foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

ศิลปะถ้ำ

ศิลปะถ้ำ คือ ภาพที่ปรากฏบนผนังภายในถ้ำหรือหน้าถ้ำ ตามผนังของก้อนหินใหญ่ เพิงหิน และเพิงผาใหญ่ ภาพเหล่านี้อาจแสดงโดดๆ มีเนื้อความเล่าเรื่องตัวเอง หรือมีภาพประกอบกันเป็นเรื่องราว เล่าเรื่องการล่าสัตว์ เกษตรกรรม การละเล่นในงานรื่นเริง การประกอบพิธีกรรม จึงมีความสัมพันธ์กับความเชื่อและพิธีกรรม ภาพเขียนสีบนผนังถ้ำหรือเพิงผาในประเทศไทยพบมากที่สุดในภาคอีสานถึง 151 แห่ง ศรีศักร วัลลิโภดม ให้ความเห็นว่า สถานที่เขียนภาพมักเป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ สุรพล ดำริห์กุล ให้ความเห็นว่า "สีแดงที่ใช้เขียนภาพมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับพิธีกรรมความตาย"

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม มีลายเส้นและรูปร่างง่ายๆ แสดงถึงวิถีชีวิตแบบชนเผ่าที่แปลกประหลาด น่าค้นหา ลายเส้นสื่อถึงความเป็นกลุ่มชนโบราณ

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม ความเก่าแก่ของอารยธรรมในลุ่มน้ำโขงและอีสานแสดงถึงสิ่งลึกลับโบราณที่รอการพิสูจน์

silapa tam 01

งานศิลปะซึ่งมนุษย์ได้สร้างขึ้นบนผนังถ้ำ หรือเพิงผา (rock shelter) ได้แก่ ภาพเขียนสี (rock painting) ภาพขูดขีด (rock engraving) ภาพแกะสลัก (rock carving) รวมไปถึงประติมากรรมดินและปูนปั้นบนผนังหิน งานศิลปะถ้ำที่พบมีอายุตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์จนถึงยุคประวัติศาสตร์

ศิลปะถ้ำหรือภาพเขียนสี (Rock Painting) นี้ถือว่าเป็นงานศิลปกรรมที่มนุษย์ในสมัยนั้นเขียนขึ้น เพื่อสะท้อนให้เห็นการดำรงชีวิต หรือความเชื่อต่างๆ ใน พ.ศ. 2467 นายเอ เอฟ จี แคร์ (A.F.G.KERR) ได้ค้นพบภาพเขียนสีครั้งแรกที่ ถ้ำมือแดง บ้านส้มป่อย ตำบลสีบุญเรือง อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม เป็นภาพที่ทำขึ้นโดยใช้มือจุ่มสีประทับบนผนังถ้ำ หรือเขียนเป็นภาพมือ มีทั้งมือสีแดงและสีเทารวม 10 มือด้วยกัน และยังมีภาพคนยืน 6 คน ต่อมาได้มีการค้นพบภาพเขียนบนผนังถ้ำมากขึ้นในเขตภาคอิสาน ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ อุบลราชธานี และกาฬสินธิ์ และภาพเขียนสีนี้ยังมีปรากฏใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ด้วย

silapa tam 02

เมื่อศึกษาวิธีการเขียนภาพบนผนังถ้ำแล้ว พบว่า ผนังหินที่ใช้เขียนส่วนใหญ่เป็นหินทราย ส่วนที่พบเป็นผนังหินปูนก็มีเช่น ที่ภูผาฆ้อง อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย การที่เลือกใช้ผนังหินทรายนั้นเนื่องจากมีผิวหน้าค่อนข้างเรียบ หากมีการแตกตัวออกจากกันก็จะมีรอยแตกที่ตรง ส่วนวิธีการเขียนบนผนังถ้ำที่ภาคอิสานนั้นพบว่ามีลักษณะ ดังนี้

  • เริ่มต้นจากการเขียนเป็นโครงร่างของภาพก่อนแล้วจึงระบายสีทึบ เป็นภาพที่ไม่ต้องการแสดงรายละเอียด พบบางภาพยังเป็นเส้นร่างอยู่ ระบายสีทึบไม่หมด เส้นร่างมักเป็นสีดำ ส่วนสีแดงหรือสีน้ำตาลแดงมักใช้ระบายเป็นสีทึบ มักเขียนเป็นภาพคน ซึ่งเขียนเป็นกลุ่มเหมือนจะบอกเหตุการณ์ของยุคสมัย และภาพสัตว์ที่พบเห็นในยุคนั้นได้แก่ วัว หมา สัตว์เลี้ยง เพื่อจะบอกลักษณะของสัตว์หรือวิธีการล่าหรือจับสัตว์ หรือบอกบริเวณนั้นมีสัตว์ชนิดนี้อยู่ เช่น กลุ่มภาพที่ผาแต้มอำเภอโขงเจียม
    บางแห่งเขียนเพื่อแสดงพิธีกรรมบางอย่างเช่น ภาพเขียนที่เขาปลาร้า จังหวัดอุทัยธานี มีภาพคนสวมหัวนก ในภาคอื่นนั้นพบว่ามีการเขียนภาพลายเส้นและมีเส้นขวางหรือประจุดอยู่กลางลำตัวเรียก ภาพเอกเรย์ พบที่เขาปลาร้า อำเภอลานสักจังหวัดอุทัยธานีเป็นภาพคน วัวหรือควาย และหมา เป็นต้น
  • การเขียนภาพสัตว์นั้นน่าจะเขียนเพื่อที่จะล่าสัตว์ชนิดนั้น โดยสมมุติภาพขึ้นก่อน และเขียนเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมในการล่าสัตว์ สัตว์ป่าในยุคนั้นส่วนใหญ่เป็นวัว หรือเขียนเพื่อบอกลักษณะของสัตว์สำหรับการล่า ส่วนภาพหมานั้น เขียนขึ้นเพื่อแสดงความสัมพันธ์กับคนมากกว่าพิธีกรรม เช่น ภาพหมาที่เขาจันทร์งาม อำเภอสี่คิ้ว จังหวัดนครราชสีมา หรือภาพหมา ควาย ที่เขาปลาร้าอยู่กับคน เป็นต้น
  • เขียนเป็นเส้นภาพโดยไม่มีการร่าง ส่วนใหญ่เป็นภาพลายเรขาคณิตพบมากที่สุดในภาคอีสาน ไม่ทราบความหมาย หรือเป็นสัญญลักษณ์ ที่จะบอกว่าเป็นอะไร
  • เขียนเป็นภาพมือไว้บนผนังหิน ซึ่งมีวิธีทำ 3 วิธีกล่าวคือ ใช้ฝ่ามือวางทาบบนผนังหินแล้วเขียนเป็นเส้นรอบฝ่ามือนั้น หรือใช้ฝ่ามือชุบสีเสียก่อนแล้วนำไปทาบบนผนังหิน จึงทำให้บริเวณข้อต่อและอุ้งมือไม่มีสีติดบนผนังหิน ซึ่งพบวิธีนี้ที่ภูผาฆ้อง บ้านห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย และใช้ผ่ามือทาบลงผนังหินแล้วเอาปากอมสีพ่นไปรอบมือ ภาพมือนี้มีที่ผาฆ้อง บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ผาแต้มและผาหม่อน อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี น่าจะทำขึ้นเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของที่พักตามถ้ำชั่วคราว ไม่ได้ใช้แสดงการเยี่ยมเยือนอย่างภาพมือที่พบในยุโรป หรือใช้เป็นสัญญลักษณ์แสดงเป็นแหล่งอาศัยอยู่ถาวรจนเป็นชุมชน

silapa tam 03

สำหรับสีที่ใช้เขียนนั้น ส่วนมากเป็นสีแดง นอกนั้นก็มีสีส้ม สีเลือดหมู สีน้ำตาล สีดำและสีขาว สำหรับสีแดงนั้นมีการศึกษาที่มาของสี พบว่าแร่เหล็ก (เฮมาไทด์) มีจำนวนมากในภาคอีสาน หาได้ง่าย จึงสันนิษฐานเป็นเบื้องต้นว่า ได้นำแร่ชนิดนี้มาบดให้ละเอียดแล้วละลายน้ำ หรือยางไม้ทำเป็นสีใช้เขียนผนังถ้ำ ส่วนเครื่องมือที่ใช้เขียนในเบื้องต้นน่าจะใช้เปลือกไม้ ทุบปลายให้เป็นเส้นทำเป็นภู่กันเขียน หรือใช้วัตถุที่ยืดหยุ่นซึมซับสีได้เช่น หางหรือขนสัตว์ และแท่งไม้ และการใช้ของแข็งหรือสิ่งที่มีคมเขียน อย่างไรก็ตามการเขียนผนังหินนั้นจะมีน้ำหนักเท่ากัน ส่วนข้อเท็จจริงนั้นเรื่องแหล่งที่มาของสี และเครื่องมือที่ใช้เขียนภาพผนังถ้ำนั้นยังต้องศึกษาเพิ่มเติมต่อไปอีก

สำหรับการใช้สีแดงเขียนภาพผนังถ้ำนั้น ศาสตราจารย์ชิน อยู่ดี ได้กล่าวไว้ในหนังสือ "คนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย" ว่า "สีแดงมีความสำคัญในความเชื่อของึคนก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทย โครงกระดูกที่ได้จากการขุดค้นที่ถ้ำพระ ตำบลไทรโยค อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นโครงกระดูกของคนสมัยหินกลางพบว่าดินดอนเหนือศรีษะและร่างมีดินสีแดงคลุมอยู่แสดงว่าครั้งนั้นมีพิธีกรรมเกี่ยวกับการฝังศพแล้ว โดยใช้สีแดง (ดินเทศ) ซึ่งหมายถึง สีเลือดและชีวิต โปรยลงบนร่างของผู้ตาย ประเพณีนี้ในสมัยหินกลางทำกันมาตลอด แหลมมาลายูและหมู่เกาะอินโดนีเซีย ในทวีปยุโรปการฝังศพคนก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินเก่าตอนปลาย และสมัยหินกลาง นอกจากจะมีดินสีแดงโปรยไว้เหนือโครงกระดูกคนแล้ว บางแห่งยังใช้ดินสีแดงทาไว้ที่กระดูกคนตายด้วย"

ถ้ำตาลาว ตั้งอยู่่ที่วัดถ้ำตาลาว ต.กองโพน อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี

ศาตราจารย์สุด แสงวิเชียร ได้กล่าวถึงการใช่สีแดงในพิธีฝังศพไว้ในหนังสือ "อดีต" เช่นเดียวกันว่า "ชาวบ้านเชียง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากทำหม้อไหสำหรับเป็นเครื่องเซ่นได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็คงคิดดัดแปลงวิธีทำ คือแทนที่จะใช้สีแดงโรยลงไปในศพ กลับใช้สีทา ลงไปบนผิวหม้อทั้งใบ ทำให้หม้อมีสีแดงสวยงามมาก และปรากฏว่านอกจากหม้อไหที่มีลายเขียนสีแดงแล้ว ชาวบ้านเชียงสมัยนั้นได้อาศัยเอาก้อนสีแดงใส่ไว้ในหม้อวางกับศพด้วย"

silapa tam 04

สีแดง จึงเป็นสีสำคัญที่ใช้ในสังคมของมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ ทั้งพิธีศพและการใช้เขียนภาพผนังถ้ำ โดยเฉพาะเป็นสีที่มีความสดและเห็นได้ชัดเจนในระยะไกล และยุคสมัยศิลปถ้ำที่พบในภาคอีสานนั้น นักโบราณคดีไทย สันนิษฐานว่า มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ได้เขียนขึ้นในสังคมกสิกรรม หรือยุคโลหะอายุไม่เกิน 3,600 - 3,000 ปีมาแล้ว ซึ่งเป็นช่วงระยะที่มีความเจริญเติบโต และมีผลผลิตทางการเกษตรด้วยวิธีการเพาะปลูกในระบบกักเก็บน้ำ รู้จักใช้เหล็กสร้างเครื่องมือเกษตร และใช้ควายไถนาพรวนดิน จึงทำให้ประชากรในสังคมกสิกรรมมีความเป็นอยู่ดี และมีการขยายพื้นที่ทำการเพาะปลูกไปทั่วภาคอีสาน ชุมชนกสิกรรมนี้ รู้จักนำสีแดงมาเขียนบนภาชนะดินเผาแทนลายเชือกทาบที่มีมาแต่เดิม ดังจะเห็นได้จาก ภาชนะดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี

[ อ่านเพิ่มเติม : ศิลปะถ้ำ 2 ]

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)