คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
คำอีสาน | ความหมาย |
ภา | น. สำรับกับข้าว เรียก ภา ภาชนะ ภาชน์ เช่น ภาเข้า หรือ พาเข้า หมายถึง สำรับใส่ข้าวปลาอาหาร |
ภู่ | น. แมลงภู่ เป็นแมลงชนิดหนึ่ง เรียก แมงภู่ ตัวขนาดหัวแม่มือ ตัวและปีกสีดำ เจือน้ำเงิน คอเหลือง ชอบเจาะปล้องไม้ไผ่เข้าไปทำรังอยู่ภายใน |
มีคำอื่น ๆ ซึ่งซ้ำกับในภาษากลาง |
คำอีสาน | ความหมาย |
มกมก | ว. อาการผงกหัวขึ้นลง เช่น กิ้งก่าผงกหัวก็ว่า กะปอมตอดเงามกมก |
ม้งก้ง | ว. ตาขนาดโต ขณะที่ลืมเต็มที่เรียก มืนม้งก้ง ขนาดกลาง มืนม้องก้อง ขนาดเล็ก มืนมิ้งกิ้ง |
มงมง | ว. สว่าง สุกใส แสงของดาวขนาดกลาง ว่า เหลื้อมมงมง |
ม้งม้ง | ว. สว่าง สุกใส แสงของดาวขนาดใหญ่ ว่า เหลื้อมม้งม้ง |
มน | 1 น. ใจ 2 ว. หน้าดุจดวงจันทร์ เรียก หน้ามน หนองน้ำไม่ยาวเรียก หนองมน ผ้าเช็ดหน้าเรียก ผ้าแพรมน 3 ว. กลม ๆ โค้ง ๆ ไม่เป็นเหลี่ยมเรียก มน |
ม้น | ว. ยุ่ง สับสน ด้ายหรือไหมที่ยุ่งหรือสับสนกัน เรียก ฝ้ายม้น ไหมม้น |
ม้ม | ก. พ้น ล่วง เลย เกิน เช่น บ่ม้มมื้ออื่น คือ ไม่พ้นวันพรุ่งนี้ |
มวก | น. น้ำซาวข้าว น้ำแช่ข้าว น้ำสีขาวขุ่น มักเรียก น้ำมวก คนตาขุ่นมัวเรียก ตาเป็นน้ำมวก |
ม่วน | ว. ไพเราะ เสนาะ สนุก |
มอ | 1 น. หมอดู เรียก หมอมอ 2 น. เนินดินสูง เช่นรถขึนเนินดินสูง เรียก รถขึ้นมอ 3 น. เรียกวัวว่า มอ งัวมอ ก็เรียก มอคงจะเรียกตามเสียงร้องของมัน |
ม่อ | ว. ใกล้ ชิด เรือนใกล้กันเรียก เฮือนม่อ คนใจง่ายเรียก ใจม่อ |
ม็อกม็อก | ว. กิ้งก่าตัวเล็ก ๆ ผงกหัวเรียก กะปอมตอดเงาม็อกม็อก |
มอกลอก | ว. คนที่หน้าตาไม่สะอาดสดใส เรียก หน้ามอกลอก |
มอง | น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำเป็นตาเหมือนอวน เรียก มอง |
ม้อง | น. เวิ้ง ลาน บริเวณ เช่น สวนแปลงหนึ่งแบ่งออกเป็นหลายส่วน แต่ละส่วนเรียก ม้อง ม้องนี้ปลุกผักบั่ว (ต้นหอม) ม้องนี้ปลุกผักชี |
ม้องม้อง | น. ดาวดวงเล็กมีแสงสว่างมองไปเห็น เรียก ใสม้องม้อง |
ม้อน | น. ตัวไหม ในขณะเป็นตัวหนอน เรียก ม้อน |
ม้อย | ว. อาการค่อยหลับไปจนตาย เรียก ตาย เช่น น้องบ่หัวซาอ้ายเห็นสิตายม้อยระแม่ง |
มัก | ก. ชอบ พอใจ ความรักใคร่ชอบใจ เรียก ความมัก |
มักกั๊ก | ว. คนรูปร่างเล็กและเตี้ย เรียก สั้นมักกั๊ก |
ม้าง | ก. ทำลาย ล้าง รื้อ เรียก ม้าง |
ม้างก้าง | ว. สิ่งของที่ลึกและมน เช่น หลุม เรียก มนม้างก้าง |
มาน | 1 น. โรคที่ทำให้ท้องพองโต มีหลายชนิด เช่น มานน้ำ มานเลือด หญิงกำลังมีท้องเรียก แม่มาน 2 น. ข้าวตกรวง เรียก เข้ามาน |
ม้านม้าน | ว. ตาที่เหลือกเต็มที่เรียก ตาเหลือกม้านม้าน |
มี้ | น. ขนุน เรียก หมากมี้ มีหมากมี้ฝ้าย หมากมี้หนัง หมากมี้น้ำเผิ้ง |
มึกกึ๊ก | ว. คนที่มีลักษระผิวดำอ้วนและเตี้ย เรียก ดำมึกกึ๊ก |
มุ่น | ว. แหลก ละเอียด ตำจนแหลกละเอียด เรียก มุ่น |
มุบมุบ | ว. อาการปวดบาดแผลขนาดเล็ก เรียก ปวดมุบมุบ มุบมับมุบมับ ก็ว่า |
แม่ฮัก | น. หญิงที่รักลูกของคนอื่นเหมือนลูกของตน มีอะไรก็แบ่งให้ แต่ไม่รับเอามาเลี้ยงไว้ในเรือน เพียงให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลเท่านั้น เรียก แม่ฮัก |
แม่ฮ้าง | น. หญิงที่ผัวทิ้งหรือผัวหย่าร้างไป เรียก แม่ฮ้าง ใกล้เคียงกับแม่หม้าย ที่เป็นหญิงผัวตายจาก |
แม้งง้องแง้ง | น. ลูกน้ำ ตัวอ่อนของยุงที่อาศัยอยู่ในน้ำ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ย้วย | ว. เหลวยืดออกได้ เช่น น้ำอ้อยที่เหนียว เรียก น้ำอ้อยย้วย |
ย้วยย้วย | ว. อาการที่คนเดินไปตามหลังกันไป เรียก ย่างย้วยย้วย |
ย่องย้อ | ว. กระโหย่ง นั่งกระโหย่ง เรียก นั่งย่องย้อ |
ย่าง | ก. ยกเท้าก้าวไป เรียก ย่าง |
ยาด | ก. แย่ง ชิง อย่างว่า ยาดชู้ชิงผัว |
ยาบยาบ | ว. เคลื่อนไปเป็นแถว เดินไปเป็นกระบวน เรียก ย่างยาบยาบ |
ย้ามย้าม | ว. หัวเราะอย่างร่าเริง เรียก หัวย้ามย้าม |
ย่าวย่าว | ว. อาการที่น้ำไหลไม่ขาดสาย เรียก ย่าวย่าว แต่ถ้าไหลออกมาเป็นจำนวนมาก เรียก ไหลย้าวย้าว |
ยินสะออน | ก. ซาบซึ้ง ตรึงใจ เช่น โฮมเพจนี้มาดูแล้วก็ยินสะออนหลายเด้ อีหลีตั่ว |
ยิบ | ว. อาการเปิดปิดถี่ ๆ เรียก ยิบ เช่น กระพริบตา เรียก ยิบตา แสงดาวกระพริบ ก็เรียกว่า แสงยิบๆ ยับๆ |
ยุบยุบ | ว. อาการปวดบาดแผลว่า ปวดยุบยุบ |
ยุ้ยยุ้ย | ว. อาการที่น้ำไหลไปช้า ๆ เรียก ไหลยุ้ยยุ้ย |
ย้อน | ก. การขยับตัวขึ้นและลงตามจังหวะดนตรี เรียก ย้อน |
ย้าน | ก. กลัว รู้สึกหวาดสะดุ้ง เรียก ย้าน |
ยาม | ก. เยี่ยม ไปถามข่าวทุกข์สุข หรือไปดู เช่น ไปกู้เบ็ด กู้ไซ เรียก ไปยามเบ็ด ยามไซ |
เยี้ยม | น. หน้าต่าง เรียกว่า ปล่องเยี้ยม หรือ ปล่องเอี้ยม ก็ว่า |
คำอีสาน | ความหมาย |
ไม่มีคำที่แตกต่างจากภาษากลาง (ยังค้นไม่พบ นึกไม่ออก) |
คำอีสาน | ความหมาย |
ไม่มีคำที่แตกต่างจากภาษากลาง (ยังค้นไม่พบ นึกไม่ออก) |
คำอีสาน | ความหมาย |
บ่ | ว. ไม่ เช่น บ่ได้ บ่ดี บ่มี บ่เป็น บ่ทุกข์ บ่ยาก บ่อึด บ่อยาก |
บ่ง | ก. เจาะ แทง เมื่อถูกเสี้ยนหรือหนามแทง ต้องใช้เหล็กหรือหนามเจาะเอา เสี้ยนออก การใช้เหล็กหรือหนามเจาะเรียก บ่ง |
บ้ง | น. บุ้ง บุ้งเรียก บ้ง บ้งเป็นสัตว์จำพวกหนอน มีหลายชนิด เช่น บ้งกือ (กิ้งกือ) บ้งขน ตัวเล็กมีขนมาก บ้งคืบ ตัวเล็กเคลื่อนไหวด้วยการคืบไป |
บด | 1 ว. มืด ครึ้ม ไม่มีแดด เวลาที่พระอาทิตย์ไม่ส่องแสงเรียก แดดบด 2 ก. กดด้วยใช้ของแข็งให้แน่น |
บวก | 1 น. ปลัก แอ่งน้ำขนาดเล็กสำหรับควายนอน เรียก บวกควาย 2 ก. ผสม รวม เติม เช่น หนึ่งผสมกับสอง รวมเข้ากับสาม เพิ่มเข้ามาอีกสี่ได้ เท่าไร |
บ่วง | น. ช้อนสำหรับตักอาหาร เรียก บ่วง ทำด้วยหอย เรียก บ่วงหอย ทำด้วยหอย กีบกี้เรียก บ่วงหอยกีบกี้ ทำด้วยกะลามะพร้าว เรียก บ่วงกะโป๋หมากพร้าว |
บ้วง | 1 น. บ่วง เชือกที่ทำเป็นวงรูด สำหรับดักหรือคล้องสัตว์ เรียก บ้วง เช่น บ่วงคล้องไก่ บ้วงคล้องขี้กะปอม 2 น. กะทกรก ชื่อผักชนิดหนึ่งเป็นเถาใช้รับประทานได้ |
บ้วน | ก. ล้างปากด้วยการอมน้ำแล้วบ้วนออกมาเรียก บ้วนปาก ม้วนปาก ก็ว่า |
บวย | น. ขันตักน้ำ เรียก บวย บวยส่วนมากคนโบราณทำด้วยกะลามะพร้าว เพราะกะลามะพร้าวอมความสกปรกไว้น้อยมาก |
บ้อน | ก. ผุดขึ้น อาการที่ปลาผุดขึ้นเหนือน้ำเพื่อหายใจเรียก ปลาบ้อน |
บัก | 1 น. เป็นคำเรียกชื่อชายที่มีอายุเสมอกันหรือต่ำกว่ากันว่า บัก ถือว่าเป็นคำพูด พื้น ๆ ไม่หยาบคาย เช่น บักสี บักมี บักมา 2 น. สิ่งของซึ่งมีลักษณะเหมือนจะเป็นเพศชายแต่ไม่ใช่ เรียก บัก มีบางแห่ง ใช้นำหน้าชื่อผลไม้แต่ไม่ถูกต้อง เพราะผลไม้จะใช้ หมากนำหน้าเสมอ เช่น หมากมี้ หมากม่วง หมากพร้าว 2 น. ฟันไม้ให้คอดหรือกิ่ว เรียก บัก เช่น การฟันต้นขนุนให้คอดกิ่ว เรียก บักกกมี้ |
บั้ง | 1 น. กระบอกไม้ไผ่มีฝาปิด ใส่เกลือเรียก บั้งเกลือ ใส่แจ่วเรียก บั้งแจ่ว ใส่น้ำ เรียก บั้งทิง กระบอกไม้ไผ่ยาว 3-4 ปล้อง ที่ปากมีงาแซง สำหรับใช้ดักเอี่ยน (ปลาไหล) เรียก บั้งลัน สำหรับใส่ใบลานที่จดวัน เดือน ปีเกิดเรียก บั้งชาตา บั้งไม้ไผ่ยาวประมาณ 6-7 ปล้อง สำหรับตอกดินปืนทำบั้งไฟ เรียก บั้งไฟ 2 ว. ต้นกล้าข้าวที่แก่จนเป็นปล้อง เรียก กล้าบั้ง |
บั่ว | 1 น. หัวหอม ต้นหอม เรียกว่า ผักบั่ว มีหลายชนิด เช่น บั่วแดง บั่วขาว 2 น. ชื่อหย้าชนิดหนึ่ง เรียก หญ้าบั่ว เกิดตามหนองน้ำ ใบคล้ายใบผักบั่ว แต่ แข็งกว่า 3 น. ขนที่ขึ้นอยู่ตามร่างกายทั่วไป มีลักษณะอ่อน เรียก ขนบั่ว fine body hair |
บาย | ก. จับ หยิบ ฉวยเอา อย่างว่า ซิถิ้มกะเสียดาย ซิบายกะขี้เดียด |
บุ้น | ว. น้ำพุ่ง น้ำที่พุ่งออกจากพื้นดิน พุ่งไหลตลอดเวลา เรียก น้ำบุ้น |
เบิ่ง | ก. จ้องดู มองดู แหงนหน้าดู |
เบิด | ก. แหงนหน้าดู อย่างว่า อย่าได้เบิดเท้อเล้อมันซิล้าเมื่อยคอ |
เบือ | 1 น. ข้าวสารเหนียวคั่วไฟให้เกรียมแล้วตำให้ละเอียด เรียก ข้าวเบือ เป็นเหมือน ผงชูรส ทำให้อาหารมีรสอร่อยยิ่งขึ้น 2 น. ไม้ตีพริกเรียก เบือ สากกะเบือ ก็ว่า ใช้ตำป่น ตำแจ่ว ตำสารพัดอย่าง 3 น. ยาที่มีรสเบื่อเมา กินเข้าไปแล้วเบื่อเมา เรียก ยาเบือ |
แบ้น | น. อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศชายหรือของสัตว์ตัวผู้เรียก แบ้น |
คำอีสาน | ความหมาย |
ป่ง | 1 น. ดินตามชายป่ามีรสเค็ม สัตว์ป่าชอบกิน เรียก ดินป่ง หรือ ดินโป่ง ก. งอก ผลิ สิ่งที่งอกหรือผลิออกมาเรียก ป่ง เช่น ใบไม้ป่ง ดอกไม้ป่ง |
ป่น | น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากการตำให้ละเอียด อาจมีน้ำชลุกขลิก เล็กน้อย รับประทานกับผักนานาชนิด ถือเป็นอาหารหลักและเป็นอาหารชั้นสูง เช่น ป่นปลา ป่นกบ ป่นเขียด ป่นปู ป่นชิ้น ป่นเห็ด |
ป่วง | 1 น. โรคลงราก มีอาการท้องร่วงและอาเจียน 2 ว. เสียสติ เช่น คึดฮอดน้องจนเป็นบ้าป่วงวิน |
ป้องหง้อง | ก. อาการล้มพับเรียก ล้มป้องหง้อง ถ้าของใหญ่ล้มลงเรียก ล้มป้างหง้าง |
ป่อนล่อน | ว. ใบหน้าที่มีลักษณะเกลี้ยงเกลา เรียก หน้าเกลี้ยงป่อนล่อน |
ปอบ | น. ผีจำพวกหนึ่งสิงอยู่ในตัวคน เรียก ผีปอบ มี 2 ชนิด คือ ปอบมนต์ เกิดจากการปฏิบัติตนไม่ได้ตามคำมั่นสัญญา ผู้ที่เรียนทางคุณไสย เวทมนต์ เมื่อปฏิบัติไม่ได้จะเป็น ผีปอบ ปอบเชื้อ เกิดจากการถ่ายทอดจากญาติพี่น้องสู่อีกคนหนึ่งในครอบครัว เดียวกัน |
ปอม | น. กิ้งก่า เรียก กะปอม ขี้กะปอม ก็ว่า มีทั้งชนิดตัวเล็กและตัวใหญ่ ชนิดตัวใหญ่อยู่ตามป่า คอสีแดงจัด เรียก กะปอมก่า |
ป้อย | ก. แช่ง ด่า การที่คนแก่เฒ่าสอน ดุด่าลูกหลาน ก็ว่า ผู้เฒ่าป้อย |
ป่อยล่อย | ว. เปรี้ยวนิด ๆ เช่น เมื่อชิมรสน้ำแกงมีรสเปรี้ยวนิดหน่อยก็ว่า ส้มป่อยล่อย |
ปัว | ก. รักษาพยาบาล เรียก ปัว เช่น ถือคีงไข้เลยไปให้หมอปัว (ตัวร้อนเลยไปหา หมอรักษา) |
ปากกืก | ก. ใบ้ คนเป็นใบ้เรียก คนปากกืก พูดไม่เป็นภาษาต้องใช้ไม้หรือมือแทนคำพูด |
ปากบ่ถ้อง | ก. พูดไม่ชัดเจน เกิดเพราะลิ้นไก่สั้น พูดตัว ต เป็น ถ เป็นต้น |
ปากเป็น | ก. พูดสับปลับ ดีทำให้ชั่ว ชั่วทำให้ดี |
ปากฝ่าว | ก. พูดแผ่วเบาเหมือนคนเป็นไข้ เงี่ยหูฟังก็ไม่ชัด เรียก ปากฝ่าว |
ป้าดโท | อ. เสียงที่เปล่งออกมาแสดงความประหลาดใจ |
ป้าว | น. รอยแผลเป็นขนาดใหญ่เรียก ป้าว รอยขนาดเล็กเรียก แป้ว |
ปิ๊ดลิด | ว. ของที่มีลักษณะแหลมและเล็ก เรียก แหลมปิ๊ดลิด |
เปิก | ว. ถลอก ขาถลอก เรียก ขาเปิก |
เปิ่นเวิ่น | ว. หน้าตาที่เบิกบานแจ่มใส เรียก เปิ่นเวิ่น แป่นแว่น ก็ว่า |
แป้ว | น. ตำหนิเรียก แป้ว แผลที่หายแล้วแต่ยังมีรอยปรากฏ ขนาดเล็กเรียก แป้ว ขนาดใหญ่เรียก ป้าว |
โป่ | น. หัวหน้า ประธาน ผู้เป็นใหญ่ ผู้เป็นหัวหน้าเรียก โป่ เป็นชายเรียก พ่อโป่ เป็นหญิงเรียก แม่โป่ ว. ใหญ่ โต ขี้ไก่กองที่ใหญ่เรียก ขี้ไก่โป่ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ผ้ง | น. กระพุ้ง กระพุ้งแก้มเรียก ผ้งแก้ม ที่อยู่อาศัยของกบเรียก ผ้งกบ |
ผาบ | ก. ปราบ ทำให้แพ้ |
ผาม | น. ปะรำ ที่พักชั่วคราวมุงด้วยผ้า หญ้า หรือใบไม้ เรียก ผาม ผามเพียง ตูบ ก็ว่า |
ผำ | น. ไข่น้ำ ไข่แหน มีอยู่ตามหนองบึงขนาดใหญ่ในภาคอีสาน คนอีสานชอบ กินเป็นอาหาร โดยแกงใส่ปลา มีโปรตีนมาก ได้ทราบว่ามีชาวเยอรมันนำกลับ ไปเพาะเลี้ยงในต่างแดน แต่คนอีสานจะรู้และหวงแหนพืชชนิดนี้หรือไม่หนอ เพราะขณะนี้เหลืออยู่น้อยมากแล้ว |
ผี่ | ก. คลี่ออกเรียก ผี่ออก เปิดออกก็เรียก ผี่ออก |
ผีก | ก. ปลีกหรือหลีกเรียก ผีก เช่น ผีกเด้อสูกูฟ้าว (หลีกทางหน่อยฉันรีบ) |
เผิ้ง | น. ผึ้ง เป็นสัตว์มีปีกบินได้ มีเหล็กไนพิษต่อยสัตว์อื่นให้เจ็บปวด คนอีสานเรียก แมงเผิ้ง |
โผ้ | ว. กินข้าวน้อย กินอาหารมาก เรียก กินโผ้ คนท้องโตเรียก ท้องโผ้ พุงใหญ่เรียก พุงโผ้ |
โผด | ก. ละทิ้ง เรียก โผด ชาวบ้านเอาแมวไปปล่อยวัด เรียก เอาแมวไปโผด การฆ่าสัตว์เพื่อนำมาเป็นอาหาร เรียก โผด เช่นกัน เช่น โผดไก่ โผดปลา |
ใผ | ส. ใคร ผู้ใด อย่างว่า ให้มันรู้สะบ้างว่าใผเป็นใผ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ฝด | น. ผด เม็ดเล็ก ๆ หรือผื่นที่ขึ้นตามผิวหนัง เมื่อถูกอากาศร้อนจัด |
ฝัด | ก. กระพือข้าวกับแกลบให้ออกจากกัน เรียก ฝัดเข้า |
ฝ่าว | ว. แผ่วเบา เสียงแผ่วเบาดุดคนเป็นไข้กำลังจะสิ้นใจ |
ฝิ่ว | ก. รั่ว ทลุ เปิดเผย |
คำอีสาน | ความหมาย |
พวน | ก. คลื่นไส้ เรียก พวนท้อง เมื่อกินอาหารเข้าไปจะอาเจียนออกมา |
พวม | ว. กำลัง เช่น กำลังกินเรียก พวมกิน กำลังนอนเรียก พวมนอน กำลังทำงานเรียก พวมเฮ็ด |
พ่อเถ้า | น. พ่อตา พ่อของเมียเรียก พ่อเถ้า |
พ่อเสี่ยว | น. มิตรสหายหรือเพื่อนรักสนิทสนม เรียก พ่อเสี่ยว (คำเรียกสำหรับสอนลูกให้เรียกตาม) |
พ่อฮัก | ก. ชายที่รักลูกคนอื่น หรือรับเอาลูกคนอื่นมาเป็นลูกตน เรียก พ่อฮัก คล้ายกับการเป็นพ่อทูนหัวของฝรั่ง |
พ่อฮ้าง | น. ชายผู้หย่าจากภรรยาเรียก พ่อฮ้าง ส่วนชายที่ภรรยาตายจากเรียก พ่อหม้าย |
พ้อว้อ | ว. การแสดงอาการหลุกหลิกดุจลิง เรียก พ้อว้อ พ้อว้อแพ้แว้ ก็ว่า |
พาโล | ก. พาล แสร้งพูดใส่ความไม่จริงให้คนอื่น เรียก พาโล |
พี | ว. อ้วน คนอ้วน เรียก คนพี ป่าใหญ่เรียก พงพี |
พึ | ว. แตกออก บานออก เช่น ดอกไม้พึ คือดอกไม้บาน |
เพ | ก. แตก หัก ชำรุด พัง อย่างเช่น คอมพิวเตอร์เครื่องนี้เป็นแบบปลั๊กแอนด์เพ (เสียบแล้วพังเลย) |
เพ้อเว้อ | ว. สิ่งที่ใหญ่และปากบานเรียก บานเพ้อเว้อ ถ้าเล็กเรียก แพ้แว้ |
เพี้ย | น. น้ำย่อยที่อยู่ภายในลำไส้อ่อนของคนและสัตว์ เรียก ขี้เพี้ย |
คำอีสาน | ความหมาย |
ฟ้ง | ก. กระเด็น ปลิว ตลบ |
ฟด | ก. เดือด น้ำที่ต้มแล้วร้อนพุ่งขึ้นเรียก น้ำฟด |
ฟอย | น. ไม้กวาด ไม้กวาดสำหรับการทำความสะอาดอาคาร บ้านเรือน เรียก ฟอย ทำจาก ใบพืชหรือดอกหญ้า |
ฟั่งฟ้าว | ว. รีบด่วน อาการรีบร้อน รีบด่วนเรียก ฟั่งฟ้าว เช่น ม้าก็ทยานฟั่งฟ้าว เถิงท้าว บ่นาน |
ฟัด | ก. เหวี่ยง สะบัดไปมา กระทบ เช่น ใช้ฟืมกระทบเส้นด้ายหรือไหม เพื่อให้ แน่นสนิท เรียก ฟัดหูก ต่ำหูก ก็ว่า |
ฟ่าง | ว. รีบเร่งเกินไปลืมกระทั่งความตาย เรียก ฟ่าง ฟ่างตาย ฟ่างล้มฟ่างตาย ก็ว่า |
ฟ้าว | ว. รีบ ด่วน เช่น ฟ้าวบวชฟ้าวสิก ฟ้าวเอาเมียฟ้าวปะ (รีบบวชรีบสึก รีบแต่งแล้วรีบหย่า) |
ฟืม | น. เครื่องมือสำหรับการทอผ้า มีฟันเป็นซี่ ๆ คล้ายหวี สำหรับสอดเส้นด้าย หรือไหม ใช้กระทกให้ประสานกัน เรียก ฟืม |
เฟือด | ก. น้ำล้นเรียก น้ำเฟือด |
เฟือย | น. กิ่งไม้ที่จมอยู่ในน้ำ เรียก เฟือยไม้ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ดน | ว. นาน, ช้า อย่านานเรียก อย่าดน นานสว่าง เรียก ดนแจ้ง |
ดัง | 1 น. จมูก จมูกเรียก ดัง จมูกบี้ เรียก ดังแหมบ จมูกบานหรือรูจมูกกว้าง เรียก ดังปึ่ง จมูกใหญ่หรือจมูกโด่ง เรียก ดังโม จมูกแหว่งมาก เรียก ดังวืก จมูกแหว่ง ขนาดกลาง เรียก ดังวาก จมูกแหว่งนิดหน่อย เรียก ดังวีก จมูกเชิด เรียก ดังเบิด |
ดัง | 2 ก. เสียงดัง ก้อง กึกก้อง 3 ก. ก่อไฟ ก่อไฟเรียก ดังไฟ ก่อไฟรอ เรียก ดังไฟถ้า |
ด่าวด่าว | ว. เด่าเด่า อาการดิ้นของผู้ใหญ่ เรียก ด่าวด่าว ของเด็กเรียก แด่วแด่ว |
ดี้ | ว. นิดหน่อย เล็กน้อย เช่นไม่ได้สักน้อย เรียก บ่ได้จักดี้ |
ดี้ดี้ | ว. จริง ๆ, จัง ๆ, เช่น ไม่มีจริง ๆ เรียก บ่มีดี้ดี้ |
ดุ้ง | ว. คด นูน งอ โก่ง ไม้ที่งอจนโก่งขึ้น เรียก ไม้ดุ้ง |
เด่ | ก. ยื่น เช่น ยื่นแขน เรียก เด่แขน ยื่นขา เรียก เด่ขา ยื่นมือ เรียก เด่มือ |
เดิ่น | น. ลาน สนาม ลานกลางบ้าน เรียก เดิ่นบ้าน |
แดก | 1 น. ปลาร้า ปลาที่คลุกเกลือกับรำ ตำแล้วใส่ในไห เรียก ปลาแดก 2 ก. ทิ่ม แทง ตำ 3 ก. กินเกินประมาณ เรียกว่า แดก หรือว่า สิแตกแดกตับ อาหารประเภท กินด่วน (fast food) คนอีสานเรียก แดกด่วน |
โด่ | ก. ยื่น โผล่ ยื่นหน้าออกนอกรถ เรียก โด่คอออกจากรถ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ตกกะเทิน | ว. ตกลงใจ ลงได้ทำ ตกลงใจว่าจะทำอะไรต้องทำให้สำเร็จ ไม่สำเร็จไม่ยอม เลิก |
ตกคะมะ | ก. สะทกสท้าน ตกตะลึง ประหม่า ตกใจกลัว เรียก ตกคะมะ ตกกะมะ ก็ว่า |
ต่ง | 1 ก. รอง เช่นเอาถังรองน้ำฝน เรียก ต่งน้ำฝน เอาผ้ารองเอาปลาเรียก ต่งปลา 2 ว. ใต้ ตรง เช่น นอนใต้ขื่อ เรียก นอนต่งขื่อ การนอนต่งขื่อโบราณถือว่า คะลำ ห้ามไม่ให้นอน 3 ว. ตึง เต่ง เบ่ง ลักษณะเนื้อหนังมังสาที่ตึงเรียกว่า ต่ง เช่น นมตึง เรียก นมต่ง แก้มที่มีเนื้อเต็ม เรียก แก้มต่ง |
ต้วง | ว. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งของปลาร้า เมื่อนำเอาไปปรุงส้มตำ รสอร่อยเป็นพิเศษ เรียก ปลาแดกต้วง |
ต่อน | น. ชิ้น ชิ้นของเนื้อหรือปลาที่ตัดออกเป็นท่อน ๆ เรียก ต่อน |
ตะลูด | ก. เลื่อน เคลื่อนไป เลื่อนหรือเคลื่อนไป เรียก ตะลูด ตู้ดลูด ก็ว่า ตัวอย่างเช่น ข้าราชการครูได้เลื่อนระดับเป็น อาจารย์ 2 ระดับ 7 ไม่ต้องทำผลงานทาง วิชาการ ก็เรียกว่า ครูซี 7 ตะลูด |
ตั่ว | ว. ใช้ประกอบคำสุดท้ายของคำพูด เช่น แม่นตั่ว บ่กินตั่ว บ่มีตั่ว เป็นต้น |
ตั๋วะ | ก. โกหก พูดปด พูดเท็จ การพูดโกหกหลอกลวง เรียก ตั๋วะ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ถง | น. ถุง ถุงสำหรับใส่เสื้อผ้า เรียก ถงผ้า กระเป๋ากางเกง เรียก ถงส้ง กระเป๋าใส่เงิน เรียก ถงเงิน |
ถิ้ม | ก. ทิ้ง เททิ้ง เรียก ถอกถิ้ม ขว้างค้อน เรียก ถิ้มค้อน |
ถืก | ก. ถูก แตะต้อง สัมผัส เช่น ของไม่แพง เรียก ของถืก พูดได้ถูกต้อง เรียก เว้าถืก ถูกเนื้อต้องตัว เรียก ถืกตัว |
โถกเถก | น. ไม้ขาหย่าง ไม้ขาหย่าง เรียก ขาโถกเถก เป็นกีฬาโบราณชนิดหนึ่ง เล่นเป็นหมู่ ๆ ใครวิ่งเร็วกว่าถือว่าชนะ |
ไถ้ไหน้ | ว. ยักแย่ยักยัน เช่น คนวิ่งหนีด้วยความกลัวจนอ่อนแรง เรียก แล่นไถ้ไหน้ |
คำอีสาน | ความหมาย |
ท่ง | น. ทุ่ง ที่ราบโล่ง เรียก ทุ่ง เช่น ที่ราบกว้างใช้ทำนา เรียก ท่งนา ใช้ทำไร่ เรียก ท่งไฮ่ ที่กว้างสุดลูกหูลูกตา เรียก ท่ง เช่น ท่งหมาหิว ท่งกุลาฮ้องไห้ |
ทอดทะเนิ้ง | ว. เอกเขนก อาการนอนพิงหมอนหรือฝาผนัง เรียก นอนทอดทะเนิ้ง |
ท้อน | ก. รวม กองไว้ การให้คนมารวมกันเป็นหมู่เรียก ท้อนมาไว้หม่องเดียว |
เทิง | 1 ว. บน เหนือ สูง บนเรือนเรียก เทิงเฮือน 2 ว. ทั้ง ทั่ว เช่น ทั้งบุญทั้งบาป เรียก เทิงบุญเทิงบาป |
เทื่อ | ว. ครั้ง คราว หน เช่น ครั้งเดียว เรียก เทื่อเดียว |
โทน | 1 น. กลองโทน ชื่อกลองหน้าเดียว ทำด้วยดินเผา 2 ว. โดดเดี่ยว ไม่มีคู่ คนไม่มีคู่ถ้าเป็นชายเรียก ชายโทน ลูกชายคนเดียว เรียก ลูกชายโทน |
โทนโท้ | ว. เปล่าเปลี่ยว เดียวดาย คนที่ไม่มีคู่ครอง เรียก โทนโท้ |
คำอีสาน | ความหมาย |
- | ไม่มีคำที่แตกต่างเป็นพิเศษ |
คำอีสาน | ความหมาย |
น่วน | ก. ตีอย่างแรง เรียก น่วน เช่น ตีซ้ำหลาย ๆ หนหรือตีหลายคน เรียก น่วนนีสีไฟ |
นอนเว็น | ก. นอนกลางวัน เวลากลางวันเป็นเวลาทำงาน คนนอนกลางวันโบราณถือว่า เป็นคนขี้เกียจสันหลังยาว |
นัว | ว. รสกลมกล่อม อาหารเช่น ต้ม แกง ลาบก้อยมีรสกลมกล่อม เรียก นัว คนพูดไพเราะเป็นกันเอง เรียก เว้านัวหัวม่วน |
นาเฮื้อ | น. นาที่ปล่อยว่างไว้ สองสามปีจึงมาทำการเพาะปลูก เรียก นาเฮื้อ |
ไม่มีคำพิเศษ แตกต่างไปจากภาษาไทยกลาง
ไม่มีคำพิเศษ แตกต่างไปจากภาษาไทยกลาง
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)