คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
ประวัติการศึกษา |
|
การทำงาน |
|
รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2528
คุณพ่อปรีชา พิณทอง ถือเป็น "คนสำคัญของแผ่นดินอีสาน" เป็นผู้รวบรวบ ค้นคว้า ปริวรรต วรรณกรรม ประเพณี พิธีกรรม รวมถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของอีสานเพื่อเป็นฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมสำหรับผู้สนใจศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้สามารถนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง โดยมีผลงานที่เป็นประจักษ์ และ เป็นต้นแบบให้ลูกหลานได้ใช้สืบค้น คือ หนังสือประเพณีโบราณไทยอีสาน หนังสือภาษิต(ผญา) โบราณอีสาน หนังสือสารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ และอื่นๆ อีกกว่า 30 เล่ม
ท่านมักจะปรารภกับผู้ที่ท่านสนทนาด้วยเสมอมาว่า คนอีสานขาดความรู้ความเข้าใจของดีอีสาน ชาวอีสานไม่ได้ศึกษาให้เข้าใจตนเอง แต่ไปศึกษาเรื่องอื่นๆ ที่ห่างไกลตัวเอง คนที่ไม่เข้าใจตนเองแล้วจะไปเข้าใจคนอื่นได้อย่างไร ท่านจึงเป็นผู้นำในการศึกษาค้นคว้าวรรณคดีลุ่มน้ำโขง ด้วยการศึกษาจากคัมภีร์ใบลาน หนังสือก้อมที่มีอยู่ในวัดต่างๆ ซึ่งกำลังจะสูญหายไป ท่านมักปรารภอยู่เสมอด้วยความมุ่งมั่นว่า ท่านกำลังทำความดีที่คนอื่นเขาไม่ค่อยเห็นว่าเป็นความดี ซึ่งทำให้ท่านดูเหมือนว่าอยู่โดดเดี่ยวเดียวดาย ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานและสังคมภายนอก เรียกได้ว่าทำด้วยใจรักอย่างแท้จริง และในที่สุดความดีที่ท่านทำก็ได้ปรากฏผล มีคนเห็นถึงความดีนั่น
คุณพ่อปรีชา พิณทอง กับ ดร.เสรี พงศ์พิศ
ชีวิตและผลงานของท่าน ดร.ปรีชา พิณทอง ทั้งเมื่ออยู่ในเพศบรรพชิตและฆราวาส มีมากมายแทบไม่น่าเชื่อว่า คนธรรมดาที่ด้อยโอกาสคนหนึ่งจะสามารถทำได้ ท่านได้เขียนไว้ในเรื่องเล่าของท่านเองตอนหนึ่งความว่า “…ข้าพเจ้าเรียนมหาวิทยาลัยโลกจาก ไฮ่นา สาโท ฮั้วสวน ลวนปิ่น ผักนาง อางหญ้า แคบแค แจฮั้ว ดินดอน ขอนไม้ นกหนู ปูปีก กว่าจะได้สิ่งเหล่านี้มารวมกันเป็นกอบเป็นกำก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร…” แสดงให้เห็นว่า ท่าน ดร.ปรีชา พิณทอง ได้แสดงความเป็นปราชญ์แท้แห่งเมืองนักปราชญ์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับวรรณกรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีอีสานและพระพุทธศาสนา โดยการ “เหมบเขียน” (นอนคว่ำเขียนหนังสือบนเตียงไม้) อยู่อย่างโดดเดี่ยวบนบ้านอันเป็นที่ทำงานส่วนตัว และจัดพิมพ์เป็นหนังสือออกเผยแพร่เป็นอาชีพเลี้ยงครอบครัว
ด้วยผลงานการศึกษาค้นคว้าของท่านนับสิบๆ เล่ม ที่เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง จนอาจเรียกได้ว่า ไม่มีนักศึกษาเกี่ยวกับวรรณกรรมและประเพณีวัฒนธรรมอีสานคนใด ไม่ได้อ้างอิงงานของท่าน เพียงเห็นหนังสือ สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ ความหนา 1,075 หน้า เล่มเดียวก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ในความวิริยะอุตสาหะ ใส่ใจ ทุ่มเท อุทิศชีวิตวิญญาณ เพื่องานการศึกษาค้นคว้าตามปราชญ์วิถีที่หาได้ยากยิ่ง ท่านเล่าไว้ในประวัติของท่านเองว่า “…ข้าพเจ้ามีลูกศิษย์เป็นดอกเตอร์หลายคน แต่ศิษย์เหล่านั้นข้าพเจ้าไม่ได้อบรม สั่งสอนเขาเลย เขาเป็นศิษย์โดยเอาความรู้จากหนังสือที่ข้าพเจ้าได้แต่ง ไปทำวิทยานิพนธ์ สาหรับข้าพเจ้าก็ได้ปริญญาเอกเหมือนลูกศิษย์ ทั้งนี้จะเป็นเพราะข้าพเจ้าไม่มีสถาบันชั้นสูงรับรอง…”
โดยสถานภาพเมื่อครองเพศฆราวาส ท่านก็มีครอบครัวที่สงบและเป็นสุขกับศรีภรรยาคือ คุณแม่คำวงศ์ พิณทอง (สกุลเดิม เดชพันธ์) กับบุตรชายที่ดีและเก่งคนพี่ชื่อ ปริญญา พิณทอง คนน้องชื่อ ปรัชญา พิณทอง ประสบความสำเร็จตามอัตภาพและพอเพียง ในการบริหารจัดการโรงพิมพ์ศิริธรรม และพัฒนามาเป็น โรงพิมพ์ศิริธรรมออฟเซ็ท ที่กำลังเจริญเติบโตในรุ่นลูก ความสำเร็จของพ่อใหญ่ ดร.ปรีชา พิณทอง จึงเป็นความสำเร็จทั้งวิถีโลก วิถีธรรม และวิถีปราชญ์แห่งเมืองนักปราชญ์ที่น่าภาคภูมิใจ เป็นความดี ความงาม ความสุข อันบริสุทธิ์ ก่อให้เกิดพลังบันดาลใจ เป็นแบบอย่างอันงดงามแก่ลูกหลานชาวอุบลราชธานีและคนทั่วไป
เกียรติประวัติ |
|
ที่อยู่ |
|
ดร.ปรีชา พิณทอง ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2546 สิริอายุได้ 89 ปี ประวัติชีวิตของพ่อใหญ่ ดร.ปรีชา พิณทอง จึงเป็นประทีปธรรมแห่งอีสาน ตำนานปราชญ์เมืองอุบลราชธานี โดยแท้
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)