คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
การละเล่นพื้นบ้าน หรือการมหรสพ นับเป็นมรดกที่แสดงภูมิปัญญาที่สะสมจากอดีต จวบปัจจุบัน ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
การฟ้อนรำของมนุษย์จะเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์มีความเจริญทางอารมณ์และจินตนาการ ความสร้างสรรค์พอสมควร ดังนั้นมนุษย์ในทุกๆ หมู่จะมีการเต้นรำหรือฟ้อนรำเป็นของตนเอง และพัฒนารูปแบบขึ้นมาตามลำดับ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้กล่าวถึงความเป็นมาของการฟ้อนรำว่า
การฟ้อนรำย่อมเป็นประเพณีในเหล่ามนุษยชาติทุกภาษาไม่เลือกว่าจะอยู่ ณ ประเทศถิ่นสถานที่ใด
ในพิภพนั้นคงมีวิธีฟ้อนรำตามวิสัยชาติของตนด้วย ทั้งนั้น อย่าว่าแต่มนุษย์เลย ถึงแม้สัตว์เดรัจฉาน
ก็มีวิธีฟ้อนรำ ข้อนี้สังเกตเห็นได้ง่าย เช่น สุนัข และไก่กา เป็นต้น "
ในการที่จะวินิจฉัยว่า มนุษย์หมู่ใดมีความเจริญก้าวหน้าหรือล้าหลังหมู่อื่น โดยใช้แบบหรือศิลปะการแสดงมาเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ โดยเฉพาะการฟ้อนรำของชนในชาตินั้น การฟ้อนรำจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
การฟ้อนรำตามแบบฉบับของชาวอีสานนั้น ผู้ฟ้อนมิได้เป็นช่างฟ้อนหรือช่างขับลำ แต่เป็นชาวบ้านในชุมชนหมู่บ้าน การฟ้อนรำอาจจัดให้มีขึ้น เพื่อการเฉลิมฉลองในวาระโอกาสต่างๆ เช่น หลังฤดูการเก็บเกี่ยว หรือฟ้อนรำเพื่อการทรงเจ้าเข้าผี เพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย เครื่องแต่งกายก็เป็นไปตามท้องถิ่น ข้อสำคัญต้องมีดนตรี มีจังหวะชัดและทำนองง่ายๆ ประกอบเพื่อให้การฟ้อนรำพร้อมเพรียงกัน
เมื่อเป็นการฟ้อนของชาวบ้าน และเป็นการฟ้อนประจำของท้องถิ่น จึงมีผู้สืบทอดและสนใจในกลุ่มเล็กๆ ในท้องถิ่น และสถาบันทางการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัยครู (สถาบันราชภัฏ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในปัจจุบัน) จนกระทั่งมีการจัดตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ขึ้น 2 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด และวิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์
จึงมีการจัดรวบรวมฟื้นฟูดนตรีและนาฏศิลป์พื้นเมืองอีสาน ทั้งในวิทยาลัยครู และสถานศึกษาอื่นๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีการประดิษฐ์คิดค้นการฟ้อนชุดใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากมาย มีการพัฒนารูปแบบ เช่น การแปรแถว การจัดขบวนฟ้อนที่งดงามยิ่งขึ้น เมื่อพิจารณาการฟ้อนทั้งชุดเก่าและใหม่ที่พัฒนาเพิ่มเติมในปัจจุบัน พอจะจัดกลุ่มการฟ้อนชุดต่างๆ ได้ 8 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
คลิกไปอ่าน การฟ้อนแบบต่างๆ
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)