foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม ดินพังทลาย จนไร้ที่อยู่ บ้านเฮากะต่างภาคต่างกะพ้อไปคนละแนว บ้างก็ฝนตกจนน้ำท่วม บ้างก็แล้งจนพืชผลแห้งตาย กระจายเป็นหย่อมๆ แบบบ้านเพิ่นท่วมแป๋ตาย นาใกล้ๆ กันนี้ผัดบ่มีน้ำจนดินแห้ง อีหยังว่ะ! นี่ละเขาว่าโลกวิปริตย้อนพวกเฮามนุษย์เป็นผู้ทำลายของแทร่ ตอนนี้ทางภาคเหนือกำลังท่วมหนัก ข่าวว่าภาคอีสานบ้านเฮาก็เตรียมตัวไว้เลย พายุกำลังมาแล้ว ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

dance header

bulletการฟ้อนพื้นบ้านแบบต่างๆ

ศิลปการฟ้อนรำของชาวอีสาน มีหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละถิ่น ตามอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองในละแวกนั้นๆ เช่น ทางอีสานใต้ก็จะมีอิทธิพลของเขมรปะปนอยู่มาก ทางด้านเหนือก็มีอิทธิพลจากทางล้านช้าง ทางสกลนคร นครพนม มุกดาหารก็มีชนเผ่าพื้นเมืองในถิ่นนั้นเช่น ย้อ โซ้ ภูไท อย่างไรก็ตามเราก็พอจะจำแนกการฟ้อนออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้

fon tamnong lam header

วามหมายและที่มาของคำว่า "ลำ" เดิมทีเดียว "ลำ" คงจะมีความหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะยาวกลม เช่น ลำไผ่ ลำอ้อย ลำตาล ลำน้ำ และใช้เป็นนามเรียกสิ่งเช่นนั้น เช่น ไม้ไผ่ 3 ลำ อ้อย 2 ลำ เป็นต้น

ส่วน "ลำ" ที่มีความหมายว่า "ขับร้อง" หรือการขับร้องนั้นเป็นความหมายที่เกิดขึ้นใหม่ ถือว่าเป็นการกลายความหมายของคำให้กว้างออกไป (พรชัย ศรีสารคาม. 2521) คำว่า "ลำ" ในที่นี้เป็นคำกริยาหมายถึง การขับร้องเป็นทำนองอย่างมีศิลปะ คงมีความหมายเช่นเดียวกับการขับลำนำ (บุญเรือง ถาวรสวัสดิ์. 2524)

คำว่า "ลำ" ในพจนานุกรมภาคอีสาน-ภาคกลาง (2515 : 350) ได้ให้ความหมายของคำว่า "ลำ" ไว้ 2 ความหมายคือ

  • ลำ (1 น.) เรื่องที่แต่งตามระเบียบฉันทลักษณะ เช่น ลำพระเวส เป็นต้น ตัวของสัตว์หรือสิ่งต่างๆ ไม่นับส่วนที่เป็นแขนขาหรือกิ่งก้าน เรียกส่วนที่ยาว กลม หรือลักษณะเช่นนั้น เช่น ลำไผ่ ลำอ้อย ลักษณะนามเรียกสิ่งเช่นนี้หรือเรือ ว่า หนึ่งลำ สองลำ เป็นต้น
  • ลำ (2 น.) การขับร้องอย่างหนึ่ง มีแคนเป็นดนตรีประกอบมีหลายทำนอง

คำว่า "ลำ" ที่มีความหมายว่า ขับร้อง หรือการร้องเพลงนั้น ทางภาคเหนือของประเทศไทยใช้คำว่า "ขับ" เช่น ขับซอ ดังปรากฏในลิลิตพระลอว่า "ขับซอยอยศอ้าง" ส่วนภาษาถิ่นไทยใต้ก็ใช้คำว่าขับเช่นกัน เช่น ขับกลอน

fon lam

มีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ "บทดอกสร้อยเป็นลำส่งดนตรีแต่ครั้งโบราณ" พิมพ์ที่โรงพิมพ์วัชรินทร์ รัตนโกสินทร์ศก 120 ซึ่งหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเก่าที่รวบรวมบทดอกสร้อยโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งใช้ขับลำนำส่งดนตรี และสมเด็จกรมพระบาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าเกี่ยวกับการเล่นสักรวาซึ่งเป็นการเล่นสดไว้ว่า "ลำที่ร้องสักรวานั้น เมื่อเล่นเรื่องร้องลำพระทองลำเดียวทุกวง ต่อจวนเลิกจึงร้องลำอื่นส่งวงละลำ สองลำแล้วก็เลิก เพราะฉะนั้นสักรวาร้องง่ายกว่าดอกสร้อย"

จะเห็นได้ว่าในภาคกลางก็ใช้คำว่า "ลำ" ในความหมายของการขับร้องเช่นกัน ซึ่งคำว่าลำส่งดนตรีนั้น ก็หมายถึงการขับลำนำส่งดนตรี ความหมายของลำกับการขับลำนำจึงมีความหมายเดียวกันในภาษาไทยกลาง ส่วน "ลำพระทอง" ก็หมายถึงการขับร้องทำนองพระทองนั่นเอง

ในสมัยโบราณได้มีการจารเรื่องราวต่างๆ ไว้ในคัมภีร์ใบลานทั้งที่เป็นนิทานและเรื่องราวเกี่ยว กับการเสวยพระชาติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งนิยมแต่งไว้เป็นบทกลอนที่คล้องจองกัน เมื่อนำบทกลอนมาร้องจึงว่าเป็นทำนองลำนำ ซึ่งมีความไพเราะกว่าการอ่านหนังสือตามธรรมดา แรกทีเดียวคงเรียกว่า "ขับลำ" เช่น ขับลำพระเวส ขับลำการะเกด แม้แต่ในปัจจุบันสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวยังใช้คำว่า "ขับลำ" เช่น ขับลำตั่งหวาย ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวทางภาคเหนือ ส่วนมากเรียกว่า "ขับ" เช่น ขับซำเหนือ ขับทุ่งหลวงพระบาง ขับเชียงขวาง ขับงึ่ม แต่ในภาคใต้ของ สปป.ลาว และในภาคอีสานของประเทศไทยจะใช้คำว่า "ลำ" เช่น ลำมหาชัย ลำสีทันดร ลำคอนสวัน ลำสาละวัน เป็นต้น

ข้อสังเกตคำว่า "ขับ" ของ สปป.ลาว กับคำว่า "ลำ" ของภาคอีสานของไทย และคำว่า "ขับลำนำ" ในภาคกลางมีความหมายเหมือนกันเป็นการขับร้องที่ไม่มีการฟ้อนประกอบ และคำว่า "ลำ" ของภาคอีสานกับคำว่า "รำ" ในภาษาไทยกลางก็มีความหมายแตกต่างกัน คือ คำว่า "ลำ" มีความหมายว่าการขับร้องอย่างหนึ่งมีหลายทำนองเช่น ลำเกี้ยว ลำกลอน ลำโจทย์ ฯลฯ ส่วนคำว่า "รำ" ตรงกับคำว่า "ฟ้อน" ในภาษาอีสานหรือ "เรือม" ในภาษาเขมร

fon salawan 3

การฟ้อนตามทำนองลำของหมอลำ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทำนองลำที่แพร่หลายในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว การตั้งชื่อทำนองลำนั้น นิยมใช้ชื่อหมู่บ้าน แคว้น หรือเมือง ที่นิยมลำทำนองนั้นๆ เช่น ลำสาละวัน ลำมหาชัย ลำคอนสวัน ลำสีทันดร ฯลฯ การฟ้อนประกอบทำนองลำเป็นการประดิษฐ์ท่าฟ้อนประกอบการขับลำในทำนองต่างๆ เพื่อให้ได้อรรถรสและเกิดความสวยงามยิ่งขึ้น เช่น

3diamondฟ้อนคอนสวัน

ฟ้อนคอนสวัน เป็นการฟ้อนเพื่อประกอบทำนอง ลำคอนสวัน ซึ่งเก็บการลำประจำถิ่นของหมอลำใน แขวงสวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เข้าใจว่าจะเรียกตามชื่อเมืองสวันนะเขตว่า "ลำนครสวันนะเขต" หรือเรียกตามชื่อเมืองสองคอนสวันนะเขตว่า "ลำสองคอนสวัน" และกลายมาเป็นคำว่า "ลำคอนสวัน" ในที่สุด (เจริญชัย ชนไพโรจน์ 2531:1) คำว่า คอนสวัน ไม่ใช่ คอนสวรรค์ ซึ่งเป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดชัยภูมิแต่อย่างใด แต่เป็นทำนองลำที่นิยม และแพร่หลายอยู่ในแคว้นสวันนะเขต สังเกตว่า ลำคอนสวันจะมีคำสร้อยว่า เฮ้ยย่ะ ๆ ๆ ๆ

fon kon sawan 3

เครื่องแต่งกาย การแต่งกายชุดฟ้อนคอนสวันซึ่งใช้ผู้แสดงหญิงล้วน โดยสวมเสื้อแขนกระบอกสีดำขลิบแดง นุ่งผ้าถุงยาวสีดำ พาดผ้าแพรวาทิ้งชายที่สะโพก

เครื่องดนตรี ใช้ดนตรีพื้นเมืองอีสาน ทำนองคอนสวัน

 

ฟ้อนคอนสวัน

ลำคอนสวัน

        ใหม่ๆ แก้มอ้ายเจ้าใหม่ๆ นางบ่ไปดอกนำอ้าย ส่วนสิเมือนอนำอ้าย พี่เอ๋ยอันวา นางละกับอ้าย กะกับอ้าย
ขอให้เป็นเจ้าคือป้าย สายยาวเชือกว่าว พี่เอ๋ยใด๋อ้ายผู้ดีเอ๋ย คันว่าเป็นเจ้าเลี่ยงช้าง ให้เป็นเพิงอยู่เนืองๆ (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

        พี่เอ๋ยเห็นน้องดำเจ้าขี่หลี่ เจ้าขี่หลี่อย่าฟ้าวขี่เฮือกาย คั่นน้องดำเจ้าปอยลอย อย่าสุพาย หนอ เฮือเว้น (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

        พี่เอ๋ยอุปมาว่าน้องแล้ว ว่าน้องแล้วเปรียบดังเฮือบ่มีน้ำ บ่มีคลองอันกว้างใหญ่ ได้อ้ายผู้ดีเอ๋ย พี่เอ๋ย คันว่าเป็นดังน้องแหล่ว สิได้เป็นค่าไพร่บ้าน สิได้ย้อนว่าใส่แคน ฟังแล้วจังสิยอ (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

       พี่เอ๋ย เจ้าผู้เฮือนก่าแก่ง นอคาแก่ง สั่งบ่ลอยสิผู้ส่ง คันบ่ได้ส่อยยู้ยังสิได้ส่อยพาย (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

       พี่เอ๋ยความสัมพันธ์สิลาแล้ว สิลาแล้ว สาวนางลำสิลาก่อน สวยพอนๆ ละห่านี่ สิลาเจ้าก่อนลง โอหนอ... (เฮ้ย ย่ะ ๆ ๆ ๆ)

เพลง : ลำคอนสะหวัน ขับร้องโดย : เชียงสะหวัน (ศิลปินจาก สปป.ลาว) และมลฤดี พรมจักร

 

next green คลิกไปอ่าน  การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆ

 

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)