คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ซอกันตรึม หรือ ตรัวกันตรึม เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสีที่มีบทบาทสำคัญในวงกันตรึมของอีสานใต้มาช้านาน คันทวน หรือ ตัวซอ ทำจากไม้หลากชนิดที่หาได้ในท้องถิ่น กล่องเสียง ขึงด้วย หนังงูเหลือม หรือหนังจำพวกตะกวด มีช่องเสียง อยู่ด้านตรงข้ามหน้าซอ ใช้สายลวดมี 2 สาย คันชักอยู่ระหว่างสาย คันซอยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีลูกบิดอยู่ตอนนอกซอใช้รัดด้วยเชือก มีคันชักผูกเชือกหางม้า หรือไนล่อนทำหน้าที่ถูลงบนสายโลหะจำนวน 2 สาย ที่พาดขึงในลักษณะเดียวกันกับซอในภาคกลาง เพื่อให้เกิดเสียงดังกังวาล บางครั้งจะเห็นมีการดัดแปลงประยุกต์กะโหลกซอ โดยใช้กระป๋องหรือปี๊บ ซึ่งอาจเรียกแทนว่า ซอกระป๋องหรือซอปี๊บได้
ซอกันตรึม นั้นมีขนาดที่แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขนาด คือ
วงดนตรีกันตรึมพื้นบ้านแบบเดิม มีเครื่องดนตรีครบชุด ประกอบด้วย กลองกันตรึม 2 ลูก ซอตรัวเอก 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ขลุ่ย 1 เลา ฉิ่ง 1 คู่ กรับ 1 คู่ ผู้เล่นมีประมาณ 6 - 8 คน และมีนักร้องชาย - หญิง โดยทั่วๆ ไป มักนิยมให้มีชาย 2 คน หญิง 2 คน ถ้าเครื่องดนตรีไม่ครบตามที่กล่าวไว้ วงกันตรึมบางคณะก็อาจจะอนุโลมให้มีเครื่องดนตรีดังนี้ กลองกันตรึม 1 ลูก ซอกันตรึม 1 คัน ฉิ่ง 1 คู่ ซึ่งก็จะมีนักดนตรี เพียง 4 คน และอาจจะมีนักร้องฝ่ายชาย 1 คน และฝ่ายหญิง 1 คน ซึ่งถ้าฝีมือคนเล่นซอมีความสามารถเป็นพิเศษ บรรเลงได้ไพเราะก็จะได้รับความนิยมเช่นเดียวกัน ถือว่าครบชุดเป็นวงดนตรีพื้นเมืองได้
การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสาน มักจะประดิษฐ์ขึ้นให้สอดคล้องกับธรรมชาติของเสียง ในการบรรเลงที่มีเสียงต่ำ ก็จะใช้ซออู้แทน เพื่อให้คล้ายคลึงกับเสียงผู้เฒ่า ใช้ซอด้วงแทนเสียงหนุ่มสาว ซออี้ แทนเสียงธรรมชาติ เช่น สายลมพัดพลิ้ว
บรรเลงซอกันตรึมซิ่ง โดย อาจารย์กิ่ง ไพโรจน์ซาวด์
ซอกันตรึม เป็นซอ 2 สาย มีช่วงเสียงกลาง มีขนาดเล็กกว่าซออู้ มีคันชักติดอยู่กึ่งกลางระหว่างสายทั้ง 2 ที่เรียกว่า สายเอก และสายทุ้ม กะลามะพร้าวที่นำมาแกะและขึ้นหน้าซอกันตรึมนั้น มักนิยมใช้กะลาชนิดพิเศษ รูปร่างกลม รี ขนาดใหญ่ ตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่ง แล้วใช้หนังแพะ หรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า กว้างประมาณ 9-10 เซนติเมตร เจาะกะโหลกทะลุตรงกลาง ทั้ง 2 ข้าง สอดคันทวนเข้าไปในรูผ่า ทะลุออกมา คันทวนทำด้วยไม้จริง เช่น ไม้ประดู่ ไม้ชิงชัน ขนาดยาวประมาณ 80 เซนติเมตรขึงสายไหมหรือเอ็นที่ปลายลูกบิด 2 เส้น สายเสียงต่ำอยู่ด้านบน สายเสียงสูง (สายเอก) อยู่ด้านล่าง ลูกบิดยาวประมาณ 17-18 เซนติเมตร นำเชือกหรือด้ายป่าน ผูกตรงกึ่งกลางคันทวน เรียกว่า "รัดอก" ที่ด้านหน้าซอ ใช้ไม้ที่มาตัดประมาณ 3 เซนติเมตร เรียกว่า หย่อง
ซอกันตรึม นั้นมีลักษณะออกแนวหวานซึ้ง อ้อยอิ่ง มักใช้เป็นเครื่องดนตรีนำของเพลงต่างๆ สำหรับส่วนประกอบของซอกันตรึมนั้น มีดังนี้
กันตรึมดนตรีวิถีอีสานใต้
หนุ่มสุรินทร์ "อนุชา ทวีเหลือ" ผลิต ซอกันตรึม ขายรายได้ดี
[ อ่านเรื่องที่เกี่ยวข้อง : ซออีสาน ]
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)