foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการแสดงที่ปรากฏในภาคอีสาน

ารละเล่นพื้นบ้าน หรือการมหรสพ นับเป็นมรดกที่แสดงภูมิปัญญาที่สะสมจากอดีต จวบปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

    1. เพลงพื้นบ้าน
    2. ละครพื้นบ้าน
    3. การฟ้อนพื้นบ้าน
    4. เอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

bulletเอกลักษณ์การฟ้อนภาคอีสาน

3diamondดูอย่างไรว่าเป็นการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

การฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ที่ผู้ชมสามารถแยกแยะได้ทันทีว่า "ต่างจากภาคอื่นๆ" แม้จะไม่มีการประกาศให้ทราบล่วงหน้าก่อนการแสดง ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

  1. ท่วงทำนองของดนตรี จังหวะ ลีลาเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น มีความสนุกสนานเร้าใจแตกต่างจากภาคอื่นๆ ของไทย
  2. การแต่งกายของผู้แสดง ทั้งนักแสดงหญิงและชายจะมีความเด่นชัด ในฝ่ายหญิงจะนุ่งซิ่นมัดหมี่ สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบหรือแพรวา ผมเกล้ามวย ฝ่ายชายจะสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งโสร่งผ้าลายเป็นตาๆ ก็พอจะบอกได้ว่าเป็นการแสดงของอีสาน
  3. เครื่องดนตรี นับเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาคอีสานอบ่างชัดเจน พิณ แคน โปงลาง โหวด ไหซอง กลองตุ้ม ถึงแม้จะยังไม่มีการบรรเลงก็พอจะบอกได้ว่า การแสดงต่อไปนี้จะเป็นการแสงของภาคอีสาน
  4. ภาษาอีสาน แน่นอนว่าเป็นภาษาเฉพาะถิ่นที่มีสำเนียงที่แตกต่าง เป็นการชี้ชัดว่าเป็นการแสดงของภาคอีสาน

3diamondท่าฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นมีความเป็นอิสระสูง ไม่มีข้อจำกัดตายตัว ทั้งมือและเท้า ส่วนใหญ่ท่าฟ้อนจะได้มาจากท่าทาง หรืออริยาบทตามธรรมชาติ และมีท่าพื้นฐานที่แตกต่างกันไปเฉพาะถิ่น เช่น ฟ้อนผู้ไท ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทยดำ เรือมอันเร เป็นต้น

fon isan

ถึงแม้จะมีความคิดที่จะพยายามกำหนดท่าฟ้อนของภาคอีสาน ให้เป็นแบบฉบับขึ้น มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับนาฏศิลป์ภาคกลางที่มี "ท่าแม่บท" เป็นพื้นฐานในการฟ้อนรำนั้น เป็นแนวคิดหนึ่งที่ต้องการให้การฟ้อนภาคอีสานมีระบบ และหลักเกณฑ์ที่แน่นอนขึ้น ซึ่งไม่น่าจะเป็นแนวคิดที่ถูกต้องนัก เพราะจะเป็นการตีกรอบให้ตัวเองมากเกินไป ซึ่งตามจริงแล้ว ท่าฟ้อนของอีสานมีความเป็นอิสระ ไม่มีการกำหนดท่าแน่นอนตายตัวว่าเป็นท่าอะไร ขึ้นอยู่กับผู้ประดิษฐ์ท่ารำ จะตั้งชื่อว่าเป็นท่าอะไร ความเป็นอิสระนี่เองที่ทำให้เกิดท่าฟ้อนชุดใหม่ๆ ที่แปลกตา สวยงามยิ่งขึ้น

ท่าฟ้อนที่เป็นแม่แบบส่วนใหญ่นำมาจากกลอนลำ ซึ่งเรียกว่า "กลอนฟ้อน" เป็นกลอนยาว ใช้กลอนเจ็ด แปด หรือกลอนเก้า แล้วแต่ผู้แต่งถนัดแบบใด การฟ้อนเป็นศิลปะอันหนึ่งที่มาพร้อมกับการลำ การฟ้อนจะมีกี่แบบไม่ปรากฏแน่ชัด แต่หมอลำจะแต่ง กลอนฟ้อนแบบต่างๆ ไว้ ในขณะที่ลำหมอลำจะฟ้อนแสดงท่าทางตามกลอนที่แต่ง ดูแล้วเป็นการสนุกสนาน เช่น กลอนฟ้อน ของหมอลำเปลี่ยน วิมลสุข

มีความพยายามในการแบ่งท่ารำภาคอีสานออกมาให้ชัดเจนซึ่งมีหลายสำนัก เช่น จิราภรณ์ วุฒิพันธ์ (นาฏศิลป์อีสาน) ได้แบ่งออกเป็น 32 ท่า ดังนี้

  1. ท่าแฮ้งตากขา
  2. ท่ากาตากปีก
  3. ท่าหลีกแม่ผัว
  4. ท่าคว้าหำปู่
  5. ท่าไกวอู่กล่อมหลาน
  6. ท่าหนุมานคลุกฝุ่น
  7. ท่าตุ่นเข้าอู่
  8. ท่าหนุมานถวายครูพิเภก
  9. ท่าหนุมานถวายแหวน
  10. ท่าแห่บั้งไฟแสน
  11. ท่าเมาเหล้า
  12. ท่าลำเจ้าชู้หยิกหยอกตาหวาน
  13. ท่านักเลง
  14. ท่ากวยครูมวยซิต่อย
  15. ท่ากินรีเที่ยวชมดอกไม้
  16. ท่านกยูงรำแพน
  1. ท่าผีไท้ลงข่วง
  2. ท่าพายเฮือส่วง
  3. ท่าลำเกี้ยวกันพวกหมอลำคู่
  4. ท่าลำหมู่ออกท่าลำเพลิน
  5. ท่ามโนราห์เหาะเหิรบินบนขึ้นเลิ่น
  6. ท่ารำโทนสมัยก่อน
  7. ท่าเสือออกเหล่า
  8. ท่าเต่าลงหนอง
  9. ท่าปลาชะโดลงคลอง
  10. ท่าแอะแอ่นแหงงมือให้เรียบ
  11. ท่านักมวย
  12. ท่างัวชนกัน
  13. ท่าคนโบราณเลื่อยแป้น
  14. ท่าสาวเตะกล้า
  15. ท่าผู้เฒ่าจับอู่โหย่นหลาน
  16. ท่าแม่ลูกอ่อนกินนม

ส่วนวิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ดได้คิดประดิษฐ์ชุดฟ้อนขึ้น โดยกำหนดว่าท่าแม่บทอีสานมีอยู่ 48 แม่ท่า เช่น ท่าพรหมสี่หน้า ท่าทศกัณฑ์เกี้ยวนางมณโฑ ท่าช้างเดินตามแม่ ท่าช้างชูงวง ท่ากาเต้นก้อน ท่ากากางปีก ท่าหลีกแม่เมีย ท่าลมพัดพร้าว ท่าท่าเสือออกเหล่า ท่าเต่าลงหนอง ท่าคนขาแหย่ง ท่าปู่สิงหลาน ท่าผู้เฒ่าฟังธรรม ท่าเกียจับไม้ ท่าบินนางมโนราห์ เป็นต้น [ อ่านเพิ่มเติม : ฟ้อนแม่บทอีสาน ]

 ฟ้อนแม่บทอีสาน

3diamondลักษณะท่ามือและท่าเท้าการฟ้อนพื้นบ้านอีสาน

  1. ท่ามือ ถ้าพิจารณาการเคลื่อนไหวของมือ คงเหมือนกับคำกล่าวที่ว่าท่าฟ้อนของอีสานเหมือน "ม่อนท่าวใย" คงเห็นภาพพจน์ได้ดีจากการฟ้อนของหมอลำที่หมุนมือพันกัน คล้ายกับตั่วม่อนชักใยพันตัว ท่าฟ้อนของภาคอีสานนั้นได้มาจากธรรมชาติคือ มีความเป็นอิสระ ขึ้นอยู่กับลีลาของผู้ฟ้อนที่จะขยับมือเคลื่อนกายไปอย่างไร
    • การจีบมือ ของชาวอีสานนั้นนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ไม่จดกัน จะห่างกันเล็กน้อยซึ่งแตกต่างจากการจีบของภาคกลาง ไม่สามารถเอาหลักนาฏศิลป์ของภาคกลางมาจับท่าฟ้อนของชาวอีสานได้ เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าจะจีบหงาย จีบคว่ำตอนไหน
  2. ท่าเท้า ท่าเท้าของการฟ้อนแบบอีสานมีลีลาแตกต่างจากภาคกลางเช่นเดียวกัน ซึ่งพอจำแนกท่าเท้าที่ใช้ในการฟ้อนได้ดังนี้
    • ท่าซอยเท้า เช่น การรำเซิ้ง การซอยเท้าให้เข้าจังหวะกลอง โดยเปิดส้นเท้าเล็กน้อย ย่อเข่ายกส้นเท้าขึ้นไปด้านหลังให้มากที่สุด ซอยเท้าอย่างสม่ำเสมอ การรำเซิ้งนั้นมิใช่ยกเท้าให้ส้นเท้าสูง หรือยืนโดยอาศัยปลายเท้าคล้ายการเต้นบัลเล่ย์ซึ่งดูแล้วตลกผิดธรรมชาติ แต่เป็นการเปิดส้นเท้าเพียงเล็กน้อยเพื่อสะดวกในการซอยเท้า ซึ่งท่านี้ก็ไม่ใช่การย่ำเท้าอยู่กับที่โดยเหยียบเต็มฝ่าเท้า
    • ท่าเท้าของผู้ไทเรณูนคร การฟ้อนผู้ไทเรณูนครนอกจากจะมีการก้าวเดินตามธรรมดาแล้ว ยังมีอีกท่าหนึ่งซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของเรณูนครเท่านั้น คือมือบนจีบข้างหูโดยปลายนิ้วที่จีบจะหันเข้าข้างหู แล้วส่งจีบผ่านใต้รักแร้ไปด้านหลัง แทงปลายมือไปด้านหน้าในลักษณะคว่ำมือม้วนมือมาจีบไว้ข้างหูดังเดิม สลับกันไปทั้งมือซ้ายและมือขวา คือ ถ้ามือซ้ายจีบไว้ข้างหู มือขวาก็จะส่งไปข้างหลัง
      ส่วนท่าเท้าก็จะใช้ 4 จังหวะ คือ ขย่มตัว 2 จังหวะ ถ้ามือไหนส่งหลังกำลังจะแทงไปข้างหน้า ก็ใช้เท้าด้านนั้นแตะพื้น 4 ครั้ง อีก 2 จังหวะ โดยครั้งที่ 4 จะเหยียบขย่มตัว 2 จังหวะ ใช้เท้าอีกข้างหนึ่งแตะพื้น 4 ครั้ง แล้วเหยียบกันไปมาซึ่งจะสอดคล้องกับท่ามือที่เคลื่อนไหวไปมา
    • ท่าเท้าของผู้ไทกาฬสินธุ์ ท่าเท้าของการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์และการฟ้อนโปงลาง จะใช้ท่าก้าวเท้าเช่นเดียวกันคือ การก้าวไขว้เท้าโดยเตะเท้าไปข้างหน้าก้าวไขว่ขย่มตัว ชักเท้าหลังเตะไปด้านหน้าไขว่เท้าขย่มตัวสลับกันไป ลักษณะคล้ายกับการเต้นควิกสเต็ป ที่แตกต่างกันก็คือการเตะเท้าไปข้างหน้า นอกนั้นใช้หลักการก้าวเท้าเช่นเดียวกับการเต้นควิกสเต็ป
    • ท่าสืบเท้าหรือกระถดเท้าไปด้านข้าง ท่านี้จะใช้ในการฟ้อนผู้ไทในจังหวัดกาฬสินธุ์ เช่นกัน เป็นการก้าวชิดก้าว แต่เป็นการก้าวเท้าไปทางด้านข้าง มีลักษณะเช่นเดียวกับการสไลด์เท้าไปทางด้านข้างนั่นเอง

ชุดฟ้อนของภาคอีสานส่วนใหญ่จะใช้การก้าวเท้าลักษณะเดียวกับการรำเซิ้ง จะมีพิเศษอีกแบบหนึ่งคือ ท่าเท้าของผู้ชายในการฟ้อนผู้ไท จะใช้ลีลาการก้าวเท้าของการรำมวยที่เรียกว่า การรำมวยลาว หรือรำมวยโบราณ ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอีกแบบหนึ่ง

 การแสดงรำมวยโบราณ

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนแบบต่างๆ

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)