คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ศิลปะทุกแขนงล้วนมีรากฐานมาจากธรรมชาติ การฟ้อน ซึ่งเป็นศิลปะแขนงหนึ่ง ก็อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐานในการพัฒนาเช่นเดียวกับศิลปะแขนงอื่นๆ โดยเฉพาะศิลปะการแสดงของภาคอีสาน ทั้งในด้านดนตรีและนาฏศิลป์ โดยทั่วไปสัตว์แต่ละชนิด จะมีอาการที่น่าสนใจแตกต่างกัน บางชนิดจะมีลักษณะท่วงท่าสง่างาม บางชนิดมีลักษณะแช่มช้อย บางชนิดคึกคักเข้มแข็ง ดังนั้นจึงเกิดมี ระบำ รำ เต้น ของไทยหลายชุด ที่ได้นำกิริยาอาการของสัตว์เหล่านั้น มาเป็นชุดการแสดงขึ้น เช่น ระบำไก่ ระบำนกเขา ระบำครุฑ ระบำเงือก ระบำบันเทิงกาสร ระบำกุญชรเกษม ระบำมยุราภิรมย์ เป็นต้น เฉพาะการฟ้อนเลียนกริยาอาการของสัตว์ในภาคอีสานนั้น มีการแสดงอยู่เพียง 2 ชุด ได้แก่
กะโน้บติงต๊อง เป็นการแสดงของชาวจังหวัดสุรินทร์ คำว่า กะโน้บติงต๊อง เป็นภาษาถิ่นของชาวอีสานใต้ แปลว่า ตั๊กแตนตำข้าว กะโน้บติงต๊องเป็นการละเล่นที่ให้ความสนุกสนาน ด้วยลีลาที่เลียนแบบมาจากการกระโดด หรือการโยกตัวของตั๊กแตน ท่าเต้นแต่ละท่าจะใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เอว ท่าเต้นจะแสดงลีลาการเกี้ยวพาราสีระหว่างตั๊กแตนตัวเมียและตัวผู้ ลักษณะการละเล่นจะเป็นการเล่นเป็นหมู่ เป็นกลุ่มยิ่งผู้แสดงมากยิ่งเพิ่มความสนุกมากขึ้น
การเต้นกะโน้ปติงต็อง เป็นการละเล่น เต้นเลียนแบบลีลาท่าทางการเคลื่อนไหวของตั๊กแตนตำข้าว จากการคิดริเริ่มโดย นายเต็น ตระการดี ชาวบ้านโพธิ์กอง ตำบลไพล (ปัจจุบัน คือ ตำบลเชื้อเพลิง) อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ เมื่อครั้งเดินทางเข้าไปในประเทศกัมพูชา โดยขบวนเกวียนสินค้า (เกลือ) ไปค้าขาย นำไปแลกเปลี่ยนปราเฮ๊าะ (ปลาร้า) จากประเทศกัมพูชา (เขมร) ในขณะที่หยุดพักเหนื่อยนายเต็น ได้มองเห็นตั๊กแตนตำข้าวกำลังเกี้ยวพาราสีกัน และผสมพันธุ์กันอยู่ นายเต็นเฝ้าดูลีลาของตั๊กแตนคู่นั้นด้วยความประทับใจ เมื่อนายเต็นเดินทางมาถึงบ้าน จึงเกิดความคิดว่า ถ้านำเอาลีลาการเต้นของตั๊กแตนตำข้าวมาดัดแปลงและเต้นให้คนดูก็คงจะดี จึงนำแนวคิดนี้มาเล่าให้ นายเหือน ตรงศูนย์ดี หัวหน้าคณะกันตรึม ที่เล่นอยู่ในหมู่บ้านรำเบอะ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์ ทั้งสองจึงได้ร่วมกันแสดงต่อเนื่องกันมา การเล่นกะโน้ปติงต็องจะเต้นเป็นคู่ๆ เดิมมีผู้แสดงเพียง 2 คน เล่นสอดแทรกในวงมโหรีพื้นบ้าน
ต่อมาราวปี พ.ศ. 2473 นายยันต์ ยี่สุ่นศรี ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโพธิ์ทอง ตำบลไพล ได้นำท่าเต้นมาดัดแปลงเพิ่มเติม ให้มีลีลาสวยงามยิ่งขึ้น และครูสมพงษ์ สาคเรศ ได้แต่งเนื้อเพลงประกอบการเต้น และก็ได้มีการประดิษฐ์เครื่องแต่งกายให้มีความสวยงามเหมาะสมยิ่งขึ้น [ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม : อัตลักษณ์ท้องถิ่นอีสาน : กะโน้ปติงต็อง ]
เครื่องแต่งกาย การแต่งกายจะใช้สีเขียวเช่นเดียวกับสีของตั๊กแตน มีลักษณะคล้ายชุดหมี ติดปีกสีเขียวขนาดใหญ่ ส่วนศีรษะจะทำด้วยกระดาษทาสี และตกแต่งให้คล้ายกับหัวของตั๊กแตนจริงๆ ตั๊กแตนตัวเมียมีกระโปรงทำให้แยกได้ว่าตัวไหนตัวผู้หรือตัวเมีย
เครื่องดนตรี ดนตรีที่ใช้ในการเล่นกะโน้บติงต๊อง ได้แก่ วงมโหรี ซึ่งมีเครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอ กลองกันตรึม ปี่สไล และเครื่องกำกับจังหวะได้แก่ กรับและฉิ่ง แต่เดิมนิยมเล่นในเทศกาลประจำปีหรืองานรื่นเริงต่างๆ ทั่วไป หรือจะเล่นเวลาใดก็ได้มิได้มีการจำกัด ปัจจุบันการเต้นกะโน้บติงต๊องนับเป็นการแสดงที่มีชื่อเสียงของชาวอีสานใต้
บทร้องที่ใช้ประกอบการเต้นกะโน้บติงต๊องนั้นไม่ได้จำกัดลงไปว่า จะต้องมีเนื้อร้องอย่างไร จะขึ้นอยู่กับผู้ร้องว่าจะร้องเรื่องใด ทั้งนี้เพราะใช้ด้นกลอนสด บางครั้งก็ร้องให้เนื้อหาเข้ากับงานที่แสดง ส่วนใหญ่เนื้อร้องจะเป็นเชิงเกี้ยวพาราสี ตัดพ้อต่อว่ากันระหว่างชายและหญิง ตัวอย่างบทเพลงกะโน้บติงต๊องที่ร้องมาแต่เดิมและยังนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน (บทร้องเป็นภาษาเขมร) มีดังนี้
ตั๊กแตนตำข้าว เรือมกะโน๊บติงตอง
เนื้อเพลงประกอบการแสดงกะโน้บติงต๊อง |
โอกะโน้บติงต๊อง ซองซารบอง เอยชี เซลอะราไซ (ซ้ำ) กะมม มมมูย มมมูย กำเล้าะแบ็ย โอสะระกาแถวเอย ทมโตวบานระนา โอกะโน้บติงตีอง ซองซารบองเอยชี เซลอะอังกัญ (ซ้ำ) กะมม มมมูย มมมูย แดลมองขวัญ โอสระกาแกวเอย ทมโตวบาบานกี่ |
เบอมานโมกมอง ซองซารบองเอย ตระกองออมสะตูย(ซ้ำ) ทะออมันออย มันออยเซร็ย เนียงปรูย โอสระกาแกวเอย ประบากยากกรอ โอสราเน้าะแมอสกร็อม ซองซารบองเอย จากล็อมนึงเซาะ (ซ้ำ) ทะออเปรียงบอง เปรียงมองเวียอาเกร้าะ โอสระกาแกวเอย กำเล้าะแบ็ยดอง |
โอกาเล้าะเซงาะก็ ซองซารบองเอย กำเล้าะมาเนียะมานอง (ซ้ำ) ทะออกำเล้าะ กำเล้าะโคจดลูนบอง (ซ้ำ) โอสระกาแกวเอย เบ็ยดอกแตแอง ทะออสราเน้าะคลูนล็อน ซองซารมองเอย ซลาเน้าะคลูล็อน (ซ้ำ) ทะออดลูนมอง คลูนม็องอ็อดปราบ็วน (ซ้ำ) โอสระกาแก้วเอย ตนำบายโฮบแอง |
ไดบองเตียงนำ ซองซารบอง เอย ตึกเพะนกโฮรละแฮง (ซ้ำ) ทะออตนำบาย ตะนำบายโฮบแอง โอสระกาแก้วเอย กำแปลงนึงเคนย |
หมอลำแมงตับเต่า เป็นหมอลำหมู่ที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งการแสดงของหมอลำแมงตับเต่าจะมีการลำแบบตลกคะนอง การลำแมงตับเต่าจะใช้ผู้แสดงเป็นชายล้วน สาเหตุที่เรียกหมอลำที่ขับลำทำนองนี้ว่า หมอลำแมงตับเต่า นั้นคงเรียกตามคำร้องของบทกลอนที่มักจะขึ้นต้นว่า แมงตับเต่า เช่น
เต่า เล่า เตา เล่า เต่า เล่า เตา แมงตับเต่าแมงเม่าขี้หมา จับอยู่ฝาแมงมุมแมงสาบ จับซาบลาบแมงหวี่แมงวัน อัศจรรย์แมงวันแมงหวี่ ตอมตาตี่เด็กน้อยนอนเว็น.... "
ดังนั้นจึงนิยมเรียกว่า หมอลำแมงตับเต่า และทำนองลำ หรือดนตรีประกอบการลำนั้นก็เรียกว่า "ทำนองแมงตับเต่า" ซึ่งในการลำแมงตับเต่านั้น หมอลำแมงตับเต่าจะใช้ไม้กับแก๊บประกอบการลำและการฟ้อน
ภาพประกอบจาก http://www.isan.clubs.chula.ac.th
เครื่องแต่งกาย ผู้ชายนิยมนุ่งผ้าโสร่งพื้นบ้านอีสาน สวมเสื้อม่อฮ่อม มีผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ การฟ้อนแมงตับเต่าดั้งเดิมนั้นจะฟ้อนโดยเน้นที่ลีลาของการขยับกับแก๊บ ส่วนการฟ้อนแมงตับเต่าในปัจจุบันเป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นหลายสถาบัน
การฟ้อนแมงตับเต่า ของ วิทยาลัยนาฏศิลป์ร้อยเอ็ด การแต่งกายจะให้คล้ายกับแมงตับเต่า สวมปีกและหัว ท่าฟ้อนจะเป็นการเกี้ยวพาราสีของแมงตับเต่าตัวผู้และตัวเมีย
การฟ้อนแมงตับเต่า
การฟ้อนแมงตับเต่า ของ วิทยาลัยนาฏศิลป์กาฬสินธุ์ จะแต่งตัวคล้ายกับหมอลำแมงตับเต่า คือ นุ่งโสร่ง สวมเสื้อม่อฮ่อม ส่วนผู้หญิงจะสวมเสื้อแขนกระบอก คอกลม นุ่งซิ่นพื้นเมือง ห่มสไบพับทบกลางทิ้งชาย 2 ชายด้านหลัง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน (พิณ โปงลาง แคน ฯลฯ) ลายแมงตับเต่า
เนื้อเพลงแมงตับเต่า | ||||||||||||||||||||||||
|
เนื้อหาของกลอนลำนี้อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เป็นการลำด้นสดแสดงปฏิภาณของผู้ลำ โดยมีทำนองเดียวกัน แต่ใส่เนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงกิริยาอาการของสัตว์ ที่มีความสนุกสนาน
คลิกไปชม การฟ้อนชุดโบราณคดี
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)