คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
สูตรขวนหลุ่ม สูตรขวนเทิง (สู่ขวัญลุ่ม สู่ขวัญเทิง) แท้จริงคือ สูตรขวนน้อย นั่นเอง เป็น ธรรมเนียมที่ปฏิบัติไม่เหมือนกัน บางท้องที่ทำ บางท้องที่ไม่ทำ แท้จริงสูตรขวนหลุ่มสูตรขวนเทิงนี้ นิยมทำกันก่อนสู่ขวัญจริง (อาจใช้การทำวิดฟายทดแทนได้) ส่วนความหมายในการทำมีดังนี้
สูตรขวนหลุ่ม เป็นความเข้าใจของนักปราชญ์โบราณที่ต้องการอยากจะเรียกขวัญจาก จุดกำเนิดของผู้ที่มาจากสัตว์ดิรัจฉาน หรือมนุษย์มาเกิด ให้มาส่งเสริมอุปถัมภ์ให้มีความอยู่เย็น เป็นสุข อีกอย่างหนึ่งก็เป็นการอัญเชิญเทพเบื้องล่างมีแม่เจ้าธรณี ท้าวจตุโลกบาล และภุมเทวดา เป็นต้น มาให้พรแก่ผู้รับการสู่ขวัญ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเสริมขวัญเบื้องล่างด้วย ที่ว่า "ขวัญ แข่งและขวัญขา ขวัญฝ่าตีนและตุ่มฆ้อง ฯลฯ" นั้น
สูตรขวนเทิง เป็นการเรียกขวัญจากจุดกำเนิดของผู้รับการสู่ขวัญ ผู้ที่มาจากสวรรค์ เบื้องบนมาเกิดเป็นมนุษย์ ให้มาส่งเสริมอุปถัมภ์ ให้ผู้รับการสู่ขวัญนั้นอยู่เย็นเป็นสุข อีกอย่างหนึ่ง ก็เป็นการอัญเชิญเทพเจ้าเบื้องบนมาอวยชัยให้พรผู้รับการสู่ขวัญ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเสริม ขวัญเบื้องบนด้วย ที่ว่า "ขวัญหูและขวัญตา ขวัญจอมผมและขวัญคิ้ว ฯลฯ" นั้น
ให้พราหมณ์สวดคาถาสูตรขวนเทิง (บน) ตอนสั่งให้ผู้รับการสู่ขวัญจุดเทียนบนยอด พาขวัญ และพราหมณ์สวดคาถาสูตรขวนหลุ่ม (ล่าง) ตอนตนเอง (พราหมณ์) จุดธูปและเทียน ก่อนสูตรขวน จากนั้นจึงสูตรขวนหลุ่มเทิง (ล่างบน) และสูตรขวนจริงต่อไป
นะโม เม พุทธะเตชะสา ระตะนัตตะยะธัมมิกา เตชะปะสิทธิปะสีเทวา ณารายะณะ ปะระเมศะวะรา สิทธิพรัมหมา จะ อินทา จะตุโลกา คัมภีระรักขะกา พรัมหมะ โลกะเทวา สัคคะ เทวา อากาสะเทวา สะทา รักขันตุ โว สัพพะโสตถี จะ ภะวันตุ โว
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สัพพะธัมมานุภาเวนะ สัพพะสังฆานุภาเวนะ ตุยหัง สัพพะ โรคะ โสกุปัททะวะทุกขะ โทมะนัสสุปายาสา วินัสสันตุ สัพพะอันตะรายาปิ วินัสสันตุ สัพพะ สังกัปปา ตุยหัง สะมิชฌันตุ ทีฆายุตา ตุยหัง โหตุ สะตะวัสสะชีเวนะ สะมังคิโก โหตุ สัพพะทา อากาสะ ปัพพะตะวะนะภูมิคังคา มะหาสะมุททา อารักขะกา เทวะตา สะทา ตุมเห อะนุรักขันตุ
ศรี ศรี มื้อนี้แม่นมื้อดี ศรี ศรี วันนี้แม่นวันเฮ้าหมอเฒ่าว่าวันดี วันสิทธิ อะมุตตะโชค ตกแต่งพาขวัญ แล้วจึงได้สูตรเชิญขวัญว่า มาเยอ ขวัญเอย ขวัญ 32 ขวัญ ให้เจ้ามาเฮ้า 92 ขวัญ ให้เจ้ามาโฮมมาสู่สมในเนื้อ มาสืบเชื้อในคีง ผ้าผืนลายเฝือเจ้าก็มี เสื่อหลากเหลื่อมลายคำก็มี ของ กินนำคือไข่ต้มก็มี หมากส้มผลผลาก็มี เหล้ายาสุราและกล้วยอ้อยก็มี สังวาลสร้อยเครื่องธะรงก็มี แหวนธำมะโฮงสุดสอดก้อยก็มี ของเพิงใจมีหลายหลาก ทั้งเหมี่ยงหมากเคี้ยวแดงๆ ทั้งมันแซง และมันอ้อน กล้วยอ้อยก้อนวางเป็นถัน น้ำมันจันทร์หอมลูบไล้ มีทั้งฮวดดอกไม้สุบเกล้าเกศา มีทั้ง ดวงมาลาหอมห่วงเฮ้า มีทั้งดอกคัดเค้าบานจูมจี ตกแต่งดีจึงได้เชิญขวัญเจ้า
หมอเฒ่าเอิ้นจ้อยๆ ขวัญน้อยให้ต่าวมา ว่ามาเยอขวัญเอย ขวัญหัวให้มาอยู่หัวอย่าละ ขวัญตาให้มาอยู่ตาอย่าพราก ขวัญปากให้มาอยู่ปากอย่าหนี ขวัญเกศีเกษเกล้า ตั้งแต่เท้าฮอด จอมผม จงมาชมของใหม่ ขวัญไหล่และตากลม มาเชยชมอยู่ในเนื้อ มาอยู่เฮื้อในคีง ทั้งขวัญตีน และขวัญมือ ขวัญสายบือ (สะดือ) และท้องน้อย อย่าคลาดคล้อยให้มาอยู่ประจำโต ว่ามาเยอ ขวัญเอย ขวัญนมให้มาอยู่นมสองเต้า ขวัญเกล้าให้มาอยู่เกล้าเกศา ขวัญขาให้มาอยู่ขาแหล่ง แหง่ง ขวัญแข่งให้มาอยู่แข่งละงอ ขวัญคอให้มาอยู่คอกลมป้อง ขวัญท้องและขวัญคาง ขวัญแอว บางคิ้วก่อง ขวัญทุกห้องในตนว่ามาเยอขวัญเอย ให้มาอยู่ในสกลกายตราบต่อเท่า อายุเจ้าได้ 5 พันวัสสา ก็ข้าเทอญฯ สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะ สิทธิ ภะวันตุ เต
สูตรขวัญลุ่มเทิง (ล่างบน) นี้ ถ้ามีเวลาน้อย ไม่ต้องสูตรขวัญเฉพาะอย่าง (ในอีก 20 ประเภท) ต่อก็ได้ เพราะนี้คือสูตรเหมือนกัน แต่เรียกว่า สูตรขวัญน้อย หรือสูตรขวัญย่อ หรือในบางท้องถิ่นเรียกว่า สูตรขวัญลุ่มเทิง (ล่างบน) นั่นเอง ดังนั้น เมื่อจบสูตรขวัญนี้ ถ้ามีเวลาน้อยจะผูกแขนเลยก็ได้ แต่ถ้ามีเวลามากพอจะสูตรขวัญเฉพาะอย่าง ตรงกับลักษณะที่ต้องการในอีก 21 ประเภทต่อไป
บายศรีสู่ขวัญพิธีโบราณ อุบลราชธานี
บายศรีสู่ขวัญภาคอีสานพ่ออาลี
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)