คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
นายคำหมา แสงงาม หรือ “ครูคำหมา” หรือ “จารย์ครูคำหมา” ได้รับการยกย่องให้เป็นปรมาจารย์ ทางช่างศิลป็ผู้มืฝีมือยอดเยี่ยมเป็นที่ยอมรับของซาวอีสาน จนกระทั่งมืผู้ให้สมญานามว่า “ช่างเทวดา” และ “ช่างเนรมิต” โดยเป็นช่างคนเดียวของภาคอีสาน ที่มืความสามารถในการทำ "นกหัสดีลิงคํ" ได้อย่างสวยงาม และ ด้วยความโดดเด่นในฝีมือการก่อสร้างและการบูรณะถาวรวัตถุ ประเภทโบสถ์วิหาร ศาลาการเปรียญ หอระฆัง ฯลฯ อันเป็นสิ่งปลูกสร้างทางพุทธศาสนา ได้สร้างซื่อเสียงให้แก่ครูคำหมา จนเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง อาทิ การบูรณะองค์พระธาตุพนม การบูรณะวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกแบบและก่อสร้างซุ้มประตูวัด กำแพงแก้ว โบสถ์ เมรุเผาศพชั่วคราว มากมายหลายสิบแห่ง
ในด้านงานแกะสลัก ท่านถือเป็นผู้บุกเบิก "การแกะเทียนพรรษา" ที่ถือเป็นรูปแบบใหม่ในยุคนั้น เนื่องจาก สมัยก่อนไม่มีการหล่อเทียน แห่เทียน เช่นปัจจุบัน ซาวบ้านจะฟั่นเทียนยาวรอบศีรษะไปถวายพระ เพื่อจุดบูชาจำพรรษา ครั้นในสมัยพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองอุบลฯ มีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก แต่ในการแห่บั้งไฟมีการตีกันจนถึงแก่ความตาย เสด็จในกรมเห็นว่าไม่ดี จึงให้เลิกการแห่บั้งไฟและเปลี่ยนเป็นการแห่เทียนแทน ประเพณีการแห่เทียนพรรษาจึงเกิดขึ้นมาถึงจนบัดนี้
ซึ่งแต่เดิมต้นเทียนมีลักษณะเรียบง่าย คือ การนำเทียนมาติดกับสำไม้ไผ่ โดยมีกระดาษจังโก (กระดาษสีเงินสีทอง) ตัดลายฟ้นปลาปิดรอยต่อเท่านั้น ต่อมามีการหล่อเทียนเป็นลวดลายต่างๆ อาทิ กระจังตาอ้อย บัวควํ่า ก้ามปู ฯลฯ แล้วน่าไปติดที่ สำต้นเทียนเพื่อความสวยงาม และมีการประกวดเกิดขึ้นในเวลาต่อมา
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2502 ครูคำหมา แสงงาม ได้คิดและแกะสลักต้นเทียนโดยไม่ต้องพิมพ์ดอกมาติด เหมือนเช่นที่ช่างรุ่นก่อนทำมา ทำให้ต้นเทียนแกะสลักที่นายคำหมาทำให้กับ วัดบ้านกุดเป่ง อำเภอวารินชำราบ มีความแปลกใหม่สวยงาม จึงมักได้รับรางวัลชนะเลิศ การประกวดเทียนพรรษาจังหวัดอุบลราชธานี และใกล้เคียงเป็นประจำทุกปี จนถือเป็นต้นแบบให้แก่ช่างฝีมือในยุคนั้นเป็นต้นมา จากนั้นในปี พ.ศ. 2520 จังหวัดอุบลราชธานีจึงได้จัดงานสัปดาห์ประเพณีแห่เทียนพรรษา ให้เป็นงานประเพณีประจำปีที่ยิ่งใหญ่และมโหฬาร โดยมีการประกวดต้นเทียนประเภทต่างๆ รวมถึงขบวนแห่ เพื่อดึงดูดผู้คนทั้งชาวไทยและต่างชาติให้ไปเที่ยวชมงานเป็นจำนวนมาก
นายคำหมา แสงงาม เกิดเมื่อ ปีมะโรง พ.ศ. 2434 ที่บ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรของนายเคน และนางค้ำ แสงงาม มีพี่น้องทั้งหมด 3 คน นายคำหมา แสงงาม เป็นบุตรคนสุดท้องของครอบครัว และได้แต่งงานกับนางลำดวน แสงงาม มีบุตรธิดา 4 คน ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 2 บ้านขมิ้น หมู่ที่ 5 ตำบลเทอดไทย อำเภอธวัชบุรี (ปัจจุบัน ขึ้นกับอำเภอบึงเขาหลวง) จังหวัดร้อยเอ็ด
นายคำหมา เรียนหนังสือตัวธรรมและมูลกระจายจากพระสงฆ์ เมื่ออายุ 6 ขวบ พ่อแม่นำไปฝากเป็นศิษย์วัดศรีนวล บ้านชีทวน ศึกษาวิชาหนังสือและวิชาช่างกับพระอาจารย์วง และ พระอาจารย์สี จนกระทั่งอายุ 10 ขวบ จึงบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ขณะนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยและศิลปะการช่างไปพร้อมกันด้วย
ต่อมาได้ศึกษาวิชาศิลปะการช่างเพิ่มเติมกับ พระครูวิโรจน์ รัตโนบล (ญาถ่านดีโลด) จนสำเร็จที่ วัดทุ่งศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านไม่ทิ้งวิชาช่าง ยังศึกษาฝึกฝนตนเองเรื่อยมา ถือเป็นช่วงเวลาที่มีค่าในการสั่งสมความรู้ โดยในปี พ.ศ. 2444 ท่านได้เป็นหนึ่งในช่างที่เดินทางไปทำการบูรณะองศ์พระธาตุพนม ตามดำริของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งขณะนั้นชำรุดทรุดโทรมมาก นับเป็นประสบการณ์เชิงช่างที่มีคุณค่ายิ่ง
และในช่วงเวลาดังกล่าว ท่านได้ติดตามพระอาจารย์ของท่านไปทำงานช่างตามวัดต่างๆ ทั่วภาคอีสาน จนกระทั่งอายุ 26 ปี ได้ลาจากเพศบรรพชิต และหันมาทำงานเป็นช่างเต็มตัว โดยศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองเพิ่มเติม จากหนังสือ ตำรา ใบลาน ทำให้มีความรู้แตกฉานในวิชาช่างแบบโบราณ รวมทั้งคติความเชื่อของชาวอีสานที่แฝงอยู่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้อย่างถ่องแทํในงานช่าง รู้มาก รู้ลึกและรู้กว้าง ยากที่จะหาผู้ใดเทียบได้ สามารถปั้นและหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่ได้ ผลงานทุกชิ้นจะมีความวิจิตรบรรจง ประณีตสวยงาม และคงไว้ซึ่งศิลปะแบบพื้นบ้าน จนเป็นที่กล่าวขวัญยอมรับและยกย่องกันอย่างแพร่หลาย จนกระทั่งมีผู้ยกย่องว่าเป็น "ช่างเทวดา"
ศิลปะเชิงช่าง การออกแบบสร้างสรรค์เมรุชั่วคราว รูปนกหัสดีลิงค์ ช่างคำหมา ถือว่า เป็นนายช่างผู้เชี่ยวชาญการทำเมรุชั่วคราวทั้งแบบธรรมดา และแบบทรงนกหัสดีลิงค์ โดยศิลปะสถาปัตยกรรมในพิธีดังกล่าว ท่านถือเป็นบรมครูช่างผู้นำเข้าคติรสนิยม จากพื้นที่วัฒนธรรมอุบลฯ มาสู่จังหวัดต่างๆ ในแถบอีสานกลาง ไม่ว่าจะเป็นที่ เมืองอุบลราชธานี ยโสธร อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ฯลฯ จวบจนมาถึงปัจจุบันสมัย โดยได้มีการขยายรสนิยมในเชิงช่าง และคตินิยมการปลงศพด้วยการขึ้นนกหัสดีลิงค์นี้ไปยังที่ต่างๆ ในอีสาน ผ่านพิธีกรรมปลงศพกลุ่มพระเถระ ที่ได้รับการยอมรับนับถือจากประชาชน แม้ในเชิงช่างจะมีการปรุงปรับดัดแปลง อย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ รูปแบบส่วนยอดหอแก้ว หรือซุ้มสำหรับวางหีบศพที่ช่างคำหมา ได้ออกแบบสร้างสรรค์จะนิยมการทำเป็นทรงเครื่องยอด แบบอย่างทรงจอมแห ที่เป็นอิทธิพลช่างหลวงราชสำนักกรุงเทพฯ จากเครื่องยอดของพระเมรุมาศเจ้านายชั้นสูง ทำให้เห็นถึงการปะทะสังสรรค์ทางรสนิยมเชิงช่างที่ไม่หยุดนิ่ง ระหว่างวัฒนธรรมหลวงกับวัฒนธรรมชาวบ้าน ผ่านนายช่างผู้มากฝีมือท่านนี้ ปัจจุปันสานุศิษย์ของท่านก็ยังสืบสานต่อ
บทวิเคราะห์ที่สำคัญที่ท่าน อาจารย์ วิโรฒ ศรีสุโร ครูใหญ่ด้านวิชาการศิลปะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสานศึกษา ผู้ล่วงลับ ได้วิเคราะห์ผลงานการออกแบบสร้างสรรค์ โดยเฉพาะ ศาสนาคาร ของ ช่างคำหมา แสงงาม ไว้ว่า “….ผลงานในระยะแรกๆ ย่อมมีอิทธิพลจากตระกูลช่างทางล้านช้าง แต่พอในระยะหลังๆ กลับได้รับอิทธิพลจากทางบางกอก (รัตนโกสินทร์) ตลอดทั้งรูปแบบทางสถาปัตยกรรม (อุโบสถหรือสิม) และงานตกแต่งประดับ ก็เป็นไปอย่างทางภาคกลางทั้งสิ้น อาจจะเป็นไปได้ว่า ทางวัดอยากได้รูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบภาคกลาง จึงบีบคั้นให้ท่านได้พัฒนาการตัวลายให้เป็นไปอย่างสมัยนิยม จนบางครั้งทำให้ขาดรสชาติของความเป็นพื้นถิ่นอีสานไปอย่างน่าเสียดาย ทั้งๆ ที่บางครั้งช่างก็อาจรู้ดี แต่เพื่อความต้องการของตลาดจึงจำใจต้องโอนอ่อนตามไปในที่สุด” (วิโรฒ 2536)
ทำให้มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย กระจายกันไปประกอบวิชาชีพทั่วภาคอีสานนับพันคน ท่านฝึกหัดอบรมโดยใช้วิธีทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วจึงมอบหมายงานให้ทำจากง่ายไปสู่งานที่มีความซับซ้อนขึ้นเป็นลำดับ และด้วยนิสัยส่วนตัวที่เป็นผู้ยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรม และเป็นคนสมถะ ท่านจึงเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ความมัธยัสถ์ โดยเงินทองที่หามาได้ส่วนใหญ่จะน่าไปบุญ และสมทบทุนสร้างถาวรวัตถุ งานบางแห่งไม่มีค่าแรงก็รับทำเพื่อทำบุญ การทำงานก็เช่นกัน หากมีวัสดุเหลือใช้หรือแม้แต่เศษวัสดุที่ผู้อื่นทิ้งแล้ว ท่านก็สามารถนำมาประดิษฐ์เป็นงานศิลปะที่สวยงามได้ และท่านมักลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นลง เพื่อประหยัดเวลาถือเป็นผู้ที่ใช้ชีวิตอย่างคุ้มค่ายิ่ง
ครูคำหมา แสงงาม เป็นผู้อุทิศตนเพื่อสังคมอย่างแท้จริง โดยนอกจากท่านจะทำงานด้านศิลปะแล้ว ยังอุทิศตนให้กับการให้ความรู้แก่ลูกศิษย์จำนวนมาก โดยไม่เรียกร้องค่าตอบแทน และด้วยเป็นปราชญ์ในงานด้านทัศนศิลป็ ทั้งงานปั้นและงานแกะสลัก ทำให้สถาบันการศึกษาต่างๆ เชิญท่านเป็นวิทยากรอยู่บ่อยครั้ง
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปัจจุบัน) ได้มอบปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปะ ให้แก่ท่าน และในปี พ.ศ. 2529 ท่านได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ศิลปีนแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป๋ (การปั้นแกะสลัก) อันเป็นความภาคภูมิใจสูงสุดในชีวิต
สุวรรณศรี สันคอกช้าง จากเวปไซด์ส่งสการดอทคอม กล่าวถึงนกหัสดีลิงค์สีสันสวยงามที่สร้างขึ้นโดย พ่อครูคำหมา แสงงาม ผู้เป็นปราชญ์ที่จรรโลงสร้างนกหัสดีลิงค์ในภาคอีสานว่า “รู้สึกจะมีพ่อครูคำหมาเป็นผู้สืบทอดแต่เพียงผู้เดียว เคยมีคนถามว่า นกหัสดีลิงค์ ที่สร้างขึ้นของทางเหนือสวยและถูกกว่าทางภาคอีสาน แล้วทำไมไม่มีใครได้เป็นศิลปินแห่งชาติ ข้าพเจ้าขอตอบอย่างเป็นกลางว่า ไม่มีสิ่งไหนที่จะบรรยายได้ว่าสวยหรือไม่สวย เพราะงานทุกชิ้นที่ถูกผลิตออกมานั้นมันมีค่าทางจิตใจมากกว่า ทางภาคอีสานมีผู้สามารถสร้างนกหัสดีลิงค์ได้เพียงแค่ท่านเดียว ก็สมควรแล้วที่จะต้องได้รับการยกย่องเชิดชูให้เป็นศิลปีนแห่งชาติ เพราะมีแค่หนึ่งเดียวในภาคอีสาน ส่วนทางภาคเหนือเรางานประเภทนี้มีให้เห็นหนาตา”
ดำรง วงศ์อุปราช ศิลปินแห่งชาติ กล่าวถึงครูคำหมาว่า “พ่อใหญ่คำหมา แสงงาม เป็นศิลปินแท้ๆ เพราะท่านเป็นผู้มีความสามารถทางช่างและศิลปะ มีวิริยะธรรม มีมนุษยธรรม และมีศีลธรรม ท่านได้สร้างกุศลธรรมไว้มากมาย ไม่ใช่เพราะว่าท่านมีอายุมากถึง 99 ปีเท่านั้น ศิลปินที่แท้จริงเช่นนี้นับวันจะหายาก เพราะโลกได้เปลี่ยนไป แม้แต่คนไทยก็เอาอย่างคนตะวันตกเกือบทุกทาง โดยไม่รู้ว่าเราเองมีดีอย่างไร”
อาคม วรจินดา อดีตผู้อำนวยการสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน กล่าวยกย่องครูคำหมาว่า “พ่อครูเป็นฮากบ้านฮากเมีอง คือรอบรู้ในฮีตบ้าน คลองเมือง มีปิญญาสุขุมไม่ร้อนวิชา ดำเนินชีวิตงดงามบริสุทธิ์ และสมถะ พ่อครูมีบุญคือ เป็นรัตตัญญู ผู้รู้ราตรืนาน มีอายุยืน มีชีวิตเป็นดั่งตำนานแห่งงานหัศนศิลป็ ประกอบศาสนคารไว้อย่างมีคุณค่าน่าสะออน”
พ่อครูคำหมา แสงงาม ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ขณะอายุได้ 99 ปี
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)