foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

ความเป็นมาของการฟ้อนและเซิ้ง

morlum zing 01ดินแดนภาคอีสานร่ำรวยไปด้วยแหล่งอารยธรรมโบราณคดีหลากหลาย วิถีการดำรงชีวิตของผู้คนในแถบนี้ มีแบบอย่างผสมกลมกลืนกัน ทั้งความเชื่อที่มาจากศาสนาพุทธ ฮินดู ภูติผีวิญญาณ ความเชื่อดังกล่าวเป็นคติความเชื่อที่มีความหมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งในระดับครอบครัว ระดับหมู่บ้านและระดับรัฐ จากข้อมูลท้องถิ่นด้านภาษา วรรณกรรม พิธีกรรม ตลอดจนแบบแผนในการดำรงชีวิตของชาวอีสาน โดยเฉพาะหลักฐานทางพุทธศาสนานั้น ไม่สามารถสนองตอบความต้องการทางใจ หรือสามารถเป็นที่พึ่งทางใจได้ ในขณะที่เกิดภัยพิบัติ ซึ่งเกิดจากธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม   ความแห้งแล้งอย่างสาหัส หรือเหน็บหนาวในหน้าเก็บเกี่ยว ชาวอีสานจึงหันไปพึ่งพาเทวดา ฟ้าดิน ภูติผี วิญญาณ อันได้แก่ ผีฟ้า ผีแถน ผีปู่ตา ผีตาแฮก ตลอดจนผีมเหสักข์หลักเมืองแทน

มูลเหตุแห่งความเชื่อว่า ธรรมชาติทั้งหลายไม่ว่าจะเป็น แผ่นดิน ผืนน้ำ พืช สัตว์ มนุษย์ อุบัติขึ้นในโลกด้วยอำนาจแห่งผีฟ้าหรือผีแถน ซึ่งในพงศาวดารล้านช้างกล่าวถึงชนกลุ่มแรกที่ออกมาจากน้ำเต้าปุ้งว่า

ขุนทั้งสามคือ ปู่ลางเชิง ขุนเค็ก ขุนคาน ขออนุญาตต่อแถน เพื่อลากลับมาอยู่เมืองมนุษย์ตามเดิมโดยอ้างว่า "ข่อยนี้อยู่เมืองบน ก็บ่แก่น แล่นเมืองฟ้าก็บ่เป็น" พระยาแถนจึงอนุมัติให้อพยพลงมาอยู่ "นาบ่อนน้อยอ้อยหนู" และให้ควายลงมาไถนาด้วย ต่อมาควายตัวนี้ตายลงจึงเกิดเป็นต้นน้ำเต้าขึ้น ที่ซากของควายมีผลน้ำเต้าใหญ่มากผลหนึ่ง (ชาวอีสานเรียกว่า น้ำเต้าปุ้ง) เมื่อผลน้ำเต้านั้นโตเต็มที่ก็ได้ยินเสียงคนอยู่ในนั้นเป็นจำนวนมาก

ขุนทั้งสามจึงเอาเหล็กชีแดง(เหล็กแหลมเผาไฟ)เจาะรูเพื่อให้คนออกมา 2 รู คือ พวกไทยลม กับ ไทยผิวเนื้อดำคล้ำ ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกข่า ขอม เขมรและมอญ แต่ยังมีคนเหลืออยู่ในน้ำเต้าปุ้งอีก ขุนทั้งสามจึงหาสิ่วมาเจาะใหม่อีก 3 รู พวกที่ออกมารุ่นหลังนี้ไม่ถูกรมควันจากเหล็กชี จึงมีผิวกายขาวกว่าได้แก่ ไทยเลิง ไทยลอ ไทยคราว ซึ่งกลายมาเป็นบรรพบุรุษของคนลาว คนไทย คนญวณ ในภายหลัง จึงปรากฏในฮีตคองว่า

เถิงเดือนเจียงนั้นให้เลี้ยงผีมดผีหมอ ผีฟ้า ผีแถน และนิมนต์พระสงฆ์เจ้าเข้าปริวาสกรรม"

เถิงเดือนเจ็ดฟ้าวเลี้ยงมเหสักข์หลักเมือง บนอารีกขาเทพยดาทั้งสี่ คือ ท้าวจตุโลกบาล ผู้ปกครองรักษาโลกอันได้แก่ ท้าวธตะรัฏฐะ ท้าววิรุฬหวะ ท้าวรัฐปักขะ และท้าวกุเวระและเทพยดาทั้งแปด"

ชาวอีสานจึงยึดมั่นในลัทธิภูติผีวิญญาณตลอดมา จึงพบได้ว่า มีพิธีกรรมจำนวนมากที่พยายามติดต่อกับวิญญาณโดยผ่าน กระจ้ำ หรือ หมอจ้ำ และมีการเซ่นสรวงบวงพลี เพื่อให้เป็นที่ชื่นชอบของวิญญาณเหล่านั้น กระจ้ำหรือหมอจ้ำต้องสาธยายเวทย์มนต์ ซึ่งมีการผูกสัมผัสเป็นบทร้อยกรองขับเห่ เพื่อพรรณาเนื้อความที่วิงวอน ขับไล่วิญญาณและสิ่งชั่วร้าย บทพรรณาในพิธีกรรมเหล่านี้ได้ถูกพัฒนาโดยการนำเครื่องดนตรีมาประกอบ เปลี่ยนจากหมอจ้ำมาเป็นผู้เชี่ยวชาญในการขับลำนำที่เรียกว่า หมอลำ โดยมีแคนเป็นเครื่องประกอบ เพิ่มความสนุกสนาน ทำให้เกิดการฟ้อนรำประกอบ

ดนตรีและการฟ้อนรำของชาวอีสานนั้น ส่วนใหญ่ใช้เพื่อประกอบพิธีกรรม และเป็นการรื่นเริงหลังฤดูการเก็บเกี่ยว หรือมีความสำเร็จในการประกอบอาชีพ เช่น การล่าสัตว์ การเพาะปลูก ย่อมต้องมีการขอบคุณวิญญาณหรือเทพเจ้าที่ได้ช่วยอำนวยให้เกิดผลดี ดังปรากฏในพงศาวดารว่า

พระยาแถนหลวงให้ศรีคันธพะเทวดา ลาลงมาบอกสอนคนทั้งหลายให้เฮ็ด ฆ้อง กลอง กรับ เจงแวง ปี่พาทย์ พิณ เพี๊ยะ เพลงกลอน ได้สอนให้ดนตรีทั้งมวล และเล่าบอกส่วนครูอันขับฟ้อนฮ่อนนะสิ่งสว่าง ระเมง ละมาง ทั้งมวลถ้วนแล้ว ก็จั่งเมือเล่าเมือไหว้แก่พระยาแถนหลวงสู่ประการนั้นแล"

bulletความหมายของคำว่า "เซิ้ง" และ "ฟ้อน"

ตามความเข้าใจของคนทั่วไปคิดว่า รำ หรือ ระบำ เป็นการร่ายรำหรือฟ้อนของคนภาคกลาง ฟ้อน เป็นการร่ายรำของคนภาคเหนือ เซิ้ง เป็นการร่ายรำของคนภาคอีสาน แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ การฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีมานาน และเรียกว่าฟ้อนมาโดยตลอด เช่น ในวรรณคดีอีสานหลายเรื่องจะใช้คำว่า ฟ้อน ตลอด ไม่ปรากฏคำว่า รำ ให้เห็นเลย อย่างคำว่า "ยามยามฟ้อน ระทวยฟ้อน ลิงโขนฟ้อน กินรีหย่องฟ้อน ทั้งลำและฟ้อน ฟ้อนหย่อนขา คนฟ้อนใส่กัน หมอแคนฟ้อนแอ่น ฯลฯ"

serng bangfai 01

ส่วนคำว่า "เซิ้ง" นิยมใช้ในงานบุญบั้งไฟ การเซิ้งบั้งไฟเป็นการฟ้อนประกอบการขับกาพย์เซิ้ง ลักษณะขึ้นลงตามจังหวะช้าๆ ของกลองตุ้ม พังฮาด หรือในบางครั้งก็มีโทนประกอบ นิยมเซิ้งกันเป็นกลุ่มๆ ตั้งแต่ 3-4 คนขึ้นไป จะมีหัวหน้าเป็นคนขับกาพย์เซิ้งนำ แล้วคนอื่นๆ จะร้องรับไปเรื่อยๆ อย่างเซิ้งในบุญบั้งไฟที่ว่า

โอ เฮา โอ ศรัทธา เฮาโอ   ขอเหล้าเด็ดนำเจ้าจักโอ

ขอเหล่าโทนำเจ้าจักถ้วย   หวานจ้วยจ้วยต้วยปากหลานชาย

ดักมายายหลานชายให้คู่   คันบ่คู่ตูข้อยบ่หนี

ตายเป็นผีสินำมาหลอก   ออกจากบ้านสิหว่านดินนำ

คันให้แล้วหลายแก้วสิให้พร   เลี้ยงควายด่อนให้เป็นโตเขาคำ

เลี้ยงควายดำให้เป็นโตเขาแก้ว  เลี้ยงใหญ่แล้วกะคาดไฮ่คาดนา "

ส่วนการที่มีความเข้าใจว่า เซิ้ง หมายถึงการฟ้อนของคนอีสานนั้น น่าจะมาจากการประดิษฐท่ารำ "เชิ้งกระติบ" ขึ้น โดยนำเพลงมาจากหมอลำ และใช้ดนตรีประกอบด้วย กลอง แคน ซึง กรับ โปงลาง ซึ่งในครั้งนั้นผู้แสดงทุกคนแต่งตัวนุ่งซิ่น ห่มผ้าสไบ เกล้าผมสูง และนำกระติบข้าวห้อยทางไหล่ขวา สาเหตุของการนำกระติบข้าวมาใช้ในการแสดง เพราะเห็นว่ากระติบข้าวเป็นสัญญลักษณ์ของคนอีสาน การเซิ้งครั้งแรกนั้น ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค เป็นผู้ตั้งชื่อให้ว่า "เซิ้งอีสาน" ต่อมาได้มีการนำไปแสดงกันแพร่หลาย และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "เซิงกระติบข้าว" มีการดัดแปลงท่ารำอีกมากมาย เช่น เซิ้งสวิง เซิ้งสาวไหม เซิ้งข้าวปุ้น เซิ้งกระด้ง เซิ้งกระหยัง เซิ้งสาละวัน เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เป็นต้น แต่ถ้าพิจารณาให้ดีแล้วจะเป็นลักษณะของการฟ้อนมากกว่าการเซิ้ง ดังที่ได้อธิบายมาแล้ว

bulletลักษณะการฟ้อนในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสาน 

ลักษณะการฟ้อนพื้นบ้านอีสานที่ปรากฏในวรรณกรรมพื้นบ้านนั้น แสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของชาวอีสาน คือ การฟ้อนแอ่นตัวมาข้างหลังนิยมโยกตัว และย้อนหรือย่อเข่าขึ้นลง ซึ่งมีลักษณะเนิบๆ นิยมฟ้อนในลักษณะเป็นขบวนโดยเยาะย่างเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน ซึ่งลักษณะการฟ้อนเช่นนี้ปรากฏในวรรณกรรมพื้นบ้านหลายเรื่อง เช่น

  • สังข์ศิลป์ชัย

    ฟังยินซุงพาดพ้อม   ปนมีแกมแก
    นางกะลิงประดับ      แกว่งแพนเพื่อยฟ้อน
    เสียงสันแก้ว           กินรีฮ้องฮ่ำ "

    แกว่งแพนเพื่อยฟ้อน เป็นลักษณะการฟ้อนทิ้งแขนไปด้านหลังอย่างอ่อนช้อนสวยงาม

  • พญาคันคาก

    นางกะลิงฟ้อน  บูชายียาบ พุ้นเยอ
    ว่อนๆ ก้อง       แคนได้พาทย์ซุง "

    การฟ้อนยียาบ เป็นลักษณะการฟ้อนด้วยการเคลื่อนไหวที่อ่อนช้อยสวยงาม หรือ

    ฟังยินครื้นๆ ก้อง   เสียงเสพนนตี พุ้นเยอ
    คีงกลมงาม          อ่อนทั่วระทวยฟ้อน
    บูชาเจ้า              พระองค์หลวงซ้องพระเนตร
    สรรพสิ่งพร้อม     เขาหลิ่นชื่นชม "

    ลักษณะการเคลื่อนขบวนฟ้อนนั้นนิยมฟ้อนเป็นแถวตอน หรือแถวหน้ากระดาน เป็นการฟ้อนเป็นขบวนตามตามกัน เช่น

    งามยิ่งแย้ม             คือแท้ดั่งสิหัว
    มีทั้งฮูปนางฟ้า        แย้มยิงพอแสน
    คือดั่งมีมายา          เหลียวแลหัวแย้ม 
    มีทั้งฮูปนาคาเกี้ยว  นาคีนอนไขว่
    กินรีหย่องฟ้อน    งามแย้งจ่องเครือ "

    ลักษณะของการ "หย่องฟ้อน" คือการฟ้อนในลักษณะการเยาะย่างไป ถ้าเป็นการฟ้อนที่เคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน เป็นจำนวนมากจะใชคำว่า ยาบยาบ เช่น

    หลิงเบิ่ง ยาบยาบฟ้อน ฝูงหมู่นางกะลิงพุ้นเยอ คิงกลมงาม แอ่นมือทั้งฟ้อน "

  • ผาแดงนางไอ่ เป็นวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานที่กล่าวถึงการฟ้อนมากที่สุดเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะแสดงให้เห็นการฟ้อนในขบวนเซิ้งบั้งไฟอย่างชัดเจน

    หมอลำพร้อม  หมอแคนฟ้อนแอ่น
    พากันแอะแอ่นฟ้อน  ลำย้อนโจทย์กัน
    ปานสวรรคหนห้อง   เมืองทองพระอินทร์อยู่
    ดูดั่งคนมากล้น  สนแล้ว แอ่วสาว
    ฝูงหมู่เฮาสีแก้ว  สาวงามมีมาก
    เขาหากตกแต่งเอ้  ตัวฟ้อนค่องกัน "

    ฟ้อนแอ่น หรือ แอะแอ่นฟ้อน เป็นลีลาการฟ้อนของชาวอีสานที่นิยมแอ่นตัวมาทางด้านหลัง ซึ่งเราจะเห็นลักษณะการฟ้อนเช่นนี้ได้จาก การฟ้อนของหมอลำ นอกจากนี้ยังมีลักษณะการรำอีกหลายแบบ เช่น

  • แพนฟ้อน เป็นลักษณะการฟ้อนโดยทิ้งแขนไปด้านหลังเหมือนเวลานกยูงลำแพน หรือคล้ายกับท่านกยูงฟ้อนหาง
  • คนฟ้อนหย่อนขา ลักษณะการฟ้อนในขบวนเซิ้งบั้งไฟ หรือขบวนฟ้อนต่างๆ ของชาวอีสานนิยมฟ้อนโดยยกขาเตะไปข้างหน้า ก้าวไขว่ และขย่มตัว ซึ่งเป็นลีลาที่เกิดการเคลื่อนไหวที่นุ่มนวลขึ้น

ในวรรณกรรมพื้นบ้านอีสานยังมีการฟ้อนดาบ ซึ่งคล้ายกับฟ้อนเจิงในภาคเหนือ เรียกว่า ฟ้อนดาบลาคำ ซึ่งก็คือการรำกระบี่กระบอง ซึ่งเป็นการฟ้อนเพื่อแสดงความพร้อมในการศึกสงคราม

 

bulletคุณค่าของการฟ้อนพื้นเมือง

  • คุณค่าทางด้านร่างกาย (Physical Values)
    การฟ้อนรำเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง เพราะการฟ้อนรำเป็นกิจกรรมของการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น ลำตัว แขน ขาและมือ ให้ประสานเข้ากับจังหวะดนตรี การฝึกหัดการฟ้อนรำจึงช่วยการปรับปรุงทักษะของการเคลื่อนไหว การทรงตัว ทำให้ได้ออกกำลังกล้ามเนื้อ และถ้าฝึกหัดจนเกิดความชำนาญแล้ว ก็สามารถควบคุมอวัยวะทุกส่วนให้ประสานงานกันอย่างกลมกลืน ซึ่งหมายถึงการฟ้อนได้อย่างสวยงาม
  • คุณค่าทางสังคม (Social Values)
    การฟ้อนเป็นกิจกรรมร่วมกันของชุมชน การได้ร่วมกันฟ้อนเช่นในงานบุญต่างๆ จะก่อให้เกิดความเป็นมิตร ซึ่งส่งผลให้เกิดความสงบสุขในชุมชน
  • คุณค่าทางวัฒนธรรม (Cultural Values)
    การฟ้อนรำเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เป็นเครื่องแสดงความเป็นอารยชาติ ชาติใดไม่มีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ชาตินั้นก็จะได้ชื่อว่าไม่มีความเจริญเป็นของตนเอง นอกจากนั้นศิลปวัฒนธรรมยังเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเกิดความภาคภูมิใจของชนในชาติ
  • คุณค่าทางนันทนาการ (Recreational Values)
    การฟ้อนรำจะทำให้ได้รับความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของอารมณ์ หลังจากที่เหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน ดังนั้นชาวอีสานจึงนิยมจัดให้มีการฟ้อนรำ หรือการละเล่นเพื่อความสนุกสนานหลังจากการทำงานหรือในหลังฤดูการเก็บเกี่ยว

 serng pa mee

 next greenคลิกไปอ่าน  การแสดงที่ปรากฏในภาคอีสาน

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)