foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

kantruem header

"กันตรึม" เป็นรูปแบบของการละเล่นดนตรีพื้นบ้าน ของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา คือ จังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เป็นดนตรีที่ใช้ประกอบการร่ายรำพื้นเมือง ประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีอันเป็นเอกลักษ์คือ ซอ ปี่ สก๊วล (กลองโทนกันตรึม) และใช้คำร้องเป็นภาษาเขมร โดยในยุคหลังๆ จะมีเครื่องดนตรีอีเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่เข้ามาประสมด้วย เช่น กีตาร์ คีย์บอร์ด และกลองชุด บ้างก็ใช้คำร้องเป็นภาษาอีสานเข้าผสมด้วย เพื่อสื่อให้เข้าถึงผู้ฟังในถิ่นอื่นๆ กันตรึมถือเป็นแม่บทของเพลงพื้นบ้าน และการละเล่นพื้นบ้านอื่นๆ ในแถบอีสานใต้

นักร้อง นักดนตรี แนวกันตรึมที่มีชื่อเสียง เช่น เฉลิมพล มาลาคำ, คง มีชัย (หรือ ร็อคคงคย), ดาร์กี้ กันตรึมร็อค, น้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์, เจน สายใจ เป็นต้น

ตามประวัติแต่โบราณนั้นใช้สำหรับการขับร้องประกอบการร่ายรำ บวงสรวง รำคู่ และรำหมู่ ต่อมามีวิวัฒนาการของการเล่น คล้ายกับการเล่นเพลงปฏิพากย์ในภาคกลาง เป็นดนตรีพื้นบ้านทีมีโทน (สก๊วล หรือกลอง) ที่เรียกว่า “กลองกันตรึม” เป็นหลัก เมื่อตีเสียงโทนจะออกเป็นเสียง "โจ๊ะ-คะครึม-ครึม" จึงเรียกดนตรีนี้ว่า กันตรึม หรือ โจ๊ะกันตรึม การเล่นจะเริ่มด้วยบทไหว้ครูเพื่อระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระวิศวกรรม ครูบาอาจารย์ และเริ่มทักทายกัน เล่นได้ทุกโอกาส ไม่กำหนดว่าเป็นงานมงคลหรืออวมงคล กล่าวกันว่า ท่วงทำนองของเพลงกันตรึมมีกว่า 100 ทำนอง บทเพลงจะเกี่ยวกับเรื่องเบ็ดเตล็ด ตั้งแต่เกี้ยวพาราสี โอ้โลม ชมธรรมชาติ แข่งขันปฏิภาณถาม-ตอบปัญหา สู่ขวัญ เล่าเรื่อง ฯลฯ

kantruem 01

กันตรึม เป็นการละเล่นที่มีดนตรีประกอบเป็นตัวนำคำร้อง ถือว่าดนตรีประกอบมีความสำคัญและมีบทบาทมากที่สุด ตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน ส่วนคำร้องเป็นของชาวเขมรสูง (ในทีนี้หมายถึงในสามจังหวัด คือ สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ส่วนชาวเขมรในกัมพูชาจะเรียกว่า เขมรต่ำ) จากการสืบประวัติการเล่นกันตรึมไม่ค่อยได้รายละเอียดมากนัก ทราบแต่เพียงว่า การเล่นแบบนี้ได้รับการถ่ายทอดมาแต่ขอม แต่เดิมการเล่นใช้ สำหรับประกอบการบวงสรวง เวลามีการทรงเจ้าเข้าผี หรืองานพิธีกรรม ก็ใช้ดนตรีกันตรึมบรรเลงกันเป็นพื้นบ้าน ซึ่งต่างกันในจังหวะ ลีลา จะแตกต่างกันไปตามพิธีแต่ละงาน กล่าวคือ งานแต่งงานก็บรรเลงอย่างหนึ่ง งานศพอย่างหนึ่ง และเครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงก็ต้องให้เหมาะสมกับงาน แต่ถ้าเป็นงานศพก็มักจะใช้ปี่อ้อ (แป็ยออ) มาบรรเลง แต่ถ้าเป็นงานแต่งงานมักใช้ปี่เตรียงหรือ ปี่เญ็นแทนปี่อ้อ เป็นต้น

รายการที่นี่บ้านเรา ThaiPBS : จังหวะกันตรึม

ปัจจุบัน "กันตรึม" มีการสืบทอดแบบมุขปาฐะ (Oral Tradition) ไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จึงทำให้ปัจจุบันหลงเหลืออยู่น้อย ใช้เป็นการละเล่นเพื่อความบันเทิงโดยทั่วไป มีการสืบทอดตามแบบการละเล่นพื้นบ้านแบบรุ่นสู่รุ่น คือ เมื่อผู้เล่นกันตรึมคณะเดิมชราภาพ หรือย้ายถิ่นที่อยู่ ก็จะถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจเพื่อสานต่อกันไป ปัจจุบันคณะกันตรึมบางคณะที่ยังเล่นอยู่ก็มีแบบการรำที่ไม่แน่นอน เนื่องจากกันตรึมไม่เน้นทางด้านการรำ แต่จะเน้นที่ความไพเราะของเสียงของผู้ร้อง และความสนุกสนานของท่วงทำนองเพลงกันตรึมที่มีหลากหลายมากกว่า กอร์ปกับมีรูปแบบใหม่ที่นำเอาเครื่องดนตรีตะวันตกในรูปแบบสตริงมาผสม เรียกใหม่ว่า "กันตรึมร็อค" มีรูปแบบบรรเลงเพลงอย่างลูกทุ่ง มีหางเครื่องนุ่งน้อยห่มน้อยมาเสริม ก็ยิ่งทำให้ "กันตรึม" ต้นฉบับดั้งเดิมค่อยๆ เลือนหายไปเพราะขาดความสนุกสนาน

ในประเทศกัมพูชาไม่พบว่ามี วงดนตรีกันตรึม แต่มีวงดนตรีที่บรรเลงอย่างใกล้เคียงกับกันตรึม เรียกว่า เพลงอาเรียะ หรือเพลงอารักษ์ (ចម្រៀង អារ៉ាក់ or Phleng Arak) ในพิธีเลี้ยงผีและแก้บน เป็นการเข้าทรงรุกขเทวดาประจำหมู่บ้าน การนี้จะมีวงดนตรีประกอบเรียกอย่างชาวบ้านว่า อารักษ์ มีท่วงทำนองคล้ายกับกันตรึมมาก แต่เครื่องดนตรีที่ใช้ต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่จะมีลักษณะง่ายๆ น้อยชิ้น เช่น ปี่สไล ซอ กับกลอง เป็นหลัก ปัจจุบันพบว่ายังมีการเล่นอยู่ในเขตนอกเมืองเสียมเรียบ

เครื่องดนตรี

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการเล่นกันตรึม ดั้งเดืมมีเครื่องดนตรีหลักอยู่ 3 ชนิด คือ ปีอ้อ ตรัว (ซอ) และสก๊วล (กลอง) โดยในการบรรเลงนั้น ปี่อ้อจะทำหน้าที่ประธาน เป็นหลักในการเทียบเสียงและบรรเลง มีตรัว (ซอ) ทำหน้าที่เดินทำนอง และสก๊วล (โทน) คุมจังหวะ ไม่มีฉิ่งและฉาบเล็ก ที่ถูกนำมาช่วยกำกับจังหวะในภายหลัง ยุคปัจจุบันวงกันตรึมส่วนใหญ่จะใช้เครื่องดนตรี ประกอบด้วย กลองกันตรึม (สก็วล) 2 ลูก ซอ (ตรัวเอก) 1 คัน ปี่อ้อ 1 เลา ขลุ่ย 1 เลา ฉิ่ง กรับ และฉาบ อย่างละ 1 คู่ แต่ถ้ามีเครื่องดนตรีไม่ครบก็อาจจะอนุโลมใช้เครื่องดนตรีเพียง 4 อย่าง คือ กลองกันตรึม 1 ลูก ซอ 1 คัน ฉิ่ง และฉาบ อย่างละ 1 คู่ ในปัจจุบัน วงกันตรึมบางคณะได้นำเอาเครื่องดนตรีสากลมาใช้ เช่น กลองชุด กีตาร์ และไวโอลิน เพื่อปรับให้เข้ากับยุคสมัยนิยมของผู้ชม

kantruem 02

การแต่งกายและการเล่น

การแต่งกายทั้งของนักดนตรีและนักร้องชายหญิง ของวงดนตรีพื้นบ้านแบบกันตึมนั้น ไม่มีแบบแผนกฎเกณฑ์ที่แน่นอน จะแตกต่างตามความสะดวกสบาย ทันสมัยและถูกใจผู้ชม เช่น ผู้หญิงนุ่งผ้าซิ่นไหมพื้นเมือง (ซำป๊วด) ซึ่งเป็นผ้าไหมพื้นเมืองขึ้นชื่อ เช่น ผ้าโฮล ผ้าอัมปรม ผ้าสาคู เสื้อแขนกระบอก จะมีผ้าสไบเฉียงห่มทับก็ได้หรือไม่มีก็ได้ ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมแขนสั้น สวมเครื่องประดับเงิน ที่เรียกว่า ปะเกือม (ปะคำ) นำมาร้อยเป็นสร้อยหรือต่างหู มีผ้าไหมคาดเอว และมีผ้าขาวม้าไหมพาดไหล่ทั้งสองข้าง โดยชายผ้าทั้งสองจะห้อยอยู่ทางด้านหลังทั้งสองชาย

ส่วนการแต่งกายตามสมัยนิยมปัจจุบัน ทั้งชายและหญิงจะแต่งชุดสากลหรือชุดสุภาพทั่วไป โดยผู้ชายสวมกางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ผูกเนคไท สวมร้องเท้าถุงเท้าครบชุด ผู้หญิงสวมชุดติดกัน หรือชุดคนละท่อน เสื้อตัวหนึ่ง กระโปรงตัวหนึ่ง คาดเข็มขัด กระโปรงยาวครึ่งน่อง สวมรองเท้าส้นสูง ทั้งนี้การแต่งกายนักดนตรีและนักร้องหญิงชายไม่มีแบบแผนเป็นกฎเกณฑ์ นิยมแต่งตามสะดวกสบาย ทันสมัยและถูกใจผู้ชทในยุคสมัยนั้นๆ

เวทีการแสดง

การเล่นดนตรีพื้นบ้านกันตรึม แต่เดิมไม่มีเวที เจ้าภาพในงานจะจัดให้มีที่นั่งให้วงกันตรึมบรรเลงบนบ้าน หรือหาที่บนศาลา โดยมีแขกห้อมล้อมฟังอยู่รอบๆ ข้าง แต่ในสมัยต่อมามีการปลูกโรงเรือน หรือยกเวทีสูง ไม่มีฝาปล่อยโล่งทั้ง 4 ด้าน ผู้ชมจะสามารถดูได้รอบเวที นักดนตรีนั่งเป็นวงที่พื้นเวทีค่อนไปทางด้านหลัง นักร้องจะยืนอยู่ด้านหน้า หรือด้านข้างวง ร้องและรำประกอบทำนอง สลับกันชาย-หญิงเป็นคู่ๆ หรือชายหนึ่งคนร้องโต้ตอบกับนักร้องหญิงสองคน แล้วแต่เนื้อและทำนองที่นักดนตรีสีซอขึ้นทำนองเพลง

kantruem 04

หากเป็นการบรรเลงประกอบการแสดงบนเวที จะมีที่นั่งบนตั่งหรือเก้าอี้ตามแต่เจ้าภาพจะจัดหาให้ อยู่ตรงกลางหรือด้านข้างเวทีตามความเหมาะสมสวยงาม ครั้นในยุคปัจจุบันนี้ มีการใช้ระบบไฟ แสง เสียงสี สวยงาม ก็จะมีเวทีเฉพาะให้แสดงได้สะดวก ยกเวทีขึ้นสูงให้มองเห็นในระยะไกลได้ แยกส่วนนักดนตรี นักร้อง และผู้รำ (หางเครื่องประกอบ) เป็นสัดส่วน เน้นให้ผู้ชมชมการแสดงทางด้านหน้าเวทีเป็นหลัก

การเล่นกันตรึม ใช้ผู้เล่นประมาณ 6-8 คน ผู้ร้องเป็นชายและหญิง อาจจะมี 1-2 คู่ หรือชาย 1 คน หญิง 2-3 คน แต่โดยทั่วไปนิยมให้มีชาย 2 คน หญิง 2 คน การเล่นกันตรึมจะเล่นในโอกาสต่างๆ ทั้งในโอกาสเฉลิมฉลอง งานมงคล เช่น งานแต่งงาน งานโกนจุก งานบวชนาค เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ และลอยกระทง เป็นต้น หรืองานอวมงคล เช่น งานศพ นอกจากนี้ยังใช้เล่นในพิธีกรรมเกี่ยวกับความเชื่อพื้นบ้าน

วิธีการเล่นกันตรึม

วงกันตรึมจะเล่นที่ไหน ก่อนเริ่มการแสดงจะต้องมีพิธีไหว้ครูเพื่อเป็นสิริมงคล ทั้งผู้ดูและผู้เล่น เมื่อไหว้ครูเสร็จก็จะเริ่มบรรเลงเพลง เป็นการโหมโรงเพื่อปลุกใจให้ผู้ดูรู้สึกตื่นเต้น และผู้แสดงก็จะได้เตรียมตัว จากนั้นจะเริ่มแสดง โดยเริ่มบทไหว้ครูตามธรรมเนียมโบราณดั้งเดิม วิธีการร้องจะขับร้องโต้ตอบกันระหว่างชาย หญิง มีการรำประกอบการร้อง ไม่ต้องใช้ลูกคู่ช่วยร้องรับบทเพลง

บทเพลงกันตรึมไม่มีเนื้อร้องเป็นการเฉพาะ แต่มักคิดคำกลอนให้เหมาะสมกับงานที่เล่น หรือใช้บทร้องเก่าๆ ที่จดจำสืบต่อกันมามีประมาณ 200 กว่าทำนองเพลง ไม่มีใครสามารถจดจำได้ทั้งหมด เพราะไม่มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร มีเพียงการจดจำบอกต่อๆ กันมาเท่านั้น

kantruem 03

การแบ่งประเภทบทเพลงกันตรึม

  1. บทเพลงชั้นสูงหรือเพลงครู จัดเป็นเพลงที่มีความไพเราะ แสดงถึงความศักดิ์สิทธิ์ รำลึกถึงครูอาจารย์ เป็นเพลงสูงชั้นครูใช้บรรเลงนำก่อนบทเพลงอื่นๆ อันมีท่วงทำนองส่วนใหญ่เป็นทำนองที่ช้า โหยหวนใช้เป็นเพลงเริ่มฝึกหัด ได้แก่ สวายจุมเวือด แซร็ยประเซอร แซร็ยสะเตือร ละลืย ร่ำเป็อย–จองได มโหรี เป็นต้น
  2. บทเพลงสำหรับขบวนแห่ ใช้บรรเลงในขบวนแห่จต่างๆ เป็นเพลงที่มีท่วงทำนองจังหวะที่สนุกสนาน ครึกครื้น มีการฟ้อนรำประกอบการขับร้อง มีหลายทำนอง ใช้ในงานมงคล มีความเร็วปานกลาง ได้แก่ ซมโปงเซาะทม รำพาย ตร็อบตุม อันซองซเนญนบ กะเปือมเปง ปรีอีเกิด เกาะกรอก ออกยุม พนมซรุจ (ซร็วจ)  เป็นต้น
  3. บทเพลงเบ็ดเตล็ดต่างๆ เป็นบทเพลงที่มีทำนองจังหวะลีลารวดเร็ว เร่งเร้า ให้ความสนุกสนาน มักใช้บรรเลงบนเวทีการแสดง ใช้เป็นบทขับร้องในโอกาสทั่วๆ ไป เช่น เกี้ยวพาราสี สั่งสอน สู่ขวัญ และรำพึงรำพัน เป็นต้น ทำนองเพลงจะมีหลายทำนอง เช่น จองนารี กัญจัญเจก ตำแร็ยยูลได นอรแกล คเมาแม (เขมาแม) อมตูก กัจปกาซาปาดาน กันเตรยโมเวยงูดตึก กะโน้ปติงต้อง และมลบโดง ฯลณ กลุ่มอายัย เช่น อาไยลำแบ อาไยพิมพวง อาไยสาระยัง อาไยกลาย อาไยจ๊ะ
  4. บทเพลงประยุกต์ (ปัจจุบันเป็นการแสดง) ใช้ประกอบการละเล่นทั่วๆ ไป เช่น เรือม (รำ) กระโน้บติงตอง ใช้เพลงกระโน้บติงตอง (ที่สะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ใกล้ชิดธรรมชาติ ลีลาท่าทางเลียนแบบท่าของตั๊กแตน) เรือมอายัย ใช้เพลงแซร็ยสะเตือร เพลียง ปันแซร กาบเป มลบโดง อันซองชแนญนบ ตำแร็ยยูลได แล้วจบด้วยเพลง กัตปกา และซาปดาน หรือพิธีบายศรี ใช้เพลง มงก็วลจองได ใช้ประกอบการละเล่นเรือนกันตรึม รวมทั้งเป็นบทเพลงที่ใช้ทำนองเพลงลูกทุ่งสมัยใหม่ เข้ามาประยุกต์เป็นทำนองเพลงกันตรึม เช่น ดิสโก้กันตรึม สัญญาประยุกต์ และเตียแขมประยุกต์ เป็นต้น

 รายการพันแสงรุ้ง ตอน กันตรึม ดนตรีแห่งชีวิต

กันตรึมประยุกต์ร่วมสมัย

วงดนตรีกันตรึม ก็มีวงจรและพัฒนาการเช่นเดียวกับดนตรีพื้นบ้านอื่นๆ ที่ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย เพื่อให้คนยุคใหม่รับได้กับวัฒนธรรมของบรรพบุรุษ สืบสานให้คงอยู่ได้ด้วยการพัฒนาให้ร่วมสมัยมากขึ้น นำเอาดนตรีกันตรึมไปผสมผสานกับเครื่องดนตรีตะวันตกเพื่อให้มีจังหวะที่กระชับ เร้าใจ มีกลิ่นอายที่ทันสมัยมากขึ้น ผู้ที่บุกเบิกคนแรกคือ สมชาย คงสุขดี หรือ ดาร์กี้ กันตรึมร็อค ที่มีสายเลือดกันตรึมมาจากพ่อ-แม่ ที่เป็นบรมครูเพลงเจรียงและเพลงกันตรึมของเมืองสุรินทร์ ด้วยการนำเครื่องดนตรีฝรั่ง นำจังหวะเพลงตะวันตกมาใช้ แต่ทำนอง-คำร้องเป็นของกันตรึมทั้งหมด เนื้อหาจะประยุกต์ของดั้งเดิม มีทั้งเนื้อหาที่แต่งขึ้นมาใหม่ แต่ทำนองจังหวะยังยืนทางเก่าไว้อยู่ จะผสมเครื่องดนตรีฝรั่ง เช่น กลองชุด กีต้าร์ เบส แต่เครื่องดนตรีของเก่าจะขาดไม่ได้เป็นอันขาด คือ “ซอ” และ "ปี่อ้อ" ที่นับวันจะหาคนสืบสานได้ยากแล้ว และผลงานเพลงชุด “เปิดกรุอีสานใต้” เป็นผลงานที่ทำให้คนรู้จักศิลปินชื่อ "ดาร์กี้" เป็นอย่างดี เพลงชุดนี้ได้ดังระเบิดเถิดเทิงไปทั่วภาคอีสาน อย่างไม่เคยมีกันตรึมประยุกต์คณะใดเคยได้รับมาก่อน และอีกหลายๆ ผลงานเพลงต่อมาหลังจากนั้นไม่นาน

รายการพันแสงรุ้ง ตอน กันตรึมประยุกษ์

แล้วก็มีคณะอื่นๆ ประยุกต์กันตรึมเดิมให้มีความทันสมัยมากขึ้นติดตามมาอีก เช่น คณะกันตรึมน้ำผึ้ง เมืองสุรินทร์ คณะกันตรึมสมานชัย คณะก้องสุรินทร์ คณะกันตรึมยอดรัก โคกนาสาม คณะกันตรึมร็อคคงคย ล้วนเป็นวงกันตรึมยุคหลังที่ได้รับความนิยมมาก เพราะมีจังหวะที่รวดเร็ว สนุกสนาน มีการแสดงที่หลากหลายดึงดูดผู้ชมได้ดี นอกจากนั้น ยังมีการเพิ่มคำร้องจากที่เป็นภาษาเขมร มาเป็นภาษาไทยที่เยาวชนยุคใหม่รับได้รวดเร็วมากกว่า เช่น เพลงเจรียง "ยิ่งยงสอนน้อง" ของ ยิ่งยง ยอดบัวงาม มีนักร้องเพลงกันตรึมที่ได้รับความนิยมไม่เฉพาะในเขตอีสานใต้ แต่โด่งดังไปยังประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เอาชนะนักร้องท้องถิ่น และมีชื่อเสียงไปถึงอเมริกา แคนาดา ที่มีคนเขมรอพยพไปอาศัยอยู่ นั่นคือนักร้องหญิงจากจังหวัดสุรินทร์ที่ชื่อ เจน สายใจ

kantruem 05

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)