คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่ในภาคต่างๆ ของประเทศเป็นจำนวนมาก นอกเหนือไปจากชาวจีน ชาวเขา ชาวไทยมุสลิม ชาวมอญ และชาวญวณอพยพที่เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ยังมีชนกลุ่มน้อยที่กระจัดกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีก เช่น ภูไท กะเลิง ย้อ แสก โส้ โย้ย ฯลฯ
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้เสด็จไปตรวจราชการมณฑลอุดร และอีสาน ในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งกล่าวถึงคนต่างจำพวกไว้ว่า
"พวกพลเมืองในมณฑลอุดรและมณฑลอีสาน ที่ฉันไปพบมีไทยลานช้างเป็นพื้น แต่ยังมีคนจำพวกอื่นที่ผิดกับไทยลานช้าง และมีชื่อเรียกเป็นอย่างอื่นๆ ต่างหากอีกหลายจำพวก ฉันได้ลองไถ่ถามดูได้ความว่ามี 8 จำพวกต่างกันคือ
ชุดฟ้อนชุมชนเผ่าต่างๆ จึงได้มีการประดิษฐ์ขึ้นโดยได้แนวคิดมาจาก การฟ้อนชุดชุมชนเผ่าไทยของทางภาคกลาง ชุดฟ้อนชุมชนเผ่าต่างๆ ชุดแรกเป็น เซิ้งเก้าเผ่า ซึ่งเป็นการประดิษฐ์โดย อาจารย์พนอ กำเนิดกาญจน์ วิทยาลัยครูอุดรธานี ซึ่งประกอบไปด้วยเผ่าต่างๆ 9 เผ่า ดังนี้ ไทยพวน ข่าสาละวัน แม้ว ผู้ไท ล้านช้าง ไทยดำ ไทยย้อ ไทยเวียงจันทน์ และข่ากะโส้
ต่อมา ได้มีการพัฒนาชุดฟ้อนขึ้นใหม่อีก 5 ชุด ได้แก่ ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า เผ่าไทยภูพาน รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ รวมเผ่าไทยมุกดาหาร และเผ่าไทยโคราช
ชาวผู้ไท เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย แต่เดิมนั้นชาวผู้ไทตั้งบ้านเรือนอยู่แถบสิบสองจุไทย คือ บริเวณลาวตอนเหนือ บางส่วนของเวียตนามเหนือ และทางตอนใต้ของจีน มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไล เมืองแถง เรียกว่า ผู้ไทดำ ชาวผุ้ไทสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ถึงแม้จะมีผู้แบ่งเป็นกลุ่มผู้ไทแดงและผู้ไทลาย แต่ก็ไม่มีประวัติชัดเจน (ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ. 2526 : 2) ชาวผู้ไทยที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่มาจากเมืองวัง และเมืองตะโปน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองสวันเขต ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน และแยกย้ายกันตั้งหลักแหล่งอยู่บริเวณเทือกเขาภูพานในเขต 3 จังหวัด คือ
การฟ้อนผู้ไทนั้น เริ่มมีมาในสมัยที่เริ่มสร้าง พระธาตุเชิงชุม จังหวัดสกลนคร ผู้ไทเป็นชนเผ่าที่รับอาสาที่จะเป็นผู้ปฏิบัติรักษา หาเครื่องสักการะบูชาพระธาตุทุกๆ ปีเมื่อถึงฤดูข้าวออกรวงกำลังแก่ จะมีการเก็บเกี่ยวข้าวบางส่วนมาทำข้าวเม่า ชาวผู้ไทจะนำข้าวเม่ามาถวายสักการะบูชาพระธาตุเชิงชุม การนำข้าวเม่ามาถวายพระธาตุนั้น เรียกว่า "แห่ข้าวเม่า" จะมีขบวนฟ้อนรอบๆ พระธาตุ ผู้ฟ้อนเป็นหญิงล้วน ผู้หญิงแต่งตัวพื้นเมือง ใส่เล็บยาว ผู้ชายเล่นดนตรี เช่น กลองเส็ง กลองยาว ตะโพน รำมะนา ฉิ่งฉาบ เป็นต้น (พนอ กำเนิดกาญจน์. 2519:38)
ต่อมาชาวผู้ไทในท้องถิ่นอื่นได้มาเห็น จึงได้นำไปประยุกต์ท่าฟ้อนให้สวยงาม และมีการแต่งเนื้อร้องประกอบการฟ้อนขึ้น การฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า ประกอบด้วย
สำหรับเครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนิยมใช้เสื้อสีน้ำเงินเข้มขลิบสีแดงทั้งเสื้อและผ้าถุง ผ้าสไบสีขาว เครื่องประดับใช้เครื่องเงินตั้งแต่ตุ้มหู สร้อยคอกำไลเงิน ผมเกล้ามวยสูงทัดดอกไม้สีขาว ห่มผ้าเบี่ยงสีขาว ซึ่งปัจจุบันใช้ผ้าถักสีขาว ส่วนผู้ชายจะใส่เสื้อม่อฮ่อมขลิบผ้าแดงนุ่งกางเกงขาก๊วยมีผ้าคาดเอวและโพกศีรษะ เครื่องแต่งกาย จะใส่เสื้อสีดำ ผ้าถุงดำขลิบแดง สวมเล็บทำด้วยโลหะหรือบางแห่งใช้กระดาษทำเป็นเส้นมีพู่ตรงปลายสีแดง ห่มผ้าเบี่ยงสีแดง ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้สีขาว บางครั้งผูกด้วยผ้าสีแดงแทน ในปัจจุบันพบว่า เสื้อผ้าชุดฟ้อนผู้ไทจังหวัดสกลนครได้เปลี่ยนไปบ้าง คือ ใช้เสื้อสีแดงขลิบสีดำ ผ้าถุงสีดำมีเชิง ผ้าเบี่ยงอาจใช้เชิงผ้าตีนซิ่นมาห่มแทน
ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่าจะเริ่มจากฟ้อนผู้ไทกาฬสินธุ์ ผู้ไทสกลนคร และผู้ไทเรณูนคร ในการฟ้อนผู้ไท 3 เผ่านี้จะเพิ่มผู้ชายฟ้อนประกอบทั้ง 3 เผ่า มีการโชว์ลีลาของรำมวยโบราณต่อสู้ระหว่างเผ่า และ/หรือการเกี้ยวพาราสีกันระหว่างชายหญิง
การฟ้อนภูไทสามเผ่า
บริเวณเทือกเขาภูพานซึ่งครอบคลุมพื้นที่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ สกลนคร นครพนมและอุดรธานี นับเป็นเทือกเขาภูพานที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หลายเผ่าด้วยกัน
นอกจากนี้ ยังมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ พวกโย้ย และกะตาก ซึ่งมีอยู่เพียงเล็กน้อยเท่านั้น การฟ้อนชุดเผ่าไทยภูพานจึงได้นำเอาชนกลุ่มน้อยพวกต่างๆ 5 กลุ่ม ข้างต้นมาจัดทำเป็นชุดฟ้อน พร้อมมีเนื้อร้องประกอบอธิบายให้ทราบถึงที่มาของชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ พร้อมหลักแหล่งอาศัยในปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันชนกลุ่มน้อยต่างๆ เหล่านี้ก็มีลักษณะไม่แตกต่างจากชาวอีสานโดยทั่วๆ ไป การฟ้อนชุดนี้ใช้ผู้แสดงเป็นหญิง 10 คน โดยใช้ผู้แสดงเผ่าละ 2 คน
ฟ้อนเผ่าไทยภูพาน
กลุ่มแรกชุดผู้ไท สวมเสื้อแขนกระบอกเข้ารูปสีดำ ขลิบสีแดง เสื้อผ่าอกตลอด ติดกระดุมสีขาวเรียงเป็นแถว ตั้งแต่คอจนถึงเอว ชายเสื้อด้านหน้าแยกจากกัน ผ้านุ่งสีดำยาวต่อเชิงด้วยผ้าขิด สวมเล็บมือทั้งสิบเล็บ ปลายเล็บมีพู่ เกล้าผมสูงเอียงซ้าย คาดผ้าสีแดงปล่อยชายลงข้าง ห่มสไบผ้าขิด
กลุ่มที่สองชุดกะเลิง สวมเสื้อแขนสั้น คอรูปตัวยู จีบรูดรอบๆ คอ นุ่งผ้าหมี่สั้นยาวกรอมเท้า คาดเข็มขัดเงิน เกล้าผมมวย สวมเครื่องประดับเงิน
กลุ่มที่สามชุดย้อ ใช้ผ้าขาวม้าคาดอกเก็บชาย นุ่งผ้าซิ่นหมี่สั้นมีเชิง ผ้าขาวม้าคาดเอวห้อยชายข้างซ้าย เกล้าผม เครื่องประดับทำด้วยเงิน เช่น กำไล ตุ้มหู
กลุ่มที่สี่ชุดโส้ เสื้อสีแดงทรงตรง ยาวแค่ตะโพก แขนยาวแค่ข้อศอก คอเสื้อแหลมป้ายข้างขลิบชายเสื้อด้วยสีดำ ติดกระดุมเรียงกัน นุ่งผ้าซิ่นหมี่มีเชิง ห่มสไบตวัดลงข้างหน้า เกล้าผมคาดด้วยสีขาว เครื่องประดับทำด้วยเงิน ได้แก่ สร้อยคอ ตุ้มหู กำไลแขน กำไลเท้า
กลุ่มที่ห้าชุดแสก เสื้อขาวแขนกระบอกขลิบดำหรือน้ำเงิน ติดกระดุมเรียงถี่ๆ นุ่งผ้าซิ่นหมี่ทับเสื้อ คาดเข็มขัดเงิน เกล้าผม มีเครื่องประดับทำด้วยเงินที่ข้อมือข้อเท้า
เครื่องดนตรี
ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน เพลงผู้ไท เพลงเต้ยโขง เพลงแมงตับเต่า เพลงบ้งไต่ขอน เพลงลำเพลินและเพลงลำยาว
เพลงรำเผ่าไทยภูพานผู้แต่ง : วิรัช บุษยกุล (วิทยาลัยครูสกลนคร)
(ผู้ไท) ซุมข้าน้อยเป็นชาวภูไท ถิ่นอยู่ไกลอีสานบ้านเกิด แสนประเสริฐอุดมสมบูรณ์ ศูนย์โอมใจคือองค์พระธาตุ สาวน้อยนางเอย สาวภูไทเอย (กะเลิง) ซุมข้าน้อยสาวกะเลิงน้อยอ่อน มาอยู่สกลนคร บ่อนดินดำน้ำซุ่ม แถบที่ลุ่มน้ำใหญ่แม่นหนองหารนี้ละนา (ย้อ) ซุมข้าน้อยกะคือไทยย้อ บ่อนอยู่ม่อเมืองท่าอุเทน มาหลายเซ่นหลายซั่วลูกหลาน ข้าวปลาอาหารบ่อึดบ่อยาก มาได้มากพออยู่พอมี ของแซบอีหลี่แม่นปลาแดกอึ่ง (โส้) หมู่ข้าน้อยไทยโส้กุสุมาลย์ เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ที่ฮาบลุ่มเขาภูพาน ติดเขตแดนหนองหาร อยู่สำราญกันตลอดมา (แสก) สาวน้อยแสกเพิ่นหากงามแท้น้อ แม้นไผได้พ้อกะจิตต่อใจฝัน แต่ก่อนนั้นอยู่ฝั่งซ้ายน้ำของ แล้วจึงล่องลงมาสู่อีสานคู่มื้อนี้ (เผ่าไทยภูพาน)
|
ฟ้อนเผ่าไทยภูพานต้นฉบับ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า - ฟ้อนเผ่าไทยภูพาน | รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ - เผ่าไทยโคราช
คลิกไปอ่าน การฟ้อนอันเนื่องมาจากวรรณกรรม
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)