foto1
foto1
foto1
foto1
foto1
ช่วงนี้อากาศปรวนแปรไปทั่วโลก บ้างก็มีพายุรุนแรง แผ่นดินไหว หิมะตกหนัก อากาศหนาวสุดขั้ว บางแห่งถึงขั้นติดลบ 46 องศาเซลเซียส ประเทศไทยเฮากะบ่หยอกคือกัน ทางตอนเหนือลดลงถึงศูนย์องศา เกิดแม่คะนิ้ง (น้ำค้่างแข็งบนยอดหญ้ากันแล้ว) ในช่วงวันที่ 10-13 มกราคมนี้ อุณหภูมิจะลดลงอีกมาก 5-7 องศา ในภาคเหนือและภาคอีสานบ้านเฮา รักษาสุขภาพกันดีๆ เด้อ อย่าสิเจ็บสิไข้ ซำบายดีครับ ...😭🙏😁

: Our Sponsor ::

adv200x300 2

: Facebook Likebox ::

: Administrator ::

mail webmaster

: My Web Site ::

krumontree200x75
easyhome banner
ppor 200x75
isangate net200x75

e mil

No. of Page View

paya supasit

ju juคันเจ้าได้ขี่ซ้างกั้งฮ่มเป็นพระยา อย่าได้ลืมคนทุกข์ผู้ขี่ควายคอนกล้า

        ## ถ้าได้ดิบได้ดีหรือได้เป็นใหญ่แล้ว ก็อย่าได้ลืมผู้คนรอบข้าง @อย่าลืมบุญคุณคนที่เคยเอื้อเฟื้อเรา ##

attalak isan

ความเชื่อในการทำนา

ความเชื่อในการทำนา การทำนาของชาวอีสานส่วนใหญ่เป็นการทำนาดำ พิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาดำก็มีมากมาย ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ และการนับถือผีบ้านหรือเทพเจ้าในลัทธิถือผี ในรอบปีชาวอีสานจะมีพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับข้าวและการทำนาเกิดขึ้นทุกขั้นตอน เพื่อบวงสรวง บูชา อ้อนวอนเทพเจ้าเกี่ยวกับพืชพันธุ์และเทพเจ้าเกี่ยวกับดิน น้ำ ลม ไฟ ตลอดถึงเทพเจ้าอื่นๆ เพราะเชื่อว่าจะก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ สัญลักษณ์เกี่ยวกับพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวได้แก่ ตาแหลว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกเขตหวงห้ามในพิธีความเชื่อ เช่น การสู่ขวัญข้าว การสืบชะตา การทำบุญบ้าน การทำบุญเมือง ปักบนหม้อยา ปักไว้ในที่ไม่ให้ผีผ่าน เป็นต้น

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม ตาแหลวทำจากไม้ไผ่สานมีลักษณะการขัดสานจนเกิดเป็นรูปทรงเฉพาะ

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม ตาแหลวเป็นเครื่องรางที่ปกปักรักษา และเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงเขตหวงห้าม

tam na 01

การทำนา

ประเทศไทย มีลักษณะของผู้คนที่อยู่อย่างกระจายไม่หนาแน่น ดังนั้น ลักษณะของความเชื่อที่พบในสังคมไทย จะไม่ได้มีลักษณะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในแง่ที่ว่าแต่ละภูมิภาคก็มีระบบความเชื่อของตัวเอง ภาคใต้มีวิธีการกำจัดหรือแก้ปัญหาเรื่องการทำนาของตัวเองแบบหนึ่ง ทางอีสานก็อีกแบบหนึ่ง ผู้ที่ปกครองบ้านเมืองจะทำอย่างไร จึงจะรวมหรือสร้างบูรณาการให้ผู้คนที่เต็มไปด้วยชนเผ่าต่างๆ ที่หลากหลายนี้ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ ก็จำเป็นต้องมีระบบความเชื่อที่มีอิทธิฤทธิ์ มีประสิทธิภาพที่สามารถจะเอาชนะหรือสร้างความเคารพยอมรับจากชนเผ่าต่างๆ ได้

เมื่อสังคมพัฒนาเป็นบ้านเป็นเมือง จนกระทั่งทุกวันนี้ลักษณะของพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว ก็เป็นเรื่องที่ผสมผสานระหว่างพิธี ทั้งพุทธศาสนาซึ่งมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวด ทำบุญทำทาน และก็มีพิธีพราหมณ์ ซึ่งเอาข้าวเข้ามาเพื่อสร้างความอลังการ ความศักดิ์สิทธิ์ ความน่าเชื่อถือให้กับราชสำนัก และพิธีกรรมอันนี้เองที่ส่งผลอิทธิพล และสะท้อนกลับไปยังความเชื่อของชาวบ้านอีกต่อหนึ่ง จะเห็นว่าพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวในปัจจุบันนี้ จะเป็นเรื่องราวความเชื่อที่ค่อนข้างผสมผสานกันระหว่าง ความเชื่อในเรื่องของผี ความเชื่อท้องถิ่น ความเชื่อในเรื่องพุทธศาสนาและศาสนาฮินดูด้วย

tam na 02

“แถน”เป็นเทพดั้งเดิมของชนเผ่าไท ผีที่มีอิทธิพลต่อการทำมาหากิน ต่อความเป็นอยู่ของผู้คน เพราะว่าเป็นผู้ที่สร้างทุกสิ่งทุกอย่างในโลกไม่ว่าจะเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ทุกอย่าง พระยาแถน เป็นผู้สร้าง อิทธิพลของ พระยาแถน มีมากมายเหลือเกิน จึงทำให้ผู้คนกลัวมากและเมื่อมีปัญหาอะไรก็รู้ว่าสาเหตุที่จะปัดเป่าได้คือ ต้องไปขอให้พระยาแถนช่วย เพราะฉะนั้นพิธีที่สำคัญมากต่อการทำมาหากิน และการปลูกข้าวของคนไทยหรือคนถิ่นไทยลาว คือ พิธีจุดบั้งไฟ เพื่อส่งสารไปถึง พระยาแถน ขอให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พิธีกรรมในประเพณีจุดบั้งไฟ เป็นพิธีที่ไม่สามารถทำขึ้นโดยคนเพียงไม่กี่คน แต่เป็นเรื่องของคนทั้งชุมชน ทั้งสังคมต้องให้ความร่วมมือ ร่วมใจกัน ที่จะแก้ปัญหาวิกฤตในสังคมตัวเอง และบทบาทของพิธีกรรมนี้ไม่ใช่เพียงแต่จะบันดาลให้ฝนตกมาได้ตามความเชื่อของท้องถิ่น แต่มีความหมายอีกมากมายต่อความเป็นอยู่ของชุมชน ของสังคมข้าวในสังคมไทย พิธีกรรมมีความสำคัญต่อการสร้างจิตสำนึกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การสร้างจริยธรรม คุณธรรมของท้องถิ่นโดยผ่านพิธีกรรมต่างๆ

นอกจากพิธีจุดบั้งไฟแล้วคนไทยสมัยก่อนยังมีความเชื่อว่า "ข้าว" มีจิตวิญญาณ และมีเทพยดาคุ้มครองมีชื่อเรียกว่า “แม่โพสพ” ซึ่งเป็นเป็นผู้ปกปักรักษาข้าวและเป็นผู้ช่วยให้ผลผลิตดี ดูแลรักษาพืชพันธุ์ ธัญญาหารต่างๆ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ชาวนาสมัยก่อนจึงมีความสำนึกในบุญคุณของแม่โพสพอย่างลึกซึ้ง และก่อให้เกิดพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากมายเพื่อเป็นการบูชาแม่โพสพ อาทิ การทำขวัญข้าว การสู่ขวัญข้าว การสู่ขวัญยุ้งข้าว เป็นต้น

นอกจากคนไทยจะมีความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาณของข้าว การบูชาเพื่อให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล เพื่อการผลิตข้าวที่ดีที่เป็นบ่อเกิดของประเพณีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบวงสรวงเทพยดาเพื่อขอฝน เช่น พิธีแห่นางแมว พิธีแห่บั้งไฟ พิธีเลี้ยงผีฝาย เป็นต้น

tam na 03

ก่อนการปลูกข้าว ก็มีการสร้างตูบผีเอาไว้ เชิญผีซึ่งเคยอยู่ที่ท้องนาขึ้นมาอยู่บนตูบ เวลาจะไถจะได้ไม่รังควานผี มีการเซ่นไหว้ เวลาจะหยอดข้าวก็ต้องเรี่ยไรเงิน มาซื้อหมูฆ่าหมูมาเซ่นผี มาเอาใจผีอีก เพราะว่าถ้าผีไม่พอใจปลูกข้าวแล้วจะมีผลเสีย หรือถ้าหากว่าจะทำสู่ขวัญข้าวก็ต้องทำพิธีเลี้ยงผีอีก ก็ต้องไปซื้อสัตว์เรี่ยไรกันเอาเงินมาฆ่าเอาสัตว์มาสังเวยและจะปิดตาแหลวเอาไว้ ตาแหลว หรือ ตาเหลว เป็นสัญลักษณ์ของการป้องกันและบอกขอบเขตไม่ให้สัตว์ป่าต่างๆ มาทำลายข้าวในไร่

จะเห็นว่า มีกฎหมายลงโทษคนที่ไปทำมิดีมิร้าย ไปขี้ ไปเยี่ยว ช้าง ม้า วัว ควาย ไปละเมิดทำให้ไร่นาข้าวปลาเสียหาย มีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า ให้ทำบัตรพลีดีไหว้ หรือว่าต้องเซ่นไหว้ เพราะไม่ใช่เพียงแต่ว่าเป็นการลงโทษคนที่ละเมิดทำข้าวเสียหายเท่านั้น แต่ว่าเป็นลักษณะของความอุบาทว์หรือสิ่งที่ทางเหนืออาจเรียกว่า “ขึด” คือ ถ้าเผื่อว่าทำแล้วมันเสียหายแก่ท้องนาแก่ข้าวแล้ว ไม่ใช่เพียงแต่ว่าคนคนนั้นหรือเจ้าของนาจะเดือดร้อน แต่ว่าจะก่อให้เกิดความอุบาทว์หรือวิปริตไปทั้งหมดได้ เพราะฉะนั้นเพื่อกันความเสียหายของชุมชนจะต้องทำการบัตรพลีดีไหว้ อันนี้เป็นกฎหมายตราไว้เลย

ในด้านการใช้แรงงานเพื่อเก็บเกี่ยวข้าวในสมัยก่อน จะมีประเพณีที่เรียกว่า “ลงแขก” ซึ่งเป็นประเพณีเอาแรง เป็นการขอความช่วยเหลือกัน ทำงานร่วมกันด้วยน้ำใจไมตรีอย่างแท้จริง และเป็นความน่าภาคภูมิใจในความมีน้ำใจ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ของกลุ่มชาวนาเป็นอย่างยิ่ง น่าเสียดายที่ความเจริญและการผลิตที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ได้ทำให้ประเพณีดังกล่าวมานี้แทบจะสูญสลายไปจากสังคมชาวนาไทยแล้ว คงเหลือเพียงในพื้นที่ห่างไกลที่ความเจริญยังคงไปไม่ถึงจำนวนหนึ่งเท่านั้น ที่ยังคงเอกลักษณ์และประเพณีอันดีงามเช่นนี้อยู่

tam na 04

พิธีกรรมและประเพณีที่จัดขึ้นมีทั้งที่เป็น พิธีที่จัดทำเฉพาะในครอบครัว และที่สมาชิกของชุมชน ร่วมกันจัดทำขึ้นซึ่งถือว่าเป็น “พิธีราษฎร์” และมีงานบุญประเพณีที่จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมที่เป็นพิธีหลวงที่เรียกว่า “พระราชพิธี” หรือ "พิธีหลวง"

โดยทั่วไปพิธีกรรมอันเนื่องด้วยข้าว มักจัดทำขึ้นโดยมีเป้าหมาย 4 ประการ คือ

  • เป็นการขอร้องอ้อนวอนผี หรืออำนาจลึกลับ ให้ช่วยดูแลให้ต้นข้าวเจริญงอกงาม มีผลผลิตจำนวนมากตามความต้องการ
  • เป็นการขออนุญาตผี หรือเทพที่ประจำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ เพื่อขออนุญาตใช้สอยสิ่งนั้นๆ
  • เป็นการขอขมาต่อธรรมชาติ หรือสิ่งเหนือธรรมชาติ เมื่อได้ล่วงเกิน
  • เป็นการเสี่ยงทาย

พิธีกรรมอันเนื่องด้วยข้าว ที่จัดขึ้นแต่ละครั้งมักจะมีเป้าหมาย หรือ วัตถุประสงค์ไม่แตกต่างกันมากนัก นอกจากนี้พิธีกรรมบางอย่าง อาจมีเป้าหมายหลายประการ ในขณะเดียวกัน พิธีกรรมอันเนื่องด้วยข้าวของคนไทย แบ่งตามขั้นตอนกระบวนการผลิตได้เป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้

  1. พิธีกรรมก่อนการปลูก
  2. พิธีกรรมในช่วงเพาะปลูก
  3. พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยว-ฉลองผลผลิต

1. พิธีกรรมก่อนการปลูก

พิธีกรรมก่อนการเพาะปลูก เป็นพิธีเพื่อบวงสรวง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบอกกล่าว อ้อนวอน ขอร้อง ขออนุญาต หรือเสี่ยงทาย อันสะท้อนให้เห็นความคิด ความเชื่อเรื่องผี และอำนาจลึกลับ ที่สืบทอดมาแต่โบราณ ตลอดจนความคิด ความเชื่อทางพุทธศาสนา และ ศาสนาพราหมณ์ในสังคมไทย

tam na 05

การบวงสรวง เพื่อบอกกล่าวขอร้อง คนไทยหลายถิ่น เช่น ในภาคเหนือและภาคอีสาน กระทำใน พิธีไหว้ผีบรรพบุรุษ และ ผีประจำหมู่บ้าน ซึ่งจัดทำขึ้นก่อนการทำนา ผีบรรพบุรุษนั้น บางถิ่นเรียกว่า ผีเรือน บางถิ่นเรียกว่า ผีปู่ย่า บางถิ่นเรียกผีตายาย เชื่อกันว่าเป็นผีที่อยู่ประจำบนเรือน คอยคุ้มครองดูแลลูกหลาน ส่วนผีประจำหมู่บ้าน บางถิ่นเรียกว่า ผีบ้านหรือเสื้อบ้าน และ บางถิ่นเรียกว่า ผีปู่ตา เป็นต้น เป็นผีที่คอยคุ้มครองดูแลคนในหมู่บ้าน

การเซ่นไหว้ผีบรรพบุรุษ และผีประจำหมู่บ้าน ก่อนการทำนา นอกจากขอให้ดูแลคุ้มครองลูกหลาน และคนในหมู่บ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยแล้ว ยังเป็นการบอกกล่าวและอ้อนวอน ขอร้องให้ทำนาได้ผลดี ด้วยการไหว้ผีบรรพบุรุษ เป็นพิธีกรรมของครอบครัว หรือระหว่างเครือญาติ ส่วนการไหว้ผีประจำหมู่บ้าน มีทั้งที่เป็นพิธีกรรมส่วนบุคคล และพิธีกรรมที่จัดทำร่วมกัน ของสมาชิกในหมู่บ้าน ในภาคอีสานมี การเลี้ยงผีปู่ตา ที่ดอนปู่ตาซึ่งเป็นป่าไม้ใกล้ๆ หมู่บ้าน จำทำพร้อมกันทั้งหมู่บ้านระหว่างเดือน 6 ถึง เดือน 7

ก่อนการทำนา หากชาวบ้านเกรงว่าปีนั้นฝนจะน้อย ก็จะมีการทำพิธีขอฝน โดยหวังพึ่งในอำนาจลึกลับบางอย่าง น่าสังเกตว่าพิธีขอฝนบางครั้ง มักจะใช้วิธีการที่แปลกพิสดาร เป็นสิ่งที่ไม่พบเห็นในชีวิตประจำวัน บางทีก็มีเรื่องเพศเข้ามาปะปนด้วย เพราะเรื่องเพศเป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ อาจปรากฏในเพลงร้อง หรือวัตถุที่ใช้ในพิธีกรรม การขอฝนมีวิธีการต่างๆ เช่น พิธีแห่นางแมว ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภาค ในภาคอีสาน มีการขอฝนหลายแบบ นอกจากแห่นางแมวซึ่งเรียกว่า พิธีเต้านางแมว แล้วก็มี พิธีเต้าแม่นางข้อง พิธีเต้าแม่นางด้ง พิธีดึงครกดึงสาก ประเพณีการจุดปั้งไฟ เดิมเป็นการจุดเตือนแถนหรือผีฟ้าขอให้ส่งฝนลงมา ปัจจุบันนี้ตีความว่า การจุดบั้งไฟ เป็นการจุดเป็นพุทธบูชา ตัวอย่างพิธีขอฝน ที่เป็นพิธีทางพุทธศาสนาได้แก่ การเทศน์พญาคันคาก และ การสวดคาถาปลาช่อน

tam na 06

ส่วนพิธีกรรมที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงทาย เช่น ทางภาคเหนือ มีการใช้ วัดไม้วา โดยตัดไม้ให้มีความยาวขนาด 1 วาพอดี หลังจากอธิฐานเสร็จแล้ว ก็กางแขนออกวัดอีกครั้งหนึ่ง ถ้าไม้สั้นกว่ามือแสดงว่าปีนั้นน้ำจะน้อย ถ้าไม้ยาวกว่ามือก็แสดงว่าจะมีน้ำมาก ทำนาทำไร่ได้ผลดี จะอุดมสมบูรณ์ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และ พระราชพิธีพืชมงคล ซึ่งกระทำในเดือน 6 เป็นพระราชพิธีที่แสดงให้เห็นว่า พระมหากษัตริย์ทรงส่งเสริมสนับสนุนราษฎรในการทำเกษตรกรรม เป็นการบำรุงขวัญเสริมสร้างกำลังใจแก่ราษฎร พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ที่มีลักษณะเป็นการเสี่ยงทายปีนั้นๆ น้ำจะมากหรือน้อย ข้าวปลาอาหารจะบริบูรณ์หรือไม่ เปิดโอกาสให้ราษฎร ได้เก็บข้าวที่พระยาแรกนาหว่านแทนพระมหากษัตริย์ แล้วนำไปเป็นข้าวขวัญเป็นสิริมงคลแก่ไร่นา ส่วน พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีขึ้นเพื่อให้พระสงฆ์สวดเป็นสิริมงคลแก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร

2. พิธีกรรมในช่วงเพาะปลูก

พิธีกรรมในช่วงนี้ เป็นพิธีที่จัดทำขึ้นเพื่อขอร้อง อ้อนวอนให้ผีหรือเทพช่วยดูแลข้าวที่ปลูก ให้เจริญงอกงามได้ผลดี ปลอดภัยจากสัตว์ ประเภทนก หนู และแมลงต่างๆ และขอขมาควายที่ได้เฆี่ยนตีในตอนไถนา หลังจากน้ำเข้านาแล้วก็มี พิธีแรกนา ภาคอีสาน และภาคเหนือเรียกว่า แฮกนา มีการเซ่นไหว้เจ้าที่ หรือ พระภูมินา เสร็จแล้วก็เริ่มไถ หลังจากนั้นก็มี พิธีแรกหว่าน และเมื่อต้นข้าวโตเป็นต้นกล้าก็มี พิธีแรกดำนา ในพิธีแรกดำนานั้นก่อนถอนกล้าไปดำ มีการกล่าวขอขมาแม่โพสพ และเชิญแม่โพสพไปอยู่ประจำ ณ ที่ปักดำ ภายหลังการปักดำ  ปัจจุบันพิธีนี้เหลือน้อยลง เพราะหลายแห่งใช้เครื่องจักรในการไถนาแทนควาย ช่วงเพาะปลูกนี้เป็นช่วงที่ต้องดูแลรักษาให้ต้นข้าวงอกงามเจริญเติบโต มีพิธีกรรมไล่ศัตรูข้าว ศัตรูสำคัญ คือ หนู  เมื่อข้าวตั้งท้องมี พิธีทำขวัญแม่โพสพ ในสมัยโบราณหากมีน้ำมากเกินความต้องการก็มี พระราชพิธีไล่เรือ เป็นพิธีไล่น้ำให้ลดลงเร็ว จัดทำขึ้นในเดือนอ้าย

tam na 07

3. พิธีกรรมเพื่อการเก็บเกี่ยว-ฉลองผลผลิต

พิธีกรรมในช่วงนี้ เริ่มตั้งแต่เมื่อข้าวสุกได้เวลาเก็บเกี่ยว จนกระทั่งนวด เสร็จแล้วนำข้าวขึ้นยุ้ง และนำไปปรุงเป็นอาหาร หรือตักขาย เมื่อข้าวสุกได้เวลาเก็บเกี่ยวก็จะมี พิธีแรกเกี่ยว เป็นการบวงสรวง และขอขมาแม่โพสพก่อนการเกี่ยวข้าว เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว มีพิธีก่อนการนวดข้าว คือ พิธีแรกนวด เป็นพิธีทำขวัญข้าว เชิญแม่โพสพจากท้องนาให้เข้าสู่ลาน เมื่อนวดเสร็จแล้ว ก่อนนำข้าวเข้าเก็บในยุ้งฉางมี พิธีทำขวัญข้าว อีกครั้งหนึ่ง เป็นการขอขมาที่มีการนวดข้าว ด้วยการฟาดข้าว หรือใช้วัวควายเหยียบ กล่าวอัญเชิญแม่โพสพให้มารับเครื่องสังเวย และมาอยู่ที่ยุ้งฉาง หลังจากนั้นมี พิธีปิดยุ้ง ขอแม่โพสพบันดาลให้ข้าวมีมากมาย กินไม่รู้จักหมด หลังจากนั้นมีการ ทานข้าวใหม่ นำข้าวใหม่มานึ่งหรือหุงถวายพระ เมื่อจะนำข้าวออกขายมี พิธีเปิดยุ้ง เป็นการขอขมาแม่โพสพ และขออนุญาตตักข้าวขาย

tam na 08

ตามที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า คนไทยประกอบพิธีอันเนื่องด้วยข้าวเป็นระยะๆ ในช่วงเวลาตั้งแต่ก่อนการปลูกข้าว จนกระทั่งได้ผลผลิตมาเป็นอาหาร และนำออกขาย พิธีกรรมดังกล่าวแสดงให้เห็น แนวความคิดความเชื่อที่สืบทอดมาแต่โบราณ ได้แก่ ความเชื่อเรื่องผี และขวัญ

[ อ่านเพิ่มเติม : ผีตาแฮกและดอนปู่ตา | ความเชื่อและพิธีกรรมการเพาะปลูกข้าว ]

redline

backled1

isan word tip

isangate net 345x250

ppor blog 345x250

adv 345x200 1

นโยบายความเป็นส่วนตัว Our Policy

ยินดีต้อนรับสู่ประตูอีสานบ้านเฮา เว็บไซต์ของเรา ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น อ่านนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Policy) และนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)