คันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ## |
อาวทิดหมู มักหม่วน เคยเขียนเรื่อง "การตั้งชื่อให้ดีเหมาะสมกับดวงชะตา" ซึ่งอิงตามตำราการตั้งชื่อมงคลนามหลายๆ ตำรามาไว้ แต่ก็ยังมีผู้ถามมาว่า "คนอีสานบ้านเฮาในอดีตนั้นเพิ่นตั้งชื่อให้ลูกหลานแปลกๆ พยางค์เดียวบ้าง สองพยางค์บ้าง และบางชื่อก็อาจเป็นชื่อสิงสาราสัตว์ หรือชื่อที่ไม่ตรงกับความจริง หรือไม่ตรงปก เป็นตรงกันข้ามเสมอ คนโบราณมีหลักการตั้งชื่ออย่างไร?" ซึ่งอาวทิดหมูก็ได้โยนคำถามนั้นมาทางผมพร้อมกับสำทับว่า "ครู เฉลยให้แฟนนานุแฟนฮู้แหน่ ผมเกิดบ่ทันได้ถามอีพ่อว่าเป็นหยังจั่งตั้งชื่อผมว่า 'หมู' เลาตายไปสาก่อนแล้ว" ผมเลยต้องมาค้นหาตำรามาเรียบเรียงบอกกันในวันนี้
"ชื่อ" เป็นคำเรียกแทนตัวของบุคคล ซึ่งมีทั้งชื่อเล่น และชื่อจริง ที่อาจจะไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเลยระหว่างทั้งสองชื่อก็มี (ที่คนต่างชาติไม่เข้าใจและสับสนมาก) การตั้งชื่อลูกหลานของชาวอีสานนั้นมีลักษณะที่ปรากฏชัดเจน อยู่ 2 แบบ คือ การตั้งชื่อเป็นมงคล และการตั้งชื่อแก้เคล็ด ดังนี้
สำหรับผู้เขียนเองนั้นตั้งชื่อลูกสาว-ลูกชายเอง ตามตำรานามมงคล พรหมชาติ โหราศาสตร์ไทย ในตอนแรกคลอดต้องไปแจ้งเกิดที่ สำนักงานเทศบาลนครอุบลราชธานี ที่นั่นมีหนังสือ "ตำราการตั้งชื่ออันเป็นมงคลตามวัน/เดือน/ปีเกิด" ให้บริการอยู่ ก็เปิดเลือกหานามที่เป็นมงคลได้ก่อนการแจ้งเกิดครับ เอาที่มีความหมาย ไพเราะ เขียนและจดจำง่ายกันนะครับ
ชาวอีสานเชื่อว่า "ชื่อดีมีชัยไปตลอดชีวิต" หากมีเหตุต้องเปลี่ยนชื่ออาจเนื่องมาจากการถือโชคลาภ เชื่อว่าเมื่อเปลี่ยนชื่อแล้วจะโชคดี อีกกรณีคือเปลี่ยนชื่อเพื่อแก้เคล็ดเรื่องความเจ็บป่วย ดังนั้นการตั้งชื่อจึงมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตบนพื้นฐานความคิด ความเชื่อเรื่องสิริมงคลสืบเนื่องกันไป
[ การตั้งชื่อให้เหมาะสมกับดวงชะตาราศี ]
นอกจากการตั้งชื่อแล้ว ก็ยังมีเรื่อง การนับเครือญาติ ด้วย ที่มีความสำคัญ บ่งบอกความเกี่ยวดองกันในครอบครัว เพราะสภาพครอบครัวของชาวอีสานมีลักษณะเป็นครอบครัวขนาดใหญ่ ครอบครัวขยาย ซึ่งมีทั้งปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ-แม่ ลูก หลาน อยู่ในครอบครัวเดียวกัน หรือมีการสร้างบ้านอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน ความสัมพันธ์จึงแน่นแฟ้น โดยผู้ใหญ่จะให้ความรู้แก่เด็กๆ หรือลูกหลาน ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาว ขัดเกลาให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม สอนให้พึ่งพาตนเองได้ ยึดมั่นในจารีตประเพณี ถ่ายทอดประสบการณ์และฝึกฝนอาชีพจากรุ่นสู่รุ่นเป็นลำดับ คำเรียกเครือญาติของชาวอีสานจึงมีความละเอียด ดังนี้
ทวด (ผู้ชาย) | พ่อซ่น | ทวด (ผู้หญิง) | แม่ซ่น |
ปู่ | ปู่, ตู้ปู่ | ย่า | ย่า, ตู้ย่า |
ตา | พ่อตู้, พ่อใหญ่ | ยาย | แม่ตู้, แม่ใหญ่ |
พ่อ | พ่อ, อีพ่อ | แม่ | แม่, อีแม่ |
ลุง | ลุง, พ่อลุง | ป้า | ป้า, แม่ป้า |
น้า (ผู้ชาย) | น้าบ่าว | น้า (ผู้หญิง) | น้าสาว |
น้าเขย | น้าเขย | น้าสะใภ้ | น้านาง |
อา (ผู้ชาย) | อาว | อา (ผู้หญิง) | อา |
อาเขย | อา | อาสะใภ้ | อา |
พี่ชาย | อ้าย | พี่สาว | เอื้อย |
ลูกคนโต | ลูกกก | ลูกคนสุดท้อง | ลูกหล้า |
ลูกเขย | ลูกเขย | ลูกสะใภ้ | ลูกใภ้ |
พี่เขย | พี่อ้าย | พี่สะใภ้ | พี่เอือย, พี่นาง |
น้องชาย | น้อง | น้องสาว | น้อง |
น้องเขย | น้องเขย | น้องสะใภ้ | น้องใภ้ |
พ่อเลี้ยง | พ่อน้า | แม่เลี้ยง | แม่น้า |
ตอนนี้ก็คงจะทราบแล้วว่า ผู้เขียน กับ อาวทิดหมู มีความเกี่ยวดองกันอย่างไร? ท่านก็ลองสำรวจเครือญาติดูครับจะได้นับลำดับญาติกันถูกต้อง คนนั้นเกี่ยวข้องกับเรา กับพ่อ-แม่เราอย่างไร
มีคำถามต่อมาอีกว่า "ได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่เรียกลูกหลานที่สืบสกุลว่า 'ลูก หลาน เหลน โหลน หล่อน แหล่น' มีความหมายลำดับกันอย่างไร" ก็ขอเรียงลำดับดังนี้
ส่วน คำเรียกขาน แบ่งตามสรรพนาม ดังนี้
สรรพนามที่ 1 | ข้อย สัน (ฉัน) นาง (ผู้หญิง) กู แม่ซ่น พ่อซ่น ซ่น ปู่ ย่า พ่อตู้ แม่ตู้ พ่อ แม่ อ้าย เอื้อย ลุง ป้า น้า อา อาว ฯลฯ |
สรรพนามที่ 2 | เจ้า มึง นาง อีนาง (ลูกสาว/หลานสาว) ท้าว อีท้าว (ลูกชาย/หลานชาย) |
สรรพนามที่ 3 | เพิ่น เลา มัน |
ส่วนสรรพนามที่ใช้เรียกบุคคลทั่วไป ในกรณี หนุ่ม-สาว ทั่วไปนั้นจะเรียกโดยมีคำนำหน้าดังนี้
ไหนๆ ก็เขียนเรื่อง ชื่อ เรื่อง การนับลำดับญาติ แล้ว ก็ขอเสนอคำและความหมายที่คนอีสานมักจะใช้สื่อสารกัน เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำหรือความหมายให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น ซึ่งท่านอาจจะได้ยินได้ฟังจากญาติผู้ใหญ่ คนเฒ่า คนแก่ ในชนบท หรือจากในกลอนลำ หรือในเพลงลูกทุ่งอีสาน โดยเฉพาะสมัยนี้ ลูกทุ่งอีสานอินดี้ มาแรงก็อาจจะมีคำเหล่านี้แทรกอยู่
คำวิเศษณ์ คือ คำที่ทำหน้าที่ขยายคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยกัน เพื่อให้ได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น ในภาษาอีสานมีคำวิเศษณ์เป็นสร้อยคำที่ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน มีลักษณะเป็นคำคล้องจองไม่มีความหมายตายตัว แต่รับรู้ความหมายได้จากการออกเสียงและตีความภาษา ดังนี้
แหล่กวดตวด | สีคล้ำมาก เช่น อีนางน้อยคนนั้นผิวแหล่กวดตวด |
แดงจึ่งขึ่ง | แดงจัด เช่น ไฟลุกแดงจึ่งขึ่ง (ไฟลุกโชน) |
แดงจายวาย | สีแดงกำลังสวย เช่น ผู้สาวคนนี้คืองามแท้ ปากแดงจายวายเลย |
เหลืองเอ้อเฮ่อ | สีเหลืองอ๋อย เช่น แข่ว (ฟัน) เหลืองเอ้อเฮ่อ |
ขาวจุนพุน | ขาวสวย เช่น ผู้สาวงามหลาย ผิวขาวจุนพุนเลย |
ขาวโอกโลก | มอมแมม เช่น ไปล้างเนื้อล้างตัวซะ แขนขาขาวโอกโลกยุ |
ดำปิ๊ด | ดำสนิท เช่น ขี้หมิ่นหม้อ (คราบเขม่า) ติดมือดำปิ๊ดเลย |
ดำปี้ๆ | ดำมาก เช่น เสื้อผ้าดำปี้ๆ แท้ เอาไปซักแหน่อีนาง |
ยิ่งแข้วกีกซีก | ยิ้มแฉ่ง, ยิงฟันกว้างๆ, ยิ้มจนเห็นฟัน |
ปากบานเพ่อเว่อ | ทำปากบานๆ |
อ้าปากซอวอ | อ้าปากค้าง |
ตาสวดโป้โล่ | ทำตาโต ตาถลน ตาเหลือก |
ส่องป้อล่อ | แอบส่องดู |
ย่างมาโพ่โว่ | เดินโผล่มาพอดี |
ย่างเที่ยงที่ลี่ | เดินตัวตรง |
ขดกอซอ | นั่งหรือนอนขดตัว (หมดหวัง) |
มิดซีลี | เงียบสนิท ไม่มีสัญญาณตอบรับ |
ยิ้มปุ้ยๆ | ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ |
กรนสอดๆ | กรนสนั่น นอนกรนเสียงดัง (หลับสนิท นอนมีความสุขหลาย) |
กัดแข่วก้วดๆ | เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน (อาจด้วยความโกรธที่รุนแรงมาก) |
หมุ่นอุ้ยปุ้ย | เละตุ้มเป๊ะ ไม่มีชิ้นดี |
แปนเอิดเติด | โล่งมาก ไม่มีอะไรขวางกั้น |
เปิดอาดหลาด | โกยอ้าว, เผ่นแนบ, หนีไปอย่างรวดเร็ว |
แหลมปี๊ด | แหลมมาก | สูงโจ่นโท่น (เจิ่นเทิ้น ก็ว่า) | สูงมาก |
กองโจ้โก้ | กองใหญ่ๆ มหึมา | ซือคิ่งนิ่ง (เอียดเหลียด ก็ว่า) | ตรงมาก |
หอมฮวยๆ | หอมมาก | หอมฮินๆ | กลิ่นตุๆ |
เหม็นแหญด | เหม็นอับ | แหญดแต่งๆ | เหม็นอับมาก |
ส้มปี๊ด | เปรี้ยวมาก | ขมปี๊ด | ขมจัด |
ขมอ่ำหล่ำ | ขมแบบกลมกล่อม | หวานจ้อยๆ | คำพูดหวานมาก |
หวานจ้วยๆ | น้ำตาลหวานมากๆ | จ่อยล่อย | จืดจาง ไม่มีรส |
ข้อมูลจาก : ภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาษาและวัฒนธรรมอีสาน โดย อรัญญา แสนสระ
ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)