foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

paya kwam tuay

ความทวย โดย : อาจารย์สวิง บุญเติม ปธ.๙ M.A.

bulletประเภทของความทวย

วามทวย ดังได้กล่าวมาแล้ว เมื่อดูตามลักษณะของการผูกปมปัญหาขึ้นมา เพื่อให้ลูกหลานทายกันแล้วจะมีลักษณะต่างกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ

  1. ความทวยธรรมดาทั่วไป ได้แก่ ความทวยที่ผูกขึ้นตามลักษณะของสิ่งนั้น และตามธรรมชาติของสิ่งนั้น ไม่แฝงด้วยปริศนาซ่อนเงื่อนอย่างอื่น เช่น
    • ความทวย "ญาท่านบ่เว้า ญาเจ้าบ่จา" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ พระพุทธรูป พระพุทธรูปก็คือพระ คือญาท่าน ลักษณะของท่านคือไม่พูดไม่จา
    • ความทวย "บ่มีขาขึ้นกกไม้ได้" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ งู งูมันไม่มีขา แต่มันขึ้นต้นไม้ได้
  2. ความทวยแบบปัญหาเชาว์ ได้แก่ความทวยที่ผูกเป็นปมปัญหาขึ้น จากสิ่งหรือของนั้น ซึ่งถ้าจะว่าตามลักษณะก็ไม่เชิงจะใช่ ตัวอย่างเช่น
    • ความทวย "ตักบ่เต็ม" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ บก คือความไม่เต็มนั่นเอง
    • ความทวย "ตากบ่แห้ง" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ ชุ่ม คือความไม่แห้งนั่นเอง
  3. ความทวยแบบซ่อนคำตอบไว้ในคำถามแล้ว ได้แก่ความทวยที่เอาคำตอบขึ้นมาถาม พร้อมกับความทวยคือตัวปัญหาหรือปริศนานั้น คนถูกถามจะไม่รู้ว่ามีคำตอบอยู่ในคำถามแล้ว เช่น
    • ความทวย "สัตว์สี่ขากินสัตว์ขาเดียว สัตว์หัวเขียวกินสัตว์หน้าข่วม(คว่ำ) เต่ากินเห็ด เป็ดกินหอย" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ เต่ากินเห็ด เป็ดกินหอย นั่นเอง อธิบายชัดๆ ว่า สัตว์สี่ขาคือเต่า สัตว์ขาเดียวคือเห็ด สัตว์หัวเขียวคือเป็ดตัวผู้ สัตว์หน้าคว่ำคือหอย ปราชญ์อีสานท่านเอาคำตอบใส่เข้าไว้ในคำถาม คนที่ตอบได้ก็คือคนที่มีเชาว์ปัญญาดี
    • ความทวย "พีเคิ่งกลางหัวหางมันส่วย กบเขียดอยู่ห้วยงูกินเบิ๊ด" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ งูกินกบกินเขียด นั่นเอง คนที่ไม่ฉลาด เชาว์ปัญญาไม่ดี ก็จะคิดหาคำตอบจากการเปรียบเทียบเป็นลักษณะอย่างอื่นไป ซึ่งในความทวยบทนี้ลักษระของงูกินกบกินเขียด มันก็จะอ้วนตรงกลางอยู่แล้ว ซ้ำท่านยังบอกว่า กบเขียดในห้วยงูกินหมดแล้ว ดังนั้นคนมีเชาว์ปัญญาดี จึงเฉลียวใจและตอบได้
  1. ความทวยแบบสอนคุณธรรม ได้แก่ ความทวยที่เป็นปรัชญาคำสอน ซึ่งปราชญ์อีสานต้องการสอนลูกหลานด้วยการใช้ปริศนาคำตอบหรือความทวยนี้ เช่น
    • ความทวย "ตายบ่เน่า เก่าบ่เป็น" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ความดีที่คนทำไว้
    • ความทวย "พรหมสองหน้าผู้ข้าเกิดนำ" เจ้าว่าแม่นหยัง?
      ความตอบ ก็คือ พ่อกับแม่
  2. ความทวยที่มีลักษณะ 2 แง่ 2 ง่าม ความทวยนี้มีหลายคนเห็นว่า "มันหยาบ" และผู้คิดความทวยนี้ก็มี "เจตนาลามก" ข้าพเจ้าได้ใช้ปัญญาพิจารณาดูถ้วนถี่แล้ว ชี้เปรี้ยงได้เลยว่า เป็นความทวยไม่ลามก และผู้คิดความทวยนี้ขึ้นก็ไม่มีเจตนาลามก ข้าพเจ้าสงสัยแต่ว่า เจ้าคนที่พูดว่าลามกนั้น คงคิดเหมือนกับว่า ท่านปราชญ์ผู้ผูกความทวยนี้ขึ้นจะลามกเหมือนกับตัวกระมัง! ถึงได้คิดและพูดเช่นนั้น
             
    ความทวยนี้ ข้าพเจ้าจะยกมาให้พิจารณามากๆ เพื่อปราชญ์ผู้ฉลาดในศาสตร์และศิลป์ จะได้ใช้วิจารณญาณตัดสิน เพราะท่านก็ทราบดีว่า สมัยก่อนนั้นไม่ค่อยได้ยินครูข่มขืนศิษย์ เด็กทั้งผู้หญิงผู้ชายอายุ 6-7 ขวบในปี พ.ศ. 2495-6 ยังเปลือยกายวิ่งเล่นกันอยู่ ไม่เห็นมีใครข่มขืนใครเลย จึงขอให้ท่านนักปราชญ์ทั้งหลายได้พิจารณาความทวยนี้ด้วยว่า "ลามก" หรือไม่? ตัวอย่างเช่น

isan banhao 13

  • ความทวย "ขนแย่มแยะแปะกันมีแฮง"
    ความตอบ "ขนตาเวลาหลับนอน" ก็เท่านั้น ไม่ได้คิดไปไกลเหมือนคนสมัยนี้ดอก (รู้นะ... ว่าคิดอะไรอยู่ 😁🤭 ชิมิ)
  • ความทวย "ผู้หญิงเห็นผู้หญิงกลาย ผู้ชายเห็นผู้ชายเด้าเข้าบ่เข้าคลำเบิ่งเอา"
    ความตอบ "ผู้ชายฝนพร้า (ลับมีด)" ซึ่งการลับมีด ร่างกายทั้งท่อนบนและท่อนล่าง จะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะที่ผลักมีด ผู้ผูกปัญหาก็จะผูกไปตามกิริยาอาการนี้ก็ไม่เห็นจะต้องมีหยาบหรือลามกตรงไหน
  • ความทวย "ทางเทิงกะดำ ทางหลุ่มกะดำ มักตำกันเวลากลางคืน"
    ความตอบ "ขนตาเวลาหลับนอน" ลามกตรงไหน? คิดดู
  • ความทวย "นกโก่นโต่น สี้ก้นแม่เจ้าของ"
    ความตอบ "ลูกกุญแจ" ดูซิหยาบตรงไหน
  • ความทวย "นาหนองน้อย บ่มีจอกบ่มีแหน มีปลาซิวหัวแปโตหนึ่งอยู่หั่น"
    ความตอบ "ปากกับลิ้น" ดูซิลามกตรงไหน
  • ความทวย "นอนหงายให้เขาขี่ เอามือตี่ยัดใส่"
    ความตอบ "เกิบ" มันก็คนใส่รองเท้า หยาบตรงไหน สงสัยคนคิดแบบนั้นหยาบเอง
  • ความทวย "ยาวค่าคืบ ยัดเข้าหลืบฮูหนังทั่งไปทั่งมา น้ำแบ้นไหลออก" (ความทวยคิดขึ้นใหม่)
    ความตอบ "คนแปรงฟัน" ดูซิลามกตรงไหน
  • ความทวย "เสียกแพ่แว่ แหย่เข้าฮูหนัง"
    ความตอบ "หลอดยาดม" ดูซิลามกตรงไหน?
  • ความทวย "เสียกข่านหล่านจำกั่นจำบัก ยกขาขึ้นผู้อยู่หลุ่มมีแฮง"
    ความตอบ "คนกั้งคันยู (ร่ม)" ดูซิลามกตรงไหน
  • ความทวย "อูดหลูด ปูดหลูดออก ปูดหลูดเข้าเอาหัวตำ ผู้หยิงชอบกำ ยามมื้อเช้ามื้อแลง"
    ความตอบ "สากกะเบือ" ดูซิลามกตรงไหน
  • ความทวย "ฮูเนิน แม่นฮูคัน ฮูซันแม่นฮูลูก"
    ความตอบ "ฮูคราด" ลามกตรงไหน

จากความทวยและคำตอบนี้ เราจะเห็นได้ว่า ปราชญ์โบราณอีสานท่านผูกคำทวยขึ้นมา จากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง แม้คำทวยจะระคายความรู้สึกของคนคิดมากในยุคปัจจุบัน แต่สมัยก่อนโน้นท่านคงไม่ได้คิดจะให้ลามก เพราะดูจากคำตอบแล้วไม่เห็นมีอะไรลามกเลย นี่แหละวัฒนธรรมของฅนอีสานขนานแท้

isan banhao 14


รู้จักความทวย | ลักษณะของความทวย | ประเภทของความทวย | ความทวยเรียงตามอักษร

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)