คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
วัฒนธรรมการทอผ้า ผูกพันกับชาวอีสานมาอย่างยาวนาน จากการศึกษาทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีทำให้ทราบว่า มีการทอผ้าใช้ในภาคอีสานตั้งแต่ช่วงต้นของยุคโลหะหรือประมาณ 6,000 ปีมาแล้ว การทอผ้าถือเป็นชีวิตของหญิงชาวอีสานที่ทอไว้ใช้ในครัวเรือนมาแต่อดีต โดยถือว่าเป็นงานจำเป็นของผู้หญิงอีสานที่ต้องเรียนรู้และปฏิบัติให้ชำนาญ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มในชีวิตประจำวันและใช้ในพิธีการทางศาสนา และเป็นเครื่องบ่งบอกว่าผู้หญิงคนนั้นมีความเหมาะสม มีคุณสมบัติความพร้อมที่จะสามารถออกเรือนได้
ยามว่างจากงานในนา ผู้หญิงทอผ้า ผู้ชายจักสาน ”
วัฒนธรรมการทอผ้าของชาวอีสาน ได้รับอิทธิพลมาจากการอพยพเคลื่อนย้ายของกลุ่มคนจากหลายพื้นที่ เข้ามาอาศัยอยู่ในภูมิภาคอีสานปัจจุบัน แต่ละกลุ่มชนจะมีลักษณะและลวดลาย กรรมวิธีการทอผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง โดยในอีสานเหนือเป็นแหล่งทอผ้าฝ้าย ได้แก่ ผ้าขิด อีสานกลางเป็นแหล่งทอผ้าไหม ได้แก่ ผ้าไหมมัดหมี่ ผ้าหางกระรอก เป็นต้น ทางตะวันออกที่เป็นชาวผู้ไท ทอผ้าไหมแพรวา ที่ทอด้วยเทคนิคจกและขิด อีสานใต้ทอผ้าไหมมัดหมี่ เส้นพุ่งตามแบบเขมร เป็นต้น
ปัจจุบัน ผ้าทอ กลายเป็นหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงของอีสาน ที่ถูกผลิตเพื่อการค้าเป็นอาชีพเสริมจากการทำนา ถึงแม้รูปแบบผ้าจะถูกปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการใช้งาน และตลาดผู้บริโภคในปัจจุบัน แต่ก็ยังมีรากเหง้ามาจากภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ที่ก่อให้เกิดความแตกต่างกันของรูปแบบและวิธีการผลิตผ้าในแต่ละท้องถิ่น
ผ้าขิด เกิดจากการใช้ด้ายพุ่งพิเศษเพื่อใส่สีและลวดลายต่างจากสีพื้น โดยใช้ไม้ค้ำสำหรับทอลายขัดเรียกว่า "การเก็บขิด" มีหน้าที่ยกด้ายเส้นยืนให้สลับกันเป็นลวดลาย โดยลวดลายขิดมีลักษณะเหมือนกันตลอดหน้าผ้า ผ้าขิดมีความสัมพันธ์กับความเชื่อ ประเพณีท้องถิ่นจากลวดลายประกอบกับกรรมวิธีผลิต มีวิธีการที่ซับซ้อน ใช้ความพยายามและความอดทนในการทอให้เป็นผืนผ้า จึงถือว่าผ้าขิดเป็นของสูง ไม่นิยมใช้ผ้าขิดเป็นผ้านุ่งที่ต่ำกว่าเอว
ผ้ามัดหมี่ เป็นการสร้างลวดลายโดยวิธีย้อมสี โดยออกแบบลวดลายก่อนย้อมสีด้วยเส้นพุ่ง เตรียมลายกรอบไม้หน้ากว้างเท่ากับหน้ากว้างผ้า ออกแบบโดยใช้เชือกมัดส่วนที่ไม่ต้องการสีไว้ แล้วนำมาย้อมสีก่อนนำมาทอ ลายผ้าของชาวผู้ไทมักทำเป็นลายหยักแหลมหรือเป็นลายคมๆ เหมือนฟันปลา เรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "หมี่กาบ" ได้แก่ ลายกาบหลวง ลายตุ้ม ลายตุ่มมะจีบ ลายนาค และลายปราสาท เป็นต้น
ผ้าไหมแพรวา แต่เดิมหมายถึง ผ้าไหมที่มีความยาวขนาด 1 วา ชาวกาฬสินธุ์นิยมใช้เป็นผ้าสไบ ผ้าโพกหัว หรือผ้าพันคอ เฉพาะในโอกาสสำคัญเท่านั้น ซึ่งอาจจะแสดงถึงฐานะทางสังคมในแง่การมีผ้าสวยงาม มีคุณค่าเป็นสมบัติติดกาย เฉพาะผ้าแพรวาของชาวภูไทในจังหวัดกาฬสินธุ์นั้น มีลวดลายวิจิตรงดงาม ต้องใช้ความสามารถและเวลาในการทอมาก ด้วยเป็นลายผสมระหว่างลายขิดและลายจก บางผืนอาจต้องใช้เวลาทอมากกว่า 3 เดือน เช่น ลายนาค ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของกาฬสินธุ์มีความวิจิตรงดงามมากและละเอียดกว่าลายอื่นๆ
ผ้ายก (ผ้าไหมยกทอง จังหวัดสุรินทร์) เกิดจากการรวมกลุ่มนักออกแบบโดยการนำของ อาจารย์วีระธรรม ตระกูลเงินไทย ซึ่งนำความรู้จากการออกแบบลวดลายไทยและลายชั้นสูงแบบราชสำนักโบราณ เมื่อครั้งศึกษาที่วิทยาลัยอาชีวะศึกษา วิทยาเขตพาะช่าง มาประยุกต์เข้ากับภูมิปัญญาการทอผ้าแบบพื้นเมือง รวบรวมชาวบ้านท่าสว่างมาทอผ้ายามว่างจากการทำไร่ไถนา จัดตั้งกลุ่มทอผ้ายกทอง "จันทร์โสมา" งานที่สร้างชื่อสียงคือ การทอผ้ายกทองทูลเกล้าถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 รวมถึงการทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำ 21 ประเทศ และผ้าคลุมไหล่ภริยาผู้นำที่เข้าร่วมประชุม APEC 2003
ผ้าย้อมคราม ครามเป็นวัสดุย้อมสีเส้นใยผ้าทั้งฝ้ายและไหมที่ได้จากต้นครามธรรมชาติ มีกลิ่นหอมเฉพาะตน สีครามที่ได้จากธรรมชาติเป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ นำมาเปลี่ยนคุณสมบัติให้เป็นสีที่ละลายน้ำได้ตามกรรมวิธีโบราณ โดยไม่ใช้สารเคมี แล้วทำการย้อมเย็นโดยการจุ่มลงในหม้อคราม แล้วผ่านออกซิเจนเปลี่ยนคุณสมบัติกลับคืนเป็นสีที่ไม่ละลายน้ำ จุ่มลงย้อมหลายๆ ครั้งจนกว่าจะได้โทนสีเข้มตามต้องการ นิยมใช้ย้อมฝ้ายและทอด้วยทคนิคมัดหมี่ และขิด ลวดลายบนผืนผ้าแสดงถึงวิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรม
ลักษณะเด่นของผ้าอีสาน ได้แก่ ลวดลายบนผืนผ้า ลายผ้าอีสานตามที่ได้ทอกันมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิมในอดีตจนถึงปัจจุบันนี้ มีลวดลายที่คล้ายคลึงกันในแต่ละเทคนิค มีแม่ลายที่ใกล้เคียงกันที่เกิดจากเทคนิคหลักดั้งเดิม ได้แก่ ขิดและมัดหมี่ ส่วนการยกทองป็นผ้าที่กิดขึ้นในภายหลัง โดยมีรูปแบบลายจากภาคกลางและราชสำนัก อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งลวดลายได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
ลายผ้าอีสาน มีลักษณะเป็นลวดลายกราฟิกเรขาคณิต ซึ่งเกิดจากวิธีการทอที่เกิดจากการขัดกันของเส้นพุ่งและเส้นยืน โดยมีรูปแบบลวดลายเกิดจากจินตนาการของผู้ทอ ในการประยุกต์จากสิ่งรอบตัว ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ ได้แก่ สัตว์ พันธุ์ไม้ สิ่งของเครื่องใช้ ความเชื่อและศาสนา ใช้ทคนิคการทอแบบต่างๆ ทั้งการก็บขิดและมัดหมี่ซึ่งเป็นเทคนิคหลักที่ใช้ โดยวัสดุที่ใช้แต่ดั้งดิมมี 2 ชนิด คือ ไหม ที่ให้ผิวสัมผัสเงามัน และฝ้าย ที่ให้ผิวสัมผัสด้านหรือเป็นลายนูนที่เกิดจากการเพิ่มเส้นพุ่งของการขิด การใช้สีแต่ดั้งเดิมมาจากการย้อมสีธรรมชาติ เช่น เปลือกไม้ แก่นไม้ เมล็ด ดอก หรือจากสัตว์ ได้แก่ ครั่ง จึงมีสีหลักเป็นโทนธรรมชาติ เช่น สีครามจากต้นคราม สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากต้นเข สีดำจากมะเกลือ เป็นต้น
ผ้าอีสานมีความสัมพันธ์กับประเพณี ความเชื่อในการดำรงชีวิต เป็นสิ่งที่ใช้ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น ผ้าผูกเปล ผ้าห่ม เสื้อผ้า ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น การทอดกฐิน การแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ ใช้ห่อคัมภีร์ใบลาน ผ้าคุมหัวนาคในงานบวช ผ้าคลุมศพ เป็นต้น นอกจากนี้ยังถือว่า การทอผ้าเป็นหน้าที่ของผู้หญิงอีสานที่ใช้เวลาว่างจากการทำนาและการเก็บเกี่ยว มาทอผ้าไว้ใช้ในครัวเรือนหรือทอผ้าเอาไว้ใช้ในงานประเพณีต่างๆ เป็นสิ่งบ่งบอกถึงความพร้อมของหญิงสาวในการออกเรือน เพราะต้องใช้ความพยายามและความอดทนเป็นอย่างมาก จึงจะสามารถทอให้เป็นผืนผ้าได้
คนล่าฝัน (DreamChaser) ผ้าไหมบ้านคำปุน ครูศิลป์ของแผ่นดิน
แจ้งเพื่อทราบ : มีหลายท่านที่สนใจอยากได้ อยากซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าพื้นบ้านต่างๆ ผลผลิตจากชุมชนที่เรานำเสนอ ขอเรียนให้ทราบว่า ทางเว็บไซต์ประตูสู่อีสานของเราไม่ได้ทำการจำหน่าย หรือทำการตลาดนะครับ ถ้าท่านสนใจก็ไม่ยาก เปิดเว็บไซต์ OtopToday.com แล้วช็อปกันได้เลยครับ
[ อ่านความรู้เพิ่มเติม : คุณค่าผ้าทออีสาน | ผ้ากาบบัวเมืองอุบล | การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม | ผ้าไหมสุรินทร์ | เครื่องมือทอผ้า ]
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)