คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ข้าวหอมมะลิ เป็นข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยเป็นข้าวนาปี เมล็ดข้าวเรียวยาว ขาวใสเป็นเงา แกร่งมีท้องไข่น้อย มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย พันธุ์ข้าวที่นิยมปลูก คือ ดอกมะลิ 105 และ กข. 15 พื้นที่ที่ปลูกแล้วได้ผลผลิตดีที่สุดคือทุ่งกุลาร้องไห้ ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัดคือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานี สาเหตุที่ข้าวหอมมะลิปลูกในเขตทุ่งกุลาร้องไห้แล้วมีคุณภาพดี เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นนาดอน
ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย ภาคอีสานเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีคุณภาพดีที่สุด
ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม พันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก สร้างชื่อเสียงให้กับชาวอีสาน
ข้าวหอมมะลิ (อังกฤษ: Thai jasmine rice) เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก
ข้าวเป็นอาหารหลักของพลโลกมานานนับพันปี บางภูมิภาคนำข้าวไปแปรรูปเป็นแป้ง เพื่อปรุงแต่งเป็นอาหาร สำหรับภูมิภาคเอเชียบริโภคข้าวในรูปลักษณ์ดั้งเดิม และมีข้าวหลากหลายพันธุ์ให้เลือก สำหรับประเทศไทยแล้วข้าวหอมมะลิ ถือว่าเป็นสุดยอดของข้าวและกำลังเป็นที่ต้องการของผู้นิยมบริโภคข้าวทั่วโลกในชื่อ Jasmine Rice
เมื่อปี พ.ศ. 2497 นายทรัพธนา เหมพิจิตร ผู้จัดการบริษัทการส่งออกข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รวบรวมพันธุ์ข้าวหอมในเขตอำเภอบางคล้า ได้จำนวน 199 รวง แล้ว ดร.ครุย บุณยสิงห์ (ผู้อำนวยการกองบำรุงพันธุ์ข้าวในขณะนั้น) ได้ส่งไปปลูกคัดพันธุ์บริสุทธิ์และเปรียบเทียบพันธุ์ที่ สถานีทดลองข้าวโคกสำโรง (ขณะนี้เป็นสถานีข้าวลพบุรี) ดำเนินการคัดพันธุ์โดยนักวิชาการเกษตรชื่อ นายมังกร จูมทอง ภายใต้การดูแลของ นายโอภาส พลศิลป์ หัวหน้าสถานีทดลองข้าวโคกสำโรง
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้พันธุ์บริสุทธิ์ข้าวขาวดอกมะลิ 4-2-105 และคณะกรรมการพิจารณาพันธุ์ ข้าวได้อนุมัติให้เป็นพันธุ์ส่งเสริมแก่เกษตรกร เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 โดยเกษตรกรทั่วไปเรียกว่า ขาวดอกมะลิ 105 ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ขาวดอกมะลิ 105 จนได้ข้าวพันธุ์ กข. 15 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ประกาศให้ ข้าวทั้ง 2 พันธุ์เป็นข้าวหอมมะลิไทย
สารคดีข้าวหอมมะลิไทย มี 4 ตอน คลิกชมต่อเนื่องได้ครับ
ลักษณะจำเพาะของข้าว ข้าวหอมมะลิมีกลิ่นหอมในตนเอง เป็นกลิ่นของธรรมชาติอันบริสุทธิ์ กลิ่นเหมือนดอกมะลิยามเช้าพร่างหยาดน้ำค้าง และปราศจากสารพิษ เวลาเคี้ยวเมล็ดข้าวจะนุ่ม หอม อร่อยมากกว่าข้าวอื่นๆ ลักษณะของข้าวหอมมะลิไทยจะมีเมล็ดเรียวยาวสวยงาม สีขาวหรือครีมอ่อนๆ
ถูกนำมาปลูกในภาคอีสานใต้บริเวณทุ่งกุลาร้องไห้ ซึ่งครอบคลุมหลายจังหวัด เช่น มหาสารคาม บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ยโสธร และอุบลราชธานี โดยภาครัฐสนับสนุนให้ปลูกเป็นแปลงสาธิตขนาดใหญ่ มีการประชาสัมพันธ์ จนกลายเป็นแหล่งข้าวหอมมะลิชั้นดี เป็นที่รู้จักในกลุ่มผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ พื้นที่ภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ได้รับความสนใจมาเป็นเวลานาน ว่าเป็นพื้นที่ที่ได้รับมรดกจากธรรมชาติมาน้อยมาก เพราะพื้นที่นี้เป็นดินทราย อินทรียวัตถุต่ำ บางแห่งจะปรากฏว่าดินจะมีความเค็ม สังเกตได้จากร่องรอยเกลือสีขาวที่ปรากฏอยู่ทั่วไป นอกจากนี้ ธรรมชาติในภาคอีสานนี้ ถ้าบอกว่า พื้นที่ฝนแล้งที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่ภาคอีสาน และพื้นที่ที่จะมีน้ำท่วมในฤดูก็อยู่ในภาคอีสานอีกเช่นกัน แต่ก็ให้ผลผลิตข้าวหอมมะลิได้ดีเช่นกัน
ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ (Thung Kula Rong-Hai Thai Hom Mali Rice : TKR) หมายถึง ข้าวเปลือก ข้าวกล้อง และข้าวขาว ที่แปรรูปมาจากข้าวเปลือกพันธุ์ข้าวหอมที่ไวต่อช่วงแสง คือ พันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 15 ซึ่งปลูกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ ในฤดูนาปี และมีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ ข้าวเปลือกมีสีฟาง เมล็ดข้าวยาวเรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม มีความยาวมากกว่า 7.0 มิลลิเมตร สัดส่วนความยาวต่อความกว้าง มากกว่า 3.2 มีท้องไข่ น้อยกว่าร้อยละ 6
ประโยชน์และสรรพคุณของข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ มีคุณค่าทางโภชนาการมากมาย
ได้รับการรับรอง ข้าวสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ข้าวหอมมะลิ (Thai jasmine rice = Official name "Thai Hom Mali") เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่ไหนในโลกไม่ได้คุณภาพดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก
ปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ : ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์
ถึงคนจำนวนไม่น้อยในภาคอีสานจะใช้ข้าวเหนียว แกล้มก้อย ต้อยลาบ มากกว่าใช้ข้าวเจ้า ข้าวสวย แกล้มแนม แต่ข้อเท็จจริงมันก็ทนโท่อยู่ว่า ข้าวสวยหอมมะลิที่งอกจากดินทุ่งกลาร้องไห้มันแซ่บคัก คนมักหลายไม่แพ้ข้าวจากภูมิภาคอื่นๆ ทว่าเมื่อสืบโคตรเหง้า ‘ข้าวหอมมะลิ 105’ กลับมิได้มีปิตุภูมิเป็นดินอีสาน และเพิ่งย้ายรากย้ายกอมาอยู่ทีหลัง แถมการพลัดถิ่นคราวนั้นยังมีสหรัฐอเมริกาเข้ามาเกี่ยวข้องเสียด้วย เรียกว่า ถ้าพวกชังอเมริกาได้รู้ คงล้วงคออ้วกแทบไม่ทัน อย่าทำหน้าไม่เชื่ออย่างนั้น ไปอ่านกันเลย...
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)