คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
ในฤดูหนาวชาวอีสานนิยมเล่น "ว่าว" กันในช่วงเดือน 12 ประมาณเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเป็นระยะมีลมแรงอย่างสม่ำเสมอ เพราะในฤดูร้อนภาคอีสานไม่มีลมประจำที่พัดแรงและสม่ำเสมอเหมือนอย่างในภาคกลาง และลมไม่แรงพอที่จะพัดพยุงให้ว่าวขนาดใหญ่ขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ ว่าวอีสานประกอบด้วย ตัวว่าว เชือกว่าว และสะนู หรือธนู ผูกติดไว้บนหัวว่าว คันธนูหรือสะนูว่าวเป็นเครื่องดนตรีประกอบด้วยคันธนู ทำด้วยไม้ไผ่ และเปิ้นธนูจะเป็นแผ่นบางๆ ทำด้วยใบตาลหรือลำหวายขนาดยาวพอเหมาะกับคันธนู ใช้เส้นด้ายหรือไหมผูกปลายเปิ้นธนูเข้ากับปลายคันธนูทั้งสองข้างขึงให้ตึงจันคันธนูโก่งพองาม ตรงปลายของเปิ้นธนูทั้งสองข้างให้ใช้ขี้สูด ติดไว้เป็นก้อนกลมขนาดเท่าปลายก้อย เพื่อให้ธนูมีเสียงไพเราะ ว่าวอีสานจึงต่างจากว่าวภาคอื่นเพราะมีเสียงที่ไพเราะ
การเล่นว่าวนี้ที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีการส่งเสริมการเล่นว่าว ทางศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ จึงได้คิดประดิษฐ์ชุดระบำว่าวขึ้น โดยเลียนแบบลีลาของการเล่นว่าวที่ล้อกับลม
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงแสดงเป็นว่าว ดังนั้นการแต่งกายจะสวมเสื้อมีผ้าทิ้งมาด้านหน้าและหลัง ลักษณะครึ่งวงกลมคล้ายกับเสื้อที่เรียกว่า เสื้อปีกค้างคาว นุ่งผ้าซิ่นยาวกรอมเท้า ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้นสีพื้น นุ่งโจงกระเบนโดยใช้ผ้าโสร่งพื้นเมือง ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอวและโพกศีรษะ
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม
ระบำว่าว
ระบำกลอง เป็นระบำชุดหนึ่งที่ทางศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประดิษฐ์ขึ้น โดยได้แบบอย่างมาจากรำกลองยาวในภาคกลาง แต่ใช้กลองเล็กที่เรียกว่ากลองกันตรึมแทนกลองยาว ลักษณะการฟ้อนเป็นลีลาเฉพาะของอีสานใต้ ซึ่งนับเป็นชุดที่สนุกสนานชุดหนึ่ง
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อคอกลม ผ่าด้านหน้าแต่ไม่ชิดกัน คล้ายกับเสื้อของมอญ (ชุดฟ้อนม่านมงคล) สีดำ และนุ่งผ้าซิ่นดำมีเชิง นุ่งลักษณะพับทบด้านข้างปล่อยให้ชายผ้าบานคล้ายกระโปรง ผมเกล้ามวย ใช้ผ้าสีสดพันรอบศีรษะแต่เห็นมวยผมเล็กน้อย ฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมสีสด นุ่งโจงกระเบนใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงกันตรึม
ระบำสุ่ม เป็นระบำชุดหนึ่งในระบำกัมพูชา ซึ่งอาจารย์พจนีย์ กงตาล ภาควิชานาฏศิลป์ วิทยาลัยครูสุรินทร์ ได้ต่อท่ารำมาจากนักศึกษาวิทยาลัยนาฏศิลป์พนมเปญ เมื่อกัมพูชาแตกแล้วได้อพยพมาอาศัยที่ศูนย์อพยพชาวกัมพูชา ณ ศูนย์อพยพกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ ราวปี พ.ศ. 2524 ระบำสุ่มเป็นชุดฟ้อนที่สะท้อนชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน แสดงถึงความสนุกสนานรื่นเริง และการเกี้ยวพาราสีของชายหนุ่มหญิงสาว คำว่า สุ่ม ในภาษาเขมรเรียกว่า อันรุ้จ ซึ่งหมายถึงภาชนะสำหรับจับสัตว์น้ำในบริเวณน้ำตื้น
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ระบายที่แขน คอ และเอว ใช้ผ้าสไบรัดตะเบ็งมาน ผมเกล้ามวยต่ำติดดอกไม้ มือถือเชนียงหรือชะนาง ซึ่งเป็นเครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ฝ่ายชายนุ่งกางเกงขาก๊วย สวมเสื้อคอกลมใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ใช้ผ้าสไบโพกศีรษะ มือถือสุ่ม
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ วงมโหรี
อุปกรณ์การแสดง เชนียง และสุ่ม
เรือม อันรุด(ระบำสุ่ม)
เรือมอันเร หรือ เรือมลูตอันเร เป็นการละเล่นพื้นบ้านของชาวอีสานใต้ในจังหวัดสุรินทร์ คำว่า เรือม แปลว่า รำ ส่วนคำว่า อันเร แปลว่า สาก เรือมอันเรจึงแปลว่า รำสาก ส่วนคำว่า ลูต แปลว่า กระโดด เต้น ข้าม เพราะฉะนั้น เรือมลูตอันเร จึงแปลว่า รำเต้นสาก หรือการเต้นสาก นิยมละเล่นกันในวันสงกรานต์ ซึ่งเรียกว่า วันต็อม ชาวสุรินทร์จะถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะหยุดงาน 3 - 7 วันเพื่อทำบุญ เมื่อหยุดงานก็มีเวลาว่างที่หนุมสาวจะได้พบปะกัน เกิดการละเล่นสนุกสนาน เช่น การเล่นสะบ้า เรือมอันเร
เรือมอันเร แต่เดิมนั้นไม่มีบทเพลงและท่าฟ้อนรำที่เป็นแบบฉบับอย่างในปัจจุบัน ผู้ประดิษฐ์เนื้อร้อง คือ ครูปิ่น ดีสม ครูใหญ่โรงเรียนบ้านโคกตาพรหม ตำบลโด อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ได้นำบทเพลงพื้นบ้านที่เคยร้องมาบรรจุใส่จังหวะต่างๆ ซึ่งมี 5 จังหวะดังนี้
ส่วนผู้คิดท่าฟ้อนคือ นางผ่องศรี ทองหล่อ และนางแก่นจันทร์ นามวัฒน์ ครูโรงเรียนบ้านหนองโด่ง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยใช้ท่าพื้นฐานที่ฟ้อนกันมาแต่เดิมมาดัดแปลงให้สวยงามยิ่งขึ้น ในการเล่นเรือมอันเร เราจะต้องมีการไหว้ครูเสียก่อน เดิมที่ชาวอีสานยังใช้การตำข้าวด้วยมือ หลังจากตำข้าวเสร็จก็จะนำสากมากระทบกัน ฉะนั้นสากจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญในการเล่นเรือมอันเร การเล่นเรือมอันเรจะฟ้อนเป็นวงกลมรอบตัวผู้กระทบสาก มีการเข้าสากทีละคู่ตามจังหวะดนตรีที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนครบ 5 จังหวะ
เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงสวมเสื้อแขนกระบอกตัดด้วยผ้าต่วน นิยมใส่สีเหลือง นุ่งผ้าถุงไหมปูม ห่มผ้าสไบเฉียงบางๆ นิยมใช้ผ้าที่ทำด้วยเปลือกไม้ส่วนมากใช้สีเดียวกับผ้าซิ่น ผมปล่อย อาจจะทัดดอกไม้ให้สวยงาม ส่วนฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลมแขนสั้นเป็นสีพื้น นุ่งโจงกระเบนด้วยผ้าโสร่งไหมหางกระรอก ใช้ผ้าขาวม้าไหมพื้นเมืองของสุรินทร์พับครึ่งพาดบ่าปล่อยทิ้งชายทั้งสองชายด้านหลัง
เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสานใต้ ประกอบด้วย กลองตะโพน ปี่ในหรือปี่อ้อ ซอด้วง ซอตรัวเอ กรับ สาก 1 คู่และไม้หมอน 2 อัน
เรือมอันเร (รำสาก)
อุปกรณ์การแสดง
เพลงประกอบการรำเรือมอันเร
1. เพลงไหว้ครู เกริ่นครู ทำนอง อายัยพิมพวง | ||
ชตุม มี จัต คเมาบองบัต ชัตเติว์ซทานนา ชัตเติว์ซทานเจ็น รีเติว์ซทานจเวีย ชัตเติว์ซทานนา บองลีชนาตาม ทงัยลเงียจตเจียะ บองแจ็ญเปียะ ตัมแร็ย ทงัยก็วงเมือตเปร็ย ตัมแร็ยบองยูลดัย ยูลตังปีปรึ์ จวนด็อลลุทงัย ตัมแร็ยบองยูลดัย ก็ตซแร็ยซเราะ ชงาย |
อากาศมืดครึ้ม น้องดำของพี่หาย ไปประเทศใด ไปประเทศจีน หรือไปประเทศชวา ไปประเทศใด พี่แบกหน้าไม้ตาม ตะวันเย็นต่ำลง พี่ออกไปคล้องช้าง ตะวันอยู่ระดับป่าไม้ ช้างพี่แกว่งงวง แกว่งตั้งแต่เช้า จนตะวันสาย ช้างพี่แกว่งงวง คิดถึงหญิงบ้านไกล |
|
2. จังหวะ กัตปกา ซาปดาน | ||
ปการี ปการูย เนียะนาเดิรกรอย รืฮปกาบองพอง เนียงรืฮมันรืฮ ก็อมเดินชลอง รืฮปกาบองพอง บองซดายปกานะ บองซูจอลปกาทเม็ย มัลจอลปกาจัฮ บองซดายปกานะ ปกาจัฮบีเดิม ปกัวร์เลือนแอตโปง ชเลอะ โดงกันโจม ซเราะ บองม็อตกโม็ม บองเดิรสิ่งตามจัฮ รือพลูรือซลา บองวิจ เติว็บีปเตียะฮ บองเดิรลีงตามจัฮ ซออ์ตปซ็อฮ |
ดอกไม้บาน ดอกไม้โรย ผู้ใดเดินตามหลัง เก็บดอกไม้ให้พี่ด้วย น้องเก็บไม่เก็บ น้องอย่าเดินข้าม เก็บดอกไม้ให้พี่ด้วย พี่เสียดายดอกไม้นะ พี่สู้ทิ้งดอกไม้ใหม่ ไม่ทิ้งดอกเก่า พี่เสียดายดอกไม้นะ ดอกเก่าแต่เดิม ฟ้าลั่นทางทิศใต้ ใบมะพร้าวร่มรื่น บ้านพี่ไม่มีสาว ที่เดินเล่นตามคนแก่ เรื่องพลูเรื่องหมาก พี่ห่อไปจากบ้าน พี่เดินเล่นตามคนแก่ แก้เหงา |
|
3. จังหวะ จึงมูย | ||
ซแร็ยซเดิงซเลอะ เทอออยบองก็ต ปแดปดัม น็องก็ บองปดัม ซเราะ บีต ก็ มินซเกือล บองปดัมน็องคย็อล มินด็อลซแร็ยเลย มือ มี์ ซตุม มือ พนม ซตูล ซตึงเปรียะ มูล เทอแม็ฮบองเฮียน ชลอง ตี เรียะ ซเมอะพลิว ตึ จริว ซเมอซมอง เทอแม็ฮบองเฮียนชลอง โมรัวซแร็ยซเดิง |
ผู้หญิงบางใบ ทำให้พี่คิด ฝากฝังกับเขา พี่ฝากบ้านใกล้ เขาไม่รู้จัก พี่ฝากกับลม ไม่ถึงน้องเลย ดูเมฆมืดครึ้ม ดูภูเขาสูงใหญ่ ห้วยน้ำมูล ทำอย่างไรพี่กล้าข้าม น้ำตื้นแค่ขา น้ำลึกแค่หน้าแข้ง ทำอย่างไรพี่กล้าข้าม มาหาผู้หญิงบาง |
|
4. จังหวะ มลุปโดง | ||
มลปโดงเอย ตโซลแด็จพนุม มลปโดงซเราะ วิท็ม มลป ซาคา มลปโดงเกรแย็ย รื มลปโดงแย็ยตา มลปโดง ซเราะห์ นา มลปซรวลโอ็ยแบระ ซแร็บ |
ร่มมะพร้าวเอย สูงดุจภูเขา ร่มมะพร้าวใบใหญ่ ร่มมีสาขา ร่มมะพร้าวมรดกยาย หรือร่มมะพร้าวยาตา ร่มมะพร้าวบ้านไหน ร่มสบายดีแท้ๆ จริง |
|
5. จังหวะ จึงบีร | ||
ปกัวร เลือนแอตโปง ตึ แบ ลลูน บองรัว ตรู ดะ บองกัวลรัวเวือล เหมือนเอิรจัมเปรียะ บองรัวตรูดะ นเจ็มซแร็ยซเดิง ตรูบองปรัมเบือน เลือนบองปรัมรวย บองมันออยเนียงปรวย ปบา กัน ชเนียง นเจือต ปกัวน เลือนแอตโปง คยอลเบาะ รัมปวง ซารกรบเม เชอ เบอเนียงน็องบอง ช็อมคเนียเฮยเตอ มินกวรเนียงเซอเวอ เนียงเติว์รัวกูตีต กีซละ กีซเลา กีเดารมจ เนียงเติว์รักกูตีต ด็อลนาน็องบาน |
ฟ้าลั่นทางทิศใต้ น้ำไหลหลาก พี่หาลอบใส่ พี่หาเครือ ไก่บินติด พี่หาลอบใส่ เลี้ยงผู้หญิงบาง ลองพี่ห้าพัน เลือนพี่ห้าร้อย พี่ไม่ให้น้องกังวลใจ ไม่ต้องลำบากถือสวิงช้อน ฟ้าลั่นท างทิศใต้ ลมพัดมาอื้ออึง กระทบกิ่งไม้ ถ้าน้องกับพี่ สมกันแล้ว ไม่ควรน้องซัดเซ น้องไปหาคู่อีก เขาสลักเสลา เขาทาขมิ้น น้องไปหาคู่อีก เมื่อไหร่จะได้ |
|
** ต้องขออภัยหากมีการพิมพ์ผิดพลาดด้วยความไม่ชัดเจนของต้นฉบับโรเนียว
และความไม่รู้ไม่เข้าใจภาษาของผู้ป้อนข้อมูล |
คลิกไปอ่าน ดนตรีประกอบการฟ้อนภาคอีสาน
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)