foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

art local people

bampen na ubon 01นายบำเพ็ญ ณ อุบล

นายบำเพ็ญ ณ อุบล เป็นบุคคลสำคัญของชาวจังหวัดอุบลราชธานี ท่านเป็นผู้อนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของเมืองอุบลราซธานี เป็นหนึ่งผู้อาวุโสที่ชาวอุบลราซธานีรักและศรัทธา เป็นต้นแบบและแบบอย่างที่ดีของการเป็นผู้รักถิ่นฐานบ้านเกิด ภาคภูมิใจในกำเนิดของตน มีผลงานด้านการอนุรักษ์และสืบสานเกี่ยวกับจารีตประเพณี พิธีกรรม และขบบธรรมเนียมของอีสานอย่างจริงจัง จนได้รับการยกย่องเป็น “ปราชญ์เมืองอุบล”

หากจะนับลำดับญาติกันแล้ว ผู้เขียนต้องเรียกท่านว่า "คุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล" เพราะท่านเป็นญาติฝ่ายแม่ยายของผู้เขียน โดย แม่เกษา ธานี (แม่ยายผม) ท่านเรียก คุณตาบำเพ็ญ ว่า พี่ชาย ส่วนจะเป็นญาติโยงกันตรงไหนนั้น แม่ยายเคยเล่าให้ฟังว่า ได้รับการเลี้ยงดูให้เล่าเรียนหนังสืออยู่ในคุ้มบ้านเดียวกัน แต่ผมก็ลืมไปหมดแล้ว ผมเคยได้รับใช้ท่านหลายครั้งในการขับรถรับ-ส่งท่าน เพื่อไปร่วมกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งในพิธีกรรมเลี้ยงบรรพบุรุษของเมืองอุบลฯ

คุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล (ท้าวดอกหมาก) หรือบางคนเรียกท่านว่า ท่านอัยการบำเพ็ญ เกิดเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2469 ณ บ้านคุ้มหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของ นายปราง (ท้าวบุญมุง) และนางพริก ณ อุบล (สกุลเดิม ทองพิทักษ์) นับว่าเป็นผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลเจ้านายเมืองอุบลโดยตรง ในวัยเด็กท่านได้ใกล้ชิดกับปู่ย่าตายาย ซึ่งเป็นผู้สืบเชื้อสายอาญาสี่ หรือเจ้าเมืองอุบลในอดีต ทำให้ท่านได้ซึมซับรับรู้ประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ของบรรพชนเอาไว้อย่างเต็มเปี่ยม

เมื่ออายุครบเกณฑ์ที่จะเล่าเริยน บิดาไต้นำไปฝากเริยนหนังสือ ก-ข ก-กา กับพระอธิการวัดสด ภู่หนู เจ้าอาวาสวัดหลวง ซึ่งเป็นวัดแห่งแรกของเมืองอุบล จนกระทั่งอ่านออก เขียนได้ บวกเลขได้ บิดาจึงพาไปเข้าเริยนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่วัดบ้านท่าข้องเหล็ก อำเภอวารินชำราบ จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ โรงเรียนวัดศรีทอง แล้วย้ายมาเรียนที่ โรงเรียนเบญจะมะมหาราช จังหวัดอุบลราชธานี ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จนจบชั้นสูงสุด หลังจากนั้นแล้วเข้าศึกษาต่อใน โรงเรียนเตรียมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (รุ่นเฉพาะกิจที่ย้ายมาทำการเรียนการสอนที่อุบลราชธานี เนื่องจากเกิดสงครามโลก ครั้งที่ 2) หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาต่อใน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนจบปริญญาตรีธรรมศาสตรบัณฑิต ใน พ.ศ. 2495 เข้ารับการฝึกอบรมในสำนักอบรมกฎหมายเนติบัณฑิต กระทรวงยุติธรรม สำเร็จเป็น เนติบัณฑิตไทย ในปี พ.ศ. 2506 (สมัยที่ 15)


ประวัติคุณตาบำเพ็ญ ณ อุบล

ขณะเรียนได้ทำงานเป็นเสมียนที่ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ไปด้วย เมื่อเรียนจบปริญญา สอบเนติบัณฑิตยสภาได้แล้ว ย้ายไปรับราชการที่ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง โอนไปเป็น อัยการประจำกรมอัยการ กรุงเทพมหานคร และย้ายไปประจำตามหัวเมืองทางภาคอีสาน เช่น จังหวัดยโสธร อุบลราชธานี นครราชสีมา เกษียณอายุราชการในตำแหน่ง อัยการฎีกา เขต 4 จังหวัดขอนแก่น ปี พ.ศ. 2530 การทำงานในส่วนภูมิภาคทำให้ต้องออกไปสัมผัสและคลุกคลีกับชุมชนนอกตัวเมือง ทำให้เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และการดำรงรักษาขนบธรรมเนียมของชาวอีสาน ที่สืบทอดมาจากปู ย่า ตา ยาย สู่รุ่นลูกหลานไต้อย่างกลมกลืน ท่านได้สมรสกับ นางรัตนา ณ อุบล (สกุลเดิม แต้ศรี) มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน เป็นชาย 2 คนและหญิง 2 คน

bampen na ubon 02
รำดาบในขบวนแห่ "บุญบั้งไฟยโสธร"

เมื่อท่านเกษียณอายุราชการ ท่านได้มืโอกาสทบทวนวิเคราะห์ ศึกษาในเรื่องปรัชญา ศาสนา และประเพณีอีสานอย่างจริงจัง เมื่อค้นพบได้ทำการสอบทาน ถ่ายทอดให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประซาซนผู้สนใจทั่วไป จนได้รับการยกย่องให้เป็น “เจ้าโคตรเมืองอุบล" ไดํใช้ความรู้ความสามารถถ่ายทอด พร้อมทั้งปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการประกอบพิธีต่างๆ ท่านเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการรื้อฟื้นขนบธรรมเนียมประเพณี ฮีตบ้าน คองเมืองต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประเพณีการแห่เทียนพรรษา การเลี้ยงมเหสักข์หลักเมือง บุญบั้งไฟ การทำศพเมรุนกหัสดีลิงค์ การบวงสรวงเจ้าคำผง ซึ่งนับว่าท่านเป็นผู้ทรงภูมิรู้อย่างยิ่ง

bampen na ubon 06
งานเลี้ยงมเหสักข์หลักเมืองอุบลราชธานี "วีรกรรมเจ้าคำผง"

นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้อุตสาหะรวบรวม เก็บรักษาสมบัติคูณเมืองของต้นตระกูล ณ อุบล เอาไว้อย่างหวงแหนรู้ค่า เป็นต้นว่า เครื่องเกียรติยศเจ้าเมือง ผ้าไหมโบราณ (กาบบัว ผ้าดิ้นเงิน ดิ้นทอง) หอก ดาบ ศาตราวุธโบราณ และพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ

ผู้เขียนเองไม่เคยรู้จักท่านมาก่อน ได้ยินแต่ชื่อท่านจากเวทีการสัมมนาทางวิชาการด้านวัฒนธรรม จนวันหนึ่ง แม่ยายชวนผมให้ไปร่วมงานการทำบุญเลี้ยงมเหศักดิ์หลักเมืองของท่าน ที่บ้านพักในอุบลราชธานี (เมื่อ 30 ปีที่แล้ว) ได้พบเห็นสิ่งของมีค่าต่างๆ ที่ท่านได้สะสมไว้ เห็นพิธีกรรมในอดีตที่น่าสนใจที่ท่านพาลูกหลานกระทำเซ่นสรวงบรรพบุรุษ และได้รับใช้ท่านอีกหลายครั้ง (ตอนนั้น ผู้เขียนยังไม่ได้คิดและทำเว็บไซต์ IsanGate แห่งนี้) ก็เลยไม่ได้คิดจะรวบรวมบันทึกเป็นภาพถ่ายเก็บไว้ ท่านเคยอ่านสติกเกอร์ที่ผมตัดติดไว้ที่กระจกหลังรถยนต์ส่วนตัว (www.easyhome.in.th, www.isangate.com, www.krumontree.com) และถามว่า "หมายถึงอะไร" เมื่อท่านได้ทราบความหมาย ก็กล่าวอวยพรให้กับผมว่า "ขอให้สำเร็จรุ่งเรืองไปภายภาคหน้า"

bampen na ubon 03
การบวงสรวงอนุสาวรีย์เจ้าคำผง ขอบคุณภาพจาก GuideUbon.com

มาทราบข่าวอีกที เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 จากแม่ยายของผู้เขียนว่า คุณตาบำเพ็ญ ท่านสิ้นแล้ว รวมอายุได้ 86 ปี

คุณแม่เล่าให้ฟังว่า เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2553 นั้น ได้เกิดเพลิงไหม้ที่บ้านคุณตาบำเพ็ญ เลขที่ 364 ถนนอุทัยรามฤทธ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาสมบัติมีค่าต่างๆ เอาไว้จนสูญสิ้น แม้ตัวท่านจะไม่ได้รับอันตรายใดๆ แต่เพราะความเสียใจที่ไม่สามารถรักษาสมบัติของบรรพบุรุษเอาไว้ได้ ท่านจึงล้มป่วยต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลยโสธร ก่อนที่จะสิ้นท่านเล่าว่า "เห็นเทวดา นางฟ้าปลอมตัวเป็นหมอพยาบาล เอายามาให้กิน เห็นทีครั้งนี้คงจะไม่รอด" และท่านยังได้สั่งเสียเป็นพินัยกรรมเอาไว้ว่า "เมื่อท่านสิ้นให้จัดงานศพสามวัน ไม่ต้องขอพระราชทานเพลิงศพ เถ้ากระดูกนั้นให้เอาไปลอยที่แม่น้ำมูล"

bampen na ubon 05
การบวงสรวงศาลหลักเมืองอุบลราชธานี ขอบคุณภาพจาก GuideUbon.com

บรรดาลูกหลานทั้งหลายจึงโจษจันกันว่า บรรพบุรุษท่านคงมาเอาสิ่งของเครื่องใช้สมบัติโบราณเหล่านี้ไป พร้อมทั้งเอาคุณตาไปเป็นผู้ดูแลในภพหน้าพร้อมกัน แม้สมบัติคูณเมืองทั้งหลายจะจมหายไปกับกองเพลิง แต่ผู้เขียนคิดว่า สิ่งที่ท่านทิ้งไว้นั้น คืออนุสรณ์แห่งความดีงาม องค์ความรู้ภูมิปัญญาที่ท่านถ่ายทอดไว้ ทำให้เกิดความซาบซึ้ง และภาคภูมิใจในฐานะที่เกิดเป็นคนเมืองนักปราชญ์อุบลราชธานี ซึ่งมีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมต่อเนื่องยาวนาน

bampen na ubon 04
การบวงสรวงศาลหลักเมืองอุบลราชธานี ขอบคุณภาพจาก GuideUbon.com

ในฐานะบุตรหลานผู้หนึ่งข้าพเจ้า ขอให้ท่านไปสู่ภพภูมิอันเกษม เป็นมเหสักข์หลักบ้านใจเมือง คุ้มครองลูกหลานชาวอุบล ให้ปักกุ่มชุ่มเย็น ยาวนานเทอญ "

ผลงาน

เป็นนักอนุรักษ์โดยวิญญาณและสายเลือด ความรักซาบซึ้งในความเป็นอีสาน เกิดจากความภาคภูมิใจในตระกูล "ณ อุบล" อันเก่าแก่ของตนซึ่งสืบทอดมาแต่ครั้งพระวอ พระตา และพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (คำผง) บรรพบุรุษผู้สร้างเมืองอุบลฯ ได้เก็บรักษาทรัพย์สินทุกชิ้นที่เป็นมรดกสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นผ้าปูมเก่า หอก ดาบ กาน้ำ แหย่งช้าง วรรณกรรมใบลาน นายบำเพ็ญจะค่อยๆ บรรจงเก็บ ปะ ชุน ซ่อมแซมสิ่งเหล่านี้ให้คงสภาพเดิม ไม่เพียงแต่อนุรักษ์เท่านั้น ท่านยังศึกษาประวัติความเป็นมาของแต่ละสิ่งละอย่าง อย่างละเอียดอีกด้วย มีความสนใจในประวัติศาสตร์โบราณคดี คติชนวิทยาและวรรณกรรมอีสาน นับเป็นบุคคลที่รอบรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอีสานคนหนึ่ง

bampen na ubon 07
อนุสาวรีย์ท้าวคำผง ขอบคุณภาพจาก GuideUbon.com

ผลงานที่สำคัญ คือ การฟื้นฟูประเพณีแห่บั้งไฟของจังหวัดยโสธร จนกลายเป็นประเพณีสำคัญของชาวจังหวัดยโสธร เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการก่อตั้งอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ ของจังหวัดอุบลราชธานี คือ เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวคำผง) เจ้าเมืองอุบลคนแรก เจ้าพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์สิริจันโท (จันทร์) เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (ติสสมหาเถร อ้วน) ให้ความรู้ แนะนำและฟื้นฟูการทำพิธีศพโบราณ เมรุนกหัสดีลิงค์แก่พระเถระชั้นผู้ใหญ่ เป็นผู้มอบสิ่งของที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมจำนวนมากแก่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุบลราชธานี และเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมขนบธรรมเนียมอีสาน ไม่เคยหวงแหน

ตลอดจนเป็น "วิทยากรกฎหมายชาวบ้าน" อย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย และอามิสสินจ้าง สิ่งที่นายบำเพ็ญภูมิใจมาก คือ การได้เป็นผู้ทำหน้าที่พิทักษ์ต่อดวงวิญญาณของเจ้าหน่อกษัตริย์ (เจ้าสร้อยสินสมุทรพุทธางกูร) ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรจำปาศักดิ์ ผู้ถือเป็นมเหศักดิ์ประจำเมืองอุบลราชธานี โดยได้ทำหน้าที่เป็นร่างทรงประทับทรงของเจ้าหน่อกษัตริย์ "เสด็จเจ้าหอคำ" ตามความเชื่อถือของชาวอุบลราชธานีในอดีต ในงานประเพณีที่สำคัญ เช่น งานแห่เทียนเข้าพรรษา พิธีเลี้ยงมเหศักดิ์หลักเมือง

bampen na ubon 08
เมรุนกสักกะไดลิงค์ หรือ นกหัสดีลิงค์

ผลงานหรือเกียรติคุณที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2533 "นักอนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น" จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2535 ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสานสาขา “ประเพณีและพิธีการ พิธีกรรม’’ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม
  • พ.ศ. 2537 “คนดีศรีเมืองยศ’’ จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดยโสธร
  • พ.ศ. 2537 ผู้ชนะการประกวดผ้าประเภทที่ 1 “ผ้าโบราณดีเด่น’’ จากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2537 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • พ.ศ. 2543 ประกาศเกียรติคุณผู้ให้การอนุรักษ์สืบทอดและจรรโลงมรดกศิลปวัฒนธรรมไทย จากกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2544 ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขามนุษย์ศาสตร์ จากสำนักงาน คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2545 ครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 2 ด้านปรัชญา ศาสนาและประเพณี จากสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • พ.ศ. 2548 ได้รับปริญญาศิลปศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

bampen na ubon 09
เมรุนกสักกะไดลิงค์ หรือ นกหัสดีลิงค์

เรื่องเล่า "ผ้ากาบบัวอุบลราชธานี"

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)