foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

sat te kui

ารเริ่มต้นชีวิตคู่ด้วยความรักของหนุ่ม-สาว ไม่ว่าจะเป็นชนชาติใด ภาษาใด ก็มักจะมีการจัดพิธีกรรมขึ้น เพื่อเป็นการประกาศให้ญาติทั้งสองฝ่ายรับรู้ เป็นสักขีพยานในการครองรักครองเรือน ซึ่งพิธีการแต่งงานก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ในชาติพันธุ์ ชาวกูย หรือ กวย หรือ ส่วย หรือ เยอ ก็มีพิธีกรรมนี้เช่นกัน เรียกว่า "ซัตเต"

sat te kui 01

"พิธีซัตเต" เป็นพิธีการแต่งงานแบบพื้นบ้านของชาวกวย, กูย, ส่วย หรือ เยอ คำว่า "ซัตเต" เป็นภาษาส่วย แปลว่า "ผูกแขน" หรืออาจจะเรียกตามภาษาเขมรถิ่นไทยในแถบสุรินทร์ว่า "ฮาวปลึงจองได" ก็ได้ ซึ่งคำว่า "ฮาวปลึง" หมายถึง "การเรียกขวัญ" ส่วนคำว่า "จองได" มีความหมายว่า "ผูกข้อผูกแขน หรือ ผูกข้อมือ" ซึ่งตามประเพณีอีสานทั้งอีสานเหนือ อีสานใต้ การจัดพิธีบายศรีสู่ขวัญเป็นการแสดงความชื่นชมยินดีให้กับเจ้าของขวัญ ให้มีความสุข อายุยืนยาว มีพิธีการสู่ขวัญ หรือสูตรขวัญ โดยพ่อหมอหรือพราหมณ์เพื่อความเป็นสิริมงคล ซึ่งการสวดนี้ก็จะใช้ภาษาท้องถิ่นแตกต่างไป ในจังหวัดทางอีสานใต้ก็จะใช้ภาษาเขมร เมื่อเสร็จสิ้นการสวดแล้วก็จะมีการผูกข้อมือโดยพราหมณ์ และญาติผู้ใหญ่ เป็นสัญลักษณ์ของการรับขวัญและเป็นสิริมงคลสืบไป

บุญซัตเต ผูกแขนแต่งงานแบบชาวกูย วิถีชีวิตชาวกูยสุรินทร์

ชาวกูย, กวย, โกย, เยอ อพยพเข้าประเทศไทย ครั้งใหญ่ในสมัยปลายอยุธยา (พ.ศ. 2245 - 2326) ชาวกูยมีถิ่นเดิมอยู่บริเวณตอนเหนือของเมืองกำปงธม ประเทศกัมพูชา ชาวกูยที่อพยพมามีหัวหน้าของตัวเอง คนไทยเรียกชาวกูยว่า "เขมรป่าดง" แต่ "ชาวกูย" จะเรียกตัวองว่า กุย หรือ โกย ซึ่งแปลว่า "คน" ส่วนคำว่า "ส่วย" นั้น ชาวกูยเองไม่ค่อยยอมรับชื่อนี้

sat te kui 02

ชาวกวย, กูย, เยอ เป็นกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีมายาวนาน รักสงบ รักอิสระ มีความสามัคคี เป็นคนมีระเบียบวินัย มีเอกภาพในสังคม มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีความโดดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน อย่างเช่น พิธีแต่งงาน "ซัตเต" ของชาวกูย ในแต่ละท้องที่จะมีความแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย แต่ก็มีความเหมือนในด้านความเชื่อและวิธีปฏิบัติ นับเป็นวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่น่าอนุรักษ์ไว้

ขั้นตอนพิธีแต่งงานแบบชาวกูย (พิธีซัตเต)

ขั้นที่ 1 จีเจาะกะมอล คือ การไปทาบทาม หรือไปพูดจาบอกเล่าว่า "ลูกชายมารักชอบพอลูกสาวบ้านนี้" ทางญาติฝ่ายเจ้าสาวจะเห็นพ้องต้องกันในการที่จะให้ทั้งคู่ได้อยู่ใช้ชีวิตร่วมกันหรือไม่ ถ้าเห็นพ้อง ยินดี ก็จะไปสู่ขั้นตอนที่ 2

sat te kui 03

ขั้นที่ 2 จีเมาะกะมอล คือ การที่ฝ่ายเจ้าสาวตอบตกลงและเรียกร้องค่าสินสอด ทองหมั้นตามจำนวนที่เห็นว่าสมควร เหมาะสม ถ้าฝ่ายเจ้าบ่าวได้ตกลงยอมรับค่าสินสอดทองหมั้นตามที่ฝ่ายเจ้าสาวเรียกร้อง ก็จะผ่านไปสู่ขั้นตอนที่ 3

ขั้นที่ 3 จีโต๊ะ คือ การไปหมั้นหมาย มีอุปกรณ์ประกอบการหมั้นหมาย คือ หมาก พลู เหล้า บุหรี่ ทองหมั้น (สร้อย แหวน) หรืออาจเป็นเงินก็ได้ ถ้าตกลงค่าสินสอด ทองหมั้นจำนวนเท่าไหร่ ก็ให้นำมาวางในวันหมั้น ส่วนที่ขาดเหลือให้นำมาในวันซัตเต หรือในวันแต่งงาน

ขั้นตอนที่ 4 ซัตเต คือ พิธีแต่งงาน ซึ่งจะมีอุปกรณ์ประกอบพิธีประกอบด้วย

sat te kui 05

เครื่องเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษของชาวกูย

  • อะหลิเครื่องมาด คือ หมูที่ฆ่าแล้ว แต่ยังไม่ชำแหละ เมื่อเจ้าบ่าวนำมาส่งให้ทางฝ่ายเจ้าสาวแล้วจะต้องแบ่งปันกันในหมู่ญาติ (ทำเป็นอาหารจัดงานเลี้ยง)
  • อะหลิกะมูย คือ หมูเครื่องเซ่น ที่ทางฝ่ายเจ้าบ่าวนำมาเซ่นผีบรรพบุรุษ โดยส่วนนี้ไม่ต้องแบ่งแก่ฝ่ายเจ้าสาว
  • น้ำตาลอ้อย ที่ทำจากน้ำอ้อยบรรจุในใบตาล เพื่อใช้สำหรับไหว้ญาติผู้ใหญ่
  • กระบุง 1 คู่ ในกระบุงบรรจุข้าวเปลือก มีหินลับมีดวางอยู่ข้างข้าวเปลือก
  • เต่าน้ำจืด 1 ตัว
  • ปลาแห้ง (จำนวนพอสมควร)
  • พานบายศรี (มีด้ายมงคลไว้ผูกข้อมือบ่าว-สาว ปริมาณเพียงพอต่อญาติผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย และแขกผู้ใหญ่ที่มาร่วมงาน)
  • ไก่ต้มทั้งตัว (เพื่อใช้ในการเซ่นผีบรรพบุรุษ)
  • ผ้าไหมใหม่ (สำหรับไหว้พ่อแม่เจ้าบ่าว คนละชุด และผลัดเปลี่ยนในพิธีอาบน้ำ 1 ชุด)

sat te kui 04

การแต่งกายบ่าว-สาวด้วยผ้าไหมสวยงามตามแบบชาวกูย

ช่วงพิธีการซัตเต

  • เมื่อฤกษ์งามยามดีมาถึง เริ่มต้นด้วยพิธีตักบาตรพระสงฆ์ร่วมกัน จากนั้น
  • ฝ่ายเจ้าบ่าวแห่ขันหมาก จะแต่งกายแบบชาวกูย จะมีการกางร่มให้เจ้าบ่าว บนร่มผูกจะด้วยผ้าสามสี (แดง ขาว น้ำเงิน) เมื่อถึงบ้านเจ้าสาวก่อนจะเข้าไปภายในบ้านก็มีการกั้นประตูเงินประตูทอง ตามประเพณีแต่งงานทั่วไป
  • น้องหรือญาติเจ้าสาว จะทำการล้างเท้าเจ้าบ่าว โดยให้ยืนบนใบตองกล้วยรองรับด้วยหินลับมีด (เพราะในสมัยโบราณ ยังไม่มีรองเท้าสวมใส่เหมือนดังเช่นในปัจจุบัน ฉะนั้น ตามบ้านเรือนบริเวณบันไดทางขึ้นบ้าน จึงจะมีตุ่มน้ำ หรืออ่างน้ำ ให้เจ้าของบ้านหรือแขกที่มาเยือนได้ล้างเท้าก่อนขึ้นเรือน และเห็นว่าการล้างเท้าบนใบตองและก้อนหินนั้นสะอาดกว่าการล้างเท้าบนพื้นดิน)
  • พรามหมณ์ผู้ประกอบพิธี จูงมือเจ้าบ่าว-เจ้าสาวลงมายังกระท่อม (ปะรำ) พิธี เจ้าบ่าวสวมด้ายมงคล เจ้าสาวสวมกะลอม จะมะ (แหวน ต่างหู สร้อย หรือเครื่องประดับต่างๆ ที่เจ้าบ่าวเตรียมมา)
  • พรามหมณ์ตรวจนับสินสอด เครื่องประกอบต่างๆ ประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญ

sat te kui 06

พานบายศรี พร้อมเครื่องเซ่นไหว้ เสี่ยงทาย และฝ้ายผูกแขน

  • สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพิธีคือ การเสี่ยงทาย ของชาวกูย เมื่อครั้งตั้งแต่สมัยออกไปจับช้างป่า หรือในงานพิธีการใดๆ ที่สำคัญ และงานมงคลแต่งงานนี้ จะต้องมีการเสี่ยงทาย โดยใช้วิธีดึงกระดูกคางไก่เสี่ยงทายคู่ชีวิตของเจ้าบ่าว-เจ้าสาว  หากออกมาไม่คดงอ สวยงามชีวิตก็อยู่มีสุขราบเรียบ
  • พราหมณ์ผูกข้อมือ (ขเยียระเวียร์ - เรียกขวัญคู่บ่าว-สาว)

sat te kui 07
จา พนม ยีรัมย์ ก็เข้าพิธีแต่งงานซัตเต แบบชาวกูย

  • ญาติผู้ใหญ่ แขกผู้มีเกียรติ เพื่อน ซัตเต (ผูกข้อมือ) อวยพรแก่คู่บ่าว-สาว
  • ไหว้บิดามารดา ญาติๆ ฝ่ายเจ้าบ่าว ด้วยไก่ และน้ำ และเจ้าบ่าวรับไหว้ด้วยเงิน เพื่อเป็นทุนในการประกอบอาชีพ ต่อไป
  • เจ้าสาวอาบน้ำให้พ่อแม่เจ้าบ่าว และให้สวมใส่ผ้าไหมชุดใหม่ที่เตรียมไว้ เป็นอันเสร็จพิธีการแต่งงานแบบชาวกูย
  • ยุคสมัยปัจจุบันก็จะมี การจดทะเบียนสมรส เนื่องจากชาวกูยมีความสามารถในการจับช้างป่าในอดีต มีการเลี้ยงช้างเป็นอาชีพในปัจจุบัน เราจึงเห็นว่ามีการจดทะเบียนสมรสบนหลังช้างด้วย ซึ่งมีการจัดงานที่อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ ท่านใดสนใจก็ไปร่วมงานได้ใน วันแห่งความรัก 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี

sat te kui 09

การจดทะเบียนสมรสให้ถูกต้องตามกฎหมายไทยหลังพิธีซัตเต

หนึ่งเดียวในโลก! เมืองช้างจัดวิวาห์หวานวันวาเลนไทน์ 60 คู่รักจดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง 15/02/2020

สาวโสดท่านใด ถ้ามีหนุ่มๆ มาบอกว่า “ซมแซน” (ขอแต่งงาน) แล้วอย่ามัวแต่เขินอายนะ เจาะจงให้หนุ่มๆ บอกญาติผู้ใหญ่ไป จีเจาะกะมอล กับพ่อแม่เรา ถ้าท่านตกลง จีเมาะกะมอล ก็จะได้ จีโต๊ะ แล้วไปร่วมจัดงานแต่งงาน "สมรสหมู่บนหลังช้าง : ซัตเต" กันที่จังหวัดสุรินทร์เลยจ้า

sat te kui 10

ท่านที่สนใจใน ประเพณีแต่งงานของชาวกูยอะจีง (อะจีง=ช้าง) ที่เรียกว่า ซัตเต นี้ สามารถติดต่อที่ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท. สุรินทร์) ซึ่งจะรับสมัครในช่วงเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ทุกปี โดยระบุว่า คู่รักที่มาร่วมในงานจะได้จดทะเบียนสมรสบนหลังช้าง และเข้าพิธีแต่งงานแบบชาวกวย หรือ พิธีซัตเต ของชาวพื้นเมืองสุรินทร์ อันมีการประกอบพิธีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ตั้งแต่ การแต่งกายของเจ้าบ่าวจะต้องนุ่งโสร่งไหม เสื้อแขนยาวสีขาว ผ้าไหมพาดบ่า พร้อมด้ายมงคลสามสีสวมศีรษะ (ด้ายสีแดง ขาว น้ำเงินและทาด้วยข้าวเหนียว)

sat te kui 11

ส่วนการแต่งกายเจ้าสาว ต้องนุ่งผ้าไหมซิ่นลายกวย เสื้อแขนกระบอกสีอ่อน (ขาว ครีม หรือชมพู) พาดด้วยสไบสีแดง และศีรษะสวม “จะลอม” (มงกุฎที่ทำจากใบตาล) จนมีเรียกกันว่า "เจ้าสาว... ในมงกุฏใบตาล" ต่อมาเจ้าบ่าวจัดขบวนขันหมากช้างไปรับเจ้าสาว ก่อนจูงมือกันเข้าประกอบพิธีตามลำดับสำคัญ คือ พิธีสวมด้ายมงคลบ่าวสาว บายศรีสู่ขวัญและพิธีถอดคางไก่เสี่ยงทายชีวิตคู่บ่าวสาวโดยหมอพราหมณ์

 sat te kui 08

เฉลิมพล มาลาคำ มีคู่มานานแต่ก็อยากทำพิธี "ซัตเต" ตามแบบชาวกูยบ้าง

รวมไปถึง การเลี้ยงบุฟเฟ่ต์อาหารช้าง เพื่อความเป็นสิริมงคล และการจดทะเบียนสมรสบนหลังช้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก ก่อนเดินทางไปยังบริเวณวังทะลุ (ที่ลำน้ำชีและลำน้ำมูลไหลมาบรรจบกัน) เพื่อบอกกล่าวศาลปู่-ตา ให้รับทราบถึงการครองคู่เป็นสามีภรรยากัน คู่รักที่สนใจร่วมจดทะเบียนบนหลังช้างและพิธีซัตเต สามารถสมัครได้ที่ สำนักงาน ททท. สุรินทร์ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ โดยจะได้รับของที่ระลึกและไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ (ยกเว้นค่าใช้จ่ายเฉพาะการแต่งกายของคู่บ่าวสาวเท่านั้น)

sat te kui 12

เรื่องที่เกี่ยวข้อง : การเลือกคู่ครอง | การแต่งงานแบบอีสาน | แซนการ์ แต่งงานอีสานใต้ | ซัตเต แต่งงานชาวกุย

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)