คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
การปฏิบัติด้านศาสนพิธีของชาวพุทธในภาคอีสานนั้น มีคนเป็นจำนวนมากที่ยังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่นำมาใช้ปฏิบัติผิดไป เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจเพราะมีคนอยากรู้แต่ไม่มีคนสอน ผู้ที่น่าจะสอนได้ก็ไม่สอนเพราะเกิดความลังเลไม่แน่ใจว่าถูกหรือเปล่า เพราะไปเห็นมาหลายที่ก็กระทำผิดแผกแตกต่างกันไป
การทำบุญในประเพณีอีสานบ้านเฮา ที่ปฏิบัติกันอยู่จะมี 2 อย่างคือ
ตัวอย่างนี้เป็นการปฏิบัติของการทำบุญบ้านแบบอีสาน ซึ่งมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้
เมื่อพระสงฆ์เดินทางมาถึง และนั่งบนอาสนะของท่านเรียบร้อยแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามะ อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามะ อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามะ พุทธะปูชา เตชะวันตา ธัมมะปูชา ปัญญะวันตา สังฆะปูชา โภคะวันตา ยัง ยัง ชะนะปะทัง ยาติ นิคะเม ราชะธานิโย สัพพัตถะ ปูชิโต โหติ สัพพะโสตถี ภวันตุ โนเสร็จแล้วเอาภาชนะบูชานั้นประเคนพระเถระประธานสงฆ์
สำหรับการเตรียมการในงานศาสนพิธีอื่นๆ ก็ทำในลักษณะเดียวกันคล้ายคลึงกัน ให้ศึกษาหรือสอบถามจากผู้รู้เพิ่มเติม
โต๊ะหมู่บูชา หมายถึง ชุดโต๊ะที่ใช้วางพระพุทธรูปประธาน และเครื่องบูชา เช่น แจกันดอกไม้ เชิงเทียน กระถางธูป และอื่นๆ ที่นิยมใช้กันทั่วไปในปัจจุบันเรียก "โต๊ะหมู่บูชา" มีหลายขนาด เช่น หมู่ 5 หมู่ 7 หมู่ 9 หมู่ 11 หมายความว่า โต๊ะหนึ่งชุดหรือหนึ่งหมู่ประกอบด้วย โต๊ะขนาดต่างๆ จำนวน 5, 7, 9 หรือ 11 ตัว หากไม่มีก็สามารถนำโต๊ะอะไรก็ได้ที่เหมาะสมไม่สูงหรือต่ำเกินไปมาใช้งาน โดยคลุมด้วยผ้าขาวสะอาด แล้วหาโต๊ะขนาดเล็กอีกตัวหนึ่งมาวางซ้อนเพื่อวางพระพุทธรูปก็ได้
การตั้งโต๊ะหมู่บูชามีหลักว่า ให้ตั้งหันหน้าออกทางเดียวกับพระสงฆ์ โดยอยู่ทางขวามือของพระสงฆ์ โดยหมายเอาพระพุทธรูปเป็นประธาน (สมมุติว่าเป็นตัวแทนพระพุทธเจ้า) ตามธรรมเนียมปฏิบัติถ้าสถานที่ไม่จำกัดก็นิยมให้ผินพระพักตร์ของพระพุทธรูปไปด้านทิศเหนือ ด้วยหมายเอาว่า พระพุทธเจ้าเป็นโลกอุดร หรือจะผินไปทางทิศตะวันออก ด้วยถือว่าเป็นทิศพระ (พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งตรัสรู้ทรงประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก) แต่หากสถานที่จัดงาน (ตึกราม บ้าน เรือน ในปัจจุบัน) ไม่อำนวย จะให้พระพุทธรูปผินไปทางทิศใดก็ได้ ขอให้การจัดพิธีสะดวกแก่ทั้งพระสงฆ์และเจ้าภาพได้ก็เพียงพอแล้ว
การเชิญพระพุทธรูปมาตั้งที่โต๊ะหมู่บูชานั้น ควรกระทำเมื่อใกล้จะถึงกำหนดเวลาประกอบพิธี ควรจะมีขนาดเหมาะสมกับโต๊ะหมู่ ถ้าองค์พระมีครอบ (กันฝุ่น) อยู่ให้เอาออกก่อน องค์พระหากมีฝุ่นเกาะควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย ถ้าเป็นองค์ทองเหลืองก็ควรขัดให้แวววาว สะอาดสะอ้าน จะเป็นมงคลยิ่ง
ไม้มงคล ที่วางไขว้บนปากบาตรน้ำมนต์ไม่ใช่ไม้กางเขน แต่เป็นสัญลักษณ์แห่งเท้าของพระยากาเผือก ผู้ให้กำเนิดครั้งแรกแห่งพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ ในภัทรกัปป์คือ พระกุกุสันธะ พระดกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระศรีอาริยะ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า
ท่านได้ถือกำเนิดครั้งแรกในไข่กาเผือก 5 ฟอง ที่ทำรังบนต้นไม้ติดฝั่งแม่น้ำ คืนหนึ่งฝนตกหนักและลมแรง ลมได้พัดเอาไข่ทั้ง 5 ฟองลงในน้ำ ไข่ใบที่ 1 ไก่เอาไปฟักและเลี้ยงดู ใบที่ 2 พระยานาคเอาไปฟักและเลี้ยงดู ใบที่ 3 เต่าเอาไปฟักและเลี้ยงดู ใบที่ 4 โคเอาไปฟักและเลี้ยงดู ใบที่ 5 ราชสีห์เอาไปฟักและเลี้ยงดู ซึ่งไข่ทั้งหมดถูกฟักออกมาเป็นคน เมื่อโตมาแม่เลี้ยงบอกว่า ท่านมิใช่แม่ที่แท้จริง ซึ่งต่างก็บวชเป็นฤาษีตามหาพ่อแม่ มาพบกันถามไถ่รู้เรื่องว่า มีกำเนิดจากไข่เหมือนกัน จึงพากันอธิษฐานให้ผู้เป็นพ่อแม่มาปรากฏ ทันใดนั้นพระยากาเผือกก็มาปรากฏและเล่าความจริงให้ฟัง และบอกลูกๆ ว่า ถ้าคิดถึงพ่อแม่ก็จงประทับรอยเท้าพ่อแม่ไว้ทุกครั้งที่ทำพิธีต่างๆ ทั้ง 5 ก็ถือปฏิบัติ จึงได้มีไม้ตีนกานี้มาตั้งแต่บัดนั้น และทั้ง 5 ก็ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนั้นแล
ในการนับถือศาสนาพุทธของคนไทยนั้นมี 2 พุทธ คือ คามวาสี หรือพุทธวัดบ้าน กับ อรัญวาสี หรือพุทธวัดป่า ที่ได้มาจากธรรมยุติกนิกาย ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการเอาม้า (โต๊ะตัวเล็กๆ) มาวางซ้อนกันเรียงลำดับใหญ่เล็กเพื่อวางพระพุทธรูป กระถางธูป เทียน แจกันดอกไม้ เรียกว่า ม้าหมู่ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เปลี่ยนมาเรียกเป็น "โต๊ะหมู่" จนถึงปัจจุบัน แต่สำหรับโต๊ะหมู่ในภาคอีสานมีความพิเศษกว่านั้น
ในวัฒนธรรมอีสานมีการทำโต๊ะหมู่บูชาเช่นกันแต่จะแปลกออกไป เป็นการนำเอา "ธรรมาสน์" ที่พระสงฆ์ใช้นั่งแสดงธรรมเก่าๆ มาเรียงซ้อนกันเป็นชั้นลดหลั่น เพื่อวางพระพุทธรูปและเครื่องบูชา คล้ายๆ เป็นบุษบก แล้วค่อยๆ เลือนหายใจ หันมาใช้ตามแบบอย่างทางการกรุงเทพมหานคร ที่นิยมใช้โต๊ะหมู่ประดับลวดลายอย่างจีนในสมัยรัชกาลที่ 4 และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นขาสิงห์ ประดับลวดลาย ลงรักปิดทอง หรือประดับกระจกเช่นในปัจจุบัน
โต๊ะหมู่บูชา ในรูปแบบศิลปะลาวล้านช้าง พิพิธภัณฑ์เมืองสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)