foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

ศิลปะถ้ำ (2)

การเขียนสีและภาพสลักภายในถ้ำเพิงหิน เพิงผา หรือเรียกสั้นๆ ว่า "ศิลปะถ้ำ" นั้น ในประเทศไทยพบมากที่สุดในภาคอีสาน มีมากถึง 151 แห่ง พบมากบริเวณแถบเทือกเขาภูพานตอนที่พาดผ่านและกระจายอยู่ทั่วไป ภาพเขียนหรือศิลปะถ้ำเหล่านี้อาจแสดงโดดๆ มีเนื้อความเล่าเรื่องในตัวเอง หรือภาพประกอบกันเป็นเรื่องราว โดยแสดงให้เห็นถึงการเล่าเรื่องการล่าสัตว์ การทำการเกษตรกรรม การละเล่นงานรื่นเริง การประกอบพิธีกรรม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความเชื่อและพิธีกรรม

ศิลปะถ้ำในอีสานที่เก่าแก่มีอายุมากกว่า 5,000 ปี ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนมาถึงยุคหินใหม่ ซึ่งปรากฏภาพเขียนผนังถ้ำมากที่สุด นอกจากการเขียนภาพแล้ว ยังมีการนำเอาโลหะมาตอกให้เกิดร่องเป็นเส้นเป็นภาพ เครื่องมือโลหะนี้เป็นการบ่งบอกว่า เป็นยุคหินใหม่ ส่วนภาพเขียนสีนั้นแสดงการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การจักสาน เป็นการบ่งบอกว่าเป็นยุคที่ก้าวเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์

silapa tam 02

กลุ่มภาพเขียนที่อำภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี นับเป็นกลุ่มภาพขนดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มี 3 แห่ง คือ ผาขาม พบภาพลายเส้นสีแดงมีรูปร่างคล้ายปลา ผาแต้ม พบภาพสัตว์ต่างๆ ทั้งสัตว์บกและสัตว์น้ำ ภาพฝ่ามือ ภาพคน ภาพเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ภาพลายเรขาคณิต ซึ่งเขียนด้วยสีแดง ผาหมอนและผาหมอนน้อย ภาพเขียนที่ปรากฏมีสีแดงเข้ม อาทิ ภาพคน ภาพมือ ภาพสัตว์และภาพลายเรขาคณิต มีกลุ่มภาพสัตว์และคนถือธนู และข้างๆ กันมีภาพสัตว์มีเขา สันนิษฐานว่า เป็นควาย และรอบๆ มีต้นข้าวล้อมอยู่ สันนิษฐานว่า กำลังทำนา ภาพที่โขงเจียมสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้น อาทิ การล่าสัตว์ การปลูกข้าว การจับสัตว์ การจักสาน ป็นต้น

สถานที่เขียนภาพมักเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับที่ผาแต้มที่ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ ประการแรก เป็นผาที่มีทางเดินยาวเหยียดหันหน้าลงสู่แม่น้ำโขง เหมาะกับการที่ผู้คนจะมาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก บนหลังเขาเป็นที่ราบ มีโขดหินเพิงผาหินงดงามเหมาะกับการที่จะมาพักอาศัยและประกอบพิธีกรรม ประการที่สอง ทิวทัศน์โดยรอบงดงาม อยู่ในตำแหน่งที่ไม่อับในเรื่องลม ก่อให้เกิดความรู้สึกที่สัมพันธ์กับสิ่งนอกเหนือธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ประการที่สาม ผาแต้มแสดงความสัมพันธ์ 3 สิ่ง คือ ภูเขา ที่ราบ และแม่น้ำโขง เหมาะแก่การทำพิธีกรรมเนื่องด้วยความอุดมสมบูรณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่า ผาแต้มเป็นเพิงผาแห่งความอุดมสมบูรณ์

silapa tam 05

เทคนิคการเขียนภาพศิลปะถ้ำ

เทคนิคการเขียนภาพศิลปะถ้ำในอีสาน มี 4 ลักษณะ คือ

1. การพ่นสีรอบตัวแบบ (Stencil) โดยเอามือวางทาบกับผนังถ้ำแล้วพ่นสีด้วยปากทับรอบๆ มือ เช่น ถ้ำพระอานนท์ อำภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ถ้ำฝ่ามือแดง อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร เป็นต้น

silapa tam 06

2. การชุบสีหรือเอาสีทาบนมือแล้วทาบลงไป (Print, Stamp) ภาพมือคนบางแห่งมีภาพเดียว บางแห่งมีเป็นร้อยๆ ภาพ ทำอยู่เป็นกลุ่มเดียวในแหล่งเดียว ไม่มีภาพอื่นเลยก็มี เช่น ถ้ำพระ อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย แบบทาบสีและขูดสีบางส่วน เช่น ผาหมอนน้อย อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น

3. ภาพวาดด้วยสิ่งที่คล้ายพู่กัน (Painting) ลักษณะการวาดมี 3 แบบ คือ แบบเงาทึบ (Silhouette) ได้แก่ ภาพคนที่แสดงสัดส่วนและสรีระของคนอย่างชัดเจน แสดงลักษณะกล้ามเนื้อที่แขนขา และภาพคนที่ไม่แสดงลักษณะทางสรีระชัดเจน หรือลักษณะของกล้ามเนื้อแต่มีอวัยวะทุกส่วน บางครั้งดูคล้ายประเภทลิง ค่าง แบบเส้นรอบนอก (Outline) ได้แก่ภาพคนเขียนด้วยลายเส้นเดี่ยวและเส้นคู่ ใช้เส้นแบบง่ายๆ คือ เส้นตรง เส้นโค้ง ลักษณะคล้ายกิ่งไม้ ไม่เน้นสรีระของตัวคน แต่แสดงลีลาของภาพ ส่วนภาพสัตว์ที่เขียนเป็นเส้นทึบ แสดงลักษณะทางสรีระได้อย่างชัดเจน มีการเน้นลักษณะเด่นของสัตว์และแบบไม่แสดงลักษณะทางสรีระชัดเจน และแบบโครงร่างที่ต้องการให้เห็นภาพใน (X-ray Style)

silapa tam 07

4. การขูดให้เป็นรอย (Carving) โดยใช้โลหะฝนเซาะร่อง จาร ขูดขีด ตอก แกะ ให้หินเป็นรอย แหล่งที่พบภาพประเภทนี้ เช่น ถ้ำผาแดง เขากระดานเลข อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก ใช้วิธีตอกให้เป็นรูปร่างแล้วขัดผิวหินให้เรียบ ถ้าผาลาย ภูผายนต์ อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ใช้วิธีการฝนเซาะร่อง การสลัก เป็นภาพลายเรขาคณิตคนและสัตว์ เป็นต้น

สีที่ใช้เขียนภาพ

สีแดงได้จากฮีมาไทด์ (Haematite) สีขาวได้มาจากชอล์กหรือดินขาว (Kaolin) สีดำได้จากถ่านกราไฟต์ (Graphite) สีเหลืองได้มาจากลิโมไนต์ (Limonite) เป็นต้น สันนิษฐานว่า การนำสีมาใช้ต้องนำแร่มาบดผสมกับกาวหรือยางไม้และไขสัตว์ก่อนเพื่อให้สีติดทนนาน

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงรูปธรรม

ลักษณะเด่นของภาพเขียนบนผนังถ้ำคือรูปร่างของภาพเขียนสี มีทั้งแบบทึบ (Silhouette) แบบโปร่งที่เห็นเฉพาะเส้นรอบนอก (Outline) และแบบที่วาดโครงร่างที่ต้องการให้เห็นภายใน (X-ray Style) มักเขียนด้วยสีแดงจากแร่เฮมาไทต์หรือดินเทศ นำมาฝนให้เป็นผงแล้วผสมกับกาวหรือยางไม้และไขสัตว์ สีแดงเป็นสีที่ใช้ในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายใยสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ เทคนิคการเขียนที่เด่นๆ มี 4 วิธี คือ 1) การพ่นสีรอบตัวแบบ (Stencil) 2) การชุบสีหรือเอาสีทาบนมือแล้วทาบลงไป (Print, Stamp) 3) การวาดด้วยสิ่งที่คล้ายพู่กัน และ 4) การขูดให้เป็นรอย (Carving) ลักษณะภาพแบ่งเป็นกลุ่มที่ด่นๆ คือ คน สัตว์ เครื่องมือ และสัญลักษณ์

silapa tam 08

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงนามธรรม

ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำนั้นบ่งบอกเรื่องราววิถีชีวิตของคนในสมัยยุคก่อนประวัติศาสตร์ เช่น ภาพการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การจักสานเครื่องมือดำรงชีวิต และการสื่อความหมายหรือการบันทึกบางอย่างเป็นภาพสัญลักษณ์ นักวิชาการเชื่อว่า ภาพเขียนสีเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมีสองแนวคิด คือ แนวคิดแรกเป็นวิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย เพราะสีแดงในสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสีแห่งความตาย จากหลักฐานทางโบราณคดี การฝังศพของคนในสมัยก่อนประวัติศาสตร์มักโรยด้วยฝุ่นสีแดง และไหที่บ้านเชียงที่เขียนด้วยสีแดงก็เพื่อฝังให้กับคนตาย ส่วนอีกแนวคิดหนึ่งเชื่อว่าภาพเขียนสีบนผนังถ้ำเขียนเพื่อพิธีกรรมแห่งความอุดมสมบูรณ์

การประยุกต์เพื่อนำมาใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม

ตัวอย่างนี้เป็นการนำเอาฮูปแต้มผนังถ้ำ "ภาพเขียนที่ผาแต้ม" นำมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบด้านสถาปัตยกรรม เพื่อรับใช้ชุมชน เป็นผลงานการออกแบบ อาคารศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า อุบลราชธานี ที่ได้นำเอาอัตลักษณ์จาก "ภาพเขียนสีที่ผาแต้ม" มาเป็นแนวคิดในการออกแบบ ทั้งส่วนตกแต่งอาคาร เครื่องหมาย/สัญลักษณ์ของส่วนบริการสาธารณะ เป็นต้น

silapa tam 09 silapa tam 10
silapa tam 11 silapa tam 12

อัตลักษ์ภาพเขียนสีศิลปะถ้ำที่ผาแต้ม มาใช้ตกแต่งอาคาร และสัญลักษณ์ห้องน้ำชาย-หญิง

การนำเอาศิลปะถ้ำ มาใช้ในการออกแบบศูนย์บริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลเด็กสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ด้วยความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากท้องทะเล ภายใต้อารยธรรมอันทรงคุณค่าอายุกว่าสามพันปีของ "ผาแต้ม" สัญลักษณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ ของจังหวัดอุบลราชธานี ผสมผสานความร่วมสมัยของการก่อสร้างและวัสดุที่เหมาะสม ถ่ายทอดผ่านการออกแบบที่สวยงาม สนุกสนาน สื่อสารกับเด็กๆ อย่างผ่อนคลาย เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สร้างความเชื่อมั่นและประะทับใจ สู่การเป็น "โรงพยาบาลเด็กแห่งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี" ดังภาพข้างล่างนี้

silapa tam 13

ภาพ Perspective รั้วบริเวณด้านหน้าของโรงพยาบาลเด็กสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

silapa tam 14

ดูใกล้ๆ ชัดๆ กับเอกลักษณ์ศิลปะถ้ำที่ผาแต้ม

silapa tam 15

การตกแต่งภายในกับรรยากาศทะเลที่แสนผ่อนคลายสำหรับเด็กๆ และผู้ปกครอง

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)