foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

heet m 11

บุญเดือนสิบเอ็ด

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วก็เป็นแวทางป่อง เป็นช่องของพระเจ้าเคยเข้าแล้ว อย่าเซา "

หลังจากที่พระสงฆ์ได้จำพรรษามาตลอดระยะเวลา 3 เดือน ก็ถึงช่วงการออกพรรษา วันออกพรรษาจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า "มหาปวารณา" เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย 

พีธีกรรมสำหรับพระสงฆ์

ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เริ่มตั้งแต่เช้ามืด พระสงฆ์ตีระฆังให้รวมกันที่โบสถ์ แสดงอาบัติแล้วทำวัตรเช้า จบแล้วไม่ต้องสวดพระปาฏิโมกทำปวารณาแทน การทำปวารณา คือ ให้โอกาสว่ากล่าวตักเตือนกัน ก่อนจะทำปวารณาให้ตั้งญัตติก่อน จะปวารณา 1 – 2 หรือ 3 จบ ถ้า 3 จบให้ดำเนินการดังนี้

พระเถระผู้ใหญ่ขึ้นนั่งบนอาสน์แล้วตั้งญัตติว่า

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อัชชะ ปะวาระณา ปัณณะระสี ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ เตวาจิกัง ปะวาเรยยะ
แล้วลงจากอาสน์ นั่งคุกเข่า ว่านะโมพร้อมกัน ๓ จบ

แล้วพระเถระนั่งหันหน้าลงมาหาสงฆ์ กล่าวคำปวารณาต่อสงฆ์ว่า

สังฆัง อาวุโส ปะวาเรมิ ทิฏเฐนะ วา สุเตนะ วา ปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัสมันโต อะนุกัมปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปะฏิกกะริสสามิ
ว่าดังนี้รูปละ ๓ หน แล้วว่าไปตามลำดับแก่อ่อน เปลี่ยน อาวุโส เป็น ภันเต

ครั้นจบคำปวารณาแล้ว พระเถระผุ้ใหญ่จะให้โอวาทกล่าวตักเตือนพระสงฆ์ ให้เห็นความสำคัญในการปวารณา คนเราต่างมีทิฏฐิมานะด้วยกัน ถ้าไม่ปวารณากันไว้ เวลาไปทำผิดพลาดเข้า จะไปตักเตือนว่ากล่าว ก็จะถือว่าละลาบละล้วงล่วงเกิน ถ้าได้ปวารณากันไว้ ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ จบโอวาทแล้ว เป็นอันเสร็จพิธีการออกพรรษาปวารณา

maha pavarana 1

การทำปวารณาของคณะสงฆ์

การใต้ประทีป :  เนื่องในวันออกพรรษา พระสงฆ์จะจัดทำเรือไฟขึ้นในวัด ตรงหน้าโบสถ์ ใช้เสาไม้หรือต้นกล้วย 4 ต้น พื้นปูด้วยกาบกล้วยมีหัวหางคล้ายเรือ ตกกลางคืนนำดอกไม้ธูปเทียนมาจุดบูชา ถือว่าเป็นพุทธบูชาได้บุญกุศลแรง ตัวอย่างเช่น พระอนุรุทธเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ ได้รับยกย่องว่ามีตาทิพย์ ทั้งนี้เกิดจากอานิสงส์ได้ให้ประทีปเป็นทาน

พีธีกรรมสำหรับฆราวาส

ถวายผ้าจำนำพรรษา :     คือ ผ้าที่พระภิกษุสงฆ์จะรับได้ต่อเมื่อจำพรรษาแล้ว มีเวลาที่จะถวายพระภิกษุ คือตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษา จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 มีเวลาถวายถึง 4 เดือน หากถวายหรือรับเลยกำหนดนี้ ไม่เรียกว่าผ้าจำนำพรรษา ผ้านี้ทายกนิยมถวายในวันออกพรรษา

lai rua fire 1

การไหลเฮือไฟในวันออกพรรษา ของจังหวัดนครพนม

เมื่อดำเนินการทางพิธีสงฆ์เสร็จสิ้นแล้ว ก็จะเป็นพิธีการของชาวบ้านที่แทรกด้วยความสนุกสนาน ส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน ซึ่งจะมีหายกิจกรรมแล้วแต่พื้นที่ เช่น การถวายปราสาทผึ้ง หรือ “ต้นผาสาดเผิ้ง” (สำเนียงอีสาน) เพื่อเป็นพุทธบูชา เช่น จังหวัดสกลนคร บางท้องถิ่นอยู่ใกล้บริเวณแม่น้ำจะมี "การไหลเรือไฟ (ฮ่องเฮือไฟ)" เพื่อเป็นการบูชาคารวะพระแม่คงคา เช่น จังหวัดนครพนม แต่สำหรับจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำก็จะมีการจัด "แข่งเรือ (ส่วงเฮือ)" เพื่อความสนุกสนานและสามัคคีร่วมกันในงานอีกด้วย

prasart pueng 1

การถวายผาสาดเผิ้งในวันออกพรรษา ของจังหวัดสกลนคร

การแข่งเรือ (ส่วงเฮือ) เป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจัดขึ้นระหว่างงานบุญออกพรรษา ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 (ตุลาคม) ถือเป็นหนึ่งในบุญเดือน 11 โดยเจ้าเมืองที่ตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำ ต้องปฏิบัติเพื่อความร่มเย็นของบ้านเมือง มีพิธีอัญเชิญเจ้าเมืองและสิ่งศักดิ์ลงในเรือ ทำพิธีตีช้างน้ำนอง หรือการแข่งเรือ เพื่อบวงสรวงสักการะแม่น้ำโขง รุกขเทวดา พญานาค และสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองแม่น้ำโขง มีความมุ่งหมายให้ชาวบ้านได้สนุกสนานร่วมกัน ก่อให้เกิดความสามัคคี ความเสียสละและเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง ประชาชนริมสองฝั่งน้ำ

boon suang hua 1

การส่วงเฮือในช่วงออกพรรษา ของประชาชนที่อาศัยริมแม่น้ำใหญ่

ที่จังหวัดมุกดาหารและจังหวัดนครพนม จะมีการจัดแข่งเรือ (ส่วงเฮือ) ระหว่างพี่น้องชาวลาวและชาวไทย จัดขึ้นในลำน้ำโขง มีระยะทางการแข่งขันประมาณ 3 กิโลเมตร มีร่องน้ำที่ไหลเชี่ยวเป็นการยากลำบากมากในการแข่งขัน ดังนั้นผู้ชนะคือ ผู้เก่งที่สุดในแถบลุ่มน้ำโขง ปัจจุบันนี้ ความสำคัญด้านพิธีกรรมได้ลดน้อยลง เน้นการแข่งเรือกันเพื่อความสนุกสนานเป็นหลัก และยังคงแข่งเรือร่วมกับพี่น้องฝั่งลาวทุกปี

boon suang hua 2

ความเชื่อเกี่ยวกับการแข่งเรือ การแข่งเรือของชาวอีสานมิใช่ทำกันเล่นๆ เพื่อความสนุกสนานเอารางวัลหรือเดิมพันเท่านั้น แต่ทำขึ้นภายใต้ความที่มีมาแต่โบราณว่า เป็นการบูชาพญานาคชื่อ อสุภะนาโค ดังคำกลอนอีสานว่า

เดือนสิบสองมาแล้วลมวอยหนาวสั่น เดือนนี้หนาวสะบั้นคือแท้แต่หลัง
ในเดือนนี้เพิ่นว่าให้ลงทอดพายเฮือ ช่วงกันบูชาฝูงนาโคนาคเนาว์ในพื้น
ชื่อว่าอสุภะนาโนเนาว์ในพื้นแผ่น สิบห้าสกุลบอกไว้บูชาให้ส่งสการ "

จากคำกลอนนี้ก็แปลได้ว่า เมื่อถึงช่วงเดือนสิบสองจะต้องมีการแข่งเรือ เพื่อเป็นการสักการบูชาพญานาคที่อยู่ใต้เมืองบาดาล เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขตลอดไป

 

เซิ้งเฮือส่วง ผลงานประพันธ์  พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา ขับร้อง รวมศิลปินลูกทุ่งแกรมมี่

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)