foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว หิมะตกหนัก อากาศหนาวสุดขั้ว บางแห่งถึงขั้นติดลบ 46 องศาเซลเซียส ประเทศไทยเฮากะบ่หยอกคือกัน ทางตอนเหนือลดลงถึงศูนย์องศา เกิดแม่คะนิ้ง (น้ำค้่างแข็งบนยอดหญ้ากันแล้ว) ในช่วงวันที่ 10-13 มกราคมนี้ อุณหภูมิจะลดลงอีกมาก 5-7 องศา ในภาคเหนือและภาคอีสานบ้านเฮา รักษาสุขภาพกันดีๆ เด้อ อย่าสิเจ็บสิไข้ ซำบายดีครับ ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

เชี่ยนหมาก (2)

chian mak 06เชี่ยนหมาก หรือ ขันหมาก ของภาคอีสานมีเอกลักษณ์โดดเด่นจากภาคอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง ไม่พียงแต่ใช้เป็นเครื่องใช้ในครัวเรือน และไว้ต้อนรับแขกผู้มาเยือน แต่ยังสื่อความหมายเชิงวัฒนธรรม กล่าวคือ แสดงถึงความสามารถในเชิงช่างฝีมือ ความคิดสร้างสรรค์ของชายชาวอีสาน หากประดิษฐ์เชี่ยนหมากได้งดงามจะได้รับการยกย่อง ทำนองเดียวกับฝ่ายหญิงที่มีฝีมือในการทอผ้า

มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า ในสมัยรัชกาลที่ 4 ณ หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม มีช่างไม้คนหนึ่งมีความพึงใจในลูกสาวหมอยากลางบ้าน จึงทำ "เชี่ยนหมาก" อย่างสุดฝีมือเพื่อเป็นของกำนัลในการสู่ขอ เชี่ยนหมาก ดังกล่าวมีความงดงามเป็นที่เลื่องลือไปทั่วหมู่บ้าน ในที่สุดช่างไม้ก็ได้แต่งงานสมตามความปรารถนา เรื่องราวดังกล่าวเป็นที่ประทับใจ จนกลายเป็นธรรมเนียมที่ฝ่ายชายนิยมทำเชี่ยนหมากเอง เพื่อมอบให้แก่สาวผู้เป็นที่รัก หรือคู่หมั้นหมายของตนเอง อันเป็นการแสดงถึงฐานะและถือเป็นการให้เกียรติต่อฝ่ายหญิงด้วย ต่อมาในภายหลังจึงมีการจ้างทำเชี่ยนหมากเกิดขึ้น

ลักษณะ "เชี่ยนหมากอีสาน" เป็นกล่องไม้ไม่พบในภูมิภาคอื่น อาจเนื่องมาจากช่างส่วนใหญ่มีความถนัดเชิงช่าง ด้านการทำเครื่องไม้มากกว่าวัสดุอื่นๆ อีกทั้งยังหาไม้ในท้องถิ่นได้ง่าย ราคาถูก และมีความทนทานสูง ไม้ที่ใช้มักมีขนาดความกว้างใกล้เคียงกับขนาดของฝาบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเชี่ยนหมากจะทำด้วยไม้แทบทั้งสิ้น มักใช้ไม้มงคลในท้องถิ่น เช่น ไม้ยอป่า รวมถึงไม้อื่นๆ อาทิ ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้จำปา ไม้โมกมัน ไม้กะบาก ไม้เนื้อแข็งเพื่อความทนทาน เช่น ไม้มะค่า ไม้มะเกลือ ไม้ประดู่ ไม้จิก เป็นต้น

chian mak 07

แม้ว่าเชี่ยนหมากไม้พื้นบ้านอีสาน ส่วนใหญ่จะมีรูปทรงที่คล้ายคลึงกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันตรงที่ความประณีต และการตกแต่งลวดลาย สามารถบ่งบอกฐานะของเจ้าของได้ คือ เชี่ยนหมากของชาวบ้านทั่วไป มักทำด้วยฝีมือที่ไม่ประณีตมากนัก เพราะมุ่งที่การใช้สอยเป็นสำคัญ ตรงกันข้ามกับเชี่ยนหมากของผู้มีสถานภาพทางสังคมสูง อย่างคหบดี หรือเสนาบดี ก็มักจะมีความประณีตวิจิตรงดงามกว่าของชาวบ้านทั่วไป เช่น มีการลงรัก และเขียนลายทองเพิ่มเติม เป็นต้น

ส่วนประกอบของเชี่ยนหมาก

ส่วนประกอบของเชี่ยนหมากแบ่งได้เป็น 4 ส่วนได้แก่

1. ปาก หรือ ส่วนบนสุด มักแบ่งเป็น 3 ช่อง มากหรือน้อยกว่านี้ก็มี ด้านบนของช่องกั้นส่วนมากจะมีความโค้ง และบางตัวมีกระดูกงูหรือคิ้วไม้ หรือกระดูกสัตว์เดินบนขอบปากเพื่อความงามและความทนทาน

2. ลำตัว มักเป็นจุดเด่นในการแสดงลวดลาย เป็นแผ่นไม้สูงประมาณ 12 เซนติเมตร อาจแกะลายเหมือนกันทั้งสี่ด้าน หรืออาจแตกต่างกันในแต่ละด้าน

3. ส่วนเอว คือ ส่วนที่เชื่อมส่วนลำตัวและส่วนขา โดยมากส่วนเอวนี้จะไม่มีการตกแต่ง พบว่าบางตัวมีการใส่คิ้วเดินรอบ และบางตัวมีการเจาะช่องใส่ลิ้นชักด้วย

4. ส่วนขา มีการเจาะเป็นช่อง ฉลุเป็นรูปขาหรือแค่สลักลายเป็นรูปขาเท่านั้น

chian mak 08

รูปแบบของเชี่ยนหมากอีสานมี 2 แบบ คือ ทรงกล่องสี่เหลี่ยม และทรงคางหมูหรือทรงแอวขันปากพาน พบว่า ช่างนิยมทำทรงกล่องสี่เหลี่ยมมากกว่าทรงแอวขันปากพาน มีขนาดเฉลี่ย 25 x 25 x 20 เซนติเมตร ขณะที่ทรงกล่องสี่เหลี่ยมมีขนาดเฉลี่ยที่ 22 x 22 x 21 เซนติเมตร ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมสำหรับวัฒนธรรมการนั่งพื้น ด้านนอกมักทาสีดำหรือทาผิวไม้ด้วยน้ำมันให้มีสีเข้ม แล้วแกะเป็นลายขิดหรือลายอื่นๆ อาจพบการระบายสีตกแต่งเพิ่มเติมด้วย

ลวดลายที่พบบนเชี่ยนหมากส่วนมากมักเป็นลายที่แกะเป็นเส้นลายรขาคณิต เช่น ลายฟันปลา สามเหลี่ยม เส้นกากบาท ข้าวหลามตัด เส้นทแยง รองลงมา คือ ลายประแจจีน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น เครื่องหมายสวัสดิกะ อันมีความหมายแสดงถึงความเป็นอยู่ที่ดี ลายก้านขดหรือลายขอ ซ่อนอยู่ในลายเส้นสานไขว้กันคล้ายเครื่องจักสาน ส่วนลายอื่นๆ ที่นิยมสลักได้แก่ ลายดอกไม้ เป็นต้น นอกจากนั้น ยังพบลายเส้นอิสระคล้ายฮูปแต้มอีกด้วย หากต้องการให้ลายมีความชัดเจน จะถมลายด้วยปูนขาวผสมยางไม้ ถมลงในช่องที่แกะไว้ ปูนขาวจะช่วยให้เห็นลวดลายชัดเจนยิ่งขึ้น

chian mak 09

สีที่พบบนตัวเชี่ยนหมากส่วนมากเป็นสีดำที่ทำจากรักน้ำเกลี้ยง พบสีอื่นๆ บ้าง หรือไม่ก็ไม่ทาสีเลย ส่วนสีของลวดลายมักใช้สีที่ตัดกับสีดำ ที่นิยมมากที่สุดคือ สีขาว รองลงมา คือ สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงินตามลำดับ

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงรูปธรรม

เชี่ยนหมากสะท้อนถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิตของชาวอีสาน เป็นผลิตภัณฑ์พื้นบ้านมีรูปแบบลอยตัว แกะสลักบนไม้มงคล ไม้เนื้อแข็ง และไม้เนื้ออ่อน มีการร่างแบบลงบนไม้และฉลุ เจาะรู เป็นส่วนๆ แล้วจึงนำมาประกอบกัน ลวดลายส่วนใหญ่เป็นลายเรขาคณิต มีการจัดองค์ประกอบแบบสมมาตร การจัดเรียงและตกแต่งลวดลาย เช่น ลายฟันปลา สามเหลี่ยม เส้นกากบาท ข้าวหลามตัด เส้นทแยง ลายประแจจีน ลายสวัสดิกะ ลายก้านขดหรือลายขอ ส่วนลายอื่นๆ ที่นิยม เช่น ลายดอกไม้ ซึ่งเกิดจากจินตนาการในพืชพรรณสิ่งแวดล้อของชาวอีสาน

chian mak 10

ลักษณะเด่นและคุณค่าเชิงนามธรรม

รูปทรง ลวดลาย ตลอดจนวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชี่ยนหมากไม้มีอัตลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะตัว ที่ไม่พบในภูมิภาคอื่นของประเทศ มีลวดลายประดับด้านบน เป็นลายเรขาคณิตคล้ายลายที่ปรากฏบนเครื่องจักสานหรือคล้ายผ้าทอ บางชิ้นมีการแกะลายพร้อมการระบายสี บางชิ้นไม่ทาสี ส่วนฐานหรือด้านล่างมักออกแบบเป็นขา มีความคล้ายคลึงกับตู้พระธรรมและหีบที่ใช้กันโดยทั่วไปในภาคอีสาน คล้ายกับรังผึ้งที่ประดับอยู่ใต้จั่วของโบสถ์ และคล้ายกับแอวขันซึ่งเป็นฐานของโบสถ์และพระธาตุอีกด้วย

เชี่ยนหมากยังสามารถสื่อความหมายเชิงวัฒนธรรมที่ซ่อนอยู่ กล่าวคือ แสดงออกถึงฐานะทางสังคมของเจ้าครองที่ครอบครอง แสดงออกถึงความรักที่ผู้ทำเชี่ยนหมากมอบให้คนรัก แสดงออกถึงน้ำใจไมตรียามมีแขกมาเยี่ยมเยียน เป็นต้น

คุณค่าและการนำไปประยุกต์ใช้งาน

ด้วยรูปทรงอันมีเอกลักษณ์ สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ต่างๆ ได้มากมาย เป็นที่นิยมในการนำไปใช้ตกแต่งสถานที่ต่างๆ เช่น อาคาร บ้านเรือน โรงแรม หอประชุม ฯลฯ

chian mak 12

เชี่ยนหมาก กับการออกแบบเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งสถานที่

เชี่ยนหมาก ผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP

ชี่ยนหมากแกะสลักไม้ติดลายลงรัก อำเภอม่วงสามสิบ อุบลราชธานี

ผลิตภัณฑ์เชี่ยนหาก บ้านดอนขวาง จังหวัดอุบลราชธานี เสถียร บุตรน้อย ผลิตภัณฑ์กลุ่มอาชีพ กลุ่มท่าเชี่ยนหมาก 31 หมู่ 4 บ้านดอนขวาง ตำบลหนองไข่นก อำเภอม่วางสานสิบ จังหวัดอุบลราชธานี โทร. 084-538-5026, 045-385-026

หมายเหตุ : เว็บไซต์แห่งนี้รวบรวมเรื่องราวของหัตถกรรมพื้นถิ่นอีสานที่น่ารู้ บันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ แต่ไม่ได้เป็นตัวแทนจำหน่าย จ่ายแจกผลิตภัณฑ์เหล่านี้ หัตถกรรมบางชิ้นได้อ้างอิงแหล่งผลิต จัดทำไว้ หากท่านสนใจโปรดติดต่อกันได้โดยตรงตามชื่อ/ที่อยู่ที่ปรากฏในท้ายบทความครับ

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)