก มีสีเกิดจากการระบายสีและลงรักปิดทอง

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม คติความเชื่อในการสร้างธรรมาสน์ที่มาจากพุทธประวัติตอนเสด็จไปเทศนาบนสวรรค์ กล่าวคือ ผู้สร้างธรรมาสน์ได้บุญมาก ส่งผลถึงนิพพาน

tham mas 01

ธรรมาสน์ คือ ที่สำหรับพระภิกษุสามเณรนั่งแสดงธรรม ในการประกอบศาสนกิจพิธี โดยเฉพาะการแสดงพระธรรมเทศนาต่อพุทธศาสนิกชน หรือไว้สำหรับพระภิกษุสงฆ์องค์ประธานของพิธีกรรมต่างๆ ภายในสิมของภาคอีสาน หรือเป็นศาสนกิจอย่างที่เรียกว่า การสวดปาติโมกข์ หรือ ปั่นปาติโมกข์ ซึ่งเป็นการทบทวนพระธรรมวินัยศีล 227 ข้อของพระสงฆ์ด้วยกันเอง

คำว่า “ธรรมาสน์” อ่านออกเสียงว่า “ทำ-มาด” หมายถึง ที่นั่งแสดงธรรม, แท่นที่สร้างขึ้นหรือจัดขึ้นสำหรับพระสงฆ์นั่งเทศนาโดยเฉพาะ เนื่องจากมีพระพุทธประสงค์ว่า พระธรรมเป็นที่เคารพสูงสุดของพุทธศาสนิกชน แม้พระพุทธองค์ก็ทรงเคารพพระธรรม ดังนั้น ผู้แสดงธรรมจึงต้องได้รับการเชิดชูเป็นพิเศษ ให้นั่งในที่สูงกว่าผู้ฟัง แม้ในที่ประชุมนั้นจะมี พระมหาเถระ หรือพระราชา ผู้แสดงธรรมก็ได้รับสิทธิพิเศษให้นั่งบนที่สูงกว่า ในครั้งพุทธกาลพระสาวกผู้แสดงธรรมก็นั่งบนที่สูงกว่าพระศาสดา

ความเป็นมาของ “ธรรมาสน์” ในพุทธกาล

หากสืบประวัติความเป็นมาของ "ธรรมาสน์" ในสมัยพุทธกาล ในตำนานพุทธประวัติในอดีตนั้นพบว่า ในอดีตกาลนั้นยังมีอินทะเศรษฐีคนหนึ่งมีจิตเลื่อมใสในพุทธศาสนา จึงได้สละทรัพย์และน้ำพักน้ำแรงก่อสร้างธรรมาสน์ถวายเป็นทานแก่ พระพุทธเจ้าวิปัสสี เพื่อนั่งแสดงพระธรรมเทศนา และได้สร้างรูปแพะทองคำอีก 5 ตัว รองเป็นบันไดขึ้นเพื่อเสด็จไปเทศน์ได้โดยสะดวก เมื่อสร้างเสร็จจึงได้ถวาย พร้อมตั้งปณิธานว่า ขอให้สำเร็จด้วยฤทธิ์แพะทองคำที่สร้างนั้นด้วย

เมื่ออินทะเศรษฐีสิ้นอายุขัย จึงได้ไปเกิดบนสวรรค์ ชื่อว่า อินทกเทวบุตร มีวิมานทองสูง 10 โยชน์ ประกอบด้วยแก้ว 7 ประการ มีนางฟ้าเทพอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร ต่อมาได้มาบังเกิดในเมืองพาราณสีได้เป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์สินเป็นจำนวนมาก ครั้นสิ้นชีพอายุขัยก็ได้นำตนไปจุติในเทวโลกอันอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง

tham mas 04

ต่อมาจนถึงศาสนาของพระพุทธเจ้า จึงได้จุติจากเทวโลกมาบังเกิดเป็น มณฑกเศรษฐี เมื่อเจริญวัยได้ 16 ปี จึงมีข้าวของเงินทองในท้องแพะไหลออกมาเป็นอันมาก และได้เสวยทรัพย์สมบัติเหล่านั้นจากการสร้างธรรมาสน์ถวาย เพื่อเป็นประโยชน์แก่สาธารณชน และได้รับอานิสงส์มาจนถึงปัจจุบัน

ธรรมาสน์ นิยมสร้างให้สูงกว่าที่นั่งของผู้ฟังธรรม มีรูปร่างแตกต่างกันไปตามยุคสมัย และความนิยมของแต่ละท้องถิ่น โดยทั่วไปนั้นธรรมาสน์ทำด้วยไม้ แต่ธรรมาสน์ที่ทำด้วยศิลาก็มี รูปร่างของธรรมาสน์มีทั้งที่เป็น สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า หกเหลี่ยม และทรงกลม แต่ที่พบโดยทั่วไปมีรูปร่างคล้ายเก้าอี้สี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีพนักไม้กั้น 3 ด้าน เปิดช่องด้านหน้าเป็นทางขึ้นลง ตัวธรรมาสน์มักแกะสลักเป็นลวดลาย ลงรักปิดทอง ประดับกระจก ตกแต่งให้สวยงาม ส่วนธรรมาสน์ที่มียอดอย่างบุษบกและทำด้วยไม้พบมากในวัดต่าง ๆ ทางภาคกลางและภาคใต้

ธรรมาสน์ไม้ที่ วัดพระเหลาเทพนิมิต อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ มีลักษณะคล้ายตั่งเตี้ยๆ มีพนักด้านหลังทำเป็นรูปซุ้ม สลักลายวิจิตรบรรจงเป็นลายพรรณพฤกษา ที่ของทั้งสี่ด้านเขียนลายรดน้ำภาพนักรบ และกินรีร่ายรำ

รายการจดหมายเหตุกรุงศรี - ธรรมาสน์เมืองอุบลฯ

นอกจากนั้นก็ยังมี ธรรมาสน์บุษบก หรือบุษบกธรรมาสน์ ก่อด้วยอิฐถือปูน ประดับด้วยปูนปั้นซึ่งนิยมสร้างกันทางภาคเหนือและภาคอีสาน เช่น ธรรมาสน์ที่วัดศรีนวลแสงสว่างอารมณ์ อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นตัวอย่างธรรมาสน์พื้นบ้านที่มีลักษณะน่าสนใจ

tham mas 02

ธรรมาสน์สิงห์เทินบุษบก เป็นธรรมาสน์แห่งเดียวในประเทศไทย ที่มีรูปแบบแตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไป กล่าวคือ มีลักษณะเป็นรูปสิงห์ ยืนเทินปราสาท (ตัวธรรมาสน์) สร้างด้วยอิฐถือปูน ยอดปราสาทเป็นเครื่องไม้ทำเป็นชั้นซ้อนลดหลั่น ประดับตกแต่งลายปูนปั้น และลายเขียนสีแบบศิลปะญวนทั้งหลัง ตัวธรรมาสน์ ตั้งอยู่ในหอแจก (ศาลาการเปรียญ) ทรงไทย ที่มีจิตรกรรมฝ้าเพดาน ศิลปะสกุลช่างญวณเช่นเดียวกัน

หอธรรมาสน์อีสานสกุลช่างญวน งานช่างพหุวัฒนธรรม

ธรรมาสน์แห่งนี้ สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในปี 2468-2470 โดย ช่างฝีมือไทยชีทวน กับ ช่างญวน ตามคติความเชื่อเรื่อง สิงหาสน์บัลลังก์ ลักษณะตัวสิงห์ ปราสาท หลังคาทรงมณฑป เป็นฝีมือผสมผสานของช่างญวนที่รับอิทธิพลฝรั่งเศส และที่เพดานหอแจก (ศาลาการเปรียญ) เหนือธรรมาสน์ มีฮูปแต้ม (ภาพเขียนสี) ที่งดงามฝีมือช่างญวน ถือเป็นประติมากรรมที่มีคุณค่ายิ่งทางด้านศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียน เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

tham mas 03

ธรรมาสน์ ที่พบในชุมชนอีสานนั้น เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้น เพื่อใช้เป็นสถานที่นั่งแสดงพระธรรมเทศนาของพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญมหาชาติ มีส่วนประกอบสำคัญ 3 ส่วนคือ ส่วนฐาน เรือนธรรมาสน์ และส่วนหลังคา ฐานของธรรมาสน์จะเป็นเสาจำนวน 4 - 8 ต้น ตามความเหมาะสม บางแห่งจะมีเสาต้นเดียวเรียกว่า "ธรรมาสน์เสาเดียว" ตัวเรือนธรรมาสน์จะมีขนาดเหมาะสมกับการนั่งของพระภิกษุ จำนวน 1 รูป

โครงสร้างของธรรมาสน์จะมีการตกแต่งด้วยประติมากรรมแกะสลักไม้ หรือฉลุไม้ โดยมีเนื้อหาที่เป็นประเด็นหลักในการประดับตกแต่ง จะสะท้อนถึงความเชื่อทางพุทธศาสนาในเรื่อง มหาเวสสันดรชาดก ส่วนเนื้อหารองจะเป็นรูปวิถีชีวิต นิทานพื้นบ้าน และภาพสลักรูปบุคคล เช่น รูปเทวดา ยักษ์ ลิง รูปสัตว์ต่างๆ เช่น นาค เต่า สิงห์ และลวดลายที่สะท้อนเนื้อหาเกี่ยวกับความเชื่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน ที่เชื่อมโยงกับพิธีกรรมในฮีตคองของชาวอีสาน ตามความนิยมในแต่ละท้องถิ่น การสร้าง “ธรรมาสน์เสาเดียว” ชองชาวอีสานในอดีตมีความเกี่ยวเนื่องกับ “หลักบ้าน” หรือ “ขื่อบ้าน” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณกลางหมู่บ้าน ทั้งนี้เพื่อเป็นตัวแทนหรือเป็นสัญลักษณ์ยึดเหนี่ยวจิตใจ ตามคติความเชื่อเรื่องผีบรรพบุรุษ เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านจิตใจ และการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคม

นอกจากจะมีการการสร้าง “หลักบ้าน” ภายในหมู่บ้านแล้ว ยังมีการสร้างวัดประจำหมู่บ้านเพื่อเป็นที่ประกอบพิธีทางศาสนาเช่นเดียวกัน จึงนับได้ว่าทั้ง “หลักบ้าน” และ "วัด" จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวอีสานมาช้านาน

tham mas 05

ในเวลาต่อมา “หลักบ้าน” หรือ “ขื่อบ้าน” ถูกย้ายมาตั้งเป็น “เสาธรรมาสน์” ภายในศาลาการเปรียญ ซึ่งชาวอีสานเรีกว่า หอแจก หรือ “โรงธรรม” เป็นอาคารอเนกประสงค์สำหรับใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์ ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางพุทธศาสนา และพิธีกรรมในสังคมของชุมชน อีกทั้งยังมีการออกแบบ “ธรรมาสน์” โดยใช้วัตถุที่คงทน และมีคุณค่าทางศิลปะแห่งยุคสมัยอย่างแท้จริงสืบมาจนถึงปัจจุบัน

tham mas 08

ธรรมาสน์เสาเดียว วัดบ้านโนนสัง​ข์ อำเภอกันทรารมย์​ จังหวัด​ศรีสะเกษ

ธรรมาสน์เสาเดียว วัดพิจิตรสังฆาราม

ธรรมาสน์ที่วัดพิจิตรสังฆาราม บ้านโนนยางนั้น มีลักษณะแตกต่างจากธรรมาสน์โดยทั่วไปในท้องถิ่นคือ มีลักษณะการก่อสร้างเป็น “ธรรมาสน์เสาเดียว” ฝังไว้กับพื้นดินภายในหอแจกของวัด ซึ่งจากข้อเขียนของ อ.สมชาย นิลอาธิ ในหนังสือเมืองมุกแม่น้ำโขง กล่าวถึงประวัติความเป็นมาว่าได้มีการก่อสร้างในปี 2484 2485 มีจารคูสีสุก น้อยทรง ช่างพื้นบ้านเป็นผู้ก่อสร้าง โดยนำไม้เนื้อแข็งทั้งต้นทำเป็นเสา มีการแกะสลักแบบประติมากรรมนูนต่ำ ลายกนกลงรักอย่างสวยงามบริเวณเสาธรรมาสน์ แขนนาง ผนังภายใน และหลังคาเก๋ง ทั้งนี้มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

tham mas 07

  • ส่วนที่ 1 เป็นฐานจากไม้เนื้อแข็ง โดยมีคันทวยแกะสลักเป็นรูปพญานาค 4 ตัว ติดไว้ทั้ง 4 ทิศ ทำหน้าที่เป็นแกนหลักในการรับน้ำหนักของตัวธรรมาสน์
  • ส่วนที่ 2 เป็นชั้นธรรมาสน์ จะมีลักษณะเป็นห้องสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประกอบด้วยประตู 1 บาน หน้าต่าง 3 บาน
  • ส่วนที่ 3 เป็นส่วนของหลังคาธรรมาสน์ สร้างเป็นลักษณะเก๋ง 5 ชั้น มีขนาดลดหลั่นกันขึ้นไปจนถึงยอดสูงสุด

ปัจจุบัน หอแจก หรือ “โรงธรรม” ซึ่งเป็นประดิษฐานของ “ธรรมาสน์เสาเดียว” ที่วัดพิจิตรสังฆาราม บ้านโนนยาง ยังคงมีการปฏิบัติธรรมของชาวบ้านทั้งในวันธรรมดาและในวันธรรมสวนะตามกิจวัตรของชาวพุทธโดยทั่วไป

 tham mas 06

หอแจก หรือ โรงธรรม หรือ ศาลาการเปรียญ

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)