คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
สุขเพราะมีข้าวกิน สุขเพราะมีดินอยู่
สุขเพราะมีคู่นอนนำ สุขเพราะมีคำเต็มไถ่
สุขเพราะมี 'เฮือน' ใหญ่มุงแป้นกระดาน สุขเพราะหลานหลายนั่งเฝ้า "
“เฮือน” ตามพจนานุกรมภาษาถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ เป็นคำนาม มีความหมายเช่นเดียวกับเรือน และพจนานุกรม ภาคอีสาน – ภาคกลาง ฉบับปณิธาน ของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ “เฮือน” เป็นคำนาม หมายความว่า สิ่งปลูกสร้าง สำหรับเป็นที่อยู่ = เรือน
เฮือนโข่ง, เฮือนโล่ง น. เรือนเปิด มีแต่โครงไม่กั้นฝาห้อง ระบายอากาศได้ดี
เฮือนไฟ น. เรือนครัว เรือนสำหรับปรุงอาหาร และเก็บถนอมอาหารบางอย่างที่อาศัยการรมควันไฟ เช่น หัวหอมแดง กระเทียม ปลาแห้ง ที่นำมาผูกแขวนเหนือเตาไฟ
เฮือนย้าว น. เรือนชั่วคราว, เรือนเล็กๆ ส่วนมากมีสองห้อง เสาไม้ไม่ทุบเปลือก เฮือนเหย้า ก็ว่า
เฮือน น. สิ่งปลุกสร้างสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย เรียก เฮือน เฮือนนั้นเฉพาะที่จำเป็นแก่ชีวิตประจำวัน มี 3 คือ เรือนนอน เรือนครัว เรือนผม อย่างว่า ญิงใดสมบูรณ์ด้วยเฮือนสามน้ำสี่ เป็นญิงดีเลิศล้ำสมควรแท้แม่เฮือน (บ.). house, home, any of three buildings which form traditional Isan house. (สารานุกรม อีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ดร.ปรีชา พิณทอง)
คำว่า "บ้าน" กับ "เฮือน" สำหรับความเข้าใจของชาวอีสานแล้วจะมีความแตกต่างกัน คำว่า "บ้าน" มักจะหมายถึง "หมู่บ้าน" มิใช่เป็นหลังๆ แต่เป็นชุมชนมีอยู่หลายหลังคาเรือน ส่วนคำว่า "เฮือน" นั้น ชาวอีสานหมายถึง เรือนที่เป็นหลังๆ
นอกจากคำว่า "เฮือน" แล้ว อีสานยังมีสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะการใช้สอยใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบแตกต่างกันไป เช่น คำว่า "โฮง" หมายถึงที่พักอาศัยที่ใหญ่กว่า "เฮือน" มักมีหลายห้อง เป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองในสมัยโบราณ เช่น โฮงเจ้าเมือง
คำว่า "คุ้ม" หมายถึง บริเวณที่มี "เฮือน" รวมกันอยู่หลายๆ หลัง เป็นหมู่อยู่ในละแวกเดียวกัน เช่น คุ้มบ้านเหนือ คุ้มบ้านใต้
คำว่า "ตูบ" หมายถึง กระท่อมที่ปลูกไว้เป็นที่พักชั่วคราว มุงด้วยหญ้าหรือใบไม้ สร้างไว้ใช้ชั่วคราว หรือเป็นที่พักของครอบครัวใหม่ อาศัยอยู่กับพ่อตา-แม่ยาย สร้างแบบชั่วคราวต่อกับเล้าเข้า (ยุ้งข้าว) เรียก ตูบต่อเล้า เมื่อทำมาหากิน (ทำนา) ได้ข้าวขายมีรายได้ก็จะออกไปสร้างเฮือนใหม่ในที่ดินที่พ่อ-แม่แบ่งให้ หรือไปสร้างที่หัวไร่ปลายนา หรืออพยพไปสร้างหมู่บ้านใหม่ใกล้ที่ทำกินของตัวเอง
เรือนพื้นถิ่นอีสาน หมายถึง ที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ลาว ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของภาคอีสาน สร้างด้วยไม้จริง มีขนาดความยาว 3 ห้องเสา หลังคาทรงจั่ว ใต้ถุนสูง ที่เรียกว่า “เรือนใหญ่” อันเป็นเป้าหมายในการสร้างชีวิตครอบครัวในอดีต เพราะเป็นเรือนที่มีความพร้อมจะใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ อย่างสมบรูณ์พร้อมใน ระบบครอบครัวรวม (Stem Family) หรือ ครอบครัวขยายชั่วคราว ทั้งด้านเศรษฐกิจ ความเชื่อ การขัดเกลาทางสังคมและการควบคุมพฤติกรรม ที่สัมพันธ์สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตในครอบครัว เครือญาติทั้งภายใน-ภายนอกชุมชนและธรรมชาติแวดล้อมในท้องถิ่น
เฮือน ขนาด 3 ห้องเสานี้จะประกอบด้วยส่วนใช้สอยที่แบ่งไว้ชัดเจนโดยนับจากด้านสกัดจะได้ดังนี้
เฮือนอีสาน มีวิวัฒนาการมาจาก "ถ้ำ" หรือ "เพิงผา" ที่เป็นที่อยู่อาศัยของบรรพชนในอดีต ที่ยังคงหาอาหารด้วยการล่าสัตว์ คลี่คลายมาเป็น "เถียงนา" ซึ่งเป็นบ้านแบบชั่วคราว สร้างไว้คุ้มแดด คุ้มฝนไว้หัวไร่ปลายนา เมื่อมีการทำการเกษตร ปลูกพืชผักต่างๆ รวมทั้งการปลูกข้าวในนา ใช้วัสดุง่ายๆ เช่น ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างหลักและพื้นเป็นไม้ฟาก มุงด้วยใบตอง หรือหญ้าคา ต่อมาเมื่อรวมกันเป็นชุมชนหรือหมู่บ้าน จึงมีการใช้วัสดุที่มั่นคงแข็งแรงขึ้น เช้น ใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสา ตง คาน โครงสร้างหลังคา ผนังกั้นห้อง ส่วนการมุงหลังคาได้หันมาใช้กระเบื้องดินเผา หรือแผ่นไม้เนื้อแข็งมามุงแทนหญ้าคา หรือใบตอง เรียก "ไม้แป้นเกล็ด" จะเห็นว่า หลังคาเฮือนอีสานจะเป็นจั่วสูง มีความชันมาก เพื่อให้การไหลของน้ำฝนผ่านหลังคาได้รวดเร็ว ไม่รั่วซึมง่ายนั่นเอง
"เฮือนเกย" บ้านตองโขบ อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
(ภาพจากหนังสือ "เรือนไทย" โดยสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
"ตูบต่อเล้า" เป็นเฮือนเหย้าของ "เขยกก" ที่แยกเรือนออกมาให้ "เขยใหม่" หรือ "เขยรอง" เข้าไปอยู่ "ห้องส้วม" แทนตน
ตามภาษิตอีสานที่กล่าวว่า "น้ำใหม่เข้า น้ำเก่าออก" หมายถึง เมื่อมีเขยใหม่เข้ามาแล้ว เขยเก่าก็จะแยกเรือนไปสร้างครอบครัวใหม่
เรือนโข่ง : มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แต่ต่างจากเรือนแฝด
ตรงที่โครงสร้างของเรือนโข่งจะแยกออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง บันไดขึ้นชานเรือนจะมี "ฮ้านแอ่งน้ำ"
ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ (ใต้ถุน) อาจใช้สอยได้อีก เช่น กั้นเป็นคอกวัวควาย ที่เก็บอุปกรณ์ในการทำนา พวกคราดไถ เกวียน หรืออุปกรณ์ทอผ้า ฯลฯ รวมทั้งเป็นที่พักผ่อนทำกิจกรรมในฤดูร้อนของครอบครัว หรือสังสรรค์กับเพื่อนบ้าน
ทุกข์บ่มีเสื้อผ้า ฝาเฮือนเพกะพออยู่ ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้อง นอนลี้อยู่บ่เป็น "
นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ในบริเวณบ้าน คือ บริเวณในแนวเขตที่ดินของตนที่อยู่นอกบริเวณใต้ถุนเรือน จะมีการแบ่งพื้นที่ใช้สอยที่หลากหลาย คือ พื้นที่ทำครัวมักจะอยู่บริเวณใกล้ๆ บันได หรือด้านข้างชานแดด ส่วนพื้นที่ปลูกพืชสวนครัวมักจะอยู่บริเวณริมรั้วใกล้ทาง ด้านหลังบ้านมักจะปลูกพืชไม้ผล ส่วนเล้าข้าว (ยุ้งข้าว) จะสร้างไว้ห่างตัวเรือนใหญ่ไปเล็กน้อย ใกล้ๆ กันหรือริมชายคาเรือนใหญ่จะตั้งครกมองสำหรับใช้ตำข้าว
เล้าเข้า หรือ ยุังข้าว ไว้เก็บข้าวเปลือกสำหรับไว้ทำพันธุ์ และไว้ตำด้วยครกมอง หรือสีด้วยเครื่องสีข้าวเพื่อการบริโภค
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)