คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่อยู่ในเขตอีสานใต้ มีประชาชนหลายกลุ่มอาศัยอยู่ภายในจังหวัด ซึ่งแต่ละกลุ่มมีภาษาถิ่นเป็นของตนเอง คือ ภาษาไทยโคราช ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่พูดสำเนียงภาษาไทยโคราช ส่วนใหญ่อาศัยอยู่แถบอำเภอนางรอง หนองกี่ ส่วนกลุ่มที่ใช้ภาษาลาว อาศัยอยู่แถบอำเภอพุทไธสง กลุ่มที่ใช้ภาษาเขมร อาศัยอยู่ในแถบอำเภอประโคนชัย อำเภอบ้านกรวด และอำเภอละหานทราย และกลุ่มที่ใช้ภาษาส่วย คือกลุ่มที่อาศัยอยู่แถบอำเภอสตึก
ทางภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูบุรีรัมย์ เห็นว่า ชนทั้ง 4 กลุ่มที่อาศัยอยู่ในจังหวัดบุรีรัมย์ ถ้าสามารถนำมาผสมผสานให้อยู่ในรูปของการแสดงโดยอาศัยเพลง คำร้อง และท่าทางด้านนาฏศิลป์ เป็นเครื่องชักจูงให้เกิดการรวมกลุ่มและความสามัคคีกลมเกลียวกันของคนทั้ง 4 กลุ่มอีกด้วย การแสดงชุดรวมเผ่าไทยบุรีรัมย์จะใช้ผู้หญิงแสดงล้วนเผ่าละ 2 คน การแต่งกายของแต่ละเผ่าดังนี้
เพลงที่ใช้ประกอบการฟ้อน ของกลุ่มที่พูดภาษาโคราชจะใช้ทำนองเพลงโคราช กลุ่มที่พูดภาษาลาวใช้ทำนองเพลงโปงลาง กลุ่มภาษาเขมรใช้ทำนองแกวนอ กลุ่มที่พูดภาษาส่วยใช้ทำนองเพลงโมเวยงูดตึก และเพลงรวมใช้ทำนองเพลงอาไยจ๊ะส์ บทร้องการแสดงชุดรวมเผ่าไทยบุรีรัมย์แต่งโดย สงบ บุญคล้าย และพิเชษ ชัยพร (ผกา เบญจกาญจน์. ม.ป.ป. : 11-15)
เพลงรวมเผ่าไทยบุรีรัมย์โดย : สงบ บุญคล้าย และพิเชษ ชัยพร
|
||
เพลงที่ 1 | จะเอื้อนเอ่ยคำเป็นทำนองไทยเบิ้ง ให้คึกคักร่าเริง บันเทิงอารมณ์ กลุ่มไทยนางรอง ปรองดองสุขสม พรักพร้อมเกลียวกลม ป่านิยมสมไทย | |
เพลงที่ 2 | ในภาคพื้นเมืองใหญ่บุรีรัมย์ ซุมไทยลาวอยู่เนานานวัน (ซ้ำ) ซ่อยกันสร้างนาสวนฮัวไฮ่ เฮาทุกคนไม่แล้งน้ำใจ อยู่กันไปตามลำน้ำมูล | |
เพลงที่ 3 | บอง ป โอนโกนเจา สัจเซียมเผ่าพงศ์ แจ๊ะเทอแจ๊ะดำ รวมขลวนเดนียเกิด |
สรกราว สรกกน็อง กือเซียมเจือบเจ็ด ยูรฉนำกำเนิด เสราะแซร์ยแซมร์เซียม |
เพลงที่ 4 | นุเพะแซมซายไฮมวง กูเปอเวาเบอเจอปนาย มอไฮกูลาปะซากุย แนคือมอไฮไทกวย |
ตะโปนคลวงกวยเทาเนาปาย จังฮายฮือซัลระคัลคะเนีย ดิงจูย ดึงจา ดิงบาย บางคนเรียกว่าส่วยก็มี |
เพลงที่ 5 | ชุมชนเผ่าไทย ผ้าไหมงามล้ำ งามประสาทหิน จึงเสริมส่งให้ |
เมืองใหญ่บุรีรัมย์ วัฒนธรรมงามวิไล ถิ่นภูเขาไฟ ชาติไทยพัฒนา |
รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
การแสดงชุดนี้ประดิษฐ์ขึ้นโดย วิทยาลัยครูนครราชสีมา (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปัจจุบัน) ซึ่งมีคนเชื้อสายต่างๆ อาศัยอยู่ ลักษณะของคนไทยในโคราชหรือในจังหวัดนครราชสีมามีเชื้อสายที่สำคัญๆ 4 เผ่า คือ เขมร มอญ ลาว ไทย
ฟ้อนไทโคราช ห้วยเกิ้ง
ฟ้อนผู้ไท 3 เผ่า - ฟ้อนเผ่าไทยภูพาน | รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ - เผ่าไทยโคราช
คลิกไปอ่าน การฟ้อนอันเนื่องมาจากวรรณกรรม
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)