foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว หิมะตกหนัก อากาศหนาวสุดขั้ว บางแห่งถึงขั้นติดลบ 46 องศาเซลเซียส ประเทศไทยเฮากะบ่หยอกคือกัน ทางตอนเหนือลดลงถึงศูนย์องศา เกิดแม่คะนิ้ง (น้ำค้่างแข็งบนยอดหญ้ากันแล้ว) ในช่วงวันที่ 10-13 มกราคมนี้ อุณหภูมิจะลดลงอีกมาก 5-7 องศา ในภาคเหนือและภาคอีสานบ้านเฮา รักษาสุขภาพกันดีๆ เด้อ อย่าสิเจ็บสิไข้ ซำบายดีครับ ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

บั้งไฟพญานาค

บั้งไฟพญานาค เป็นปรากฏการณ์ประหลาดที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ตรงกับคืนวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เท่านั้น ในวันดังกล่าวระหว่างเวลาประมาณ 19.00 - 22.00 น. จะมีลูกไฟกลมโตประมาณลูกไข่หรือผลส้มสีแดงชมพู บ้างก็ว่าสีหมากสุกผุดขึ้นจากแม่น้ำโขง ลูกไฟแต่ละลูกจะลอยสูง 20 - 30 เมตร ตำแหน่งที่ลูกไฟผุดขึ้นมานั้นจะเปลี่ยนที่ไปเรื่อยๆ ไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ โดยจะพุ่งขึ้นเป็นเวลา 2 - 3 วินาที ก่อนที่จะดับหายไปโดยไม่มีเสียงใดๆ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในแม่น้ำโขงบริเวณอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เป็นระยะทางยาวประมาณ 100 กิโลเมตร เป็นปรากฏการณ์ที่มีชื่อเสียงจนกลายเป็นมหกรรมการท่องเที่ยวระดับสากล

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม มีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม เป็นปรากฏการ์ธรรมชาติที่ยังหาคำอธิบายที่ชัดเจนไม่ได้ และป็นความเชื่อในวัฒนธรรมท้องถิ่นเกี่ยวกับพญานาค

bung fai paya nak 01

ที่มาของบั้งไฟพญานาค

บั้งไฟพญานาค หรือก่อนปี 2529 เรียก บั้งไฟผี เป็นปรากฏการณ์ที่กล่าวกันว่าเห็นที่ แม่น้ำโขง ลักษณะเป็นลูกกลมเรืองแสงลอยขึ้นจากน้ำขึ้นไปในอากาศ จำนวนลูกไฟมีรายงานระหว่างหลายสิบถึงหลายพันลูกต่อคืน บั้งไฟพญานาคเกิดช่วงวันออกพรรษาของทุกปี

ในปี 2555 ผู้จัดการออนไลน์ ลงข่าวที่มีช่างภาพไปถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ช่างภาพเล่าว่า "จากสายตาพวกเขาเห็นตรงกันว่าลูกไฟนั้นขึ้นจากน้ำ แต่ภาพที่บันทึกด้วยการเปิดหน้ากล้อง 5 – 30 วินาทีเป็นภาพต่อเนื่องเหมือนเลเซอร์ ซึ่งมีจุดเริ่มอยู่บนบกของฝั่งลาวที่ห่างจากไทยประมาณ 1 กิโลเมตร" ช่างภาพอีกคนกล่าวว่า "บริเวณที่จัดไว้ให้ชมปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคนั้นมืดมาก"

ในปี 2558 มีผู้คาดว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้มีเงินสะพัดกว่า 150 ล้านบาท นอกจาก "บั้งไฟพญานาค" แล้ว ยังมีปรากฏารณ์ลูกไฟโดยมีชื่อเรียกต่างๆ กันในบริเวณอื่นของโลก

ลักษณะบั้งไฟพญานาค เป็นดวงไฟขนาดเล็กเท่าหัวแม่มือ จนถึงขนาดเท่าไข่ห่าน หรือผลส้ม มีสีแดงอมชมพูออกสีบานเย็น หรือสีแดงทับทิม ไม่มีควัน ไม่มีเขม่า ไม่มีเปลว ไม่มีเสียง ไม่มีกลิ่น จะเริ่มปรากฏจากเหนือผิวน้ำ ตั้งแต่ระดับ 1 – 30 เมตร พุ่งสูงขึ้นไปประมาณระดับ 50 – 150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5 – 10 วินาที แล้วจะดับหายวับไปในอากาศ ทั้งที่ดวงไฟยังโตอยู่ มิได้หรี่เล็กลงแล้วค่อยๆ ดับ และไม่มีลักษณะโค้งตกลงมาเหมือนดอกไม้ไฟ

bung fai paya nak 02

วินิจ พลพิทักษ์ หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดหนองคาย อธิบายว่า "ทั่วจังหวัดหนองคายมีตำแหน่งที่มักปรากฏบั้งไฟพญานาคประมาณ 20 จุด โดยพบที่อำเภอโพนพิสัยมากที่สุด บั้งไฟพญานาคยังขึ้นอยู่ตามหนองน้ำ บ่อน้ำ ลำห้วย ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากลำน้ำโขงราว 500 เมตร ก็มีผู้พบเห็น สำหรับระยะเวลาในการขึ้นของบั้งไฟพญานาคนั้นจะขึ้น ระหว่างตะวันตกดินถึงประมาณ 23.00 น."

นายแพทย์มนัส กนกศิลป์ ผู้ศึกษาบั้งไฟพญานาค เผยว่า "ปริมาณของบั้งไฟพญานาคจะลดลงเรื่อยๆ ในแต่ละปี ล้วนแล้วเกิดจากระบบนิเวศ และเงื่อนไขของเวลา ไม่แน่ว่าในปีต่อไปจะมีโอกาสได้เห็นปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคอีกหรือไม่ เรื่องดินฟ้าอากาศที่แปรปรวน การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำในแม่น้ำโขง ตลอดจนภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน อาจเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้บั้งไฟพญานาคลดจำนวนลงจนหมดไป"

งานวิจัยวิทยาศาสตร์ของไทยหลายฉบับสรุปว่า บั้งไฟพญานาค คือ ก๊าซมีเทน-ไนโตรเจน เกิดจากแบคทีเรียที่ความลึก 4.55 – 13.40 เมตร อุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส ปริมาณออกซิเจนน้อย ในวันที่เกิดปรากฏการณ์มีแดดส่องช่วงประมาณ 10, 13 และ16 นาฬิกา มีอุณหภูมิมากกว่า 26 องศาเซลเซียสทำให้มีความร้อนมากพอย่อยสลายสารอินทรีย์ และจะมีก๊าซมีเทนจากการหมัก 3 – 4 ชั่วโมง มากพอให้เกิดความดันก๊าชในผิวทรายทำให้ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ ฟองก๊าซที่โผล่ขึ้นมาเหนือน้ำบางส่วนจะฟุ้งกระจายออกไป ส่วนแกนในของก๊าซขนาดเท่าหัวแม่มือจะพุ่งขึ้นสูง กระทบกับออกซิเจน รวมกับอุณหภูมิที่ลดต่ำลงยามกลางคืนทำให้เกิดการสันดาปอย่างรวดเร็วจนติดไฟได้

bung fai paya nak 03

นายแพทย์มนัส กนกศิลป์ กล่าวในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ 2538 ว่า "บั้งไฟพญานาคน่าจะเป็นสสาร และจะต้องมีมวล เพราะแหวกนํ้าขึ้นมาได้ จึงน่าจะเป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น จุดติดไฟได้เอง และต้องเบากว่าอากาศ" เขายังพบว่าความเป็นกรดด่างของน้ำในแม่น้ำโขงสอดคล้องกับระบบนิเวศน์ที่จะเกิดการหมักมีเทน ซึ่งเขาเคยไปวางทุ่นดักก๊าซในแม่น้ำโขง และพบว่าก๊าซที่ดักได้ในแม่น้ำโขงสามารถนำไปจุดติดไฟ จะเกิดการพุ่งวูบขึ้นมีสีออกเป็นแดงอมชมพู ส่วนคำถามที่ว่าทำไมบั้งไฟพญานาคถึงเกิดขึ้นในคืนวันออกพรรษา เขาบอกว่าในคืนนั้นมีอ็อกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์และโลก

มีคำอธิบายที่คล้ายกันเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่ใกล้เคียงใน ฟิสิกส์พลาสมา (plasma physics) โดยเป็นลูกพลาสมาลอยอิสระซึ่งสร้างจากไฟฟ้าสถิต (เช่น จากตัวเก็บประจุ) ถูกปล่อยสู่สารละลาย ทว่า การทดลองบอลพลาสมาส่วนใหญ่กระทำโดยใช้ตัวเก็บประจุค่าแรงดันสูง ตัวกำเนิดสัญญาณไมโครเวฟหรือเตาอบไมโครเวฟ มิใช่ภาวะธรรมชาติ

สารคดีของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีในปี 2545 แสดงทหารลาวยิงกระสุนส่องวิถีขึ้นฟ้า และมีเสียงเฮ ที่ดังมาจากฝั่งไทยที่มารอชมบั้งไฟพญานาค และเมื่อสัมภาษณ์คนท้องถิ่นในเขตอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 17 – 18 กุมภาพันธ์ 2546 ชาวบ้านในพื้นที่ก็รู้ดีว่า มีการยิงลูกไฟในฝั่งลาวในวันออกพรรษา แต่ลักษณะจะแตกต่างจากบั้งไฟพญานาคที่เกิดขึ้นจากบริเวณกลางแม่น้ำโขง และสามารถแยกแยะออกว่าอันไหนของจริง อันไหนคนทำ

bung fai paya nak 04

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิชาการจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า "ไม่มีก๊าซชนิดใดในโลกที่สันดาปเองแล้วกลายเป็นลูกไฟลอยสูงขึ้นไปสูงๆ ได้ เว้นแต่มีการสันดาปด้วยเชื้อเพลิงขับ เช่น ดินปืน พลุ หรือกระสุนส่องแสงขึ้นจากฝั่งตรงข้าม แต่หลอกตาเหมือนขึ้นจากน้ำ" และยังตั้งข้อสังเกตว่า "ที่ผ่านมายังไม่มีภาพถ่ายวิดีโอใดๆ เลยที่ชี้ให้เห็นว่าลูกไฟขึ้นจากน้ำได้จริง โดยมักเป็นภาพลูกไฟที่ลอยขึ้นไปในอากาศแล้ว พร้อมขอให้มีการสร้างบั้งไฟพญานาคเลียนแบบปรากฏการณ์ธรรมชาติขึ้นมาเพื่อพิสูจน์"

ปิ่น บุตรี เขียนลง ผู้จัดการออนไลน์ ในปี 2556 ว่า สกู๊ป (ของไอทีวี) ที่ว่า บั้งไฟพญานาคเกิดจากการยิงปืนของทหารลาวนั้นถูกต่อต้านจากคนในพื้นที่ และยังถูกคนจับผิดและหาข้อมาหักล้าง ไม่ว่าจะเป็นความแตกต่างของการยิงปืนขึ้นฟ้าที่ต้องมีเสียง ควัน และมีวิถีการพุ่งที่เร็วมาก แถมสีก็แตกต่างกับลูกไฟประหลาดที่พวยพุ่งขึ้นมา พุ่งช้ากว่า ไม่มีควัน เสียงไม่ดังเท่า นอกจากนี้ปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาคยังมีบันทึกว่าเกิดขึ้นมานับร้อยๆ ปี มาก่อนการยิงปืนของทหารนานแล้ว

เฉลยปริศนาบั้งไฟพญานาค - VoiceTV

บทความในผู้จัดการออนไลน์ว่า "เดิมทีพญานาคอาศัยอยู่ในเมืองบาดาล มีนิสัยดุร้าย ครั้นพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดสัตว์ก็เกิดความเลื่อมใสศาสนาพุทธ เลิกนิสัยดุร้าย และคิดบวช แต่ก็ติดที่เป็นสัตว์ไม่สามารถบวชได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ พญานาคจึงปวารณาตนเป็นพุทธมามกะ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จขึ้นไปโปรดพระมารดาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จนครบ 1 พรรษา (3 เดือน) และเสด็จกลับโลกมนุษย์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เมื่อรู้ถึงพญานาคที่อยู่เมืองบาดาล จึงจุดบั้งไฟถวายความเคารพด้วยความเลื่อมใสศรัทธา เกิดเป็นบั้งไฟพญานาคให้มนุษย์ได้พบเห็น และยังว่า ตราบเท่าที่ความเชื่อและศรัทธาของชาวบ้านเกี่ยวกับพญานาคยังคงอยู่ คนอื่น ๆ ที่อยู่นอกพื้นที่ก็ควรยึดหลัก "ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่"

มีการนำเรื่องข้อสงสัยที่มาของบั้งไฟพญานาค มาทำเป็นภาพยนตร์เรื่อง "15 ค่ำ เดือน 11" โดย จิระ มะลิกุล ออกฉายเมื่อ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งเรื่องราวเนื้อหาในภาพยนตร์นั้น บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์

bung fai paya nak 05

การชมเหตุการณ์บั้งไฟพญานาคนั้น ไม่ได้มีเฉพาะจุดที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เท่านั้นนะครับ ตามสองฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่เชียงรายไล่ลงมาถึงอุบลราชธานี มีผู้พบเห็นและเฝ้าสังเกตการณ์การเกิดของบั้งไฟพญานาคกันทุกปีในช่วงออกพรรษา ที่อุบลราชธานีผู้เขียนเคยไปดูที่บ้านตามุย บ้านท่าล้ง อำเภอโขงเจียม มาแล้วเหมือนกัน เรื่องนี้ยังมีข้อสงสัยกันอีกมากมาย ใครอยากติดตามอีกมุมมองก็ไปติดตามเพจนี้ครับ "พิสูจน์บั้งไฟพญานาค"

รายการความจริงไม่ตาย : 15 ค่ำ เดือน 11 สปป.ลาว

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)