foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon for fun header

3diamondฟ้อนโปงลาง

โปงลาง ดิมเป็นชื่อของโปงที่แขวนอยู่ที่คอของวัวต่าง โปงทำด้วยไม้หรือโลหะ ที่เรียกว่า โปง เพราะส่วนล่างปากของมันโตหรือพองออก ในสมัยโบราณชาวอีสานเวลาเดินทางไปค้าขายยังต่างแดน โดยใช้การบรรทุกสินค้าบนหลังวัว ยกเว้นวัวต่าง เพราะเป็นวัวที่ใช้นำหน้าขบวนผูกโปงลางไว้ตรงกลางส่วนบนของต่าง เวลาเดินจะเอียงซ้ายทีขวาทีสลับกันไป ทำให้เกิดเสียงดัง ซึ่งเป็นสัญญาณบอกให้ทราบว่าหัวหน้าขบวนอยู่ที่ใด และกำลังมุ่งหน้าไปทางไหนเพื่อป้องกันมิให้หลงทาง

ส่วนระนาดโปงลางที่ใช้เป็นดนตรีปัจจุบันนี้ พบมากที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เรียกว่า "ขอลอ" หรือ "เกาะลอ" ดังเพลงล้อสำหรับเด็กว่า "หัวโปก กระโหลกแขวนคอ ตีขอลอดังไปหม่องๆ" ชื่อ "ขอลอ" ไม่ค่อยไพเราะจึงมีคนตั้งชื่อใหม่ว่า "โปงลาง" และนิยมเรียกกันมาจนถึงปัจจุบัน ไม้ที่นำมาทำเป็นโปงลางที่นิยมกันได้แก่ ไม้มะหาด และไม้หมากเหลื่อม การเล่นทำนองดนตรีของโปงลางจะใช้ลายเดียวกันกับ แคน และพิณ ลายที่นิยมนำมาจัดท่าประกอบการฟ้อน เช่น ลายลมพัดพร้าว ลายช้างขึ้นภู ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายนกไซบินข้ามทุ่ง ลายแมงภู่ตอมดอก ลายกาเต้นก้อน เป็นต้น

เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วนสวมเสื้อแขนกระบอกสีพื้น นุ่งผ้ามัดหมี่ใช้ผ้าสไบเฉียงไหล่ ผูกโบว์ตรงเอว ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ลายโปงลางหรือลายอื่นๆ

 

ฟ้อนโปงลาง

3diamondฟ้อนไทยภูเขา

ฟ้อนไทยภูเขา เป็นชุดฟ้อนที่ได้นำสภาพชีวิตของชาวผู้ไทกลุ่มเล็กๆ กลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีสภาพภูมิประเทศแตกต่างจากผู้ไทกลุ่มอื่นๆ เพราะอาศัยอยู่ในเขตเทือกเขาภูพาน ฟ้อนไทยภูเขาจะแสดงให้เห็นถึงสภาพชีวิตของชาวอีสานที่มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ โดยอาศัยธรรมชาติเป็นหลัก และแสดงให้เห็นการดำรงชีวิตของชาวผู้ไทตั้งแต่ การเดินขึ้นภู ไปเก็บเห็ด ผักหวาน ใบย่านาง ขุดหน่อไม้ และการตัดหวาย โดยใช้ดนตรีที่รุกเร้าสนุกสนาน นับเป็นฟ้อนชุดหนึ่งที่มีความสนุกสนานและสวยงามมากในการโชว์ผ้าแพรวา

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อคอกลมแขนกระบอกสีแดงหรือดำ นุ่งซิ่นมัดหมี่ใช้ผ้าขิดมัดเอว แล้วใช้ผ้าแพรแบ่งครึ่งทบไขว้ทับที่เอว ทิ้งชายไปด้านข้างทั้ง 2 ชาย และใช้แพรวาโพกศรีษะ โดยใช้ปลายด้านกว้างของแพรวาทิ้งชายปกหน้าผาก ให้ชายรุ่ยๆ ปกหน้า ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อมนุ่งกางเกงขาก๊วย ใช้ผ้าขาวม้าผูกเอว และโพกศรีษะ แขวนย่าม

เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ประกอบ ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน มีย่ามเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง

 

3diamondฟ้อนสาวอีสานเล่นน้ำ

ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ เป็นชุดฟ้อนที่ประดิษฐ์ขึ้นใหม่ โดยอาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูมหาสาราคาม ชุดฟ้อนนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิตพื้นบ้านของชาวอีสาน หลังจากเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน เมื่อถึงเวลาเย็นก็ชวนกันไปอาบน้ำชำระร่างกาย ตามห้วย หนอง คลอง บึง ซึ่งชุดสาวอีสานเล่นน้ำนี้คงได้แบบอย่างมาจากฟ้อนมโนราห์เล่นน้ำ แต่มีลีลาสวยงามแปลกตาไปอีกแบบหนึ่ง รูปแบบการฟ้อนจะแสดงให้เห็นขั้นตอนต่างๆ ในการอาบน้ำของสาวชาวอีสาน มีการถูเนื้อถูตัว ขัดสีฉวีวรรณ สางผม ปะแป้ง เป็นต้น

เครื่องแต่งกาย ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน นุ่งผ้าถุงพื้นเมืองชักชายขึ้นหนึ่งข้าง สวมเสื้อในบางทับด้วยผ้าแพรวารัดอก

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเปิดผ้าม่านกั้งอีสานหรือลายน้ำโตนตาด

 

3diamondฟ้อนคูณลาน

ชาวอีสานมีอาชีพในการทำนาเป็นหลัก ประเพณีหนึ่งที่อยู่ในฮีต 12 คือ บุญคูณลาน ซึ่งจะจัดทำในเดือนยี่ จุดมุ่งหมายในการทำบุญคูณลานก็เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ข้าวในลานข้าว ดังนั้นการทำบุญคูณลานจะทำที่ลานนวดข้าว หลังฤดูกาลเกี่ยว นวด ก่อนที่จะขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง ดังกลอนโบราณอีสานว่า

เถิงฤดูเดือนยี่มาฮอดแล้วให้แต่งการบุญ
ให้นิมนต์พระสงฆ์องค์สวดมุงคุณค้ำ
ให้ทำการสร้างบุญคูณลาน
อย่าได้หล่าพากันเข้าป่าหาหมู่ไม้มาไว้เฮ็ดหลัว
อย่าได้มัวหลงลืมถิ้มคลองเดิมฮีตเก่า เฮาเดอ "

การทำบุญคูณลาน นั้นต่างคนต่างทำไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับการนวดข้าวของแต่ละคนว่า เสร็จช้าเร็วต่างกัน นาไผได้ข้าวหลายก็จะเสร็จช้ากว่า คนได้ข้าวน้อยก็จะเสร็จเร็ว ก่อนจะขนข้าวขึ้นเล้าหรือยุ้งฉางให้ทำบุญคูณลานในวันนั้นเสียก่อน จะมีโชค

ทางวิทยาลัยคณาสวัสดิ์ โดยอาจารย์พัชราภรณ์ จันทร์เหลือง และอาจารย์สนอง จิตรโคกกรวด จึงได้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนบุญคูณลานขึ้น เพื่อสืบทอดประเพณีดั้งเดิมของชาวอีสานไว้ โดยจะเริ่มตั้งแต่การเริ่มต้นทำนา หว่านข้าวปลูก ปักดำ เกี่ยวข้าว จนกระทั่งขนข้าวขึ้นยุ้งฉาง

เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนุ่งผ้าซิ่นพื้นเมือง สวมเสื้อแขนกระบอก ห่มผ้าสไบ ผมกล้าวมวยทัดดอกไม้ ฝ่ายชายสวมเสื้อม่อฮ่อม นุ่งกางเกงขาก๊วยสั้น ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว และโพกศรีษะ

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองเซิ้งและจังหวะกลอง เช่นเดียวกับเซิ้งกระหยัง มีอุปกรณ์ประกอบการแสดงคือ กระบุง กระด้ง เคียว

 

ฟ้อนบุญคูนลาน โดย นาฏยศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

ฟ้อนเซิ้งแคน - ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน | ฟ้อนโปงลาง - ฟ้อนไทยภูเขา - ฟ้อนชุดสาวอีสานเล่นน้ำ - ฟ้อนคูณลาน blueline
ฟ้อนอุบล - ฟ้อนกลองตุ้ม - เซิ้งกะโป๋ - เซิ้งทำนา | เซิ้งกุบ - เซิ้งสาวน้อยเลียบดอนสวรรค์ - เซิ้งสวิง - เซิ้งกระติบข้าว
blueline เซิ้งกระหยัง - เซิ้งครกมอง - เซิ้งข้าวจี่ - รำหมากข่าแต้ | รำลาวกระทบไม้ - รำโก๋ยมือ - รำกลองยาวอีสาน - ลำลายกลองกิ่งกุสุมาลย์blueline รำส่วงเฮือ - รำจก - รำชุดบุรีรัมย์ตำน้ำกิน - ระบำโคราชประยุกต์ | ระบำว่าว - ระบำกลอง - ระบำสุ่ม - เรือมอันเร (รำสาก)blueline เรือมซาปดาน - เรือมซันตรูจ - เรือมตลอก (ระบำกะลา) - เรือมจับกรับ

blueline

next green คลิกไปอ่าน  ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)