foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

heet m 01

บุญเดือนอ้าย

ฮีหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญ (บาปเข็ญ คือ สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล) สิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว "

บุญเข้ากรรม ภิกษุต้องอาบัติ สังฆาทิเสส ต้องอยู่กรรมถึงจะพ้นอาบัติ ญาติโยมแม่ออกแม่ตน ผู้อยากได้บุญกุศลก็จะให้ไปทานรักษาศีลฟังธรรม เกี่ยวกับการเข้ากรรมของภิกษุ เรียกว่า บุญเข้ากรรม กำหนดเอาเดือนเจียงเป็นเวลาทำ จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ วันที่นิยม ทำเป็นส่วนมากคือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เพราะเหตุกำหนดให้ทำในระหว่างเดือนเจียงจึง เรียกว่า บุญเดือนเจียง นิมนต์สังฆเจ้าเข้ากรรมฯ ชาวบ้านเลี้ยงผีแถนและผีต่างๆ

ดังคำกล่าวที่ว่า

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนเจียง เข้ากลายมาแถมถ่ายฝูงหมู่สังฆเจ้า ก็เตรียมเข้าอยู่กรรมมันหาธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญ (บาปเข็ญ คือ สิ่งที่ไม่ดีไม่งาม ความชั่วร้าย ไม่เป็นมงคล) สิข่องแล่นนำ แท้แหล่ว "

บุญเข้ากรรม เป็นเดือนที่พระสงฆ์เข้ากรรม (ปริวาสกรรม) เพื่อให้พระสงฆ์ผู้กระทำผิด คือพระสงฆ์ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ข้อใดข้อหนึ่งแล้ว บอกพระสงฆ์ด้วยกันให้ทราบไว้ ได้สารภาพต่อหน้าคณะสงฆ์ เป็นการฝึกจิตสำนึกถึงความบกพร่องของตน และมุ่งประพฤติตนให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยต่อไป

อาบัติสังฆาทิเสส ของสงฆ์ มีอยู่ 13 ข้อ ได้แก่

  1. ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
  2. เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
  3. พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
  4. การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
  5. ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือ แม้แต่หญิงขายบริการ
  6. สร้างกุฏิด้วยการขอ
  7. สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
  8. แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
  9. แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
  10. ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
  11. เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
  12. เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
  13. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

ถือเป็นครุกาบัติ (โทษหนัก) แต่แก้ไขได้โดยคณะสงฆ์ คือ จะปลงอาบัติกับภิกษุเพียงรูปใดรูปหนึ่งไม่ได้ ต้องอาศัยสงฆ์ในการประพฤติเพื่อการออกจากอาบัตินั้น เช่น การให้ปริวาส ให้มานัต ต้องอาศัยสงฆ์อย่างน้อย 4 รูปขึ้นไป แต่ถ้า "การอัพภาน" คือ การเรียกเข้าหมู่เป็นผู้พ้นจากอาบัติหนัก และเป็นผู้บริสุทธิ์ ต้องอาศัยพระสงฆ์ 20 รูปขึ้นไป

ด้านฆราวาสก็จะมีการทำบุญเลี้ยงผีต่างๆ บุญเข้ากรรมนิยมทำกันในเดือนอ้าย (เดือนเจียง) จะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้ ซึ่งเป็นฤดูหนาว บุญเข้ากรรมคือ พิธีทำบุญโดยให้พระภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส (อาบัติ หนักรองจากปาราชิก) คือพิธีเข้ากรรม การเข้ากรรมจัดทำโดยพระสงฆ์พระสงฆ์เข้าไปอยู่ในเขตหรือที่จำกัด เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรมหรือพ้นจากอาบัติที่ได้กระทำ และเป็นการชำระจิตใจให้หายจากความมัวหมองด้วย บางแห่งถือว่าเมื่อบวชแล้วจะแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรม (อยู่ไฟหลังคลอด) เพราะมารดาท่านเคยอยู่กรรมมาแล้ว

boon kao kaam 01

โดยมากงานบุญในเดือนอ้ายนี้มักจะเป็นพิธีกรรมทางสงฆ์เสียมากกว่า ผู้คนมีความเชื่อกันว่า หากทำบุญแด่พระสงฆ์ในช่วงที่ท่านเข้ากรรมจะได้อานิสสงฆ์สูง เพราะในยามที่พระสงฆ์เข้ากรรมถือเป็นช่วงที่เคร่งวินัยและบริสุทธิ์มากที่สุด การเข้ากรรมของพระสงฆ์ก็เปรียบได้กับการอยู่กรรมของแม่ลูกอ่อน หรือหญิงที่พึ่งจะคลอดลูกใหม่ที่จะต้องอยู่กรรม ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมคือจะต้องรู้จักคะลำ ทั้งเรื่องการกินและกิจวัตร ทั้งนี้เพื่อให้เกิความปลอดภัยทั้งแม่และลูก

ส่วนการเข้ากรรมของพระภิกษุสงฆ์นั้น เป็นเรื่องที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่โบราณกาล เป็นการทำเพื่อให้พระที่ต้องอาบัติที่หนักรองลงมาจากปราชิก ทำพิธีวุฏฐานพิธี ซึ่งเป็นระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัติ อันเป็นพิธีกรรมที่ทำให้จิตใจไม่หมองมัว หรืออีกนัยหนึ่งก็เพื่อระลึกถึงการกระทำอันเป็นบาปที่ทำมาตลอดเข้าพรรษา หรือตั้งแต่กำเนิด บ้างก็ว่า การคร่ำเคร่งในการเข้ากรรมของพระสงฆ์ เพื่อเป็นการทดแทนการอยู่กรรมของมารดาที่แสนจะทรมาน

มีตำนานเล่าสืบกันมาว่า "ในสมัยพุทธกาล ในช่วงที่พระภิกษุสงฆ์จะเข้าปริวาสกรรม มีพระสงฆ์รูปหนึ่ง ล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคา ได้เอามือไปจับใบตะไคร่น้ำขาดเพียงเล็กน้อย การทำลายชีวิตในครั้งนั้นเข้าใจว่าเป็นเพียงบาปเล็กน้อย เป็นอาบัติอย่างเบา จึงไม่แสดงอาบัติ

แต่เหตุในครั้งนั้นก็ยังคงค้างคาอยู่ในใจของภิกษุรูปนั้นอยู่เสมอ ตลอดระยะเวลาในช่วงเวลาที่ปฏิบัติธรรมในป่าและคงอยู่เป็นเวลานาน แต่เมื่ออยากแสดงอาบัติในการทำใบตะไคร่น้ำขาดในครั้งนั้นก็ไม่มีภิกษุรูปใดรับฟัง เมื่อภิกษุรูปนี้ได้มรณภาพลง บาปกรรมก็ยังติดตัวไปยังภพใหม่ด้วย" จะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงแล้วช่วงระยะเวลาการเข้ากรรมของพระสงฆ์นั้น เป็นช่วงที่ท่านแสดงซึ่งอาบัติที่เคยกระทำมา และยอมรับในการทำผิดนั้น มิได้บริสุทธิ์กว่ากาลที่ผ่านมา แต่เป็นความศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ในปัจจุบัน ชาวอีสานก็ยังให้ความสำคัญกับงานบุญในเดือนเจียงนี้อยู่ แม้จะมีจำนวนลดน้อยลงบ้างตามกาลเวลา

boon kao kaam 02

พิธีกรรมที่ทำส่วนใหญ่ก็จะทำขึ้น เพื่อให้คนในชุมชนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันสร้างความสมัคสมานสามัคคี และหล่อหลอมให้เป็นคนรู้จักสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโสในชุมชน รู้จักการแยกแยะรู้จักการให้อภัยแก่กัน ก็คือให้คนในชุมชนอยู่ด้วยการอย่างมีคุณธรรมไม่โลภ โกรธ หลง ต่างคนต่างพึ่งพาอาศัยกัน ไม่ถือชั้นวรรณะ และเป็นการสืบทอดศิลปะขนบธรรมเนียมประเพณีต่างให้สังคมเกิดความเป็นสุข นั่นคือจุดประสงค์ที่ยิ่งใหญ่ของประเพณีพิธีกรรมของชาวอีสาน ซึ่งเป็นความสำคัญและงดงามมากในอดีตกาล

ขั้นตอนในการปฏิบัติ

สถานที่ สถานที่สำหรับเข้ากรรมนั้น จะต้องเป็นสถานที่เงียบไม่พลุกพล่าน อาจเป็นบริเวณวัดตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ มีกุฏิหรือกระต๊อบชั่วคราวเป็นหลังๆ สำหรับพระภิกษุอยู่อาศัยระหว่างเข้ากรรมตามลำพังผู้เดียว ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ดอนปู่ตาของหมู่บ้าน จำนวนพระพระสงฆ์เข้ากรรมคราวหนึ่งๆ มีจำนวนเท่าใดก็ได้ ก่อนจะเข้ากรรม พระภิกษุรูปใดต้องอาบัติแล้วต้องบอกพระภิกษุสงฆ์จำนวน 4 รูปให้รับทราบไว้ก่อน ได้เวลาแล้วจึงเข้ากรรม

พิธีกรรม ในหนังสือวินัยมุขกล่าวว่า พระสงฆ์ผู้เข้ากรรมต้องประพฤติมานัตต์ แปลว่า "นับราตรี" ครบหกราตรี แล้วสงฆ์จึงจะสวดระงับอาบัติเรียกว่า "อัพภาน" แปลว่า "เรียกเข้าหมู่" แต่พระต้องอาบัติแล้วปกปิดไว้ล่วงเลยนานวันเท่าใดต้องอยู่ปริวาส ซึ่งแปลว่า "อยู่ใช้ให้ครบวันเท่านั้น" ก่อนจึงควรประพฤติมานัตต์ได้ต่อไป ถ้าในระหว่างอยู่ปริวาสต้องครุกาบัติอีก จะต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตต์ใหม่ เรียกว่า "ปฏิกัสสนา" แปลว่า กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม สำหรับประเพณีนิยมกันในภาคอีสานเกี่ยวกับการเข้ากรรมนี้ปกติอยู่ เก้าราตรี คือ ตอนสามราตรีแรกเรียกว่า "อยู่ปริวาส"

boon kao kaam 03

เมื่อจะเข้าปริวาสให้กล่าวคำสมาทานต่อสงฆ์ โดยกราบพระภิกษุผู้แก่พรรษากว่า ซึ่งสามารถสวดให้ปริวาสได้รูปหนึ่งว่า “ปริวาสัง สมาทิยามิ หรือ วัตตัง สมาธิยามิ” 3 หนก็ได ้และถ้าไม่อาจอยู่ปริวาสต่อไปได้จะเก็บปริวาสก็กล่าวว่า ”ปริวาสัง นิกขิปามิ หรือวัตตังนิกขิปามิ” 3 หน ต่อหน้าพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง และตอนหกราตรีต่อมาเรียกว่า “อยู่มานัตต์” ซึ่งมีคาถาสวดเพื่อเข้ามานัตต์ต่อหน้าสงฆ์ โดยกราบพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งผู้แก่พรรษา ซึ่งสามารถสวดให้มานัตต์ได้ โดยกล่าวขอสมาทานมานัตต์ก่อน แล้วจึงสมาทานวัตตังดังนี้ “มานัตตัง สมาทิยามิ วัตตังสมาทิยามิ” 3 หน แล้วประพฤติให้ครบหกราตรี

แต่ถ้ามีเหตุอันจำเป็นต้องพักเก็บมานัต จะกล่าวคำเก็บมานัตต่อหน้าพระภิกษุผู้แก่พรรษาโดยว่าวัตต์ก่อนแล้วจึงว่าเก็บมานัตต์ ดังนี้ “วัตตัง นิกขิปามิ มานัตตัง นิกขิปามิ” 3 หน ถ้าต้องการเข้ามานัตต์ต่ออีก ก็ขอสมาทานมานัตต์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเข้ากรรมครบกำหนดคืออยู่มานัตต์ครบหกราตรีแล้ว จึงอัพภาน คือออกจากรรมได้แก่การออกจากอาบัติสังฆาทิเสสหรืออาบัติหนักขนาดกลาง (ครุกาบัติ)

ระหว่างเข้ากรรม การสารภาพความผิดต้องมีพระสงฆ์ 4 รูป เป็นผู้รับรู้ ส่วนการออกจากกรรม ต้องมีพระสงฆ์ 20 รูป ให้อัพภาน ในจำนวนนี้จะนับพระภิกษุผู้กำลังประพฤติวุฏฐานวิธีเข้าด้วยไม่ได้ การรับพระภิกษุผู้ต้องอาบัติหนักและได้ถูกทำโทษ คือ อยู่ปริวาสหรือมานัตต์ แล้วให้กลับเป็นผู้บริสุทธิ์โดยพระสงฆ์สวดระงับอาบัตินี้เรียกว่า “สวดอัพภาน” ภิกษุที่ออกจากกรรมแล้วถือว่าเป็นผู้หมดมลทิน เป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง

boon kao kaam 04

สำหรับชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับพิธีบุญเข้ากรรม จะต้องเป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์ด้วยจตุปัจจัยแด่พระภิกษุสงฆ์ตลอดเวลาที่เข้ากรรม และในวันที่พระภิกษุออกจากกรรมจะต้องมีการทำบุญให้ทานเช่น มีการตักบาตร ถวายภัตตาหาร และฟังเทศน์ เป็นต้น คฤหัสถ์ผู้ใดได้ทำบุญแด่พระภิกษุสงฆ์ในบุญเข้ากรรม ถือว่าได้กุศลหรืออานิสงส์แรงมาก บุญเข้ากรรมในปัจจุบันมักจะมีจัดทำเฉพาะบางตำบลหมู่บ้านที่ชาวบ้านยึดมั่นในประเพณีดั้งเดิมจริงๆ เท่านั้น

ในปัจจุบันนี้ บุญเข้ากรรม หรือ เข้าปริวาสกรรม นี้ มีวัตถุประสงค์ที่ผิดแผกไปจากในอดีต เป็นการเชิญชวนผู้คนให้เข้าไปทำบุญมากมาย เพื่อแสวงหาทรัพย์ให้วัดหรือสำนักสงฆ์ โดยอ้างว่าจะได้บุญมากกว่าปกติ เพราะพระที่มาร่วมพิธีมีความขลัง จะเป็นไปได้อย่างไรกัน ก็ในเมื่อพระที่มาเข้ากรรมนั้นจริงๆ แล้วคือ "พระที่ทุศีล" มาปลงอาบัติเพื่อให้หมู่คณะให้อภัยรับเข้ากลุ่มใหม่ (ฟอกขาว) ก็โปรดพิจารณากันนะครับ เดี๋ยวนี้พุทธพาณิชย์มันเยอะจนไกลไปจากแก่นของหลักพุทธศาสนา เหลือแต่กระพี้ประโลมโลก

รายการ "ร้อยเรื่องเมืองไทย" ตอน "บุญเข้ากรรม"

คติไทยเดือนอ้ายหรือเดือนเจียงของชาวอีสาน นอกจากจะมีประเพณีการทำบุญเข้ากรรมของพระสงฆ์แล้ว ยังมีประเพณีเส็งกลอง (แข่งขันตีกลอง) ทำบุญดอกผ้า ประเพณีนวดข้าว เป็นต้น

 

redline

backled1 

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)