คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ฟ้อนมหาชัย ก็เช่นเดียวกับฟ้อนสาละวัน ทางมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม เห็นว่าควรอนุรักษ์ทำนองลำพื้นเมืองที่แพร่หลาย และเป็นที่นิยมอยู่ในภาคอีสานของประเทศไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งในปี พ.ศ. 2525 ทาง มหาวิทยาลัยได้จัดทำชุดฟ้อนประกอบทำนองล้ำขึ้นชุดหนึ่งแล้วคือ ชุด "ฟ้อนสาละวัน" และเห็นว่าเพื่อเป็นการสืบทอดทำนองลำพื้นเมืองต่อไป จึงได้นำทำนองลำมหาชัยซึ่ง อาจารย์วีณา วีสเพ็ญ และอาจารย์เจริญชัย ชนไพโรจน์ ได้บันทึกเทปไว้ เมื่อคราวไปเยี่ยมศูนย์ลาวอพยพ ที่จังหวัดอุบลราชธานี และคำว่า "มหาชัย" ยังเป็นนามที่สอดคล้องกับชื่อผู้สร้างเมืองมหาสารคาม คือ ท้าวมหาชัย (กวด)
อาจารย์ชัชวาลย์ ทองประเสริฐ จึงได้นำทำนองลำมหาชัย มาให้นิสิตชมรมดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองฝึกซ้อม โดยใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานเป็นหลัก พร้อมประยุกต์ท่าฟ้อน ซึ่งคณะนาฏศิลป์ลาวได้นำมาเผยแพร่ ในปี พ.ศ. 2529 คำว่า "ลำมหาชัย" นั้นเป็นทำนองลำที่นิยมขับร้องของหมอลำในแถบเมืองมหาชัย ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และในภาคอีสานของประเทศไทย
เครื่องแต่งกาย ผู้แสดงเป็นหญิงล้วน แต่งกายโดยใช้เสื้อคอกลม แขนกระบอก เอวระบาย นุ่งผ้าถุงเวียงลายลงมีเชิง และห่มสไบผ้าเวียงเช่นกัน คาดเข็มขัดยืดสีทอง ผมเกล้ามวยคาดผ้าปักดิ้นสีทองใส่สร้อยคอดินเผาด่านเกวียน และตุ้มหู
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองลำมหาชัย
ฟ้อนมหาชัย
เป็นการแสดงฟ้อนรำ ประกอบทำนองลำเต้ยหัวโนนตาล มีลักษณะเป็นการฟ้อนเกี้ยวพาราสีกัน ระหว่างชายหญิงทางภาคอีสาน โดยได้แรงบันดาลใจจากวงหมอลำพื้นบ้าน จาก อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งตัวหมอลำหนุ่มสาว หรือตัวพระเอก-นางเอก จะมีการการลำ และฟ้อนเกี้ยวพาราสี มีการพูดผญา ลำภูไท หรือก็ร้องเพลงเป็นเต้ยเกี้ยวกัน เป็นต้น
ดนตรีที่ใช้ในชุดการแสดง ฟ้อนเต้ยหัวโนนตาล จะใช้ทำนองเต้ยหัวโนนตาลดั้งเดิม ส่วนท่าฟ้อนและเนื้อร้อง อาจารย์พรสวรรค์ พรดอนก่อ อาจารย์สอนนาฏศิลป์พื้นเมือง จากวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ เป็นผู้แต่งเนื้อร้องและประดิษฐ์ท่าฟ้อนขึ้นใหม่ โดยอาศัยเค้าโครงการฟ้อน ของหมอลำหมู่ หรือหมอลำเรื่องต่อกลอน ส่วนเพลงเร็วท่อนสุดท้าย ได้นำเอาท่าฟ้อนของหมอลำ เข้ามาผสมด้วย โดยได้ปรึกษา อาจารย์ช่วง ดาเหลา และ อาจารย์ทองเจริญ ดาเหลา หมอลำกลอนคู่
ลักษณะ ท่าฟ้อนจึงมีทั้งความอ่อนช้อย และรวดเร็วสนุกสนานอยู่ในชุดเดียวกัน แสดงให้เห็นถึงศิลปะการฟ้อนรำ และการร้องลำที่สวยงาม ของกลุ่มชนชาวอีสานแถบนี้
การแต่งกาย
ฟ้อนเต้ยหัวโนนตาล
เพลงเต้ยหัวโนนตาล |
|
ชาย : | โอเดพระนางเอย…พระนางเอ้ย น้องนี้เนาอยู่ทางแคว้นๆ แดนใด๋ละน้องพี่ ปูปลามีบ่ละน้อง ทางบ้านหม่อมพระนาง |
หญิง : | โอเดพี่ชายเอย… พี่ชายเอ้ย น้องนี้เนาอยู่ทางก้ำๆ กะสินคำดำนาห่าง โอเดพี่ชายเอย ปู ปลา เต็มอยู่น้ำ ชวนอ้ายไปเที่ยวชม |
ชาย : | โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย อ้ายมีจุดประสงค์แน่น หาแฟนเมืองน้ำก่ำ เมืองดินดำนี้ละน้อง ทางอ้ายอยากเกี่ยวดอง กะจั่งว่าแก้มอ่องต่อง ไสยองยองเอย |
หญิง : | โอเดพี่ชายเอย….พี่ชายเอ้ย เขาส่าว่านกเขาตู้ บ้านอ้ายมันขันหอง เขาส่าว่านกเขาทองบ้านอ้าย มันขันม่วน โอเดพี่ชายเอย บัดเทือมาฮอดแล้ว คู่ค้างซ่างบ่โตน คันบ่โตนเจ้าคอนใต้ โอซ่างบ่โตนเจ้าคอนต่ำ โอเดพี่ชายเอย |
ชาย : | โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย คันว่าสิบแหนงไม้ คันว่าซาวแหนงไม้ บ่คือแหนงดอกไม้ไผ่ โอเดพระนางเอย อยากเป็นเขยบ้านน้องทางอ้ายจังต่าวมา |
หญิง : | โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย อ้ายอย่าตั๋วอีนางให้เซไซบ้าป่วง อย่ามาตั๋วให้น้อง นางน้อยล่ะ จ่อยโซ |
ชาย : | โอเดพระนางเอย….พระนางเอ้ย อ้ายบ่ตั๋วพระนางน้อง คำนางดอกน้องพี่ ฮักอีหลีตั๋วละน้อง ทางอ้ายจั่งด่วนมา |
หญิง : | โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย คันบ่จริงอ้ายอย่าเว้า คันบ่เอาอ้ายอย่าว่า ทางปู่ย่าเพิ่นบ่พร้อม ยอมเอาน้องขึ้นสู่เฮือน |
ชาย : | โอเดพระนางเอย…พระนางเอ้ย คันว่าเฮือนซานอ้าย นอซานอ้ายดีหลายคันได้อุ่น นับเป็นบุญพี่อ้ายคันน้องเข้าฮ่วมเฮือน |
หญิง : | โอเดพี่ชายเอย…พี่ชายเอ้ย น้องนี้คิดฮอดอ้ายๆ คืนเดือนหงายสิแนมเบิ่งๆ โอเดพี่ชายเอย ใจซิเถิงหม่อมอ้ายคืนนั้นให้พี่คอย |
ชาย : | โอเดพระนางเอย…พระนางเอ้ย อ้ายสิขอรำเกี้ยวๆ คำนางให้มันม่วน อ้ายซิชวนหมู่เพื่อนลำเกี้ยวเข้าใส่กัน |
คลิกไปอ่าน การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆ
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)